เวลาเล่นหุ้น หลายครั้ง เราก็อยากปรึกษากูรูที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในวงการ
แต่เชื่อไหมครับว่า กูรู ก็มีจุดอ่อน !!!
อะไรนะ !! จะมีจุดอ่อนได้อย่างไร ก็เขาเก่งขนาดนี้ รอบรู้ขนาดนี้
เชื่อไหมครับ บางทีความรู้ที่มีมันก็อาจจะกลายเป็น “คำสาบ” โดยไม่รู้ตัว
เราเรียกมันว่า Curse of knowledge ครับ
จริง ๆ คำนี้มีที่มามานานแล้ว แต่เป็นคำเริ่มเป็นที่รู้จักจากนักเศรษฐศาสตร์ 3 คนได้แก่ Colin Camerer George Loewenstein และ Martin Weber ซึ่งเขาพิสูจน์ว่ามีหลายสถานการณ์ที่คนที่รู้มากนั้น กลับมีบางอย่างที่เสียเปรียบคนที่รู้น้อยกว่า
ยกตัวอย่างเช่นในวงการเรียนการสอน บางทีเราจะเห็นว่าอาจารย์คนนี้ ตอนเป็นนักเรียนก็เป็นนักเรียนที่เก่งมาก จบปริญญาเอก ความรู้มีเยอะมากในวิชาที่สอน กลับสอนไม่รู้เรื่อง สู้อาจารย์ที่ตอนเรียน เรียนไม่ค่อยเก่งไม่ได้ซะด้วยซ้ำ !!!
เหตุผลคือ เขานึกไม่ออกว่าคนไม่รู้ เขารู้สึกอย่างไร เพราะเขารู้แล้ว เขาเลยอาจจะคิดว่าคนอื่นก็น่าจะเป็นแบบเขา ดังนั้นความรู้เยอะนี่แหละ จึงทำให้เขาไม่สามารถถ่ายทอดได้ดีเท่ากับคนที่รู้ไม่เยอะนัก !!!
อยากรู้ว่า Curse of knowledge มันอารมณ์ประมาณไหน ลองทำอย่างนี้ดูครับ
ลองคิดเพลง ๆ หนึ่งในใจ เสร็จแล้ว บอกเพื่อนว่าเดี๋ยวเราจะเคาะจังหวะ แล้วให้เพื่อนทายนะ
ว่าเป็นเพลงอะไร
เราจะมีความเชื่อว่าเพื่อนน่าจะทายถูก เพราะไม่น่ายาก แต่เชื่อไหมครับว่าความเป็นจริง โอกาสที่เพื่อนจะทายถูกนั้น น้อยมาก ๆ !!!
ทำไมเราถึงรู้สึกอย่างนั้นรู้ไหมครับ ก็เพราะว่า เรามี “ความรู้” แล้วไงครับว่าเพลงนั้นมันเพลงอะไร และเราก็ไม่สามารถกลับไปรู้สึก “ไม่รู้” อีกครั้งได้
กูรูหุ้นก็เหมือนกันครับ เขาอาจจะรู้ดีมาก จนกระทั่งไม่เข้าใจว่า “ไม่รู้” คืออะไร
การถ่ายทอดของเขาบางครั้ง จึงอาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง
แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้างั้นอย่าไปมีความรู้เยอะเลยมีน้อย ๆ ดีกว่า
แค่ให้ระวังไว้เท่านั้นครับ ว่าความรู้บางครั้งมันก็อาจจะทำให้เรามองอะไร พลาดไปได้เหมือนกันครับ
ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจอื่น ๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: มันง่ายแค่นี้ ทำไมถึงไม่รู้ (Curse of Knowledge)
แต่เชื่อไหมครับว่า กูรู ก็มีจุดอ่อน !!!
อะไรนะ !! จะมีจุดอ่อนได้อย่างไร ก็เขาเก่งขนาดนี้ รอบรู้ขนาดนี้
เชื่อไหมครับ บางทีความรู้ที่มีมันก็อาจจะกลายเป็น “คำสาบ” โดยไม่รู้ตัว
เราเรียกมันว่า Curse of knowledge ครับ
จริง ๆ คำนี้มีที่มามานานแล้ว แต่เป็นคำเริ่มเป็นที่รู้จักจากนักเศรษฐศาสตร์ 3 คนได้แก่ Colin Camerer George Loewenstein และ Martin Weber ซึ่งเขาพิสูจน์ว่ามีหลายสถานการณ์ที่คนที่รู้มากนั้น กลับมีบางอย่างที่เสียเปรียบคนที่รู้น้อยกว่า
ยกตัวอย่างเช่นในวงการเรียนการสอน บางทีเราจะเห็นว่าอาจารย์คนนี้ ตอนเป็นนักเรียนก็เป็นนักเรียนที่เก่งมาก จบปริญญาเอก ความรู้มีเยอะมากในวิชาที่สอน กลับสอนไม่รู้เรื่อง สู้อาจารย์ที่ตอนเรียน เรียนไม่ค่อยเก่งไม่ได้ซะด้วยซ้ำ !!!
เหตุผลคือ เขานึกไม่ออกว่าคนไม่รู้ เขารู้สึกอย่างไร เพราะเขารู้แล้ว เขาเลยอาจจะคิดว่าคนอื่นก็น่าจะเป็นแบบเขา ดังนั้นความรู้เยอะนี่แหละ จึงทำให้เขาไม่สามารถถ่ายทอดได้ดีเท่ากับคนที่รู้ไม่เยอะนัก !!!
อยากรู้ว่า Curse of knowledge มันอารมณ์ประมาณไหน ลองทำอย่างนี้ดูครับ
ลองคิดเพลง ๆ หนึ่งในใจ เสร็จแล้ว บอกเพื่อนว่าเดี๋ยวเราจะเคาะจังหวะ แล้วให้เพื่อนทายนะ
ว่าเป็นเพลงอะไร
เราจะมีความเชื่อว่าเพื่อนน่าจะทายถูก เพราะไม่น่ายาก แต่เชื่อไหมครับว่าความเป็นจริง โอกาสที่เพื่อนจะทายถูกนั้น น้อยมาก ๆ !!!
ทำไมเราถึงรู้สึกอย่างนั้นรู้ไหมครับ ก็เพราะว่า เรามี “ความรู้” แล้วไงครับว่าเพลงนั้นมันเพลงอะไร และเราก็ไม่สามารถกลับไปรู้สึก “ไม่รู้” อีกครั้งได้
กูรูหุ้นก็เหมือนกันครับ เขาอาจจะรู้ดีมาก จนกระทั่งไม่เข้าใจว่า “ไม่รู้” คืออะไร
การถ่ายทอดของเขาบางครั้ง จึงอาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง
แต่ที่เขียนมาทั้งหมดนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า ถ้างั้นอย่าไปมีความรู้เยอะเลยมีน้อย ๆ ดีกว่า
แค่ให้ระวังไว้เท่านั้นครับ ว่าความรู้บางครั้งมันก็อาจจะทำให้เรามองอะไร พลาดไปได้เหมือนกันครับ
ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจอื่น ๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking