โดยองค์
คณะทั้ง 9 คนมีมติเอกฉันท์พิพากษาให้จำคุก นพ.สุรพงษ์ จำเลยที่ 1 มีกำหนด 1 ปี
โอ้โหตั้ง 9 คนแต่ละคนกว่าจะมาเป็นผู้พิพากษา ตัดสินเหมือนกันเป็นเอกฉันท์
อ่านในนี้นะมันจะได้ดูสบายตาหน่อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
##############################################################################
กระทั่งเวลา 14.00 น. ศาลฎีกาฯ พิเคราะห์ข้อเท็จจริงแล้วได้ความจากการไต่สวนพยานทั้งสองฝ่ายว่า ครม.มีมติอนุมัติให้บริษัทชินคอร์ปเป็นผู้รับสัมปทานดาวเทียม ต่อมาวันที่ 11 ก.ย. 2534 มีการทำสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมระหว่างกระทรวงคมนาคมกับบริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
โดยนายทักษิณ ชินวัตร ขณะนั้นเป็นประธานกรรมการบริษัท ซึ่งปัจจุบันบริษัทเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทชินคอร์ป ซึ่งตามสัญญาข้อ 4 กำหนดให้บริษัทชินคอร์ปจะต้องจัดบริษัทขึ้นใหม่มาดำเนินการตามสัญญาภายใน 12 เดือน
และจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 นอกจากนี้ บริษัทชินคอร์ป และบริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่ดังกล่าวต้องรับผิดชอบตามสัญญาต่อกระทรวงในลักษณะร่วมกันและแทนกัน ซึ่งภายหลังมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่คือบริษัท ชิน แซทฯ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไทยคม จำกัด (มหาชน) แล้วมีการแก้ไขสัญญาครั้งที่ 1 เพื่อให้บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่เข้ามาร่วมรับผิดตามสัญญา
โดยมีนายทักษิณ ซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัทเป็นผู้ลงนามในสัญญา
ต่อมาวันที่ 24 ธ.ค. 2546 บริษัทชิน แซทฯ มีหนังสือถึงกระทรวงไอซีทีขออนุมัติให้บริษัทชินคอร์ปฯ ลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทชิน แซทฯ ให้เหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
โดยอ้างว่าธุรกิจให้บริการช่องดาวเทียมไอพีสตาร์ต้องใช้เงินทุนสูงถึง 1.4 หมื่นล้านบาท
บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องให้พันธมิตรหรือเจ้าของแหล่งทุนเข้ามามีส่วนในการถือหุ้น โดยนายไชยยันต์ จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายให้ศึกษาวิเคราห์การขอแก้ไขสัญญาสัมปทานในครั้งนี้ และนายไกรสร จำเลยที่ 2 ในฐานะปลัดกระทรวงได้เสนอความเห็นว่าการลดสัดส่วนถือหุ้นดังกล่าวบริษัทชินคอร์ปยังคงรับผิดชอบการทำตามสัญญาได้ต่อไปและไม่ขัดต่อกฎหมาย
โดย นพ.สุรพงษ์ จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานนั้น โดยไม่ได้เสนอ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ
ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยแล้วเห็นว่า ข้อกำหนดเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น เป็นข้อเสนอเพิ่มเติมของบริษัทชินคอร์ปฯ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเจรจาระหว่างบริษัทกับคณะกรรมการพิจารณาสัมปทาน**** (สัมปทานคืออะไร ก็สมบัติแผ่นดินที่อนุญาตให้หาประโยชน์ได้)
จึงเป็ฯเรื่องของคุณสมบัติและความสามารถของผู้รับสัมปทานที่เป็นสาระสำคัญของสัญญา และเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ ครม.ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบบริษัทชินคอร์ปฯ เป็นผู้รับสัมปทาน การแก้ไขสัญญาในเรื่องนี้จึงต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม.
การที่ นพ.สุรพงษ์ จำเลยที่ 1 อนุมัติให้แก้ไขสัญญาโดยให้บริษัทชิน แซทฯ ลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นบุคคลสัญชาติไทยจาก 51% ให้เหลือ 40%
******ทำให้เกิดความเสี่ยงในการครอบงำกิจการของชาวต่างชาติที่จะมีผลต่อกิจการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติ *******
ขัดต่อเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายกิจการโทรคมนาคม ซึ่งการกระทำดังกล่าวไม่ได้นำเสนอต่อ ครม.ตามขั้นตอน
แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้ส่งหนังสือหารือถึงสำนักงานอัยการสูงสุด โดยนายชัยเกษม นิติศิริ รองอัยการสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่แทนอัยการสูงสุด(ดูได้ในภายหลังว่าเขาเป็นใคร)
ตอบกลับในครั้งแรกว่าโดยตั้งข้อสังเกตให้นำเรื่องการแก้ไขสัญญาเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เมื่อเลขาธิการ ครม.ปฏิเสธไม่รับเรื่อง
**** โดยเสนอให้จำเลยที่ 1 ถอนเรื่อง (แต่ไม่ถอนยังไงก็ต้องทำให้มีการอนุมัติแก้ไขให้ได้ เจตนามันชัด) *****
แล้วจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือหารือมาทางสำนักงานการอัยการสูงสุดอีกครั้ง(เจตนาอย่างไรก็ต้องแก้หาแค่วิธีการว่าจะไม่โดนฟ้องในอนาตตอย่างไร)
ว่าในฐานะหัวหน้าหน่วยราชการมีอำนาจอนุมัติแก้ไขสัญญาได้หรือไม่ โดยสำนักงานอัยการสูงสุดตอบกลับว่ามีอำนาจ แต่เป็นการตอบกลับโดยไม่ทราบเบื้องหลังว่าจำเลยที่ 1 ปกปิดความจริงที่เลขาธิการครม.แจ้งทางโทรศัพท์ปฏิเสธการรับเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม
เนื่องจากนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นคู่สัญญากับบริษัทเอกชน ทำให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน *****
อีกทั้งการอนุมัติแก้ไขสัญญาไม่ได้ทำให้ราชการได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่กลับได้รับความเสี่ยง
ซึ่งการแก้ไขสัดส่วนผู้ถือหุ้นทำให้บริษัทเอกชนได้รับประโยชน์เพียงฝากเดียว
เพราะกรณีดังกล่าวก็สืบเนื่องจากข้อเสนอเพิ่มเติมจากบริษัทเอกชน การกระทำนั้นยังเป็นการลดทอนความมั่นคงและความมั่นใจในการดำเนินโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ป ในฐานะผู้รับสัมปทานโดยตรง ที่จะต้องมีอำนาจการควบคุมบริหารจัดการอย่างเด็ดขาด ซึ่งการลดสัดส่วนอาจทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีอยู่ 60% รวมตัวกันคัดค้านการดำเนินการใดๆ ของบริษัทได้ แม้จะมีโอกาศน้อยแต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนก็จะไม่เกิดเหตุดังกล่าวขึ้นเลย
#################################################################################
อย่าให้ต้องพูดเลยครับว่าพวกที่บอกว่าไม่ยุติธรรม มันเห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นของใคร หนักแผ่นดินจริงๆ เหอเหอ
แต่เดี่ยวมี พวก Most Smart คนเดียวมาแถข้างๆคูๆอีก ฮ่าๆๆ น่าเอ็นดูจริงๆ
ขอบคุณระบบยุติธรรมที่ตัดสินคดีแก้ไขสัญญาสัมปทานดาวเทียมประเทศไม่ได้อะไรได้แต่บริษัทใครไม่รู้ อย่างเป็นธรรม(By Identity)
โอ้โหตั้ง 9 คนแต่ละคนกว่าจะมาเป็นผู้พิพากษา ตัดสินเหมือนกันเป็นเอกฉันท์
อ่านในนี้นะมันจะได้ดูสบายตาหน่อย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อย่าให้ต้องพูดเลยครับว่าพวกที่บอกว่าไม่ยุติธรรม มันเห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นของใคร หนักแผ่นดินจริงๆ เหอเหอ แต่เดี่ยวมี พวก Most Smart คนเดียวมาแถข้างๆคูๆอีก ฮ่าๆๆ น่าเอ็นดูจริงๆ