ชาวตากใบ สิ้นหวังความยุติธรรม หลังคดีปิดฉาก ญาติผู้สูญเสียยันสู้ต่อ เล็งส่งเรื่องไปศาลโลก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9479463
ชาวตากใบ สิ้นหวังความยุติธรรม หลังคดีปิดฉาก ญาติผู้สูญเสียยันสู้ต่อ อาจส่งเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ ลากคนผู้ทำผิดมาลงโทษ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 ต.ค.2567 ศาลจังหวัดนราธิวาสอ่านคำสั่งคดีหมายเลขแดงที่ อ1516/2567 ระหว่าง น.ส.
ฟาดีฮะห์ ปะจูกูเล็ง กับพวกรวม 48 คน เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.อ.
พิศาล วัฒนวงษ์คีรี จำเลยที่ 1กับพวกรวม 7 คน ซึ่งศาลนัดประชุมพิจารณาคดีในวันนี้ หลังจากในวันที่ 25 ต.ค. 2547 อดีตข้าราชการระดับสูง 7 ราย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม ซึ่งศาลออกหมายจับ และคดีหมดอายุความไปแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ยังไม่สามารถจับกุมจำเลยทั้ง 7 คน
ประกอบด้วย
จำเลยที่ 1.พลเอก
พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4
จำเลยที่ 3 พลเอก
เฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร อดีตผู้บัญชาการผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส
จำเลยที่ 4 พลตำรวจเอก
วงกต มณีรินทร์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า
จำเลยที่ 5 พลตำรวจโท
มาโนช ไกรวงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 9
จำเลยที่ 6 พลตำรวจตรีศักดิ์
สมหมาย พุทธกูล อดีตผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส
จำเลยที่ 8 นาย
ศิวะ แสงมณี อดีตรองผู้อำนวยการกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
จำเลยที่ 9 นาย
วิชม ทองสงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส
ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เนื่องจากคดีขาดอายุความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เหตุที่ศาลมีคำสั่งจำหน่าย คดีแทนพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา158 วรรคหนึ่ง เพราะตามบทบัญญัติดังกล่าว เป็นกรณีที่ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความ
ปรากฏต่อศาลในชั้นทำคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป แต่คดีนี้ จำเลยทั้ง 7 คน ไม่เคยเข้าสู่การพิจารณา แต่หลบหนีจนคดีขาดอายุความ ไม่สามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปได้ ต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
ด้าน นาย
มูฮัมหมัดซาวาวี อุเซ็ง 1 ในญาติที่เสียชีวิตที่ร่วมเป็นโจทย์ฟ้องในคดีนี้ กล่าวว่า คดีนี้ศาลไม่ได้ยกฟ้อง ซึ่งแสดงว่าท่านยังมีมลทินความผิดอยู่ในการหนีคดีไม่เข้าสู่กระบวนการ เพื่อที่จะต่อสู้แสดงความบริสุทธิ์ใจจริงๆว่าบริสุทธิ์ ความยุติธรรมไม่ได้เกิดขึ้นกับคนที่เสียชีวิต ซึ่งยังรอคอยความยุติธรรม แล้วเราที่มีชีวิตอยู่ก็ต้องต่อสู้กันต่อไป ซึ่งอาจมีช่องทางหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ คือ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ถ้ามีโอกาสเราจะไป เพราะเราจะสู้ให้ถึงที่สุด เพราะกระบวนการในประเทศไทยไม่ได้รับความยุติธรรม
ด้าน นาย
รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ สภาทนายความ ในฐานะทนายฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่า มีคำถามของประชาชนเราสามารถไปฟ้องศาลโลกได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ร้ายแรง เป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ คน 85 คนไม่ใช่เรื่องธรรมดา ซึ่งการที่จะใช้ศาลพิเศษ หรือที่เรียกกันว่าศาลอาชญากรสงคราม ซึ่งเกิดในกรณีที่เกิดสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ก็เคยมี
เรื่องความคิดเห็นที่จะเอามาใช้ปรับปรุงกฎหมายอายุความคดีที่มีความสำคัญ เพื่อนำไปพิจารณาสภานิติบัญญัติต้องมาถกกันว่า ความผิดที่เป็นความผิดรุนแรงบางเรื่อง ต้องมาดูที่อายุความว่าไม่ต้องมีอายุความไหม ซึ่งผมและผู้พิพากษารวมทั้งคณะที่นั่งฟัง ผมว่าท่านพูดได้ดี ซึ่งบอกว่ามีกระบวนการไต่สวนมูลฟ้อง ไม่มีพยานหลักฐานจนศาลเชื่อมีมูลที่อาจจะมีส่วนที่จะกระทำความผิด
ดังนั้นศาลรับฟ้อง ศาลใช้คำสั่งออกมาคือการจำหน่ายคดี โดยไม่ได้พิพากษายกฟ้อง โดยผู้ต้องหาทั้ง 8 คน เสนอความเห็นเกือบจะขาดอายุความ ซึ่งคุณทำอะไรอยู่ตั้งนาน เมื่อคุณเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย แล้วสำนวนคดีที่คุณเสนอไปเห็นควรไม่สั่งฟ้อง คนเสียชีวิต 78 คน มีรายงานการชันสูตรพลิกศพ การเสียชีวิตที่เกิดจากการขาดอากาศหายใจจากการถูกกดทับ
ภาพของการขนย้ายคนไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร มีลักษณะการอยู่บนเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการบังคับบัญชากำกับดูแล โดยนายกรัฐมนตรีรวมถึงรองนายกรัฐมนตรี ต้องมีการสั่งการตรวจสอบการทำงานของพนักงานสอบสวน ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบหรือไม่ชอบ
ต้องมาดูกันว่าความเพิ่งจะมาปรากฏหลังจากที่ราษฎรได้ยื่นฟ้องคดี ซึ่งอายุความแห่งมาตราแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กำลังจะเริ่มต้น ต้องมีการย้อนไปดูซึ่งไม่ใช่ว่าคดีขาดอายุความแล้วทุกอย่างจบตามสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ของรัฐบาล
ต้องมีการกลับไปทบทวน โดยผู้ต้องหาทั้ง 8 คนมีข้าราชการที่ถูกออกหมายจับ เมื่อข้าราชการขาดราชการถูกออกหมายจับ คุณต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ต้องมีการพิจารณา สำหรับข้าราชการผู้ใหญ่ที่เกษียณไปแล้วได้รับบำเหน็จหรือบำนาญทุกๆเดือน แต่กลับหันหลังให้กระบวนการยุติธรรมไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ท่านถูกออกหมายจับ
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปพิจารณาแล้วว่าบำเหน็จบำนาญของท่านที่ยังรับอยู่เอามาคืนให้กับงบประมาณแผ่นดิน เพราะงบประมาณแผ่นดินจ่ายเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียหาย เอามาจากภาษีอากรของประชาชน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับวันนี้ นายวิชาญ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ฝ่ายความมั่นคง มาติดตามดูแลความสงบเรียบร้อย บริเวณภายในศาลด้วยการขอสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน จ.นราธิวาส เนื่องจากมีญาติและมวลชนจำนวนหนึ่งได้ดินทางมาให้กำลังใจ ในการป้องกันสกัดกั้นเหตุต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากมือที่ 3.
เทวฤทธิ์ แนะรบ. ให้ประเทศต้นทางดำเนินคดีพิศาล คาใจ ‘พิเชษฐ์’ ให้ผู้ต้องหาลาประชุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4869343
ส.ว.เทวฤทธิ์ สงสัย ‘พิเชษฐ์’ ปล่อย ‘พล.อ.พิศาล’ ลาประชุมได้ไง ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่ามีคดีตากใบใกล้หมดอายุความ จี้ ‘นายกฯ’ จริงใจหาคนปล่อยให้หลบหนี
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่รัฐสภา นาย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว. กล่าวว่า กรณีคดีตากใบหมดอายุความไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการติดตามผู้ต้องหา 14 คนมาดำเนินคดี สัปดาห์ที่แล้วคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ได้ประชุมเพื่อเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตำรวจภูธรภาค 9 เข้าให้ข้อมูล พบว่าผู้ต้องหาทั้ง 14 คนหลบหนีผ่านช่องทางที่เป็นทางการ และช่องทางธรรมชาติ จึงเป็นประเด็นที่เราอยากจะวิงวอน แม้คดีจะล่วงเลยไปแล้ว แต่อยากให้ น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นาย
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่นอกจากจะออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษแล้ว ยังต้องพิสูจน์ความเสียใจและขอโทษด้วยการลงมือทำ
ส่วนประเด็นเรื่องอายุความนั้น นาย
เทวฤทธิ์กล่าวว่า มีข้อเสนอของนักสิทธิมนุษยชนขอร้องให้ประเทศอังกฤษดำเนินคดีกับผู้ที่หลบหนี เนื่องจากมีข้อกฎหมายรับรองไว้ หากรัฐบาลจริงใจในคดีตากใบต้องช่วยกันเร่งรัดดำเนินคดี อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในคดีชายแดนใต้อื่นๆ ด้วย เพราะความยุติธรรมเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทำความจริงให้ปรากฏ แล้วความยุติธรรมจะตามมา เมื่อความยุติธรรมตามมาปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ก็จะลดลง เราต้องดึงเขาให้เข้ามาเห็นว่าที่นี่เป็นบ้าน พร้อมให้ความยุติธรรมทำกับพวกเขา
นาย
เทวฤทธิ์กล่าวต่อว่า ขอเสนอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง จนนำไปสู่ความสูญเสีย ทั้งกรณีตากใบและกรณีอื่นๆ เช่น การวิสามัญที่เขาตะเว เมื่อปี 2562 รวมถึงคดีสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นกลางกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังต้องให้ความปลอดภัยกับญาติผู้สูญเสียในคดีตากใบ
“
หลายคนตั้งคำถามว่าเหตุใดถึงลุกขึ้นมาฟ้องร้องก่อน 1 ปีหมดอายุความ เนื่องจากเพิ่งรู้ข้อเท็จจริงว่าคดีถูกฟรีซไว้ ตั้งแต่ปี 2557 เราอยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร อาจจะมีการเลือกตั้งหลังจากนั้น แต่ก็มีความระแวง ที่สำคัญคือรัฐบาลต้องให้หลักประกันกับญาติที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องและต่อสู้ เพราะฝ่ายตรงข้ามในคดีเป็นผู้ที่ถืออาวุธและเป็นฝ่ายความมั่นคง รัฐบาลต้องหามาตรการที่ดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของญาติผู้สูญเสีย” นาย
เทวฤทธิ์กล่าว
นาย
เทวฤทธิ์กล่าวต่อว่า แม้คดีจะหมดอายุความ แต่สามารถทดเวลาได้คือร้องขอให้ประเทศต้นทางที่รู้ว่าผู้ต้องหาหลบหนีไปอย่างเป็นทางการดำเนินคดี เพื่อเป็นการแสดงความพยายามถึงที่สุด ไม่ใช่บอกแค่ว่า พล.อ.
พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลาออกจากพรรคเพื่อไทยไปแล้ว เพื่อปัดภาระความรับผิดชอบ ไม่ใช่ภาระของพรรคเพื่อไทย แต่คือภาระความรับผิดชอบของรัฐบาล ต่อมาคือการแสวงหาข้อเท็จจริง อำนวยความยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยรัฐ รวมถึงการคุ้มครองประชาชนที่ลุกออกมาเรียกร้อง โดยเฉพาะญาติที่ออกมาฟ้องคดีที่ใช้ความกล้าหาญมาก เนื่องจากอยู่ในภาวะหวาดกลัวมานาน
“
การหลบหนีแปลว่ามีรอยรั่ว เราจะปล่อยให้หลบหนีแล้วจบไม่ได้ ใครปล่อยให้รั่วออกไป หากจริงใจและเสียใจ ต้องหาว่าใครปล่อยให้รั่วออกไป นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ที่เซ็นอนุมัติให้ พล.อ.พิศาลลาป่วยถึงวันที่ 30 ต.ค.67 จะบอกว่าใครยื่นมาก็เซ็นให้ทั้งหมดไม่ได้ เพราะนายพิเชษฐ์รู้ดีว่าคดีมีการฟ้องไปแล้ว คงต้องมีการตรวจสอบว่าการเซ็นอนุมัติของนายพิเชษฐ์ใช้ดุลพินิจถึงที่สุดหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบการเดินทางออกนอกประเทศอย่างเป็นทางการและช่องทางธรรมชาติตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาชี้แจงด้วย คนอายุปูนนั้นออกไปไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ออกไปได้ไม่ใช่ตัวลำพังเพียงแค่ 14 คน ขอฝากไปยังรัฐบาล โดยเฉพาะนายภูมิธรรมที่ดูแลความมั่นคง รวมทั้งนายกฯที่ออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษ เป็นการพิสูจน์ความความจริงใจในการแสดงคำขอโทษและเสียใจ” นาย
เทวฤทธิ์กล่าว
ส.ว.ติงนายกฯ-รบ. ไม่ให้ความสำคัญตอบกระทู้ ‘นันทนา’ โวยทำเสียสิทธิถามเรื่องสำคัญ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4869169
ส.ว.แถลงจี้ ‘นายกฯ-รัฐบาล’ ให้ความสำคัญมาตอบกระทู้วุฒิสภา ทั้งตากใบ-การเสียชีวิตในค่ายทหาร-การตั้ง กก.แก้ปัญหากลุ่มพีมูฟ ‘นันทนา’ โวยทำเสียสิทธิถามกระทู้สำคัญ
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่รัฐสภา นาย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว. พร้อมด้วย น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. นาย
นรเศรษฐ์ ปรัชญากร ส.ว. และ นาย
พรชัย วิทยเลิศพันธุ์ ส.ว. ร่วมแถลงตำหนินายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ไม่ให้ความสำคัญ ไม่มาตอบกระทู้ถามของ ส.ว.
นาย
เทวฤทธิ์กล่าวว่า วันนี้ (28 ต.ค.) ถือเป็นวันสุดท้ายที่ ส.ว.สามารถตั้งกระทู้ถามรัฐบาลได้ในสมัยประชุมนี้ แต่การที่มีกระทู้สะสมจำนวนมากจากการที่รัฐบาลไม่มาตอบ ทำให้ประธานวุฒิสภาต้องขอมติจากสมาชิกยกเว้นข้อบังคับการประชุมเพื่อให้เวลาตอบกระทู้ถามได้มากขึ้น โดยเฉพาะกระทู้คดีตากใบที่ทั้งนายกฯและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องออกมาขอโทษประชาชน แต่กลับไม่มาตอบกระทู้ถามกับวุฒิสภา เพื่อให้เกิดความกระจ่าง ชัดเจนต่อสังคม
นาย
เทวฤทธิ์กล่าวต่อว่า รวมถึงการเลื่อนตอบ ไม่มาชี้แจงกระทู้ของ รมว.กลาโหม เรื่องการเสียชีวิตของทหารเกณฑ์ในค่ายทหาร ทั้งที่เป็นปัญหาเร่งด่วนเกี่ยวกับชีวิตของประชาชน ทำให้ผู้ปกครองไม่อาจไว้ใจที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาอยู่ในค่ายทหารได้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องค้างที่รัฐบาลไม่มาตอบชี้แจงกรณีความล่าช้า การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ที่ส่งผลกระทบให้การช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต้องล่าช้าออกไปด้วย
JJNY : 5in1 สิ้นหวังความยุติธรรม│คาใจ ‘พิเชษฐ์’│ส.ว.ติงนายกฯ-รบ.│‘ปชน.’จับตาโหวตร่างพ.ร.บ.รางฯ│โดรนยูเครนทำโรงงานไฟไหม้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_9479463
ชาวตากใบ สิ้นหวังความยุติธรรม หลังคดีปิดฉาก ญาติผู้สูญเสียยันสู้ต่อ อาจส่งเรื่องศาลอาญาระหว่างประเทศ ลากคนผู้ทำผิดมาลงโทษ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 ต.ค.2567 ศาลจังหวัดนราธิวาสอ่านคำสั่งคดีหมายเลขแดงที่ อ1516/2567 ระหว่าง น.ส.ฟาดีฮะห์ ปะจูกูเล็ง กับพวกรวม 48 คน เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี จำเลยที่ 1กับพวกรวม 7 คน ซึ่งศาลนัดประชุมพิจารณาคดีในวันนี้ หลังจากในวันที่ 25 ต.ค. 2547 อดีตข้าราชการระดับสูง 7 ราย ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม ซึ่งศาลออกหมายจับ และคดีหมดอายุความไปแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ยังไม่สามารถจับกุมจำเลยทั้ง 7 คน
ประกอบด้วย
จำเลยที่ 1.พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4
จำเลยที่ 3 พลเอกเฉลิมชัย วิรุฬห์เพชร อดีตผู้บัญชาการผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส
จำเลยที่ 4 พลตำรวจเอกวงกต มณีรินทร์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า
จำเลยที่ 5 พลตำรวจโทมาโนช ไกรวงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 9
จำเลยที่ 6 พลตำรวจตรีศักดิ์สมหมาย พุทธกูล อดีตผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จ.นราธิวาส
จำเลยที่ 8 นายศิวะ แสงมณี อดีตรองผู้อำนวยการกองอำนวยการเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้
จำเลยที่ 9 นายวิชม ทองสงค์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส
ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เนื่องจากคดีขาดอายุความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เหตุที่ศาลมีคำสั่งจำหน่าย คดีแทนพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา158 วรรคหนึ่ง เพราะตามบทบัญญัติดังกล่าว เป็นกรณีที่ปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความ
ปรากฏต่อศาลในชั้นทำคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ศาลยกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยไป แต่คดีนี้ จำเลยทั้ง 7 คน ไม่เคยเข้าสู่การพิจารณา แต่หลบหนีจนคดีขาดอายุความ ไม่สามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปได้ ต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
ด้าน นายมูฮัมหมัดซาวาวี อุเซ็ง 1 ในญาติที่เสียชีวิตที่ร่วมเป็นโจทย์ฟ้องในคดีนี้ กล่าวว่า คดีนี้ศาลไม่ได้ยกฟ้อง ซึ่งแสดงว่าท่านยังมีมลทินความผิดอยู่ในการหนีคดีไม่เข้าสู่กระบวนการ เพื่อที่จะต่อสู้แสดงความบริสุทธิ์ใจจริงๆว่าบริสุทธิ์ ความยุติธรรมไม่ได้เกิดขึ้นกับคนที่เสียชีวิต ซึ่งยังรอคอยความยุติธรรม แล้วเราที่มีชีวิตอยู่ก็ต้องต่อสู้กันต่อไป ซึ่งอาจมีช่องทางหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ คือ ศาลอาญาระหว่างประเทศ ถ้ามีโอกาสเราจะไป เพราะเราจะสู้ให้ถึงที่สุด เพราะกระบวนการในประเทศไทยไม่ได้รับความยุติธรรม
ด้าน นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ สภาทนายความ ในฐานะทนายฝ่ายโจทก์ เปิดเผยว่า มีคำถามของประชาชนเราสามารถไปฟ้องศาลโลกได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ร้ายแรง เป็นอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ คน 85 คนไม่ใช่เรื่องธรรมดา ซึ่งการที่จะใช้ศาลพิเศษ หรือที่เรียกกันว่าศาลอาชญากรสงคราม ซึ่งเกิดในกรณีที่เกิดสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ก็เคยมี
เรื่องความคิดเห็นที่จะเอามาใช้ปรับปรุงกฎหมายอายุความคดีที่มีความสำคัญ เพื่อนำไปพิจารณาสภานิติบัญญัติต้องมาถกกันว่า ความผิดที่เป็นความผิดรุนแรงบางเรื่อง ต้องมาดูที่อายุความว่าไม่ต้องมีอายุความไหม ซึ่งผมและผู้พิพากษารวมทั้งคณะที่นั่งฟัง ผมว่าท่านพูดได้ดี ซึ่งบอกว่ามีกระบวนการไต่สวนมูลฟ้อง ไม่มีพยานหลักฐานจนศาลเชื่อมีมูลที่อาจจะมีส่วนที่จะกระทำความผิด
ดังนั้นศาลรับฟ้อง ศาลใช้คำสั่งออกมาคือการจำหน่ายคดี โดยไม่ได้พิพากษายกฟ้อง โดยผู้ต้องหาทั้ง 8 คน เสนอความเห็นเกือบจะขาดอายุความ ซึ่งคุณทำอะไรอยู่ตั้งนาน เมื่อคุณเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ปฏิบัติการตามกฎหมาย แล้วสำนวนคดีที่คุณเสนอไปเห็นควรไม่สั่งฟ้อง คนเสียชีวิต 78 คน มีรายงานการชันสูตรพลิกศพ การเสียชีวิตที่เกิดจากการขาดอากาศหายใจจากการถูกกดทับ
ภาพของการขนย้ายคนไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร มีลักษณะการอยู่บนเป็นไปโดยไม่ถูกต้อง ดังนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีการบังคับบัญชากำกับดูแล โดยนายกรัฐมนตรีรวมถึงรองนายกรัฐมนตรี ต้องมีการสั่งการตรวจสอบการทำงานของพนักงานสอบสวน ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบหรือไม่ชอบ
ต้องมาดูกันว่าความเพิ่งจะมาปรากฏหลังจากที่ราษฎรได้ยื่นฟ้องคดี ซึ่งอายุความแห่งมาตราแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กำลังจะเริ่มต้น ต้องมีการย้อนไปดูซึ่งไม่ใช่ว่าคดีขาดอายุความแล้วทุกอย่างจบตามสัมภาษณ์ผู้ใหญ่ของรัฐบาล
ต้องมีการกลับไปทบทวน โดยผู้ต้องหาทั้ง 8 คนมีข้าราชการที่ถูกออกหมายจับ เมื่อข้าราชการขาดราชการถูกออกหมายจับ คุณต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ต้องมีการพิจารณา สำหรับข้าราชการผู้ใหญ่ที่เกษียณไปแล้วได้รับบำเหน็จหรือบำนาญทุกๆเดือน แต่กลับหันหลังให้กระบวนการยุติธรรมไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ท่านถูกออกหมายจับ
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปพิจารณาแล้วว่าบำเหน็จบำนาญของท่านที่ยังรับอยู่เอามาคืนให้กับงบประมาณแผ่นดิน เพราะงบประมาณแผ่นดินจ่ายเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียหาย เอามาจากภาษีอากรของประชาชน
แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับวันนี้ นายวิชาญ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ฝ่ายความมั่นคง มาติดตามดูแลความสงบเรียบร้อย บริเวณภายในศาลด้วยการขอสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน จ.นราธิวาส เนื่องจากมีญาติและมวลชนจำนวนหนึ่งได้ดินทางมาให้กำลังใจ ในการป้องกันสกัดกั้นเหตุต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากมือที่ 3.
เทวฤทธิ์ แนะรบ. ให้ประเทศต้นทางดำเนินคดีพิศาล คาใจ ‘พิเชษฐ์’ ให้ผู้ต้องหาลาประชุม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4869343
ส.ว.เทวฤทธิ์ สงสัย ‘พิเชษฐ์’ ปล่อย ‘พล.อ.พิศาล’ ลาประชุมได้ไง ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่ามีคดีตากใบใกล้หมดอายุความ จี้ ‘นายกฯ’ จริงใจหาคนปล่อยให้หลบหนี
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว. กล่าวว่า กรณีคดีตากใบหมดอายุความไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการติดตามผู้ต้องหา 14 คนมาดำเนินคดี สัปดาห์ที่แล้วคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ได้ประชุมเพื่อเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตำรวจภูธรภาค 9 เข้าให้ข้อมูล พบว่าผู้ต้องหาทั้ง 14 คนหลบหนีผ่านช่องทางที่เป็นทางการ และช่องทางธรรมชาติ จึงเป็นประเด็นที่เราอยากจะวิงวอน แม้คดีจะล่วงเลยไปแล้ว แต่อยากให้ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่นอกจากจะออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษแล้ว ยังต้องพิสูจน์ความเสียใจและขอโทษด้วยการลงมือทำ
ส่วนประเด็นเรื่องอายุความนั้น นายเทวฤทธิ์กล่าวว่า มีข้อเสนอของนักสิทธิมนุษยชนขอร้องให้ประเทศอังกฤษดำเนินคดีกับผู้ที่หลบหนี เนื่องจากมีข้อกฎหมายรับรองไว้ หากรัฐบาลจริงใจในคดีตากใบต้องช่วยกันเร่งรัดดำเนินคดี อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในคดีชายแดนใต้อื่นๆ ด้วย เพราะความยุติธรรมเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทำความจริงให้ปรากฏ แล้วความยุติธรรมจะตามมา เมื่อความยุติธรรมตามมาปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ก็จะลดลง เราต้องดึงเขาให้เข้ามาเห็นว่าที่นี่เป็นบ้าน พร้อมให้ความยุติธรรมทำกับพวกเขา
นายเทวฤทธิ์กล่าวต่อว่า ขอเสนอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง จนนำไปสู่ความสูญเสีย ทั้งกรณีตากใบและกรณีอื่นๆ เช่น การวิสามัญที่เขาตะเว เมื่อปี 2562 รวมถึงคดีสลายการชุมนุมเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นกลางกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังต้องให้ความปลอดภัยกับญาติผู้สูญเสียในคดีตากใบ
“หลายคนตั้งคำถามว่าเหตุใดถึงลุกขึ้นมาฟ้องร้องก่อน 1 ปีหมดอายุความ เนื่องจากเพิ่งรู้ข้อเท็จจริงว่าคดีถูกฟรีซไว้ ตั้งแต่ปี 2557 เราอยู่ภายใต้รัฐบาลเผด็จการทหาร อาจจะมีการเลือกตั้งหลังจากนั้น แต่ก็มีความระแวง ที่สำคัญคือรัฐบาลต้องให้หลักประกันกับญาติที่ลุกขึ้นมาเรียกร้องและต่อสู้ เพราะฝ่ายตรงข้ามในคดีเป็นผู้ที่ถืออาวุธและเป็นฝ่ายความมั่นคง รัฐบาลต้องหามาตรการที่ดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของญาติผู้สูญเสีย” นายเทวฤทธิ์กล่าว
นายเทวฤทธิ์กล่าวต่อว่า แม้คดีจะหมดอายุความ แต่สามารถทดเวลาได้คือร้องขอให้ประเทศต้นทางที่รู้ว่าผู้ต้องหาหลบหนีไปอย่างเป็นทางการดำเนินคดี เพื่อเป็นการแสดงความพยายามถึงที่สุด ไม่ใช่บอกแค่ว่า พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ลาออกจากพรรคเพื่อไทยไปแล้ว เพื่อปัดภาระความรับผิดชอบ ไม่ใช่ภาระของพรรคเพื่อไทย แต่คือภาระความรับผิดชอบของรัฐบาล ต่อมาคือการแสวงหาข้อเท็จจริง อำนวยความยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงโดยรัฐ รวมถึงการคุ้มครองประชาชนที่ลุกออกมาเรียกร้อง โดยเฉพาะญาติที่ออกมาฟ้องคดีที่ใช้ความกล้าหาญมาก เนื่องจากอยู่ในภาวะหวาดกลัวมานาน
“การหลบหนีแปลว่ามีรอยรั่ว เราจะปล่อยให้หลบหนีแล้วจบไม่ได้ ใครปล่อยให้รั่วออกไป หากจริงใจและเสียใจ ต้องหาว่าใครปล่อยให้รั่วออกไป นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ที่เซ็นอนุมัติให้ พล.อ.พิศาลลาป่วยถึงวันที่ 30 ต.ค.67 จะบอกว่าใครยื่นมาก็เซ็นให้ทั้งหมดไม่ได้ เพราะนายพิเชษฐ์รู้ดีว่าคดีมีการฟ้องไปแล้ว คงต้องมีการตรวจสอบว่าการเซ็นอนุมัติของนายพิเชษฐ์ใช้ดุลพินิจถึงที่สุดหรือไม่ รวมถึงตรวจสอบการเดินทางออกนอกประเทศอย่างเป็นทางการและช่องทางธรรมชาติตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาชี้แจงด้วย คนอายุปูนนั้นออกไปไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ออกไปได้ไม่ใช่ตัวลำพังเพียงแค่ 14 คน ขอฝากไปยังรัฐบาล โดยเฉพาะนายภูมิธรรมที่ดูแลความมั่นคง รวมทั้งนายกฯที่ออกมาแสดงความเสียใจและขอโทษ เป็นการพิสูจน์ความความจริงใจในการแสดงคำขอโทษและเสียใจ” นายเทวฤทธิ์กล่าว
ส.ว.ติงนายกฯ-รบ. ไม่ให้ความสำคัญตอบกระทู้ ‘นันทนา’ โวยทำเสียสิทธิถามเรื่องสำคัญ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4869169
ส.ว.แถลงจี้ ‘นายกฯ-รัฐบาล’ ให้ความสำคัญมาตอบกระทู้วุฒิสภา ทั้งตากใบ-การเสียชีวิตในค่ายทหาร-การตั้ง กก.แก้ปัญหากลุ่มพีมูฟ ‘นันทนา’ โวยทำเสียสิทธิถามกระทู้สำคัญ
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว. พร้อมด้วย น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร ส.ว. และ นายพรชัย วิทยเลิศพันธุ์ ส.ว. ร่วมแถลงตำหนินายกรัฐมนตรีและรัฐบาลที่ไม่ให้ความสำคัญ ไม่มาตอบกระทู้ถามของ ส.ว.
นายเทวฤทธิ์กล่าวว่า วันนี้ (28 ต.ค.) ถือเป็นวันสุดท้ายที่ ส.ว.สามารถตั้งกระทู้ถามรัฐบาลได้ในสมัยประชุมนี้ แต่การที่มีกระทู้สะสมจำนวนมากจากการที่รัฐบาลไม่มาตอบ ทำให้ประธานวุฒิสภาต้องขอมติจากสมาชิกยกเว้นข้อบังคับการประชุมเพื่อให้เวลาตอบกระทู้ถามได้มากขึ้น โดยเฉพาะกระทู้คดีตากใบที่ทั้งนายกฯและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องออกมาขอโทษประชาชน แต่กลับไม่มาตอบกระทู้ถามกับวุฒิสภา เพื่อให้เกิดความกระจ่าง ชัดเจนต่อสังคม
นายเทวฤทธิ์กล่าวต่อว่า รวมถึงการเลื่อนตอบ ไม่มาชี้แจงกระทู้ของ รมว.กลาโหม เรื่องการเสียชีวิตของทหารเกณฑ์ในค่ายทหาร ทั้งที่เป็นปัญหาเร่งด่วนเกี่ยวกับชีวิตของประชาชน ทำให้ผู้ปกครองไม่อาจไว้ใจที่จะส่งบุตรหลานเข้ามาอยู่ในค่ายทหารได้ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องค้างที่รัฐบาลไม่มาตอบชี้แจงกรณีความล่าช้า การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ที่ส่งผลกระทบให้การช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต้องล่าช้าออกไปด้วย