นักเล่นหุ้นหลายคนเคยเจอเหตุการณ์นี้ไหมครับ
ราคาหุ้นก็อาจจะกำลังขึ้นอยู่ดี ๆ
เสร็จแล้วก็เจอข่าวร้ายอย่างหนึ่งของบริษัท
เคยสังเกตไหมครับว่า
พอมีข่าวแบบนี้มา เกิดอะไรขึ้นกับเรา
ผมต้องบอกก่อนนะครับว่าสมมุติว่าข่าวนั้นเป็นข่าวจริง ๆ ไม่ใช่ข่าวลือ ข่าวปล่อย
หลายครั้ง เราจะเห็นคนเล่นหุ้นหลายคนตะลึงกับข่าวดังกล่าว
เพราะมันเป็นข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น โดยที่เราไม่ได้คาดคิด มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่คือ
ราคาหุ้นมันต้องขึ้น
ไอ้ช่วงที่เรากำลังตะลึงนี่แหละครับ เรากำลังอยู่ในห้วงอารมณ์ของ Conservatism bias
อารมณ์นี้คืออารมณ์ที่เรามักจะลังเลสงสัย ไม่เชื่อข้อมูลใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
ด้วยเหตุผลเดียวคือ มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่
เราเคยเชื่อว่าหุ้นจะขึ้น แต่วันหนึ่งดันมีข่าวร้ายเกิดขึ้น มันทำให้เราเชื่อได้ยากกว่าปกติ ว่าหุ้นไม่ขึ้นหรอก มันจะลงแล้ว
ถ้าสังเกตดู ใครมี Bias ลักษณะนี้เยอะ เราจะเป็นคนที่ช้าไปเสมอ ไม่ว่าจะขายหุ้น หุ้นก็ตกลงมากแล้ว หรือไม่ว่าจะอยากซื้อหุ้น เพราะมีข่าวดี (เป็นข้อมูลใหม่) กว่าเราจะทำใจเชื่อได้ หุ้นก็ขึ้นไปมากแล้ว
มีงานวิจัยในปี 2004 จาก Padmaja Kadiyala จาก Pace University และ Raghavendra Rau จาก Cambridge University พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงพอ เมื่อมีข้อมูลใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับบริษัท เช่น ข่าวผลประกอบการ การเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินปันผล หรือการ Split หุ้น เป็นต้น
ลองสังเกตดูดี ๆ นะครับว่าเราเป็นอย่างนี้หรือเปล่า
ถ้าเป็นก็แสดงว่าเราเป็นพวกอนุรักษ์นิยมมาก ๆ
ไม่ค่อยชอบที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองสักเท่าไรครับ
ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจอื่น ๆ ได้ทาง
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: ไม่นะ ไม่ มันไม่จริง (Conservatism bias)
ราคาหุ้นก็อาจจะกำลังขึ้นอยู่ดี ๆ
เสร็จแล้วก็เจอข่าวร้ายอย่างหนึ่งของบริษัท
เคยสังเกตไหมครับว่า
พอมีข่าวแบบนี้มา เกิดอะไรขึ้นกับเรา
ผมต้องบอกก่อนนะครับว่าสมมุติว่าข่าวนั้นเป็นข่าวจริง ๆ ไม่ใช่ข่าวลือ ข่าวปล่อย
หลายครั้ง เราจะเห็นคนเล่นหุ้นหลายคนตะลึงกับข่าวดังกล่าว
เพราะมันเป็นข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น โดยที่เราไม่ได้คาดคิด มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่คือ
ราคาหุ้นมันต้องขึ้น
ไอ้ช่วงที่เรากำลังตะลึงนี่แหละครับ เรากำลังอยู่ในห้วงอารมณ์ของ Conservatism bias
อารมณ์นี้คืออารมณ์ที่เรามักจะลังเลสงสัย ไม่เชื่อข้อมูลใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
ด้วยเหตุผลเดียวคือ มันขัดแย้งกับความเชื่อเดิมที่เรามีอยู่
เราเคยเชื่อว่าหุ้นจะขึ้น แต่วันหนึ่งดันมีข่าวร้ายเกิดขึ้น มันทำให้เราเชื่อได้ยากกว่าปกติ ว่าหุ้นไม่ขึ้นหรอก มันจะลงแล้ว
ถ้าสังเกตดู ใครมี Bias ลักษณะนี้เยอะ เราจะเป็นคนที่ช้าไปเสมอ ไม่ว่าจะขายหุ้น หุ้นก็ตกลงมากแล้ว หรือไม่ว่าจะอยากซื้อหุ้น เพราะมีข่าวดี (เป็นข้อมูลใหม่) กว่าเราจะทำใจเชื่อได้ หุ้นก็ขึ้นไปมากแล้ว
มีงานวิจัยในปี 2004 จาก Padmaja Kadiyala จาก Pace University และ Raghavendra Rau จาก Cambridge University พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนการตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพียงพอ เมื่อมีข้อมูลใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับบริษัท เช่น ข่าวผลประกอบการ การเปลี่ยนแปลงการจ่ายเงินปันผล หรือการ Split หุ้น เป็นต้น
ลองสังเกตดูดี ๆ นะครับว่าเราเป็นอย่างนี้หรือเปล่า
ถ้าเป็นก็แสดงว่าเราเป็นพวกอนุรักษ์นิยมมาก ๆ
ไม่ค่อยชอบที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองสักเท่าไรครับ
ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจอื่น ๆ ได้ทาง https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking