เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ไหมครับ เราหาข้อมูลมาแทบตาย
หรือบางทีต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้มาด้วย
แต่สุดท้าย มันก็ไม่ได้ช่วยให้เราตัดสินใจเปลี่ยนไปเลย
ยกตัวอย่างนะครับ ถ้ามีคนป่วย ที่คุณหมอกำลังสงสัยว่าจะเป็นโรคอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นโรค A หรือ B และด้วยประสบการณ์และความรู้ ของคุณหมอก็บอกว่าโอกาสจะเป็นโรค A หรือ B นั้นมีโอกาสเท่า ๆ กัน
คราวนี้มันมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้แยกโรค เพียงแต่เครื่องมือนี้ยังพัฒนามาไม่ดีนัก
คือโอกาสที่ทายถูกหรือผิด มีเท่า ๆ กันอีก
แบบนี้ถามว่าเราควรเสียเวลาใช้เครื่องมือทางการแพทย์นี้ตรวจเพิ่มเติมไหมครับ ?
เห็นแบบนี้แล้ว ทุกคนน่าจะตอบว่าไม่เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรใช่ไหม เพราะสุดท้ายถึงตรวจออกมาว่าเป็นโรค A มันก็มีโอกาสผิด 50% อยู่ดี พูดง่าย ๆ คือถึงใช้หรือไม่ใช่เครื่องมือนี้ ก็มีค่าเท่ากัน !!!
แต่เชื่อไหมครับ ...
ในชีวิตจริง มีหลายคนที่ทำในลักษณะนี้อยู่เป็นประจำ
เราเรียกลักษณะของการที่เรามักจะวิ่งหาข้อมูลทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้ให้อะไรเพิ่มเติมว่า Information bias ครับ
ในตลาดหุ้นมีอะไรแบบนี้เยอะมาก
เราพยายามวิ่งหาข้อมูลการทำนายราคาหุ้นในอนาคตทั้ง ๆ ที่หลายครั้งเราก็รู้ว่า
การทำนายนั้นมีโอกาสถูกหรือผิดได้เท่า ๆ กัน
แต่มันก็อดไม่ได้ใช่ไหมครับ
เราไปถามหุ้นจาก Webboard ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้ว่า ใครไม่รู้จะมาตอบ เขาเป็นผู้รู้จริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ และถึงเขาบอกหุ้นมา เราก็ไม่กล้าซื้อหรือขายตามที่เขาบอกอยู่ดี
แต่เราก็ยังทำใช่ไหมครับ 555
บางที เวลาที่เราเสียไปกับการหาข้อมูลแบบนี้ เอามาใช้สร้างทักษะ และความรู้เพิ่มเติมให้กับตัวเอง อาจจะดีกว่านะครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทาง
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจ: ข้อมูลนี้ มีหรือไม่มี ก็เหมือนกัน (Information bias)
หรือบางทีต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้มาด้วย
แต่สุดท้าย มันก็ไม่ได้ช่วยให้เราตัดสินใจเปลี่ยนไปเลย
ยกตัวอย่างนะครับ ถ้ามีคนป่วย ที่คุณหมอกำลังสงสัยว่าจะเป็นโรคอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นโรค A หรือ B และด้วยประสบการณ์และความรู้ ของคุณหมอก็บอกว่าโอกาสจะเป็นโรค A หรือ B นั้นมีโอกาสเท่า ๆ กัน
คราวนี้มันมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้แยกโรค เพียงแต่เครื่องมือนี้ยังพัฒนามาไม่ดีนัก
คือโอกาสที่ทายถูกหรือผิด มีเท่า ๆ กันอีก
แบบนี้ถามว่าเราควรเสียเวลาใช้เครื่องมือทางการแพทย์นี้ตรวจเพิ่มเติมไหมครับ ?
เห็นแบบนี้แล้ว ทุกคนน่าจะตอบว่าไม่เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรใช่ไหม เพราะสุดท้ายถึงตรวจออกมาว่าเป็นโรค A มันก็มีโอกาสผิด 50% อยู่ดี พูดง่าย ๆ คือถึงใช้หรือไม่ใช่เครื่องมือนี้ ก็มีค่าเท่ากัน !!!
แต่เชื่อไหมครับ ...
ในชีวิตจริง มีหลายคนที่ทำในลักษณะนี้อยู่เป็นประจำ
เราเรียกลักษณะของการที่เรามักจะวิ่งหาข้อมูลทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้ให้อะไรเพิ่มเติมว่า Information bias ครับ
ในตลาดหุ้นมีอะไรแบบนี้เยอะมาก
เราพยายามวิ่งหาข้อมูลการทำนายราคาหุ้นในอนาคตทั้ง ๆ ที่หลายครั้งเราก็รู้ว่า
การทำนายนั้นมีโอกาสถูกหรือผิดได้เท่า ๆ กัน
แต่มันก็อดไม่ได้ใช่ไหมครับ
เราไปถามหุ้นจาก Webboard ทั้ง ๆ ที่เราก็รู้ว่า ใครไม่รู้จะมาตอบ เขาเป็นผู้รู้จริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบ และถึงเขาบอกหุ้นมา เราก็ไม่กล้าซื้อหรือขายตามที่เขาบอกอยู่ดี
แต่เราก็ยังทำใช่ไหมครับ 555
บางที เวลาที่เราเสียไปกับการหาข้อมูลแบบนี้ เอามาใช้สร้างทักษะ และความรู้เพิ่มเติมให้กับตัวเอง อาจจะดีกว่านะครับ
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ทาง https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/