ในการซื้อขายหุ้นนั้น หลาย ๆ ครั้ง เราจะมีเครื่องมือจำนวนมาก
ถ้าเป็นทางด้านเทคนิค เราก็มี Indicator ต่าง ๆ จำนวนไม่น้อย รวมถึง Chart อีกจำนวนมหาศาล
ถ้าเป็นด้านพื้นฐาน เราก็มีอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือให้เราวิเคราะห์ความน่าสนใจของบริษัทที่เราจะเข้าไปลงทุน
คราวนี้สิ่งที่เราเจอคือ เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ มันก็มีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันออกไป เช่นอัตราส่วนระหว่างหนี้ต่อทุน (D/E Ratio) ก็อาจจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเราวิเคราะห์ว่าบริษัทมีหนี้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับทุนที่บริษัทมี
หรือจะเป็น Chart ต่าง ๆ ทางด้านเทคนิค ซึ่งมีสัญญาณต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ละสัญญาณก็จะมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าใช้เพื่อดูจุดซื้อขาย หรือใช้เพื่อประเมินแนวโน้ม
คราวนี้บางทีเรามักจะยึดติดกับเครื่องมือเหล่านี้ โดยใช้เครื่องมือเหล่านี้สำหรับวัตถุประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมาเท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วเครื่องมือเหล่านี้มันอาจจะมีประโยชน์มากกว่านั้นก็ได้
เราเรียกอาการนี้ว่า Functional fixedness ครับ
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าสมมุติว่าเราต้องการหาที่ทับกระดาษ เพื่อให้กระดาษปลิว แต่เรามองเห็นแต่ค้อนที่วางอยู่ หลายคนก็มองข้ามไป เพราะเราคิดแค่ว่าค้อนนั้นใช้ได้แต่ตอกตะปูเท่านั้น !!!
จริง ๆ ค้อนก็เอามาทับกระดาษได้นะครับ
จากงานวิจัยของ German และ Defeyter แห่ง University of Essex ในปี 2000 พบว่าอาการแบบนี้ไม่เกิดกับเด็กอายุ 5 ขวบเลยแต่พอโตขึ้นมาสัก 7 ขวบ เราก็จะเริ่มสร้างกรอบของตัวเองขึ้นมา
ลองมองดูอายุเราตอนนี้สิครับ ป่านนี้เราคงสร้างกรอบไว้เยอะแยะไปหมด
ลองกลับไปดูเครื่องมือที่เราใช้ ๆ กันอยู่นะครับ
แล้วถามตัวเองว่า มันสามารถใช้งานอื่น ๆ อะไรได้อีก
หรือในทางกลับกัน หากมีปัญหาหรือคำถามเกิดขึ้น
ลองมองดูเครื่องมือแบบอื่น ๆ บ้างว่ามันสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้หรือไม่นะครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: อย่ายึดติด (Functional fixedness)
ถ้าเป็นทางด้านเทคนิค เราก็มี Indicator ต่าง ๆ จำนวนไม่น้อย รวมถึง Chart อีกจำนวนมหาศาล
ถ้าเป็นด้านพื้นฐาน เราก็มีอัตราส่วนทางการเงินต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือให้เราวิเคราะห์ความน่าสนใจของบริษัทที่เราจะเข้าไปลงทุน
คราวนี้สิ่งที่เราเจอคือ เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ มันก็มีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันออกไป เช่นอัตราส่วนระหว่างหนี้ต่อทุน (D/E Ratio) ก็อาจจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเราวิเคราะห์ว่าบริษัทมีหนี้มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับทุนที่บริษัทมี
หรือจะเป็น Chart ต่าง ๆ ทางด้านเทคนิค ซึ่งมีสัญญาณต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ละสัญญาณก็จะมีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กัน ไม่ว่าใช้เพื่อดูจุดซื้อขาย หรือใช้เพื่อประเมินแนวโน้ม
คราวนี้บางทีเรามักจะยึดติดกับเครื่องมือเหล่านี้ โดยใช้เครื่องมือเหล่านี้สำหรับวัตถุประสงค์ที่มันถูกสร้างขึ้นมาเท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วเครื่องมือเหล่านี้มันอาจจะมีประโยชน์มากกว่านั้นก็ได้
เราเรียกอาการนี้ว่า Functional fixedness ครับ
ยกตัวอย่างง่าย ๆ ว่าสมมุติว่าเราต้องการหาที่ทับกระดาษ เพื่อให้กระดาษปลิว แต่เรามองเห็นแต่ค้อนที่วางอยู่ หลายคนก็มองข้ามไป เพราะเราคิดแค่ว่าค้อนนั้นใช้ได้แต่ตอกตะปูเท่านั้น !!!
จริง ๆ ค้อนก็เอามาทับกระดาษได้นะครับ
จากงานวิจัยของ German และ Defeyter แห่ง University of Essex ในปี 2000 พบว่าอาการแบบนี้ไม่เกิดกับเด็กอายุ 5 ขวบเลยแต่พอโตขึ้นมาสัก 7 ขวบ เราก็จะเริ่มสร้างกรอบของตัวเองขึ้นมา
ลองมองดูอายุเราตอนนี้สิครับ ป่านนี้เราคงสร้างกรอบไว้เยอะแยะไปหมด
ลองกลับไปดูเครื่องมือที่เราใช้ ๆ กันอยู่นะครับ
แล้วถามตัวเองว่า มันสามารถใช้งานอื่น ๆ อะไรได้อีก
หรือในทางกลับกัน หากมีปัญหาหรือคำถามเกิดขึ้น
ลองมองดูเครื่องมือแบบอื่น ๆ บ้างว่ามันสามารถตอบคำถามเหล่านั้นได้หรือไม่นะครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/