ทิฏฐิ ๖๒ (ทิฐิ ๖๒) คืออะไร?
จาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (๙/๑๑-๓๗/๒๖-๕๐)
ท้าวความก่อนเล็กน้อย.. ทิฏฐิ ๖๒ นี้ อยู่ในส่วนหนึ่งของ พรหมชาลสูตร เมื่อครั้งที่
พระผู้มีพระภาค เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุง
ราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก. ได้ยินว่าในระหว่างทางนั้น.
สุปปิยปริพาชก กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วน
พรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชม
พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง
ฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จ
เข้าไปประทับแรมราตรีหนึ่ง ณ พระตำหนักหลวง ในพระราชอุทยาน อัมพลัฏฐิกาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ แม้สุปปิยปริพาชก ก็ได้เข้าพักแรมราตรีหนึ่ง ใกล้พระตำหนักหลวงในพระราชอุทยาน
อัมพลัฏฐิกา กับพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก ได้ยินว่าแม้ ณ ที่นั้น สุปปิยปริพาชก ก็กล่าว
ติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพ อันเตวาสิก
ของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม
ติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง
หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง
หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ละหรือ?
...ฯลฯ...
จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวว่า เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด
พึงกล่าวด้วย จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล และทิฏฐิ ๖๒
...ฯลฯ...
ทิฏฐิ ๖๒
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังมีธรรมอย่างอื่นอีกแลที่ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน?
ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ) -- อปรันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องปลาย, ๔๔ ลัทธิ)
- สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกสัญญีวาท (๑๖ ลัทธิ)
- เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
- อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
- อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอุจเฉทวาท (๗ ลัทธิ)
- อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ - พวกทิฏฐธรรมนิพานวาท (๕ ลัทธิ)
ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นหรือทฤษฎีของพวกที่กำหนดขึ้น อาศัยส่วนของขันธ์ (เบญจขันธ์) อันเป็นอดีต
แนวความคิดนี้อาศัยข้อมูลจากอดีตเป็นหลัก เป็นความรู้เกิดจากเจโตสมาธิ ย้อนสำรวจชาติในอดีตของตน
โดยเอาตัวเองในปัจจุบันเป็นฐาน แล้วย้อนระลึกชาติกลับไปสู่อดีต
โดยการสาวลึกและไกลไปเรื่อยๆ จนสุดกำลังญาณของตน สรุปว่า โลกแล้วอัตตาเป็นอย่างไร
(๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ๔
๑. เห็นว่า ตัวตน (อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ
๒. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึงสิบกัปป์
๓. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึงสี่สิบกัปป์
๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง
(๒) หมวดเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ) ๔
๕. เห็นว่า พระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง
๖. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยงพวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน (ขิฑฑาปโทสิกา)ไม่เที่ยง
๗. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น (มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง
๘. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง
(๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุด และไม่มีที่สุด (อันตานันติกทิฏฐิ) ๔
๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด
๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้าง หรือด้านขวาง ไม่มีที่สุด
๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่
(๔) หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ) ๔
๑๓. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ (อะไร) ก็ไม่ใช่
๑๔. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
๑๕. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
๑๖. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย
(๕) หมวดเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ) ๒
๑๗. เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์
๑๘. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่างๆ มีขึ้นเองโดยไม่มี
อปรันตกัปปิกวาท ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก
(๑) กลุ่มสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตา หลังตายแล้วมีสัญญา (๑๖)
(๒) กลุ่มอสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว ไม่มีสัญญา (๘)
(๓) กลุ่มเนวสัญญีนาสัญญี พวกเห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๘)
(๔) กลุ่มอุจเฉทวาท เห็นว่าสัตว์ตายแล้วสูญ (๗)
(๕) กลุ่มทิฏฐิธรรมนิพพานวาท เห็นว่าสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ตรงกับหลักการของลัทธิ Hedonism )
ใน ๕ กลุ่มของนักคิด สามกลุ่มแรกเห็นว่า อัตตา (อาตมัน) หรือวิญญาณ หลังตายแล้วยังมีอยู่ (อุทธมาฆาตนิกา) ในลักษณะเป็นทรัพย์ ( Substance ) เป็นตัวรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นตัวไปเกิดใหม่ สืบภพชาตินิรันดร (อโรคะ)
(๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖
๑๙. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๐. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๑. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๒. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
๒๓. อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๔. อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๕. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๖. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
๒๗. อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา
๒๘. อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา
๒๙. อัตตาที่สัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา
๓๐. อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา
๓๑. อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
๓๒. อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
๓๓. อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา
๓๔. อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
ตนทั้ง ๑๖ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น
(๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๓๕ ถึงข้อ ๔๒ ข้างต้น คือตนมีรูปจนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้
(๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๔๓ ถึงข้อ ๕๐ ข้างต้น คือ ตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ทั้ง ๓ หมวดนี้ รวมเรียกว่า อุทธมาฆตตนิกา แปลว่า พวกที่มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพเมื่อตายไปแล้ว จะเป็นอย่างไร
(๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์
๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ
๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ
๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ
๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ
๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก
(๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๕๙. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๐. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๒ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๑. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๓ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๒. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
ปล. พรหมชาลสูตร มีทั้งของฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน ซึ่งพรหมชาลสูตรฝ่ายมหายานนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องอันใดกับพรหมชาลสูตร ในสีลขันธวรรค ของทีฆนิกาย พระไตรปิฎกภาษาบาลี ของเถรวาท
https://th.wikipedia.org/wiki/พรหมชาลสูตร_(เถรวาท)
https://th.wikipedia.org/wiki/พรหมชาลสูตร_(มหายาน)
หมายเหตุ: คัดลอกข้อความสรุปทิฏฐิ ๖๒ มาจากคุณ Nipol [25 ก.ย. 46 11:55:48]
http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/Y2469279/Y2469279.html
ทิฏฐิ ๖๒ (ทิฐิ ๖๒) คืออะไร?
ทิฏฐิ ๖๒ (ทิฐิ ๖๒) คืออะไร?
จาก พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค (๙/๑๑-๓๗/๒๖-๕๐)
ท้าวความก่อนเล็กน้อย.. ทิฏฐิ ๖๒ นี้ อยู่ในส่วนหนึ่งของ พรหมชาลสูตร เมื่อครั้งที่
พระผู้มีพระภาค เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุง
ราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก. ได้ยินว่าในระหว่างทางนั้น.
สุปปิยปริพาชก กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วน
พรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชม
พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง
ฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จ
เข้าไปประทับแรมราตรีหนึ่ง ณ พระตำหนักหลวง ในพระราชอุทยาน อัมพลัฏฐิกาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ แม้สุปปิยปริพาชก ก็ได้เข้าพักแรมราตรีหนึ่ง ใกล้พระตำหนักหลวงในพระราชอุทยาน
อัมพลัฏฐิกา กับพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก ได้ยินว่าแม้ ณ ที่นั้น สุปปิยปริพาชก ก็กล่าว
ติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพ อันเตวาสิก
ของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม
ติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง
หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง
หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ละหรือ?
...ฯลฯ...
จากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวว่า เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด
พึงกล่าวด้วย จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล และทิฏฐิ ๖๒
...ฯลฯ...
ทิฏฐิ ๖๒
[๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังมีธรรมอย่างอื่นอีกแลที่ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก
สงบ ประณีต จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน?
ปุพพันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องต้น, ๑๘ ลัทธิ) -- อปรันตกัปปิกะ (ความเห็นปรารภเบื้องปลาย, ๔๔ ลัทธิ)
- สัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกสัญญีวาท (๑๖ ลัทธิ)
- เอกัจจสัสสตทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
- อันตานันติกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกเนวสัญญีนาสัญญีวาท (๘ ลัทธิ)
- อมราวิกเขปิกทิฏฐิ มี ๔ ลัทธิ - พวกอุจเฉทวาท (๗ ลัทธิ)
- อธิจจสมุปปันนิกะ มี ๒ ลัทธิ - พวกทิฏฐธรรมนิพานวาท (๕ ลัทธิ)
ปุพพันตกัปปิกทิฏฐิ แปลว่า ความเห็นหรือทฤษฎีของพวกที่กำหนดขึ้น อาศัยส่วนของขันธ์ (เบญจขันธ์) อันเป็นอดีต
แนวความคิดนี้อาศัยข้อมูลจากอดีตเป็นหลัก เป็นความรู้เกิดจากเจโตสมาธิ ย้อนสำรวจชาติในอดีตของตน
โดยเอาตัวเองในปัจจุบันเป็นฐาน แล้วย้อนระลึกชาติกลับไปสู่อดีต
โดยการสาวลึกและไกลไปเรื่อยๆ จนสุดกำลังญาณของตน สรุปว่า โลกแล้วอัตตาเป็นอย่างไร
(๑) หมวดเห็นว่าเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ) ๔
๑. เห็นว่า ตัวตน (อัตตา) และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติเดียว จนถึงแสนชาติ
๒. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้เป็นกัปป์ๆ ตั้งแต่กัปป์เดียวถึงสิบกัปป์
๓. เห็นว่า ตัวตน และโลกเที่ยง เพราะระลึกชาติได้มากกัปป์ ตั้งแต่สิบกัปป์ถึงสี่สิบกัปป์
๔. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่าโลกเที่ยง
(๒) หมวดเห็นว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง (เอกัจจสัสสติกทิฏฐิ เอกัจจอสัสสติกทิฏฐิ) ๔
๕. เห็นว่า พระพรหมเที่ยง แต่พวกเราที่พระพรหมสร้างไม่เที่ยง
๖. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยงพวกที่มีโทษเพราะเล่นสนุกสนาน (ขิฑฑาปโทสิกา)ไม่เที่ยง
๗. เห็นว่า เทวดาพวกอื่นเที่ยง พวกที่มีโทษเพราะคิดร้ายผู้อื่น (มโนปโทสิกา) ไม่เที่ยง
๘. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า ตัวตนฝ่ายกายไม่เที่ยง ตัวตนฝ่ายจิตเที่ยง
(๓) หมวดเห็นว่ามีที่สุด และไม่มีที่สุด (อันตานันติกทิฏฐิ) ๔
๙. เห็นว่าโลกมีที่สุด
๑๐. เห็นว่าโลกไม่มีที่สุด
๑๑. เห็นว่าโลกมีที่สุด เฉพาะด้านบนกับด้านล่าง ส่วนด้านกว้าง หรือด้านขวาง ไม่มีที่สุด
๑๒. นักเดา เดาตามความคิดคาดคะเนว่า โลกมีที่สุดก็ไม่ใช่ ไม่มีที่สุดก็ไม่ใช่
(๔) หมวดพูดซัดส่ายไม่ตายตัวแบบปลาไหล (อมราวิกเขปิกทิฏฐิ) ๔
๑๓. เกรงว่าจะพูดปด จึงพูดปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ อย่างอื่นก็ไม่ใช่ มิใช่ (อะไร) ก็ไม่ใช่
๑๔. เกรงว่าจะยึดถือ จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
๑๕. เกรงว่าจะถูกซักถาม จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑
๑๖. เพราะโง่เขลา จึงพูดปฏิเสธแบบข้อ ๑ และไม่ยอมรับหรือยืนยันอะไรเลย
(๕) หมวดเห็นว่าสิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเอง ไม่มีเหตุ (อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ) ๒
๑๗. เห็นว่าสิ่งต่างๆ มีขึ้นเอง โดยไม่มีเหตุ เพราะเคยเกิดเป็นอสัญญีสัตว์
๑๘. นักเดา เดาเอาตามความคิดคาดคะเนว่า สิ่งต่างๆ มีขึ้นเองโดยไม่มี
อปรันตกัปปิกวาท ผู้ปรารภเบื้องปลาย ได้แก่ส่วนที่เป็นอนาคต มี ๕ กลุ่ม แบ่งย่อยออกเป็น ๔๔ สำนัก
(๑) กลุ่มสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตา หลังตายแล้วมีสัญญา (๑๖)
(๒) กลุ่มอสัญญีวาท เป็นพวกที่เห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว ไม่มีสัญญา (๘)
(๓) กลุ่มเนวสัญญีนาสัญญี พวกเห็นว่า อัตตาหลังตายแล้ว มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (๘)
(๔) กลุ่มอุจเฉทวาท เห็นว่าสัตว์ตายแล้วสูญ (๗)
(๕) กลุ่มทิฏฐิธรรมนิพพานวาท เห็นว่าสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ตรงกับหลักการของลัทธิ Hedonism )
ใน ๕ กลุ่มของนักคิด สามกลุ่มแรกเห็นว่า อัตตา (อาตมัน) หรือวิญญาณ หลังตายแล้วยังมีอยู่ (อุทธมาฆาตนิกา) ในลักษณะเป็นทรัพย์ ( Substance ) เป็นตัวรองรับคุณสมบัติต่าง ๆ เป็นตัวไปเกิดใหม่ สืบภพชาตินิรันดร (อโรคะ)
(๑) หมวดเห็นว่ามีสัญญา (สัญญีทิฏฐิ) ๑๖
๑๙. อัตตาที่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๐. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๑. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
๒๒. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
๒๓. อัตตาที่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๔. อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๕. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
๒๖. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
๒๗. อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา
๒๘. อัตตาที่มีสัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา
๒๙. อัตตาที่สัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา
๓๐. อัตตาที่มีสัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา
๓๑. อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
๓๒. อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
๓๓. อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา
๓๔. อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
ตนทั้ง ๑๖ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว ก็มีสัญญา คือความจำได้หมายรู้ทั้งสิ้น
(๒) หมวดเห็นว่าไม่มีสัญญา (อสัญญีทิฏฐิ) ๘
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๓๕ ถึงข้อ ๔๒ ข้างต้น คือตนมีรูปจนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้วก็ไม่มีสัญญา คือไม่มีความจำได้หมายรู้
(๓) หมวดเห็นว่ามีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ (เนวสัญญีนาสัญญีทิฏฐิ) ๘
เห็นว่าตั้งแต่ข้อ ๔๓ ถึงข้อ ๕๐ ข้างต้น คือ ตนมีรูป จนถึงตนมีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้ง ๘ ประเภทนี้ ตายไปแล้ว มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
ทั้ง ๓ หมวดนี้ รวมเรียกว่า อุทธมาฆตตนิกา แปลว่า พวกที่มีความเห็นเกี่ยวกับสภาพเมื่อตายไปแล้ว จะเป็นอย่างไร
(๔) หมวดเห็นว่า ขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) ๗
๕๑. ตนที่เป็นของมนุษย์และสัตว์
๕๒. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป กินอาหารหยาบ
๕๓. ตนที่เป็นของทิพย์ มีรูป สำเร็จจากใจ
๕๔. ตนที่เป็นอากาสานัญจายตนะ
๕๕. ตนที่เป็นวิญญาณาสัญญายตนะ
๕๖. ตนที่เป็นอากิญจัญญายตนะ
๕๗. ตนที่เป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ
ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ขาดสูญ ไม่เกิดอีก
(๕) หมวดเห็นสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ) ๕
๕๘. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๕๙. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๑ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๐. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๒ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๑. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๓ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
๖๒. เห็นว่าการเพียบพร้อมด้วยฌานที่ ๔ เป็นนิพพานอย่างยอดในปัจจุบัน
ปล. พรหมชาลสูตร มีทั้งของฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน ซึ่งพรหมชาลสูตรฝ่ายมหายานนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องอันใดกับพรหมชาลสูตร ในสีลขันธวรรค ของทีฆนิกาย พระไตรปิฎกภาษาบาลี ของเถรวาท
https://th.wikipedia.org/wiki/พรหมชาลสูตร_(เถรวาท)
https://th.wikipedia.org/wiki/พรหมชาลสูตร_(มหายาน)
หมายเหตุ: คัดลอกข้อความสรุปทิฏฐิ ๖๒ มาจากคุณ Nipol [25 ก.ย. 46 11:55:48] http://topicstock.ppantip.com/religious/topicstock/Y2469279/Y2469279.html