เวลาจะพิจารณาซื้อหุ้นเคยมีอารมณ์นี้ไหมครับ
คือเอาหุ้น A กับ B มาวิเคราะห์พร้อม ๆ กัน แล้วเราก็จะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนว่า A ดีกว่า B ตรงไหน หรือ B ดีกว่า A ตรงไหน
แต่ถ้าเราเอาหุ้น 2 ตัวนี้มาวิเคราะห์แยกออกจากกัน
เรากลับมองเห็นว่าหุ้น 2 ตัวนี้ก็ไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไร
ถ้าท่านรู้สึกแบบนี้ ท่านกำลังตกอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Distinction bias ครับ
ในปี 2004 Hsee และ Zhang ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน Journal of Personality and Social Psychology เรื่อง "Distinction bias: Misprediction and mischoice due to joint evaluation"
งานวิจัยนี้พบว่าการเปรียบเทียบของสองสิ่งพร้อม ๆ กันนั้น ทำให้เราเห็นความแตกต่างในรายละเอียดมากกว่า การวิเคราะห์ของนั้นทีละครั้งแยกออกจากกัน
เทคนิคนี้ก็ได้ถูกนำไปใช้เป็นเทคนิคทางการตลาด เช่นการตั้งโทรทัศน์สองรุ่นที่ต้องการขายไว้ติด ๆ กันและนำเสนอให้ลูกค้าพิจารณา
เมื่อทำเช่นนี้ลูกค้าจะเห็นความแตกต่างของสองรุ่นนี้ได้อย่างชัดเจน เช่น รุ่นที่ราคาแพง ภาพจะคมชัดกว่า ขนาดจอใหญ่กว่าเล็กน้อย ฯลฯ
แต่ถ้าให้ลูกค้าแยกดูโทรทัศน์ทีละรุ่นแยกจากกัน บางครั้งลูกค้าจะมองไม่เห็นความแตกต่างเหล่านี้
ดังนั้นการวางโทรทัศน์ 2 รุ่นไว้คู่กัน จึงมีส่วนทำให้ลูกค้าซื้อโทรทัศน์รุ่นที่แพงมากขึ้นนั่นเอง !!!
กลับมาที่หุ้นอีกครั้งครับ ถ้าเราอยากจะเห็นความแตกต่างของหุ้น 2 ตัวที่เราสนใจ
แนะนำให้เอามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน จะดีกว่าแยกวิเคราะห์หุ้นทีละตัวนะครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: หุ้นสองตัวนี้มันต่างกันนะ เอ๊ะ ไม่สิ มันไม่ต่างกันหรอก (Distinction bias)
คือเอาหุ้น A กับ B มาวิเคราะห์พร้อม ๆ กัน แล้วเราก็จะเห็นความแตกต่างกันอย่างชัดเจนว่า A ดีกว่า B ตรงไหน หรือ B ดีกว่า A ตรงไหน
แต่ถ้าเราเอาหุ้น 2 ตัวนี้มาวิเคราะห์แยกออกจากกัน
เรากลับมองเห็นว่าหุ้น 2 ตัวนี้ก็ไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไร
ถ้าท่านรู้สึกแบบนี้ ท่านกำลังตกอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า Distinction bias ครับ
ในปี 2004 Hsee และ Zhang ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน Journal of Personality and Social Psychology เรื่อง "Distinction bias: Misprediction and mischoice due to joint evaluation"
งานวิจัยนี้พบว่าการเปรียบเทียบของสองสิ่งพร้อม ๆ กันนั้น ทำให้เราเห็นความแตกต่างในรายละเอียดมากกว่า การวิเคราะห์ของนั้นทีละครั้งแยกออกจากกัน
เทคนิคนี้ก็ได้ถูกนำไปใช้เป็นเทคนิคทางการตลาด เช่นการตั้งโทรทัศน์สองรุ่นที่ต้องการขายไว้ติด ๆ กันและนำเสนอให้ลูกค้าพิจารณา
เมื่อทำเช่นนี้ลูกค้าจะเห็นความแตกต่างของสองรุ่นนี้ได้อย่างชัดเจน เช่น รุ่นที่ราคาแพง ภาพจะคมชัดกว่า ขนาดจอใหญ่กว่าเล็กน้อย ฯลฯ
แต่ถ้าให้ลูกค้าแยกดูโทรทัศน์ทีละรุ่นแยกจากกัน บางครั้งลูกค้าจะมองไม่เห็นความแตกต่างเหล่านี้
ดังนั้นการวางโทรทัศน์ 2 รุ่นไว้คู่กัน จึงมีส่วนทำให้ลูกค้าซื้อโทรทัศน์รุ่นที่แพงมากขึ้นนั่นเอง !!!
กลับมาที่หุ้นอีกครั้งครับ ถ้าเราอยากจะเห็นความแตกต่างของหุ้น 2 ตัวที่เราสนใจ
แนะนำให้เอามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน จะดีกว่าแยกวิเคราะห์หุ้นทีละตัวนะครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/