นักลงทุนหลายคนมีความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
เราคิดว่าเราจะสามารถเอาชนะตลาดหุ้นได้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน
เพราะถ้าเราคิดว่าเราจะแพ้ เราคงไม่เข้ามาในตลาดตั้งแต่แรกจริงไหมครับ
แต่ที่แปลกคือ ...
เรามักจะประมาณความสามารถเราผิดไป คือยิ่งตลาดมีความผันผวนมาก ซึ่งยากที่จะทำนาย เรามักจะคิดว่าเรายิ่งจะสามารถเอาชนะตลาดได้ ซะงั้น !!!
แต่ในทางกลับกัน ยิ่งตลาดไม่ได้ผันผวนมากนัก ซึ่งน่าจะทำนายตลาดได้ง่าย เรากลับคิดว่าเรามีโอกาสต่ำที่จะประสบความสำเร็จ
เราเรียกอารมณ์แบบนี้ว่า Hard–easy effect ครับ
ในปี 1997 Goldstein และ Hogarth จาก University of Chicago ได้ทำการทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองตอบคำถามความรู้ทั่วไปเช่น “ท่านคิดว่าซิปถูกสร้างขึ้นมาก่อนหรือหลังปี 1920”
โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองบอกด้วยว่าเขามั่นใจคำตอบที่เขาตอบมามากเพียงใด
ผลการทดลองพบว่ายิ่งคำถามที่คนตอบคิดว่าง่าย เขายิ่งไม่ค่อยมั่นใจในคำตอบ
แต่ยิ่งคำถามยิ่งยาก เขายิ่งมั่นใจ
เวลาเราลงทุนอะไร แล้วมีอารมณ์มั่นใจมาก ๆ ว่าเสร็จเราแน่แบบนี้ยิ่งต้องระวังนะครับ เพราะส่วนใหญ่แล้ว เรานั่นแหละที่เสร็จ 55555
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: ยิ่งยาก ยิ่งคิดว่าจะชนะ (Hard–easy effect)
เราคิดว่าเราจะสามารถเอาชนะตลาดหุ้นได้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน
เพราะถ้าเราคิดว่าเราจะแพ้ เราคงไม่เข้ามาในตลาดตั้งแต่แรกจริงไหมครับ
แต่ที่แปลกคือ ...
เรามักจะประมาณความสามารถเราผิดไป คือยิ่งตลาดมีความผันผวนมาก ซึ่งยากที่จะทำนาย เรามักจะคิดว่าเรายิ่งจะสามารถเอาชนะตลาดได้ ซะงั้น !!!
แต่ในทางกลับกัน ยิ่งตลาดไม่ได้ผันผวนมากนัก ซึ่งน่าจะทำนายตลาดได้ง่าย เรากลับคิดว่าเรามีโอกาสต่ำที่จะประสบความสำเร็จ
เราเรียกอารมณ์แบบนี้ว่า Hard–easy effect ครับ
ในปี 1997 Goldstein และ Hogarth จาก University of Chicago ได้ทำการทดลอง โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองตอบคำถามความรู้ทั่วไปเช่น “ท่านคิดว่าซิปถูกสร้างขึ้นมาก่อนหรือหลังปี 1920”
โดยให้ผู้เข้าร่วมการทดลองบอกด้วยว่าเขามั่นใจคำตอบที่เขาตอบมามากเพียงใด
ผลการทดลองพบว่ายิ่งคำถามที่คนตอบคิดว่าง่าย เขายิ่งไม่ค่อยมั่นใจในคำตอบ
แต่ยิ่งคำถามยิ่งยาก เขายิ่งมั่นใจ
เวลาเราลงทุนอะไร แล้วมีอารมณ์มั่นใจมาก ๆ ว่าเสร็จเราแน่แบบนี้ยิ่งต้องระวังนะครับ เพราะส่วนใหญ่แล้ว เรานั่นแหละที่เสร็จ 55555
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/