ถ้าใครติดตามงานเขียนของผมเรื่อย ๆ ก็จะเห็นว่า หลุมพรางในการตัดสินใจมีมากมายเลยทีเดียว
แต่ข่าวดีคือ ตอนนี้เรารู้แล้วว่าหลุมพรางมีอะไรบ้าง เราจะได้คอยระวังไม่ให้ตกหลุมพรางอีก
ตอนนี้มีอีกหนึ่งหลุมพรางที่ผมคิดว่าเป็นหลุมพรางที่เราอาจจะตกลงไปได้ง่ายที่สุด และเผลอ ๆ เป็นการตกไปแบบไม่รู้ตัวซะด้วยซ้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักจะเกิดกับคนที่รู้จักหลุมพรางต่าง ๆ เป็นอย่างดี !!!
ที่เราเรียกกันว่า “กูรู้” เอ้ย “กูรู” นั่นแหละครับ
เนื่องจากกูรูเหล่านี้ (อาจจะรวมถึงคนอ่านและคนเขียนด้วย 555) เรียนรู้เรื่องความลำเอียง ในการตัดสินใจจำนวนมาก จึงทำให้เรามักจะมองเห็นคนอื่นว่า เขาตกหลุมพรางอะไรบ้าง จนกระทั่งลืมมองดูตัวเราเอง !!!
การที่เราไปมองเห็นแต่ว่าคนอื่นตัดสินใจผิดพลาดอย่างไร โดยลืมมองไปว่า เราก็ทำผิดพลาดเหมือนกัน เราเรียกอาการนี้ว่า Bias blind spot ครับ
ในการทดลองของ Emily Pronin และ Matthew Kugler แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ในปี 2007 นั้น ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง และเกี่ยวกับสิ่งอื่น
และก็ไม่น่าประหลาดใจว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมี Bias ในการตัดสินใจ
เช่น ให้คะแนนเกี่ยวกับตัวเองสูงกว่าคนอื่นในเรื่องที่ดี
คราวนี้ ผู้ทดลองก็ได้อธิบายว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีความลำเอียงในการตัดสินใจแบบไหน อย่างไร และถามผู้เข้าร่วมการทดลองว่ามันส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเขาหรือไม่อย่างไร
ผู้เข้าร่วมการทดลองให้ความเห็นว่ามันส่งผลกระทบต่อเขาน้อยกว่าคนอื่น
หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแต่ละคนบอกว่าเขาไม่มีความลำเอียง ในขณะที่คนอื่นมีความลำเอียง !!!
นี่แหละครับที่เรียกว่า Bias blind spot
เหตุผลง่าย ๆ คือคนส่วนใหญ่มักจะเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ และคำว่า Bias นั้น มันเป็นความรู้สึกเชิงลบ ดังนั้นคนทั่วไปมักจะคิดว่าเราไม่มีอาการแบบนั้น !!!
คราวนี้ เวลาเราเห็นใครที่ตัดสินใจอะไรผิด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหุ้นหรือเรื่องใด ๆ ก็ตาม
ก่อนที่จะไปว่าเขา ลองกลับมานึกถึงตัวเราด้วยนะครับ
จะได้ไม่เกิดจุดบอดเหมือนที่กล่าวไปแล้วไงครับ
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: ตัวเราดีที่สุด (Bias blind spot)
แต่ข่าวดีคือ ตอนนี้เรารู้แล้วว่าหลุมพรางมีอะไรบ้าง เราจะได้คอยระวังไม่ให้ตกหลุมพรางอีก
ตอนนี้มีอีกหนึ่งหลุมพรางที่ผมคิดว่าเป็นหลุมพรางที่เราอาจจะตกลงไปได้ง่ายที่สุด และเผลอ ๆ เป็นการตกไปแบบไม่รู้ตัวซะด้วยซ้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักจะเกิดกับคนที่รู้จักหลุมพรางต่าง ๆ เป็นอย่างดี !!!
ที่เราเรียกกันว่า “กูรู้” เอ้ย “กูรู” นั่นแหละครับ
เนื่องจากกูรูเหล่านี้ (อาจจะรวมถึงคนอ่านและคนเขียนด้วย 555) เรียนรู้เรื่องความลำเอียง ในการตัดสินใจจำนวนมาก จึงทำให้เรามักจะมองเห็นคนอื่นว่า เขาตกหลุมพรางอะไรบ้าง จนกระทั่งลืมมองดูตัวเราเอง !!!
การที่เราไปมองเห็นแต่ว่าคนอื่นตัดสินใจผิดพลาดอย่างไร โดยลืมมองไปว่า เราก็ทำผิดพลาดเหมือนกัน เราเรียกอาการนี้ว่า Bias blind spot ครับ
ในการทดลองของ Emily Pronin และ Matthew Kugler แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ในปี 2007 นั้น ได้ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเอง และเกี่ยวกับสิ่งอื่น
และก็ไม่น่าประหลาดใจว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมี Bias ในการตัดสินใจ
เช่น ให้คะแนนเกี่ยวกับตัวเองสูงกว่าคนอื่นในเรื่องที่ดี
คราวนี้ ผู้ทดลองก็ได้อธิบายว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีความลำเอียงในการตัดสินใจแบบไหน อย่างไร และถามผู้เข้าร่วมการทดลองว่ามันส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของเขาหรือไม่อย่างไร
ผู้เข้าร่วมการทดลองให้ความเห็นว่ามันส่งผลกระทบต่อเขาน้อยกว่าคนอื่น
หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแต่ละคนบอกว่าเขาไม่มีความลำเอียง ในขณะที่คนอื่นมีความลำเอียง !!!
นี่แหละครับที่เรียกว่า Bias blind spot
เหตุผลง่าย ๆ คือคนส่วนใหญ่มักจะเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ และคำว่า Bias นั้น มันเป็นความรู้สึกเชิงลบ ดังนั้นคนทั่วไปมักจะคิดว่าเราไม่มีอาการแบบนั้น !!!
คราวนี้ เวลาเราเห็นใครที่ตัดสินใจอะไรผิด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหุ้นหรือเรื่องใด ๆ ก็ตาม
ก่อนที่จะไปว่าเขา ลองกลับมานึกถึงตัวเราด้วยนะครับ
จะได้ไม่เกิดจุดบอดเหมือนที่กล่าวไปแล้วไงครับ
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking