เราเคยได้ยินหรือได้อ่านสิ่งนี้อยู่บ่อย ๆ ใช่ไหมครับ
"ผมรบกวนอยากถามว่า หุ้น XX ผมควรซื้อเพิ่มหรือควรขายดีครับ"
"แล้วต้นทุนคุณเท่าไรล่ะ"
ลองอ่านใน Webboard ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในทีวี
ก็จะมีคำถามและคำตอบ (ในเชิงถามกลับ) แบบนี้เสมอ
เอ้า สมมุตินะครับ ตอนนี้ราคาหุ้น XX อยู่ที่ 10 บาท
แล้วผมโทรไปถามกูรูหุ้นว่า ควรซื้อหรือขายดี
แล้วเขาถามผมกลับว่าแล้วต้นทุนผมอยู่ที่เท่าไร
1) ถ้าผมตอบกลับว่า 8 บาท คำแนะนำก็อาจจะเป็น ขายทำกำไรไปก่อน
2) แต่ถ้าผมตอบกลับว่า 12 บาท คำแนะนำก็อาจจะเป็น ให้ซื้อถัว หรือถือไว้ก่อน
ความน่าแปลกใจคือ กลายเป็นว่า ต้นทุนของผมในอดีต กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินอนาคต !!!
ใครต้นทุนสูง ให้ถือ แต่ใครต้นทุนต่ำให้ขาย ทั้ง ๆ ที่เป็นหุ้นตัวเดียวกัน !!!
จริง ๆ แล้วคำแนะนำที่ควรเป็นมันน่าจะเกิดจากการคาดเดาอนาคตมากกว่าต้นทุนในอดีตมากกว่าไม่ใช่เหรอครับ
ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครคาดเดาได้ถูก 100%
เราจึงต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญที่เรียกกันว่า "กูรู" ไงครับ
เช่นถ้ากูรูท่านนั้นคาดเดาว่า หุ้นจะขึ้น ไม่ว่าต้นทุนเราจะเป็นเท่าไรเราก็ควรจะซื้อ
แต่ถ้าคาดเดาว่า หุ้นจะลง ไม่ว่าต้นทุนเท่าไร เราก็ควรจะขาย
ต่อให้ขายแล้ว มันขาดทุน เราก็ควรขาย
เพราะไม่อย่างนั้นมันจะยิ่งขาดทุนหนักกว่าเดิมจริงไหมครับ
แต่สิ่งที่เราเห็นอยู่บ่อย ๆ กลับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้น
ต้นทุนกลายเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจในอนาคต
สิ่งนี้เราเรียกมันว่า Irrational escalation
ซึ่งเป็นศัพท์ที่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1976 โดย Barry Staw อาจารย์ทางด้านพฤติกรรมองค์กร
จาก Northwestern University
แต่ระยะหลัง คำที่มักจะเป็นที่รู้จักมากกว่าคือ Sunk Cost Fallacy ครับ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราได้ลงทุนลงแรงไปพอสมควรกับการซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
เมื่อเราลงทั้งเงินและเวลาไปแล้วเรารู้สึกเหมือนกับว่า เราไม่ควรจะเปลี่ยนการตัดสินใจแล้ว
เราจะยึดติดกับการตัดสินใจนั้น
เช่นซื้อหุ้นไว้ 10 บาท 10,000 หุ้น เป็นเงิน 100,000 บาท
ถ้าจะให้เราเปลี่ยนการตัดสินใจ (คือขายหุ้นนี้ทิ้ง) มันจะต้องทำกำไรให้เรา
เราเอาทุน 100,000 บาท เป็นหลักยึดในการตัดสินใจในอนาคต
ดังนั้นพอหุ้นมันตกลงเหลือ 9 บาท มูลค่าหุ้นเหลือ 90,000 บาท
เราจึงมักจะไม่ขายมัน เพราะถ้าขายมันขาดทุนไป 10,000 บาท
ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้ ต้นทุนมันเป็นอดีตไปแล้ว
เราจะซื้อหรือขาย มันควรจะอยู่กับการคาดเดาอนาคตมากกว่าว่าหุ้นจะกลับมาขึ้น หรือจะลงไปเรื่อย ๆ
อันนี้แหละครับเป็นที่มาของคำพูดฮิตอันหนึ่งที่ว่า
"ไม่ขาย ไม่ขาดทุน"
จริง ๆ คำพูดนี้ เขาอาจจะพูดไม่จบนะครับ
คำเต็ม ๆ อาจจะเป็น
"ไม่ขาย ไม่ขาดทุน แต่หมดตัว" ครับ
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: ไม่ขาย ไม่ขาดทุน (Irrational escalation)
"ผมรบกวนอยากถามว่า หุ้น XX ผมควรซื้อเพิ่มหรือควรขายดีครับ"
"แล้วต้นทุนคุณเท่าไรล่ะ"
ลองอ่านใน Webboard ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในทีวี
ก็จะมีคำถามและคำตอบ (ในเชิงถามกลับ) แบบนี้เสมอ
เอ้า สมมุตินะครับ ตอนนี้ราคาหุ้น XX อยู่ที่ 10 บาท
แล้วผมโทรไปถามกูรูหุ้นว่า ควรซื้อหรือขายดี
แล้วเขาถามผมกลับว่าแล้วต้นทุนผมอยู่ที่เท่าไร
1) ถ้าผมตอบกลับว่า 8 บาท คำแนะนำก็อาจจะเป็น ขายทำกำไรไปก่อน
2) แต่ถ้าผมตอบกลับว่า 12 บาท คำแนะนำก็อาจจะเป็น ให้ซื้อถัว หรือถือไว้ก่อน
ความน่าแปลกใจคือ กลายเป็นว่า ต้นทุนของผมในอดีต กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินอนาคต !!!
ใครต้นทุนสูง ให้ถือ แต่ใครต้นทุนต่ำให้ขาย ทั้ง ๆ ที่เป็นหุ้นตัวเดียวกัน !!!
จริง ๆ แล้วคำแนะนำที่ควรเป็นมันน่าจะเกิดจากการคาดเดาอนาคตมากกว่าต้นทุนในอดีตมากกว่าไม่ใช่เหรอครับ
ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครคาดเดาได้ถูก 100%
เราจึงต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญที่เรียกกันว่า "กูรู" ไงครับ
เช่นถ้ากูรูท่านนั้นคาดเดาว่า หุ้นจะขึ้น ไม่ว่าต้นทุนเราจะเป็นเท่าไรเราก็ควรจะซื้อ
แต่ถ้าคาดเดาว่า หุ้นจะลง ไม่ว่าต้นทุนเท่าไร เราก็ควรจะขาย
ต่อให้ขายแล้ว มันขาดทุน เราก็ควรขาย
เพราะไม่อย่างนั้นมันจะยิ่งขาดทุนหนักกว่าเดิมจริงไหมครับ
แต่สิ่งที่เราเห็นอยู่บ่อย ๆ กลับเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นข้างต้น
ต้นทุนกลายเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจในอนาคต
สิ่งนี้เราเรียกมันว่า Irrational escalation
ซึ่งเป็นศัพท์ที่ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 1976 โดย Barry Staw อาจารย์ทางด้านพฤติกรรมองค์กร
จาก Northwestern University
แต่ระยะหลัง คำที่มักจะเป็นที่รู้จักมากกว่าคือ Sunk Cost Fallacy ครับ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราได้ลงทุนลงแรงไปพอสมควรกับการซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
เมื่อเราลงทั้งเงินและเวลาไปแล้วเรารู้สึกเหมือนกับว่า เราไม่ควรจะเปลี่ยนการตัดสินใจแล้ว
เราจะยึดติดกับการตัดสินใจนั้น
เช่นซื้อหุ้นไว้ 10 บาท 10,000 หุ้น เป็นเงิน 100,000 บาท
ถ้าจะให้เราเปลี่ยนการตัดสินใจ (คือขายหุ้นนี้ทิ้ง) มันจะต้องทำกำไรให้เรา
เราเอาทุน 100,000 บาท เป็นหลักยึดในการตัดสินใจในอนาคต
ดังนั้นพอหุ้นมันตกลงเหลือ 9 บาท มูลค่าหุ้นเหลือ 90,000 บาท
เราจึงมักจะไม่ขายมัน เพราะถ้าขายมันขาดทุนไป 10,000 บาท
ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้ ต้นทุนมันเป็นอดีตไปแล้ว
เราจะซื้อหรือขาย มันควรจะอยู่กับการคาดเดาอนาคตมากกว่าว่าหุ้นจะกลับมาขึ้น หรือจะลงไปเรื่อย ๆ
อันนี้แหละครับเป็นที่มาของคำพูดฮิตอันหนึ่งที่ว่า
"ไม่ขาย ไม่ขาดทุน"
จริง ๆ คำพูดนี้ เขาอาจจะพูดไม่จบนะครับ
คำเต็ม ๆ อาจจะเป็น
"ไม่ขาย ไม่ขาดทุน แต่หมดตัว" ครับ
ติดตามบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/