Trader ทั้งหลายเคยเจอเหตุการณ์นี้ไหมครับ
ช่วงไหนที่ “มือขึ้น” เรามักจะ Trade ได้กำไรติด ๆ กัน
แต่ช่วงไหนที่ “มือตก” เราก็มักจะขาดทุนติด ๆ กันเช่นกัน
อาการเช่นนี้มีชื่อเรียกว่า Hot-hand fallacy ครับ
Hot hand เป็นชื่อเรียกที่เรามักจะเจอในกีฬาบาสเกตบอล ที่หลายคนมีความเชื่อว่า หากนักกีฬาคนใดที่ชู้ตลงห่วงได้ติด ๆ กัน โอกาสที่เขาจะชู้ตบอลลงอีก จะมีมากขึ้น หรือเรียกว่ามือกำลังขึ้น ว่างั้นเถอะ
จากการศึกษาของ Gilovich จาก Cornell University ร่วมกับ Tversky และ Vallone แห่ง Stanford University ในปี1985 ที่ทำการศึกษาการชู้ตบอลของนักกีฬาบาสเกตบอล พบว่าการชู้ตลงแต่ละครั้งนั้น เป็นอิสระต่อกัน!!! หรือพูดง่าย ๆ ว่ามันไม่เกี่ยวกันเลยที่ว่าการชู้ตลงห่วงติด ๆ กัน จะทำให้โอกาสที่ครั้งต่อไปจะลงมีมากขึ้น
อ้าว แล้วทำไมเวลาเราดูการแข่งขัน เราอาจจะเห็นเหตุการณ์อย่างนั้นอยู่เรื่อย ๆ ล่ะ
คำตอบคือบางครั้งเหตุการณ์ที่เป็น Random นั้น มันอาจจะเกิดติด ๆ กันก็ได้ ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องสลับกันไปมาเสมอไป
การที่เราดูการแข่งขัน มันเป็นการสังเกตในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
เราอาจจะเห็นการชู้ตบอลลงห่วงของนักกีฬาคนใดคนหนึ่งติด ๆ กันได้ ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรกันเลยระหว่างการชู้ตลงในครั้งแรก ๆ และในลูกต่อมา
เหมือนกับการโยนหัวก้อยแหละครับ
เราทุกคนทราบดีว่า โอกาสที่จะได้หัวคือ 50% ก้อย 50%
แต่หากเราสังเกตในช่วงเวลาสั้น ๆ บางทีเราอาจจะเห็นการออกหัวติดกัน 6 ใน 7 ครั้งก็ได้
เล่นหุ้นก็เหมือนกันครับ
Trader คนใด ที่สำเร็จติด ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง
ก็อย่างเพิ่งคิดว่าช่วงนี้มือขึ้น ทุ่มไปหมดหน้าตักนะครับ
เพราะสิ่งที่ท่านเห็น อาจจะเป็นเพียง Random Event อันหนึ่งก็ได้ครับ
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทาง
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: ช่วงนี้มือขึ้น (Hot-hand fallacy)
ช่วงไหนที่ “มือขึ้น” เรามักจะ Trade ได้กำไรติด ๆ กัน
แต่ช่วงไหนที่ “มือตก” เราก็มักจะขาดทุนติด ๆ กันเช่นกัน
อาการเช่นนี้มีชื่อเรียกว่า Hot-hand fallacy ครับ
Hot hand เป็นชื่อเรียกที่เรามักจะเจอในกีฬาบาสเกตบอล ที่หลายคนมีความเชื่อว่า หากนักกีฬาคนใดที่ชู้ตลงห่วงได้ติด ๆ กัน โอกาสที่เขาจะชู้ตบอลลงอีก จะมีมากขึ้น หรือเรียกว่ามือกำลังขึ้น ว่างั้นเถอะ
จากการศึกษาของ Gilovich จาก Cornell University ร่วมกับ Tversky และ Vallone แห่ง Stanford University ในปี1985 ที่ทำการศึกษาการชู้ตบอลของนักกีฬาบาสเกตบอล พบว่าการชู้ตลงแต่ละครั้งนั้น เป็นอิสระต่อกัน!!! หรือพูดง่าย ๆ ว่ามันไม่เกี่ยวกันเลยที่ว่าการชู้ตลงห่วงติด ๆ กัน จะทำให้โอกาสที่ครั้งต่อไปจะลงมีมากขึ้น
อ้าว แล้วทำไมเวลาเราดูการแข่งขัน เราอาจจะเห็นเหตุการณ์อย่างนั้นอยู่เรื่อย ๆ ล่ะ
คำตอบคือบางครั้งเหตุการณ์ที่เป็น Random นั้น มันอาจจะเกิดติด ๆ กันก็ได้ ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องสลับกันไปมาเสมอไป
การที่เราดูการแข่งขัน มันเป็นการสังเกตในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
เราอาจจะเห็นการชู้ตบอลลงห่วงของนักกีฬาคนใดคนหนึ่งติด ๆ กันได้ ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรกันเลยระหว่างการชู้ตลงในครั้งแรก ๆ และในลูกต่อมา
เหมือนกับการโยนหัวก้อยแหละครับ
เราทุกคนทราบดีว่า โอกาสที่จะได้หัวคือ 50% ก้อย 50%
แต่หากเราสังเกตในช่วงเวลาสั้น ๆ บางทีเราอาจจะเห็นการออกหัวติดกัน 6 ใน 7 ครั้งก็ได้
เล่นหุ้นก็เหมือนกันครับ
Trader คนใด ที่สำเร็จติด ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง
ก็อย่างเพิ่งคิดว่าช่วงนี้มือขึ้น ทุ่มไปหมดหน้าตักนะครับ
เพราะสิ่งที่ท่านเห็น อาจจะเป็นเพียง Random Event อันหนึ่งก็ได้ครับ
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทาง https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/