ความลำเอียงในการตัดสินใจในการลงทุน: หุ้นที่เราซื้อดีกว่าหุ้นที่เราไม่ซื้อเสมอ (Endowment effect)

กระทู้คำถาม
ก่อนอ่านเนื้อเรื่องในหัวข้อนี้ ให้เวลา 2 นาทีคิดถึงหุ้นที่เราถืออยู่ปัจจุบัน แล้วลองเทียบกับหุ้นที่เราขายไปแล้ว หรือหุ้นที่เราสนใจแต่ยังไม่ซื้อ แล้วตอบตัวเองนะครับว่า หุ้นอันไหนน่าสนใจกว่ากัน

ถ้าท่านเป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่ ก็คงตอบว่า ก็ต้องเป็นหุ้นที่เราถืออยู่สิ จริงไหมครับ

ก็ไม่เห็นน่าแปลกใจเลยนี่ เพราะถ้าหุ้นที่ไม่เราไม่มี มันดีกว่าหุ้นที่เรามี เราก็คงซื้อหุ้นตัวนั้นแล้วจริงไหม และก็คงขายหุ้นที่เรามีอยู่แล้วเช่นกัน

เอ ไม่เห็นมีอะไรน่าตกใจซะหน่อย

ใจเย็น ๆ ครับ ผมกำลังจะบอกสิ่งที่น่าแปลกใจครับ

คนส่วนใหญ่ก็คิดแบบนี้แหละครับ ว่าสิ่งที่เราเลือกมาแล้ว มันก็ต้องดีที่สุดอยู่แล้ว

แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นว่า ผมเอาหุ้นตัวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หุ้นที่ท่านถืออยู่ตอนนี้มาใส่ไว้ในพอร์ตของท่าน
เชื่อไหมครับ ท่านก็จะพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนว่าหุ้นที่ท่านถือมันดีที่สุดอยู่ดี หรือพูดง่าย ๆ คือ เหตุผล มาทีหลังการถือหุ้นนั่นเอง !!!

เราเรียกอาการแบบนี้ว่า Endowment effect ครับ

ในปี 1990 ทีมวิจัยของ Daniel Kahneman ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทำการทดลองที่มีชื่อเสียงโด่งดังอันหนึ่ง

โดยในการทดลองนี้ ผู้ถูกทดลองได้รับการแจกแก้วน้ำและได้รับทางเลือกว่าจะขายแก้วน้ำนี้ในราคาเท่าไร ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่ได้แก้วน้ำ ก็ถูกถามว่าจะซื้อแก้วน้ำนี้ในราคาที่เท่าไร

ผลการทดลองพบว่าราคาที่คนที่มีแก้วน้ำอยู่และจะขายนั้น มีค่าเป็น 2 เท่าของราคาที่คนที่ไม่มีแก้วน้ำอยากจะซื้อ

หรือแปลความหมายง่าย ๆ พอแก้วน้ำอยู่ในมือเราแล้วมันมีค่าเพิ่มขึ้นมาทันที !!!

เอ้า ต่อไป เวลาคิดไม่อยากจะขายหุ้นที่เราถืออยู่
ลองดูดี ๆ นะครับ ว่าหุ้นมันดีจริง ๆ เพราะเหตุผลอื่น ๆ

หรือมันเป็นหุ้นที่ดี เพียงเพราะว่ามันเป็นหุ้น “ของเรา” เท่านั้นนะครับ

ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่