มีคำถามมาถาม (อีกแล้ว) ครับ
ถ้าให้เลือกอันใดอันหนึ่งระหว่าง 2 อย่างนี้ เราจะเลือกอันไหนดีครับ
ก. ชุดจานชามที่มี 24 ใบ ที่ทุกชิ้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์
ข. ชุดจานชามเหมือนกัน แต่มี 31 ใบ โดยมีจานที่แตกเป็นรอยอยู่ 2-3 ใบ
เอาใหม่นะครับ แล้วระหว่าง 2 คนนี้ คิดว่าคนไหนใจกว้างกว่ากันครับ
ก. คนที่บริจาคผ้าพันคอที่มีมูลค่าแพงถึง 1,300 บาทโดยประมาณ
ข. คนที่บริจาคเสื้อสูทถูก ๆ ที่มีมูลค่าประมาณ 1,600 บาท
จริง ๆ ถ้าเขียนออกมาแบบนี้
จะดูเหมือนคำตอบมันน่าจะชัดเจนนะครับ
แต่จากผลการศึกษา ในปี 1998 โดย Christopher Hsee อาจารย์จาก University of Chicago
เชื่อไหมครับว่า คนส่วนใหญ่เลือกข้อ ก. มากกว่าข้อ ข. !!!
นี่แหละครับที่เราเรียกว่า Less-is-better effect
คือคนทั่วไปกลับให้คุณค่ากับสิ่งที่มีมูลค่าน้อยกว่า !!!
เหตุผลที่ใช้อธิบายผลการศึกษานี้ ก็คือว่า คนเรามักจะเปรียบเทียบโดยใช้ค่าเฉลี่ยมากกว่าผลรวม
เช่นในคำถามแรก ชุดจานชาม 24 ใบที่ไม่แตกเลย มันมี “ค่าเฉลี่ย” ของคุณภาพ ที่สูงกว่า ชุดจานชาม 31 ใบ ที่มี 2-3 ใบแตกหัก
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ถึงมี 2-3 ใบที่แตกหัก เราก็ยังมีจานชามที่ไม่แตกหักมากกว่า 24 ใบอยู่ตั้งหลายใบ จริงไหมครับ
อย่างคำถามข้อที่ 2 ของการทดลองนี้ ผลปรากฎว่าคนที่บริจาคผ้าพันคอที่มีมูลค่าถึง 1,300 บาท
จะได้รับการยกย่องว่าใจกว้างมากกว่าคนบริจาคเสื้อสูทที่มีมูลค่า 1,600 บาท ทั้ง ๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่า 1,600 บาทมันมากกว่า 1,300 บาท
ทำไมน่ะเหรอครับ
คืออย่างนี้ครับ
เป็นเพราะว่าผู้ตอบคำถามคิดเปรียบเทียบว่าผ้าพันคอทั่วไปราคามันถูกกว่า 1,300 บาทตั้งเยอะ แสดงว่าผู้บริจาคต้องเอาของคุณภาพดี ๆ มาบริจาคแน่
ในขณะที่สูททั่วไปราคาสูงกว่า 1,600 บาทตั้งเยอะ ทำให้เขาคิดว่าสูทที่เอามาบริจาคอาจเป็นสูทที่คุณภาพไม่ค่อยดีนักก็ได้ไงครับ !!!
อีกตัวอย่างหนึ่งของ Less-is-better effect ก็คือ
ว่ากันว่าในการแข่งขันกีฬาใด ๆ ก็ตามคนที่ได้เหรียญเงินมักจะมีความสุขน้อยกว่าคนที่ได้เหรียญทองแดง เพราะว่า...
คนที่ได้เหรียญเงินมักจะเอาตัวเองไปเปรียบกับคนที่ได้เหรียญทอง ในขณะที่คนที่ได้เหรียญทองแดง จะเอาตัวเองไปเปรียบกับคนที่ไม่ได้เหรียญอะไรเลย !!!
คราวนี้กลับมาที่การลงทุนนะครับ เวลาเราจะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของบริษัท
ระวังเรื่องแบบนี้ไว้ด้วยนะครับ
เช่นถ้าบริษัท A มีการลงทุน 5 โครงการ มี “ค่าเฉลี่ย” ของกำไรต่อเงินลงทุนอยู่ที่ 10%
บริษัท B มีการลงทุน 6 โครงการ มี “ค่าเฉลี่ย” ของกำไรต่อเงินลงทุนที่ 8%
ก็ไม่ได้หมายความว่า A จะดีกว่า B เสมอไปนะครับ
เพราะการลงทุน 6 โครงการ ของบริษัท B ถึงมีกำไรต่อเงินลงทุนเฉลี่ยต่ำกว่าการลงทุน 5 โครงการของบริษัท A ก็จริง แต่ “เม็ดเงิน” กำไร ของ B อาจจะมากกว่า A และกำไรต่อหุ้นอาจจะสูงกว่า A ก็ได้นะครับ
ระวังหลุมพรางในเรื่องนี้กันด้วยครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: ยิ่งน้อย ยิ่งดี (Less-is-better effect)
ถ้าให้เลือกอันใดอันหนึ่งระหว่าง 2 อย่างนี้ เราจะเลือกอันไหนดีครับ
ก. ชุดจานชามที่มี 24 ใบ ที่ทุกชิ้นอยู่ในสภาพสมบูรณ์
ข. ชุดจานชามเหมือนกัน แต่มี 31 ใบ โดยมีจานที่แตกเป็นรอยอยู่ 2-3 ใบ
เอาใหม่นะครับ แล้วระหว่าง 2 คนนี้ คิดว่าคนไหนใจกว้างกว่ากันครับ
ก. คนที่บริจาคผ้าพันคอที่มีมูลค่าแพงถึง 1,300 บาทโดยประมาณ
ข. คนที่บริจาคเสื้อสูทถูก ๆ ที่มีมูลค่าประมาณ 1,600 บาท
จริง ๆ ถ้าเขียนออกมาแบบนี้
จะดูเหมือนคำตอบมันน่าจะชัดเจนนะครับ
แต่จากผลการศึกษา ในปี 1998 โดย Christopher Hsee อาจารย์จาก University of Chicago
เชื่อไหมครับว่า คนส่วนใหญ่เลือกข้อ ก. มากกว่าข้อ ข. !!!
นี่แหละครับที่เราเรียกว่า Less-is-better effect
คือคนทั่วไปกลับให้คุณค่ากับสิ่งที่มีมูลค่าน้อยกว่า !!!
เหตุผลที่ใช้อธิบายผลการศึกษานี้ ก็คือว่า คนเรามักจะเปรียบเทียบโดยใช้ค่าเฉลี่ยมากกว่าผลรวม
เช่นในคำถามแรก ชุดจานชาม 24 ใบที่ไม่แตกเลย มันมี “ค่าเฉลี่ย” ของคุณภาพ ที่สูงกว่า ชุดจานชาม 31 ใบ ที่มี 2-3 ใบแตกหัก
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ถึงมี 2-3 ใบที่แตกหัก เราก็ยังมีจานชามที่ไม่แตกหักมากกว่า 24 ใบอยู่ตั้งหลายใบ จริงไหมครับ
อย่างคำถามข้อที่ 2 ของการทดลองนี้ ผลปรากฎว่าคนที่บริจาคผ้าพันคอที่มีมูลค่าถึง 1,300 บาท
จะได้รับการยกย่องว่าใจกว้างมากกว่าคนบริจาคเสื้อสูทที่มีมูลค่า 1,600 บาท ทั้ง ๆ ที่ทุกคนก็รู้ว่า 1,600 บาทมันมากกว่า 1,300 บาท
ทำไมน่ะเหรอครับ
คืออย่างนี้ครับ
เป็นเพราะว่าผู้ตอบคำถามคิดเปรียบเทียบว่าผ้าพันคอทั่วไปราคามันถูกกว่า 1,300 บาทตั้งเยอะ แสดงว่าผู้บริจาคต้องเอาของคุณภาพดี ๆ มาบริจาคแน่
ในขณะที่สูททั่วไปราคาสูงกว่า 1,600 บาทตั้งเยอะ ทำให้เขาคิดว่าสูทที่เอามาบริจาคอาจเป็นสูทที่คุณภาพไม่ค่อยดีนักก็ได้ไงครับ !!!
อีกตัวอย่างหนึ่งของ Less-is-better effect ก็คือ
ว่ากันว่าในการแข่งขันกีฬาใด ๆ ก็ตามคนที่ได้เหรียญเงินมักจะมีความสุขน้อยกว่าคนที่ได้เหรียญทองแดง เพราะว่า...
คนที่ได้เหรียญเงินมักจะเอาตัวเองไปเปรียบกับคนที่ได้เหรียญทอง ในขณะที่คนที่ได้เหรียญทองแดง จะเอาตัวเองไปเปรียบกับคนที่ไม่ได้เหรียญอะไรเลย !!!
คราวนี้กลับมาที่การลงทุนนะครับ เวลาเราจะเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของบริษัท
ระวังเรื่องแบบนี้ไว้ด้วยนะครับ
เช่นถ้าบริษัท A มีการลงทุน 5 โครงการ มี “ค่าเฉลี่ย” ของกำไรต่อเงินลงทุนอยู่ที่ 10%
บริษัท B มีการลงทุน 6 โครงการ มี “ค่าเฉลี่ย” ของกำไรต่อเงินลงทุนที่ 8%
ก็ไม่ได้หมายความว่า A จะดีกว่า B เสมอไปนะครับ
เพราะการลงทุน 6 โครงการ ของบริษัท B ถึงมีกำไรต่อเงินลงทุนเฉลี่ยต่ำกว่าการลงทุน 5 โครงการของบริษัท A ก็จริง แต่ “เม็ดเงิน” กำไร ของ B อาจจะมากกว่า A และกำไรต่อหุ้นอาจจะสูงกว่า A ก็ได้นะครับ
ระวังหลุมพรางในเรื่องนี้กันด้วยครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking