เรื่องปลัดท่าอุเทน ที่หนีคดีตากใบจนหมดอายุความ แล้วโผล่มาทำงานนั่นแหละ
มันสะท้อนให้เห็นการเล่นพวก การเลือกชี้ผิดชี้ถูกได้อีกเรื่องจริง ๆ
หลักนิติรัฐ นิติธรรม ความเป็นธรรม ความยุติธรรม
ประเทศนี้ ตายแล้วจริง ๆ
เอาเป็นเอาตายกับปลัด ตั้งคณะกรรมการสอบสวน หาทางเอาผิด
ซึ่งหากว่ากันตามข้อเท็จจริง เป็นเรื่องน่าเห็นใจปลัดมากกว่า
20 ปีก่อนตอนเกิดเหตุ ปลัดเป็นแค่ "พลขับ"
พลขับที่นายสั่งให้ขับ ทำตามหน้าที่ ทำตามคำสั่ง จะขืนคำสั่งได้ไง
ต้องตกเป็นผู้ต้องหาที่อัยการสั่งฟ้องข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล
แต่กับพวกตัวใหญ่ ๆ อัยการสั่งไม่ฟ้องสักคน ทั้งที่ควรสั่งฟ้องพวกตัวใหญ่มากกว่าที่เป็นผู้สั่งการ ควบคุมบังคับบัญชา
ปลัดเหมือนแค่เป็นเหยื่อ
คดีตากใบนี้ แยกเป็นสองสำนวนนะครับ
1. สำนวนแรก ญาติผู้ตายฟ้องตรงต่อศาลเอง ศาลรับฟ้อง 23 ส.ค. 67 จำเลย 7 คน
ตัวใหญ่ ๆ ทั้งนั้น จำเลยที่ 1 คือ พล.อ.พิศาล อดีตแม่ทัพภาค 4 ขณะนั้น
อีก 6 จำเลย ก็ระดับสั่งการ ระดับควบคุม ระดับบังคับบัญชา ไม่มีตัวเล็กตัวน้อยที่ต้องทำตามคำสั่งนาย
2. อีกสำนวน เป็นสำนวนที่อัยการสั่งฟ้องกลางเดือนกันยายน 2567 ผู้ต้องหา 8 คน
เหมือนเป็นการฟ้องแก้เกี้ยว ทั้งที่เรื่องผ่านมาจนจะหมดอายุความ ปล่อยเรื่องเงียบเฉยมาตลอด
แต่พอศาลรับฟ้อง อัยการก็เลยสั่งฟ้องตาม แต่จำเลยคนละพวก (มีแค่ พล.อ.พิศาล ที่ชื่อซ้ำทั้งสองสำนวน)
อัยการสั่งฟ้องแค่พลขับ 6 นาย ผู้ควบคุมขบวนรถ 1 นาย และ พล.อ.พิศาล รวม 8 ผู้ต้องหา
สองสำนวน รวมจำเลย-ผู้ต้องหา 14 คน
ตำรวจบอกหลบหนีไปนอกประเทศหมด ตามจับไม่ได้ แต่ก่อนจะหมดอายุความ 1 วัน
ผบ.ตร. สั่งตำรวจตามค้น ตามหาทั้ง 14 คนที่บ้าน น่าสมเพชมาก เหมือนเล่นลิเกสร้างฉากว่าพยายามแล้วนะ
ประเด็นคือ ตอนนี้ เอาเป็นเอาตายกับปลัดท่าอุเทน
แต่กับรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน จากเพื่อไทย
ที่ลงนามอนุมัติให้ พล.อ.พิศาล ลาประชุมสภาฯ ตั้งแต่ 26 ส.ค. - 30 ต.ค. 67
เรียกว่า หมดอายุความถึงจะกลับมาเป็น สส.ต่อ (พล.อ.พิศาล เป็น สส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคเพื่อไทย)
เพื่อไทยก็อ้าง ติดต่อไม่ได้ ไม่รู้อยู่ไหน แล้วก็ทำเฉย จนโดนสังคมด่าหนัก
นั่นแหละ ถึงได้เอาใบลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยมาโชว์ (ลาออกจากเพื่อไทย สถานะ สส.ก็สิ้นสุดลง)
ไม่รู้ใบจริงปลอมหรือเปล่า ไหนว่าติดต่อไม่ได้ แล้วใบลามาไง ใครส่งมา ส่งจากไหน ทำไมไม่ตามรอย
แค่โชว์ใบลาออก แล้วจบเรื่องง่าย ๆ ซะงั้น
เรื่องนี้ ต้องสอบรองประธานสภาฯ ไม่ใช่จะปล่อยให้รองประธานสภาฯ อ้างง่าย ๆ แค่ว่า
เจ้าหน้าที่เสนอใบลามา ก็เซ็นอนุมัติหมด ไม่ได้ดูหรอกว่าใครเป็นใคร
อย่าลืม ผู้อนุมัติใบลา (ทั้งที่ศาลรับฟ้องคดีตกเป็นจำเลยแล้ว) ก็คนเพื่อไทย
คนลา ก็เป็น สส.เพื่อไทย แล้วจะมาทำมึนเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ
นี่คือความบกพร่องของรองประธานสภาฯ ชัดเจน ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
ไม่ใช่แล้ว ๆ ไป
แต่เอาเป็นเอาตายกับปลัด ที่ตอนนั้นเป็นแค่พลขับที่ต้องทำตามนายสั่งแบบขืนไม่ได้
พวกเดียวกันเฉย ตัวใหญ๋เฉย
แต่กับตัวเล็ก ๆ แค่อดีตพลขับ จะเอาผิดให้ได้ เพื่อกลบกระแสความไม่เป็นธรรม
เอาตัวเล็กเป็นเหยื่อสถานการณ์
.
ประเทศนี้ มันเป็นอะไรวะ ความเป็นธรรม ความยุติธรรมมันถึงหายากจริง ๆ
ใครมีเส้น มีสถานะ มีตำแหน่ง ร่ำรวย ผิดยากมาก
แต่กับคนเล็กคนน้อยไร้เส้น จน ไม่มีสถานะ ไม่มีตำแนห่งใหญ่ โดนคดีเป็นเรื่องธรรมดา
กระบวนการยุติธรรมก็เลือกข้าง
ศาล องค์กรอิสระ เอียงกะเท่เร่ เหมือนประชาชนคนไทยกินหญ้ากินฟาง
สุดท้าย
ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐประเทศนี้ ถึงฆ่าประชาชนได้ฟรีตลอดมา
ไม่ว่าเหตุการณ์ ปี 2516 2519 2535 2553 ตากใบ กรือเซะ สะบ้าย้อย และอื่น ๆ
ไม่เคยมีใครต้องรับผิดชอบ ฆ่าแล้วลอยนวล อ้างเยียวยา อ้างอย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ อย่าสร้างเงื่อนไข
เพราะอย่างนี้แหละ จึงเกิดเหตุการฆ่าซ้ำแล้วซ้ำเล่า ฆ่าแล้วลอยนวลจนกลายเป็นวัฒนธรรมลอยนวลไปแล้ว
ผู้มีอำนาจประเทศนี้ มันรู้เห็นเป็นใจกันทั้งนั้น เพื่อปกป้องและรักษาอำนาจ-ผลประโยชน์ของพวกมัน
คนไทยทำไมเป็นไทยเฉยได้ขนาดนี้ ตื่นซะทีเถิด
น่าสมเพชมากครับ เรื่องปลัดท่าอุเทน กับ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
เรื่องปลัดท่าอุเทน ที่หนีคดีตากใบจนหมดอายุความ แล้วโผล่มาทำงานนั่นแหละ
มันสะท้อนให้เห็นการเล่นพวก การเลือกชี้ผิดชี้ถูกได้อีกเรื่องจริง ๆ
หลักนิติรัฐ นิติธรรม ความเป็นธรรม ความยุติธรรม
ประเทศนี้ ตายแล้วจริง ๆ
เอาเป็นเอาตายกับปลัด ตั้งคณะกรรมการสอบสวน หาทางเอาผิด
ซึ่งหากว่ากันตามข้อเท็จจริง เป็นเรื่องน่าเห็นใจปลัดมากกว่า
20 ปีก่อนตอนเกิดเหตุ ปลัดเป็นแค่ "พลขับ"
พลขับที่นายสั่งให้ขับ ทำตามหน้าที่ ทำตามคำสั่ง จะขืนคำสั่งได้ไง
ต้องตกเป็นผู้ต้องหาที่อัยการสั่งฟ้องข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล
แต่กับพวกตัวใหญ่ ๆ อัยการสั่งไม่ฟ้องสักคน ทั้งที่ควรสั่งฟ้องพวกตัวใหญ่มากกว่าที่เป็นผู้สั่งการ ควบคุมบังคับบัญชา
ปลัดเหมือนแค่เป็นเหยื่อ
คดีตากใบนี้ แยกเป็นสองสำนวนนะครับ
1. สำนวนแรก ญาติผู้ตายฟ้องตรงต่อศาลเอง ศาลรับฟ้อง 23 ส.ค. 67 จำเลย 7 คน
ตัวใหญ่ ๆ ทั้งนั้น จำเลยที่ 1 คือ พล.อ.พิศาล อดีตแม่ทัพภาค 4 ขณะนั้น
อีก 6 จำเลย ก็ระดับสั่งการ ระดับควบคุม ระดับบังคับบัญชา ไม่มีตัวเล็กตัวน้อยที่ต้องทำตามคำสั่งนาย
2. อีกสำนวน เป็นสำนวนที่อัยการสั่งฟ้องกลางเดือนกันยายน 2567 ผู้ต้องหา 8 คน
เหมือนเป็นการฟ้องแก้เกี้ยว ทั้งที่เรื่องผ่านมาจนจะหมดอายุความ ปล่อยเรื่องเงียบเฉยมาตลอด
แต่พอศาลรับฟ้อง อัยการก็เลยสั่งฟ้องตาม แต่จำเลยคนละพวก (มีแค่ พล.อ.พิศาล ที่ชื่อซ้ำทั้งสองสำนวน)
อัยการสั่งฟ้องแค่พลขับ 6 นาย ผู้ควบคุมขบวนรถ 1 นาย และ พล.อ.พิศาล รวม 8 ผู้ต้องหา
สองสำนวน รวมจำเลย-ผู้ต้องหา 14 คน
ตำรวจบอกหลบหนีไปนอกประเทศหมด ตามจับไม่ได้ แต่ก่อนจะหมดอายุความ 1 วัน
ผบ.ตร. สั่งตำรวจตามค้น ตามหาทั้ง 14 คนที่บ้าน น่าสมเพชมาก เหมือนเล่นลิเกสร้างฉากว่าพยายามแล้วนะ
ประเด็นคือ ตอนนี้ เอาเป็นเอาตายกับปลัดท่าอุเทน
แต่กับรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน จากเพื่อไทย
ที่ลงนามอนุมัติให้ พล.อ.พิศาล ลาประชุมสภาฯ ตั้งแต่ 26 ส.ค. - 30 ต.ค. 67
เรียกว่า หมดอายุความถึงจะกลับมาเป็น สส.ต่อ (พล.อ.พิศาล เป็น สส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคเพื่อไทย)
เพื่อไทยก็อ้าง ติดต่อไม่ได้ ไม่รู้อยู่ไหน แล้วก็ทำเฉย จนโดนสังคมด่าหนัก
นั่นแหละ ถึงได้เอาใบลาออกจากสมาชิกพรรคเพื่อไทยมาโชว์ (ลาออกจากเพื่อไทย สถานะ สส.ก็สิ้นสุดลง)
ไม่รู้ใบจริงปลอมหรือเปล่า ไหนว่าติดต่อไม่ได้ แล้วใบลามาไง ใครส่งมา ส่งจากไหน ทำไมไม่ตามรอย
แค่โชว์ใบลาออก แล้วจบเรื่องง่าย ๆ ซะงั้น
เรื่องนี้ ต้องสอบรองประธานสภาฯ ไม่ใช่จะปล่อยให้รองประธานสภาฯ อ้างง่าย ๆ แค่ว่า
เจ้าหน้าที่เสนอใบลามา ก็เซ็นอนุมัติหมด ไม่ได้ดูหรอกว่าใครเป็นใคร
อย่าลืม ผู้อนุมัติใบลา (ทั้งที่ศาลรับฟ้องคดีตกเป็นจำเลยแล้ว) ก็คนเพื่อไทย
คนลา ก็เป็น สส.เพื่อไทย แล้วจะมาทำมึนเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจ
นี่คือความบกพร่องของรองประธานสภาฯ ชัดเจน ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
ไม่ใช่แล้ว ๆ ไป
แต่เอาเป็นเอาตายกับปลัด ที่ตอนนั้นเป็นแค่พลขับที่ต้องทำตามนายสั่งแบบขืนไม่ได้
พวกเดียวกันเฉย ตัวใหญ๋เฉย
แต่กับตัวเล็ก ๆ แค่อดีตพลขับ จะเอาผิดให้ได้ เพื่อกลบกระแสความไม่เป็นธรรม
เอาตัวเล็กเป็นเหยื่อสถานการณ์