ไทม์ไลน์จับพิรุธ “ใบลา” ปลัดท่าอุเทน
https://www.isranews.org/article/south-news/other-news/132961-bailiffthauthen.html
ทั้งนายกฯ
แพทองธาร ชินวัตร และ มท.1
อนุทิน ชาญวีรกูล พากันประสานเสียงตอกย้ำว่า การดำเนินการกับปลัดอำเภอท่าอุเทน จ.นครพนม ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
หลังจากปลัดอำเภอรายนี้ตกเป็นผู้ต้องหาคดีตากใบ สำนวนที่ 2 และยื่นใบลาราชการในจังหวะเวลาใกล้กับคดีตากใบขาดอายุความ
ทำให้สุดท้ายตนเองรอดคดี ไม่ต้องไปขึ้นศาล ไม่ต้องต่อสู้คดีในศาล แม้ตำรวจจะส่งกำลังไปติดตามตัวถึงที่ว่าการอำเภอก็ตาม แต่ก็ไม่พบ
รมว.มหาดไทย ออกตัวล่วงหน้าว่า โทษของปลัดอำเภอรายนี้ ไม่น่าจะถึงขั้นไล่ออกจากราชการ เพราะขาดราชการไม่เกิน 15 วัน
ทั้งหมดเป็นความเคลื่อนไหวท่ามกลางกระแสสังคมที่เรียกร้องให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับบรรดาข้าราชการที่หลบหนีคดี และใช้ช่องว่างทางกฎหมายลางานเพื่อหลบเลี่ยงหมายจับ
ขณะเดียวกันก็ให้หาช่องทางงดจ่ายบำนาญให้กับข้าราชการเกษียณ 7 คนที่ตกเป็นจำเลยคดีตากใบ เพราะไม่ยอมไปขึ้นศาลเช่นกัน
การดำเนินการกับปลัดอำเภอท่าอุเทน ดูจะมีช่องลอดทางกฎหมาย แต่ “ทีมข่าวอิศรา” ตรวจพบว่า ข้อมูลการลาราชการของปลัดอำเภอรายนี้ กับห้วงเวลาที่อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องคดี น่าจะมีพิรุธหลายประการ
12 ก.ย.67 อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องคดีตากใบ สำนวน 2
18 ก.ย.67 คณะโฆษกอัยการ แถลงคำสั่งฟ้องของอัยการสูงสุด
- ฟ้องผู้ต้องหา 8 คน ชื่อปลัดอำเภอท่าอุเทน วิษณุ เลิศสงคราม เป็นผู้ต้องหาที่ 3
- มีการระบุชื่อในเอกสารแถลงข่าว และสื่อทุกแขนงรายงานอย่างครึกโครม
30 ก.ย. - 1 ต.ค.67 พนักงานสอบสวนขออนุมัติหมายจับและหมายเรียกจากศาลจังหวัดปัตตานี (มี 3 ผู้ต้องหาที่ศาลออกเป็นหมายเรียก เพราะเป็นข้าราชการ แต่ไม่ชัดว่ารวมปลัดท่าอุเทนด้วยหรือไม่)
ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย.ถึงสิ้นเดือน ก.ย.67 ตำรวจอ้างเหตุผลของการที่ยังไม่ออกหมายจับว่า สำนวนคดีที่ส่งอัยการสูงสุด ฝ่ายตำรวจทำความเห็น “สั่งไม่ฟ้อง” ฉะนั้นเมื่ออัยการสูงสุด “สั่งฟ้อง” จึงต้องแจ้งกลับมาให้ตำรวจติดตามตัวผู้ต้องหาส่งอัยการ โดยฝ่ายตำรวจไม่ได้มีหมายจับอยู่ในมือ
3 ต.ค.67 มีรายงานยืนยันว่า ปลัดอำเภอท่าอุเทนเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดปัตตานี
3-4 ต.ค.67 ตำรวจปูพรมค้นบ้านผู้ต้องหา และจำเลยคดีตากใบทั้ง 2 สำนวนในหลายพื้นที่ แต่ไม่มีที่ อำเภอท่าอุเทน
18 ต.ค.67 พล.ต.ต.นิตินัย หลังยาหน่าย รองผบช.ภ.9 ไปติดตามตัวปลัดท่าอุเทน ถึงที่ว่าการอำเภอท่าอุเทน จ.นครพนม แต่ไม่พบตัว
- มีรายงานว่าปลัดท่าอุเทน ลาราชการ โดยยื่นใบลาถูกต้อง
26 ต.ค.67 หลังคดีขาดอายุความในวันที่ 25 ต.ค.เพียง 1 วัน ปลัดท่าอุเทนกลับมาทำงานตามปกติ และลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่ทันที คือระงับเหตุชายคลุ้มคลั่งจากการเสพยา
- มีคำชี้แจงจากผู้บังคับบัญชา และ มท.1 ที่ได้รับรายงานว่า ปลัดท่าอุเทนลาราชการอย่างถูกต้อง ระหว่างวันที่ 15-18 ต.ค.67 จากนั้นก็ขาดราชการไป กลับมาวันที่ 26 ต.ค. ถือว่าขาดราชการไม่เกิน 15 วัน จึงไล่ออกจากราชการไม่ได้
- เมื่อผู้บังคับบัญชาทราบว่าถูกออกหมายจับ จึงยกเลิกใบลา
- มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
- การลาที่ครอบคลุมวันที่ 18 ต.ค.67 ด้วย ทำให้ พล.ต.ต.นิตินัย ซึ่งเดินทางไปติดตามตัวผู้ต้องหารายนี้ ไม่พบตัวที่ท่าอุเทน
// ข้อสังเกต //
1. ลาราชการ 15 ต.ค.67 ตามที่มีคำชี้แจง เป็นการลาก่อนที่รองผบช.ภ.9 จะไปติดตามตัวเพียง 2 วัน
- เกิดคำถามว่ามีคนสะกิดให้ลาล่วงหน้า หรือหลบฉากไปก่อนหรือไม่
2. การลาราชการ 15-18 ต.ค.67 ถ้ามีการยื่นใบลาจริง ถือว่าเป็นการลาหลังจากโดนออกหมายจับแล้ว และมีการแถลงจากอัยการสูงสุดว่าตกเป็นผู้ต้องหาแล้วนานกว่า 1 เดือน (อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง 12 ก.ย. แถลง 18 ก.ย.67)
- เกิดคำถามว่าผู้บังคับบัญชาไม่รู้เรื่องเลยหรือ ไม่อ่านไลน์กลุ่ม ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูทีวี ฯลฯ เลยหรืออย่างไร อย่างนี้เข้าข่ายละเลยหรือไม่
- ตัวปลัดอำเภอลาราชการโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นผู้ต้องหาคดีสำคัญ จึงต้องการหนีเพื่อให้ขาดอายุความหรือไม่
3. การเร่งกลับมาทำงานทันทีหลังคดีขาดอายุความแค่ข้ามวัน มีวัตถุประสงค์อะไร
- ห่วงงาน รักงาน ห่วงพื้นที่ รักพี่น้องประชาชน?
- มีความรับผิดชอบสูง?
- หรือหวังลอดช่องกฎหมาย ขาดราชการไม่เกิน 15 วัน ไล่ออกไม่ได้
// คำถามสำคัญ //
1. ทั้งหมดนี้เป็นการใช้สิทธิการลาโดยชอบหรือไม่
2. ผิดจริยธรรมหรือไม่
3. ผู้บังคับบัญชาละเลย หรือรู้เห็นเป็นใจหรือไม่
ศาลยกฟ้อง หนูรัตน์ อินฟลูฯดัง โดนคดี ม.112 โฆษณาแพลตฟอร์มออนไลน์
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4872726
ศาลยกฟ้อง หนูรัตน์ อินฟลูฯดัง โดนคดี ม.112-พ.ร.บ.คอมพ์ โฆษณาแพลตฟอร์มออนไลน์
จากกกรณีพนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญายื่นฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของ นาย
กิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ หรือ
มัมดิว
และ น.ส.
ธิดาพร หรือ
หนูรัตน์ ชาวคูเวียง คอนเทนต์ครีเอเตอร์ จากกรณีทำแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 ร่วมกับ
นารา เครปกะเทย เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งคดีนี้มี นาย
ศรีสุวรรณ จรรยา เป็นผู้แจ้งความกล่าวหาที่ บก.ปอท. ต่อมาศาลอนุญาตให้ประกันมัมดิวกับหนูรัตน์ไปแล้ว ส่วนนารา ศาลพิพากษายกฟ้องไปเมื่อเดือนธันวาคม 2566 โดยชี้ว่าการแสดงบทบาทสมมุติยังไม่เข้าองค์ประกอบ ม.112
ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า
ด่วน! ศาลอาญาพิพากษายกฟ้องคดี #ม112-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ของ หนูรัตน์ สุภัคชญา ชาวคูเวียง influencer สาววัย 30 ปี กรณีจากการทำแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 ร่วมกับ นารา เครปกะเทย เมื่อช่วงเดือน พ.ค.2565
ศาลชี้ เมื่อพิเคราะห์จากคำฟ้องของโจทก์ ในกรณีของข้อกล่าวหาที่กล่าวว่าจำเลยเลียนแบบ ดูหมิ่น เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ
ไม่ปรากฏว่า พระองค์เป็นรัชทายาทตามองค์ประกอบของ มาตรา 112 และการตีความตัวบทกฎหมายนี้ #ไม่ควรตีความโดยการขยายความไปมากกว่าที่กฎหมายบัญญัติ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้อง
https://twitter.com/TLHR2014/status/1851473304269570294
เอกชนหนุน ‘ธนาธร’ จี้รัฐรื้อประมูลพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมก
https://www.matichon.co.th/economy/news_4872701
เอกชนหนุน ‘ธนาธร’ จี้รัฐรื้อประมูลพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมก
กรณี นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ จดหมายเปิดผนึกถึง น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านเฟสบุ๊ก เรื่อง ขอให้ทบทวนการประมูลพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนพลังงาน
นาย
อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ถือว่าเป็นประเด็นที่หลายคนจับตามองพอสมควร และกติกาในการประมูลรับซื้อพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ถือว่ายังไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากเป็นการประมูลที่ไม่เอาราคาตามสิทธิและต้นทุนอาจจะสูงกว่าที่ควรจะเป็น จากการติดตามจากสมาชิกส.อ.ท.ผู้ร่วมประมูลสะท้อนว่า อาจจะเป็นการเอื้อให้กลุ่มทุนประมาณนึงจริง
ดังนั้นการที่ นาย
ธนาธร โพสต์จดหมายถึง น.ส.
แพทองธาร ถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลเหตุ คิดว่าทางรัฐบาลไม่ควรจะเร่งรีบทำหรือผูกมัดสัญญาไฟฟ้ากับโรงไฟฟ้าที่มีพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัย คิดว่ารัฐสภาคงมีการท้วงติงในการปรับให้มีการทบทวนรูปแบบให้โปร่งใสและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนจริงๆ เพราะวิธีการที่ควรทำ คือ การแข่งขันประมูลพลังงานหมุนเวียน ต้องเอาราคามาเทียบกัน เพื่อประมูลกันอย่างโปร่งใส
นอกจากนี้การที่นักการเมืองหรืออดีตนักการเมืองได้ออกมาพูดถึงประเด็นนี้มองว่าจะต้องมีเค้าโครงข้อมูลที่ชี้ได้ว่าประชาชนน่าจะเสียเปรียบ และควรได้รับการทบทวนแก้ไข ถ้าหากรัฐบาลทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งจะเป็นเรื่องที่ดี
JJNY : ไทม์ไลน์จับพิรุธ“ใบลา”ปลัดท่าอุเทน│ยกฟ้องหนูรัตน์โดนคดี ม.112│ เอกชนหนุน‘ธนาธร’│ปูตินสั่งเปิดฉากซ้อมรบนิวเคลียร์
https://www.isranews.org/article/south-news/other-news/132961-bailiffthauthen.html
ทั้งนายกฯแพทองธาร ชินวัตร และ มท.1 อนุทิน ชาญวีรกูล พากันประสานเสียงตอกย้ำว่า การดำเนินการกับปลัดอำเภอท่าอุเทน จ.นครพนม ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
หลังจากปลัดอำเภอรายนี้ตกเป็นผู้ต้องหาคดีตากใบ สำนวนที่ 2 และยื่นใบลาราชการในจังหวะเวลาใกล้กับคดีตากใบขาดอายุความ
ทำให้สุดท้ายตนเองรอดคดี ไม่ต้องไปขึ้นศาล ไม่ต้องต่อสู้คดีในศาล แม้ตำรวจจะส่งกำลังไปติดตามตัวถึงที่ว่าการอำเภอก็ตาม แต่ก็ไม่พบ
รมว.มหาดไทย ออกตัวล่วงหน้าว่า โทษของปลัดอำเภอรายนี้ ไม่น่าจะถึงขั้นไล่ออกจากราชการ เพราะขาดราชการไม่เกิน 15 วัน
ทั้งหมดเป็นความเคลื่อนไหวท่ามกลางกระแสสังคมที่เรียกร้องให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับบรรดาข้าราชการที่หลบหนีคดี และใช้ช่องว่างทางกฎหมายลางานเพื่อหลบเลี่ยงหมายจับ
ขณะเดียวกันก็ให้หาช่องทางงดจ่ายบำนาญให้กับข้าราชการเกษียณ 7 คนที่ตกเป็นจำเลยคดีตากใบ เพราะไม่ยอมไปขึ้นศาลเช่นกัน
การดำเนินการกับปลัดอำเภอท่าอุเทน ดูจะมีช่องลอดทางกฎหมาย แต่ “ทีมข่าวอิศรา” ตรวจพบว่า ข้อมูลการลาราชการของปลัดอำเภอรายนี้ กับห้วงเวลาที่อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องคดี น่าจะมีพิรุธหลายประการ
12 ก.ย.67 อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องคดีตากใบ สำนวน 2
18 ก.ย.67 คณะโฆษกอัยการ แถลงคำสั่งฟ้องของอัยการสูงสุด
- ฟ้องผู้ต้องหา 8 คน ชื่อปลัดอำเภอท่าอุเทน วิษณุ เลิศสงคราม เป็นผู้ต้องหาที่ 3
- มีการระบุชื่อในเอกสารแถลงข่าว และสื่อทุกแขนงรายงานอย่างครึกโครม
30 ก.ย. - 1 ต.ค.67 พนักงานสอบสวนขออนุมัติหมายจับและหมายเรียกจากศาลจังหวัดปัตตานี (มี 3 ผู้ต้องหาที่ศาลออกเป็นหมายเรียก เพราะเป็นข้าราชการ แต่ไม่ชัดว่ารวมปลัดท่าอุเทนด้วยหรือไม่)
ตั้งแต่วันที่ 18 ก.ย.ถึงสิ้นเดือน ก.ย.67 ตำรวจอ้างเหตุผลของการที่ยังไม่ออกหมายจับว่า สำนวนคดีที่ส่งอัยการสูงสุด ฝ่ายตำรวจทำความเห็น “สั่งไม่ฟ้อง” ฉะนั้นเมื่ออัยการสูงสุด “สั่งฟ้อง” จึงต้องแจ้งกลับมาให้ตำรวจติดตามตัวผู้ต้องหาส่งอัยการ โดยฝ่ายตำรวจไม่ได้มีหมายจับอยู่ในมือ
3 ต.ค.67 มีรายงานยืนยันว่า ปลัดอำเภอท่าอุเทนเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับของศาลจังหวัดปัตตานี
3-4 ต.ค.67 ตำรวจปูพรมค้นบ้านผู้ต้องหา และจำเลยคดีตากใบทั้ง 2 สำนวนในหลายพื้นที่ แต่ไม่มีที่ อำเภอท่าอุเทน
18 ต.ค.67 พล.ต.ต.นิตินัย หลังยาหน่าย รองผบช.ภ.9 ไปติดตามตัวปลัดท่าอุเทน ถึงที่ว่าการอำเภอท่าอุเทน จ.นครพนม แต่ไม่พบตัว
- มีรายงานว่าปลัดท่าอุเทน ลาราชการ โดยยื่นใบลาถูกต้อง
26 ต.ค.67 หลังคดีขาดอายุความในวันที่ 25 ต.ค.เพียง 1 วัน ปลัดท่าอุเทนกลับมาทำงานตามปกติ และลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่ทันที คือระงับเหตุชายคลุ้มคลั่งจากการเสพยา
- มีคำชี้แจงจากผู้บังคับบัญชา และ มท.1 ที่ได้รับรายงานว่า ปลัดท่าอุเทนลาราชการอย่างถูกต้อง ระหว่างวันที่ 15-18 ต.ค.67 จากนั้นก็ขาดราชการไป กลับมาวันที่ 26 ต.ค. ถือว่าขาดราชการไม่เกิน 15 วัน จึงไล่ออกจากราชการไม่ได้
- เมื่อผู้บังคับบัญชาทราบว่าถูกออกหมายจับ จึงยกเลิกใบลา
- มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง
- การลาที่ครอบคลุมวันที่ 18 ต.ค.67 ด้วย ทำให้ พล.ต.ต.นิตินัย ซึ่งเดินทางไปติดตามตัวผู้ต้องหารายนี้ ไม่พบตัวที่ท่าอุเทน
// ข้อสังเกต //
1. ลาราชการ 15 ต.ค.67 ตามที่มีคำชี้แจง เป็นการลาก่อนที่รองผบช.ภ.9 จะไปติดตามตัวเพียง 2 วัน
- เกิดคำถามว่ามีคนสะกิดให้ลาล่วงหน้า หรือหลบฉากไปก่อนหรือไม่
2. การลาราชการ 15-18 ต.ค.67 ถ้ามีการยื่นใบลาจริง ถือว่าเป็นการลาหลังจากโดนออกหมายจับแล้ว และมีการแถลงจากอัยการสูงสุดว่าตกเป็นผู้ต้องหาแล้วนานกว่า 1 เดือน (อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้อง 12 ก.ย. แถลง 18 ก.ย.67)
- เกิดคำถามว่าผู้บังคับบัญชาไม่รู้เรื่องเลยหรือ ไม่อ่านไลน์กลุ่ม ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ดูทีวี ฯลฯ เลยหรืออย่างไร อย่างนี้เข้าข่ายละเลยหรือไม่
- ตัวปลัดอำเภอลาราชการโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นผู้ต้องหาคดีสำคัญ จึงต้องการหนีเพื่อให้ขาดอายุความหรือไม่
3. การเร่งกลับมาทำงานทันทีหลังคดีขาดอายุความแค่ข้ามวัน มีวัตถุประสงค์อะไร
- ห่วงงาน รักงาน ห่วงพื้นที่ รักพี่น้องประชาชน?
- มีความรับผิดชอบสูง?
- หรือหวังลอดช่องกฎหมาย ขาดราชการไม่เกิน 15 วัน ไล่ออกไม่ได้
// คำถามสำคัญ //
1. ทั้งหมดนี้เป็นการใช้สิทธิการลาโดยชอบหรือไม่
2. ผิดจริยธรรมหรือไม่
3. ผู้บังคับบัญชาละเลย หรือรู้เห็นเป็นใจหรือไม่
ศาลยกฟ้อง หนูรัตน์ อินฟลูฯดัง โดนคดี ม.112 โฆษณาแพลตฟอร์มออนไลน์
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_4872726
ศาลยกฟ้อง หนูรัตน์ อินฟลูฯดัง โดนคดี ม.112-พ.ร.บ.คอมพ์ โฆษณาแพลตฟอร์มออนไลน์
จากกกรณีพนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญายื่นฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของ นายกิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ หรือ มัมดิว
และ น.ส.ธิดาพร หรือ หนูรัตน์ ชาวคูเวียง คอนเทนต์ครีเอเตอร์ จากกรณีทำแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 ร่วมกับ นารา เครปกะเทย เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งคดีนี้มี นายศรีสุวรรณ จรรยา เป็นผู้แจ้งความกล่าวหาที่ บก.ปอท. ต่อมาศาลอนุญาตให้ประกันมัมดิวกับหนูรัตน์ไปแล้ว ส่วนนารา ศาลพิพากษายกฟ้องไปเมื่อเดือนธันวาคม 2566 โดยชี้ว่าการแสดงบทบาทสมมุติยังไม่เข้าองค์ประกอบ ม.112
ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า
ด่วน! ศาลอาญาพิพากษายกฟ้องคดี #ม112-พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ของ หนูรัตน์ สุภัคชญา ชาวคูเวียง influencer สาววัย 30 ปี กรณีจากการทำแคมเปญโฆษณาลาซาด้า 5.5 ร่วมกับ นารา เครปกะเทย เมื่อช่วงเดือน พ.ค.2565
ศาลชี้ เมื่อพิเคราะห์จากคำฟ้องของโจทก์ ในกรณีของข้อกล่าวหาที่กล่าวว่าจำเลยเลียนแบบ ดูหมิ่น เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯ
ไม่ปรากฏว่า พระองค์เป็นรัชทายาทตามองค์ประกอบของ มาตรา 112 และการตีความตัวบทกฎหมายนี้ #ไม่ควรตีความโดยการขยายความไปมากกว่าที่กฎหมายบัญญัติ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้อง
https://twitter.com/TLHR2014/status/1851473304269570294
เอกชนหนุน ‘ธนาธร’ จี้รัฐรื้อประมูลพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมก
https://www.matichon.co.th/economy/news_4872701
เอกชนหนุน ‘ธนาธร’ จี้รัฐรื้อประมูลพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมก
กรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ จดหมายเปิดผนึกถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านเฟสบุ๊ก เรื่อง ขอให้ทบทวนการประมูลพลังงานหมุนเวียน 3,600 เมกะวัตต์ ซึ่งอาจเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนพลังงาน
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าว ถือว่าเป็นประเด็นที่หลายคนจับตามองพอสมควร และกติกาในการประมูลรับซื้อพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ถือว่ายังไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากเป็นการประมูลที่ไม่เอาราคาตามสิทธิและต้นทุนอาจจะสูงกว่าที่ควรจะเป็น จากการติดตามจากสมาชิกส.อ.ท.ผู้ร่วมประมูลสะท้อนว่า อาจจะเป็นการเอื้อให้กลุ่มทุนประมาณนึงจริง
ดังนั้นการที่ นายธนาธร โพสต์จดหมายถึง น.ส.แพทองธาร ถือว่าเป็นสิ่งที่มีมูลเหตุ คิดว่าทางรัฐบาลไม่ควรจะเร่งรีบทำหรือผูกมัดสัญญาไฟฟ้ากับโรงไฟฟ้าที่มีพื้นที่ชุมชนอยู่อาศัย คิดว่ารัฐสภาคงมีการท้วงติงในการปรับให้มีการทบทวนรูปแบบให้โปร่งใสและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนจริงๆ เพราะวิธีการที่ควรทำ คือ การแข่งขันประมูลพลังงานหมุนเวียน ต้องเอาราคามาเทียบกัน เพื่อประมูลกันอย่างโปร่งใส
นอกจากนี้การที่นักการเมืองหรืออดีตนักการเมืองได้ออกมาพูดถึงประเด็นนี้มองว่าจะต้องมีเค้าโครงข้อมูลที่ชี้ได้ว่าประชาชนน่าจะเสียเปรียบ และควรได้รับการทบทวนแก้ไข ถ้าหากรัฐบาลทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งจะเป็นเรื่องที่ดี