เราลองมาเล่นเกมอะไรกันดูนะครับ
ขอเริ่มต้นด้วยข้อมูลชุดนี้
“บริษัท A เป็นบริษัทขนาดเล็ก ที่แต่ละวัน ก็ไม่ค่อยมี Volume ในการซื้อขายสักเท่าไร เมื่อไม่นานมานี้ Volume ในการซื้อขายของหุ้น A นี้ เริ่มหนาแน่นขึ้นแบบผิดปกติ และอีกไม่นาน ก็มีการปล่อยข่าวลือ ข่าวดีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและ ราคาหุ้นก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 1 เท่า ในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์”
เมื่ออ่านข้อความดังกล่าวแล้ว ให้ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้ เป็นไปได้มากที่สุด
1) ในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นของบริษัท A จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น
2) ในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นของบริษัท A จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น และหลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีการปั่นหุ้นเกิดขึ้น
ข้อไหนน่าจะเป็นไปได้มากกว่ากันครับ
...
...
ถ้าท่านเป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่
คำตอบที่เรามักจะเลือกคือข้อที่ 2) ครับ
เพราะหลังจากเราอ่านข้อมูลแล้ว มันมีแนวโน้มให้เชื่อว่ามันน่าจะเป็นการปั่นหุ้นใช่ไหมครับ แต่ถ้าลองกลับไปอ่านคำถามดี ๆ คำถามถามว่าข้อไหนมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด
คำตอบที่เราควรจะตอบคือข้อที่ 1 ครับ !!!
ทำไมหรือครับ
ลองคิดตามอย่างนี้นะครับ ถ้าข้อที่ 2 ถูก ยังไงข้อที่ 1 ต้องถูกเสมอ ใช่ไหมครับ
แต่... ถ้าข้อที่ 1 ถูก ข้อที่ 2 อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ดังนั้นข้อที่ 1 จึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกมากกว่าข้อที่ 2 เสมอ จริงไหมครับ
ตัวอย่างข้างต้นนี้คือตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า Conjunction fallacy ที่เป็นอาการของคนเราที่มักจะคิดว่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง จะมีมากกว่าเหตุการณ์ทั่วไปที่ไม่เฉพาะเจาะจง
ในปี 1980 สองกูรูชื่อดังในเรื่องการตัดสินใจ คือ Amos Tversky และ Daniel Kahneman
ได้ทำการทดลองโดยถามผู้เข้าร่วมการทดลองด้วยคำถามต่อไปนี้
“ถ้าสมมุติว่า บยอร์น บอร์ก เข้าชิงเทนนิสวิมเบิลดัน ในปี 1981 ให้ท่านเรียงลำดับของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้ จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด”
1) บอร์กจะชนะการแข่งขันในแมชท์นี้
2) บอร์กจะแพ้ในการแข่งขันเซ็ตแรก
3) บอร์กจะแพ้ในการแข่งขันเซ็ตแรกแต่ในที่สุดจะชนะการแข่งขันในแมชท์นี้
4) บอร์กจะชนะการแข่งขันเซ็ตแรก แต่ในที่สุดจะแพ้การแข่งขันในแมชท์นี้
จากผลการทดลองพบว่า คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเชื่อว่าข้อความที่ 3 มีความเป็นไปได้มากกว่าข้อความที่ 2 !!!
ถ้าอ่านดี ๆ ข้อ 3 ถ้าจะเกิดขึ้น ข้อ 2 ก็จะต้องเกิดขึ้นด้วยเสมอจริงไหมครับ ดังนั้นไม่มีทางที่ข้อ 3 จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าข้อ 2
แต่อย่างว่าแหละครับ มนุษย์เราทั่วไปก็ตกหลุมพรางในลักษณะนี้อยู่เสมอ
ระวังนะครับ บางทีเราก็ Overestimate ความสามารถของเราจนเกินไป จนบางครั้งเราเชื่อว่าข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก ๆ มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าข้อมูลทั่วไป
ดังนั้นเวลาอ่านข่าวที่เกี่ยวกับหุ้นคอยเตือนตัวเองดี ๆ นะครับว่าที่ดูข่าวมันน่าเชื่อถือ มันเป็นเพียงเพราะว่าเราไปเจอรายละเอียดเยอะ ๆ เท่านั้นหรือเปล่านะครับ
ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจอื่น ๆ ได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: ยิ่งละเอียด ยิ่งมีโอกาสถูกสูง จริงหรือ (Conjunction fallacy)
ขอเริ่มต้นด้วยข้อมูลชุดนี้
“บริษัท A เป็นบริษัทขนาดเล็ก ที่แต่ละวัน ก็ไม่ค่อยมี Volume ในการซื้อขายสักเท่าไร เมื่อไม่นานมานี้ Volume ในการซื้อขายของหุ้น A นี้ เริ่มหนาแน่นขึ้นแบบผิดปกติ และอีกไม่นาน ก็มีการปล่อยข่าวลือ ข่าวดีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและ ราคาหุ้นก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 1 เท่า ในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์”
เมื่ออ่านข้อความดังกล่าวแล้ว ให้ท่านคิดว่าข้อใดต่อไปนี้ เป็นไปได้มากที่สุด
1) ในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นของบริษัท A จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น
2) ในสัปดาห์หน้าราคาหุ้นของบริษัท A จะยังคงปรับตัวสูงขึ้น และหลังจากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีการปั่นหุ้นเกิดขึ้น
ข้อไหนน่าจะเป็นไปได้มากกว่ากันครับ
...
...
ถ้าท่านเป็นเหมือนกับคนส่วนใหญ่
คำตอบที่เรามักจะเลือกคือข้อที่ 2) ครับ
เพราะหลังจากเราอ่านข้อมูลแล้ว มันมีแนวโน้มให้เชื่อว่ามันน่าจะเป็นการปั่นหุ้นใช่ไหมครับ แต่ถ้าลองกลับไปอ่านคำถามดี ๆ คำถามถามว่าข้อไหนมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด
คำตอบที่เราควรจะตอบคือข้อที่ 1 ครับ !!!
ทำไมหรือครับ
ลองคิดตามอย่างนี้นะครับ ถ้าข้อที่ 2 ถูก ยังไงข้อที่ 1 ต้องถูกเสมอ ใช่ไหมครับ
แต่... ถ้าข้อที่ 1 ถูก ข้อที่ 2 อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ดังนั้นข้อที่ 1 จึงมีความเป็นไปได้ที่จะถูกมากกว่าข้อที่ 2 เสมอ จริงไหมครับ
ตัวอย่างข้างต้นนี้คือตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า Conjunction fallacy ที่เป็นอาการของคนเราที่มักจะคิดว่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง จะมีมากกว่าเหตุการณ์ทั่วไปที่ไม่เฉพาะเจาะจง
ในปี 1980 สองกูรูชื่อดังในเรื่องการตัดสินใจ คือ Amos Tversky และ Daniel Kahneman
ได้ทำการทดลองโดยถามผู้เข้าร่วมการทดลองด้วยคำถามต่อไปนี้
“ถ้าสมมุติว่า บยอร์น บอร์ก เข้าชิงเทนนิสวิมเบิลดัน ในปี 1981 ให้ท่านเรียงลำดับของความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่อไปนี้ จากมากที่สุดไปน้อยที่สุด”
1) บอร์กจะชนะการแข่งขันในแมชท์นี้
2) บอร์กจะแพ้ในการแข่งขันเซ็ตแรก
3) บอร์กจะแพ้ในการแข่งขันเซ็ตแรกแต่ในที่สุดจะชนะการแข่งขันในแมชท์นี้
4) บอร์กจะชนะการแข่งขันเซ็ตแรก แต่ในที่สุดจะแพ้การแข่งขันในแมชท์นี้
จากผลการทดลองพบว่า คนส่วนใหญ่เลือกที่จะเชื่อว่าข้อความที่ 3 มีความเป็นไปได้มากกว่าข้อความที่ 2 !!!
ถ้าอ่านดี ๆ ข้อ 3 ถ้าจะเกิดขึ้น ข้อ 2 ก็จะต้องเกิดขึ้นด้วยเสมอจริงไหมครับ ดังนั้นไม่มีทางที่ข้อ 3 จะมีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าข้อ 2
แต่อย่างว่าแหละครับ มนุษย์เราทั่วไปก็ตกหลุมพรางในลักษณะนี้อยู่เสมอ
ระวังนะครับ บางทีเราก็ Overestimate ความสามารถของเราจนเกินไป จนบางครั้งเราเชื่อว่าข้อมูลที่มีรายละเอียดมาก ๆ มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าข้อมูลทั่วไป
ดังนั้นเวลาอ่านข่าวที่เกี่ยวกับหุ้นคอยเตือนตัวเองดี ๆ นะครับว่าที่ดูข่าวมันน่าเชื่อถือ มันเป็นเพียงเพราะว่าเราไปเจอรายละเอียดเยอะ ๆ เท่านั้นหรือเปล่านะครับ
ติดตามอ่านบทความเกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจอื่น ๆ ได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/