เวลาเล่นหุ้น เคยเจอสถานการณ์แบบนี้ไหมครับ
เวลาเราได้กำไร เราก็อยากจะบอกจะแนะนำเพื่อน ว่าต้องดูอัตราส่วนทางการเงินตัวนั้นสิ ตัวนี้สิ
หรือดูสัญญาณหุ้นตัวนั้นสิ ตัวนี้สิ
บางทีพอเพื่อนไม่เชื่อเรา เราก็อาจจะว่าเพื่อนว่าก็บอกแล้วไงให้ทำอย่างนั้น ทำไมถึงไม่ทำล่ะ มันไม่ยากเลยนะ ฯลฯ
บางทีเพื่อนคนนั้นเขาอาจจะอยากจะบอกเราว่า “นายไม่เข้าใจเราหรอก”
และเผลอ ๆ ตัวเขาเอง ก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน
อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Empathy gap ครับ
คือคนเราส่วนใหญ่ที่อยู่ในอารมณ์ดีใจ มักจะไม่ค่อยเข้าใจคนที่อยู่ในอารมณ์เสียใจ
คนที่รวยจากตลาดหุ้น ก็มักจะไม่เข้าใจคนที่เจ๊งจากตลาดหุ้น
ในปี 2003 Van Boven จากมหาวิทยาลัย Colorado และทีมวิจัยได้ทำการทดลอง
โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ขายถ้วยกาแฟ หลังจากนั้นทีมงานก็ให้ผู้ขายเขียนราคาที่เขาอยากขาย ในขณะที่ผู้ซื้อเขียนราคาที่เขาอยากซื้อถ้วยกาแฟนั้น และหลังจากนั้นก็ให้ผู้ซื้อประมาณราคาที่คิดว่าผู้ขายน่าจะอยากขายด้วย
ผลการทดลองพบว่าผู้ซื้อก็ประมาณราคาที่คิดว่าผู้ขายต้องการจะขายที่ใกล้เคียงกับราคาที่ตนเองอยากซื้ออีกเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากราคาที่ผู้ขายอยากขาย ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ผู้ซื้อไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้ขายได้ดีพอหรือเกิด Empathy gap ขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นอย่าไปโกรธหรือหงุดหงิดใครก็ตามที่ไม่ได้ทำตามคำแนะนำของเรา
คนที่ไม่ได้เล่นหุ้นตามแบบเรา บางทีเขาก็อยู่ในสถานการณ์ที่เคยพลาด เคยเจ๊งมาก่อน
เราที่ไม่เคยพลาดหรือเจ๊งแบบเขา ก็เลยไป Underestimate ความเจ็บปวดที่เขาเคยเจอ
ด้วยคำพูดประมาณว่า “ถึงจะพลาด มันก็ไม่เท่าไร”
บางทีถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับเขา เราก็จะเป็นเหมือนเขาเช่นกันนะครับ
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: นายไม่เข้าใจเราหรอก (Empathy gap)
เวลาเราได้กำไร เราก็อยากจะบอกจะแนะนำเพื่อน ว่าต้องดูอัตราส่วนทางการเงินตัวนั้นสิ ตัวนี้สิ
หรือดูสัญญาณหุ้นตัวนั้นสิ ตัวนี้สิ
บางทีพอเพื่อนไม่เชื่อเรา เราก็อาจจะว่าเพื่อนว่าก็บอกแล้วไงให้ทำอย่างนั้น ทำไมถึงไม่ทำล่ะ มันไม่ยากเลยนะ ฯลฯ
บางทีเพื่อนคนนั้นเขาอาจจะอยากจะบอกเราว่า “นายไม่เข้าใจเราหรอก”
และเผลอ ๆ ตัวเขาเอง ก็ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกัน
อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า Empathy gap ครับ
คือคนเราส่วนใหญ่ที่อยู่ในอารมณ์ดีใจ มักจะไม่ค่อยเข้าใจคนที่อยู่ในอารมณ์เสียใจ
คนที่รวยจากตลาดหุ้น ก็มักจะไม่เข้าใจคนที่เจ๊งจากตลาดหุ้น
ในปี 2003 Van Boven จากมหาวิทยาลัย Colorado และทีมวิจัยได้ทำการทดลอง
โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ขายถ้วยกาแฟ หลังจากนั้นทีมงานก็ให้ผู้ขายเขียนราคาที่เขาอยากขาย ในขณะที่ผู้ซื้อเขียนราคาที่เขาอยากซื้อถ้วยกาแฟนั้น และหลังจากนั้นก็ให้ผู้ซื้อประมาณราคาที่คิดว่าผู้ขายน่าจะอยากขายด้วย
ผลการทดลองพบว่าผู้ซื้อก็ประมาณราคาที่คิดว่าผู้ขายต้องการจะขายที่ใกล้เคียงกับราคาที่ตนเองอยากซื้ออีกเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากราคาที่ผู้ขายอยากขาย ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า ผู้ซื้อไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของผู้ขายได้ดีพอหรือเกิด Empathy gap ขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นอย่าไปโกรธหรือหงุดหงิดใครก็ตามที่ไม่ได้ทำตามคำแนะนำของเรา
คนที่ไม่ได้เล่นหุ้นตามแบบเรา บางทีเขาก็อยู่ในสถานการณ์ที่เคยพลาด เคยเจ๊งมาก่อน
เราที่ไม่เคยพลาดหรือเจ๊งแบบเขา ก็เลยไป Underestimate ความเจ็บปวดที่เขาเคยเจอ
ด้วยคำพูดประมาณว่า “ถึงจะพลาด มันก็ไม่เท่าไร”
บางทีถ้าเราอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับเขา เราก็จะเป็นเหมือนเขาเช่นกันนะครับ
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/