หลังจากที่ได้ตั้งกระทู้ขอวิธีที่ทำให้ลืม...
ก็พบว่า มีกระทู้ลักษณะนี้เพียบเลย เข้าไปอ่าน ก็ได้ไอเดีย
แต่ก็ยังทำใจ ไม่ให้คิดถึงไม่ได้
จนได้เพื่อนคนนึงชี้ทางสว่าง ก็เลยอยากเอามาแบ่งปัน
(อาจจะเคยมีกระทู้นี้แล้วก็ได้)
วิธีต่างๆ ที่อ่าน ส่วนใหญ่ เป็นแบบวิธีรักษาระยะยาว ทำใจ ยอมรับ ฯลฯ
วิธีนี้จะเป็นวิธีเหมือนปฐมพยาบาลเบื้องต้น
คล้ายๆกับ คนแขนขาด ต้องทำอะไรถึงจะหยุดเลือด ณ ที่เกิดเหตุ ส่วนหลังจากหยุดเลือดได้แล้ว จะทำอะไรต่อที่โรงพยาบาลก็ค่อยว่ากัน
ผมคิดว่า วิธีนี้มันน่าจะเป็นหลักธรรมนะ พอดีผมเป็นคนไม่เอาถ่าน เลยจำไม่ค่อยได้ว่า ไอ้สิ่งต่างๆที่ผมพิมพ์เนี่ย มันคือหลักธรรมข้อใดบ้าง
เริ่มจาก อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อันนี้ พื้นฐานมาก พอจำได้ 555) ก็ไปหาอ่านรายละเอียดกันเองนะครับ
สรุปว่า
- ไอ้ที่เราคิดถึง เพราะจิตของเรา มันไปค้นหาความทรงจำเกี่ยวกับอดีต ไปหาความทรงจำเกี่ยวคนอื่น (ไม่อยู่กับเรา ณ ปัจจุบัน)
- ไอ้ที่เรารัก/เศร้า ก็เพราะจิตเรา ไปค้นหาความรู้สึก
- ไอ้ที่เรามีความรู้สึกใดๆ เพราะจิตมันไปลุ่มหลงกับสิ่งนั้น (รัก โลภ โกรธ หลง อันนี้เรียกอะไรไม่รู้จริงๆ อคติ 4? หรือ กิเลส?)
เพื่อนผม รวมทั้งในบอร์ดนี้ ใช้คำว่า "สติ"
ตั้งสติหน่อย มีสติหน่อย บอกเลย เราก็จะบอกตัวเองเสมอว่ามีสติโว้ย (โดยที่ไม่รู้เลยว่า นั่นแหละ ไม่มีสติ)
เพื่อนผมถามหลายคำถามมาก ลองตอบตามนี้ไปเรื่อยๆนะครับ
- รู้ตัวมั้ยว่า ทำอะไรอยู่ (ตอนแรกงงๆ แอบโกรธ ว่าด่าอะไรผมรึเปล่าเนี่ย)
- อยู่ที่ไหน ทำอะไร รอบข้างเป็นยังไง (เพื่อนให้อธิบายละเอียดเลย เราก็อธิบายไปเรื่อยๆ จนทำให้เรารู้สึกว่า เฮ้ย ทำไมรอบข้างเรามันมีอะไรเยอะแยะไปหมด นั่นทำให้เราไม่คิดถึงอดีต อนาคต หรือใครเลย สนใจสิ่งรอบข้าง ณ ปัจจุบัน)
- ตอนนั้นผมนั่งพิมพ์งานอยู่ครับ เพื่อนถามว่า นั่งท่าไหนอย่างไร ก็นั่งหลังตรง พิมพ์งาน เพื่อนก็ถามว่า รู้สึกมั้ยว่า นิ้วสัมผัสปุ่มคีย์บอร์ด ไม่รู้สึกแฮะ เพื่อนเลยบอกว่า ให้พยายามรู้สึก
- สิ่งที่ไม่รู้ตัวอย่างนึง คือ ผมฟังเพลงไปด้วยทำงานไปด้วย เพื่อนเลยถามว่า กี่รอบแล้วที่ฟังเพลง (นั่นทำให้ผมนึกได้ว่า เออ เราไม่ได้สนใจสิ่งรอบๆตัวเราเลย)
- เพื่อนบอกว่า ถ้าเริ่มคิดถึง ก็ให้กลับมาโดยสำรวจสิ่งรอบๆแบบนี้
- หลังจากนอนไม่ค่อยหลับมาหลายคืน เมื่อคืนหลับสบายกันเลยทีเดียว
ง่ายๆแค่นี้เองครับ หวังว่าจะช่วยให้หายคิดถึงได้ ลองดูนะ ขอให้โชคดีทุกคน
(มันไม่ได้ทำให้ไม่คิดถึงเลยนะครับ มันจะมาแว๊บๆ พอแว๊บปุ๊บ ก็สำรวจสิ่งรอบๆ ครับ ช่วยได้ในระยะสั้นๆ ระยะยาวยังไม่รู้ครับ)
เดี๋ยวนะ ถ้าสิ่งรอบตัว ดันมีความทรงจำของสิ่งที่ให้คิดถึง ก็ตัวใครตัวมันนะครับ --" แสดงว่ามันแว๊บเข้ามา ก็สำรวจสิ่งอื่นแทนนะครับ
มีท่าไม้ตายให้ท่านึงครับ ดูฝ่ามือของตัวเองครับ แล้วกำๆ แบๆ แล้วก็สำรวจฝ่ามือตัวเองนั่นแหละคับ (ตอนแรกแนะนำให้เลื่อนไปซ้าย ไปขวา มึนมากครับ 555) ถ้าไม่ได้ผล ก็เอาฝ่ามือมาตบหน้าผากตัวเองเลยนะครับ แล้วกลับมา comment ผมก็ได้ว่าไม่ได้ผล T_T
ถ้าสนใจก็ลอง google เพิ่มเติม น่าจะประมาณ "เจริญสติ" ครับ
สุดท้าย ระหว่างที่กำลังจะโพส ก็มี autotag ให้ กราบขอบคุณข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/สติปัฏฐาน_4
(สรุปว่าวิธีผมเป็นเสี้ยวหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานมั้งครับ)
สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร[1] เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ส่วนปัฏฐาน แปลได้หลายอย่าง แต่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร และ สติปัฏฐานสูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
วิธีทำให้ไม่คิดถึง (ฉบับปฐมพยาบาลเบื้องต้น)
ก็พบว่า มีกระทู้ลักษณะนี้เพียบเลย เข้าไปอ่าน ก็ได้ไอเดีย
แต่ก็ยังทำใจ ไม่ให้คิดถึงไม่ได้
จนได้เพื่อนคนนึงชี้ทางสว่าง ก็เลยอยากเอามาแบ่งปัน
(อาจจะเคยมีกระทู้นี้แล้วก็ได้)
วิธีต่างๆ ที่อ่าน ส่วนใหญ่ เป็นแบบวิธีรักษาระยะยาว ทำใจ ยอมรับ ฯลฯ
วิธีนี้จะเป็นวิธีเหมือนปฐมพยาบาลเบื้องต้น
คล้ายๆกับ คนแขนขาด ต้องทำอะไรถึงจะหยุดเลือด ณ ที่เกิดเหตุ ส่วนหลังจากหยุดเลือดได้แล้ว จะทำอะไรต่อที่โรงพยาบาลก็ค่อยว่ากัน
ผมคิดว่า วิธีนี้มันน่าจะเป็นหลักธรรมนะ พอดีผมเป็นคนไม่เอาถ่าน เลยจำไม่ค่อยได้ว่า ไอ้สิ่งต่างๆที่ผมพิมพ์เนี่ย มันคือหลักธรรมข้อใดบ้าง
เริ่มจาก อริยสัจ 4 ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อันนี้ พื้นฐานมาก พอจำได้ 555) ก็ไปหาอ่านรายละเอียดกันเองนะครับ
สรุปว่า
- ไอ้ที่เราคิดถึง เพราะจิตของเรา มันไปค้นหาความทรงจำเกี่ยวกับอดีต ไปหาความทรงจำเกี่ยวคนอื่น (ไม่อยู่กับเรา ณ ปัจจุบัน)
- ไอ้ที่เรารัก/เศร้า ก็เพราะจิตเรา ไปค้นหาความรู้สึก
- ไอ้ที่เรามีความรู้สึกใดๆ เพราะจิตมันไปลุ่มหลงกับสิ่งนั้น (รัก โลภ โกรธ หลง อันนี้เรียกอะไรไม่รู้จริงๆ อคติ 4? หรือ กิเลส?)
เพื่อนผม รวมทั้งในบอร์ดนี้ ใช้คำว่า "สติ"
ตั้งสติหน่อย มีสติหน่อย บอกเลย เราก็จะบอกตัวเองเสมอว่ามีสติโว้ย (โดยที่ไม่รู้เลยว่า นั่นแหละ ไม่มีสติ)
เพื่อนผมถามหลายคำถามมาก ลองตอบตามนี้ไปเรื่อยๆนะครับ
- รู้ตัวมั้ยว่า ทำอะไรอยู่ (ตอนแรกงงๆ แอบโกรธ ว่าด่าอะไรผมรึเปล่าเนี่ย)
- อยู่ที่ไหน ทำอะไร รอบข้างเป็นยังไง (เพื่อนให้อธิบายละเอียดเลย เราก็อธิบายไปเรื่อยๆ จนทำให้เรารู้สึกว่า เฮ้ย ทำไมรอบข้างเรามันมีอะไรเยอะแยะไปหมด นั่นทำให้เราไม่คิดถึงอดีต อนาคต หรือใครเลย สนใจสิ่งรอบข้าง ณ ปัจจุบัน)
- ตอนนั้นผมนั่งพิมพ์งานอยู่ครับ เพื่อนถามว่า นั่งท่าไหนอย่างไร ก็นั่งหลังตรง พิมพ์งาน เพื่อนก็ถามว่า รู้สึกมั้ยว่า นิ้วสัมผัสปุ่มคีย์บอร์ด ไม่รู้สึกแฮะ เพื่อนเลยบอกว่า ให้พยายามรู้สึก
- สิ่งที่ไม่รู้ตัวอย่างนึง คือ ผมฟังเพลงไปด้วยทำงานไปด้วย เพื่อนเลยถามว่า กี่รอบแล้วที่ฟังเพลง (นั่นทำให้ผมนึกได้ว่า เออ เราไม่ได้สนใจสิ่งรอบๆตัวเราเลย)
- เพื่อนบอกว่า ถ้าเริ่มคิดถึง ก็ให้กลับมาโดยสำรวจสิ่งรอบๆแบบนี้
- หลังจากนอนไม่ค่อยหลับมาหลายคืน เมื่อคืนหลับสบายกันเลยทีเดียว
ง่ายๆแค่นี้เองครับ หวังว่าจะช่วยให้หายคิดถึงได้ ลองดูนะ ขอให้โชคดีทุกคน
(มันไม่ได้ทำให้ไม่คิดถึงเลยนะครับ มันจะมาแว๊บๆ พอแว๊บปุ๊บ ก็สำรวจสิ่งรอบๆ ครับ ช่วยได้ในระยะสั้นๆ ระยะยาวยังไม่รู้ครับ)
เดี๋ยวนะ ถ้าสิ่งรอบตัว ดันมีความทรงจำของสิ่งที่ให้คิดถึง ก็ตัวใครตัวมันนะครับ --" แสดงว่ามันแว๊บเข้ามา ก็สำรวจสิ่งอื่นแทนนะครับ
มีท่าไม้ตายให้ท่านึงครับ ดูฝ่ามือของตัวเองครับ แล้วกำๆ แบๆ แล้วก็สำรวจฝ่ามือตัวเองนั่นแหละคับ (ตอนแรกแนะนำให้เลื่อนไปซ้าย ไปขวา มึนมากครับ 555) ถ้าไม่ได้ผล ก็เอาฝ่ามือมาตบหน้าผากตัวเองเลยนะครับ แล้วกลับมา comment ผมก็ได้ว่าไม่ได้ผล T_T
ถ้าสนใจก็ลอง google เพิ่มเติม น่าจะประมาณ "เจริญสติ" ครับ
สุดท้าย ระหว่างที่กำลังจะโพส ก็มี autotag ให้ กราบขอบคุณข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/สติปัฏฐาน_4
(สรุปว่าวิธีผมเป็นเสี้ยวหนึ่งของกายานุปัสสนาสติปัฏฐานมั้งครับ)
สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร[1] เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม
คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง ส่วนปัฏฐาน แปลได้หลายอย่าง แต่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร และ สติปัฏฐานสูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น
โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา