27 ก.ค.2559 เครือข่าย We Watch อาสาสมัครเยาวชนสังเกตการณ์ประชามติ ออกแถลงการณ์กรณีความห่วงใยต่อสถานการณ์การจัดการออกเสียงประชามติ และเชิญชวนผู้มีสิทธิออกเสียง เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้แสดงเจตจำนงของตนเองอย่างแท้จริง รวมทั้งขอเชิญชวนให้ผู้มีสิทธิออกเสียงโดยเฉพาะเยาวชน คนรุ่นใหม่ ได้ใช้ช่วงเวลาที่เหลือในการค้นคว้าศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านและเท่าทัน เพื่อการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมกันสังเกตการณ์สถานการณ์และกระบวนการการออกเสียงประชามติในช่วงเวลาที่เหลือนี้
โดยมีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์เครือข่าย We Watch อาสาสมัครเยาวชนสังเกตการณ์ประชามติ กรณีความห่วงใยต่อสถานการณ์การจัดการออกเสียงประชามติ และเชิญชวนผู้มีสิทธิออกเสียง เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้แสดงเจตจำนงของตนเองอย่างแท้จริง
เครือข่าย We Watch อาสาสมัครเยาวชนสังเกตการณ์ประชามติมีความห่วงใยต่อสถานการณ์การจัดการออกเสียงประชามติ ที่จะถึงในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้ มีเวลาเหลืออีกเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ โดยจะต้องเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนจาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอและรอบด้าน ทั้งในเรื่องเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงและยืนยันเจตจานงของตนเองได้อย่างแท้จริง
สืบเนื่องจากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 อย่างไรก็ตาม ในการจัดการการออกเสียงประชามติในครั้งนี้ มิได้เป็นไปตามหลักกติกาสากล โดยเฉพาะในข้อ 25 ที่กำหนดให้สิทธิของพลเมืองทุกคนมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเสรี ซึ่งถือว่าเป็นแกนกลางสำคัญของหลักการธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตยและตั้งอยู่บนฐานของความเห็นชอบของประชาชน
จากการสังเกตการณ์ที่ผ่านมา ทางเครือข่าย We Watch มีความห่วงใยในเรื่องดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้มีการประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจต่อเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญอย่างไม่เพียงพอ โดยประชาชนไม่ได้รับคู่มือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม จึงไม่สามารถเข้าถึงการรับรู้ข้อมูลได้โดยตรง อีกทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งมีการประชาสัมพันธ์เรื่องกระบวนการประชามติที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งมิได้มีการขยายการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะอย่างเพียงพอ และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ได้ทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม
2. ภาคประชาชนถูกปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการออกเสียงประชามติ นำไปสู่การขาดการรับรู้ข้อมูลที่รอบด้านของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วไป
3. คณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้เปิดพื้นที่หรือมีการรับรองให้มีกลุ่มสังเกตการณ์การออกเสียงประชามติอย่างเป็นทางการ โดยกล่าวว่ามิได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายว่าให้มีการสังเกตการณ์การออกเสียงประชามติ ซึ่งทำให้ขาดกระบวนการการตรวจสอบที่จะสามารถยืนยันความโปร่งใสและเป็นธรรม หรือสะท้อนปัญหาของการจัดการการออกเสียงประชามติในครั้งนี้ได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ทางเครือข่าย We Watch จึงขอเชิญชวนให้ผู้มีสิทธิออกเสียงโดยเฉพาะเยาวชน คนรุ่นใหม่ ได้ใช้ช่วงเวลาที่เหลือในการค้นคว้า ศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านและเท่าทัน เพื่อการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้สิทธิในการออกเสียงประชามติเพื่อแสดงเจตจำนงของประชาชนในการกำหนดอนาคตของประเทศอย่างแท้จริง รวมทั้งร่วมกันสังเกตการณ์สถานการณ์และกระบวนการการออกเสียงประชามติในช่วงเวลาที่เหลือ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและเป็นธรรมให้กับกระบวนการออกเสียงประชามติในครั้งนี้
http://prachatai.com/journal/2016/07/67107
น่าดีใจครับที่เด็กๆและเยาวชนมีความกระตือรือร้นและห่วงใยในสถานการบ้านเมือง แล้วพวกเราล่ะครับมัวทำอะไรกันอยู่ขนาดเหล่าเยาวชนยังห่วงเลย
We Watch ห่วงประชามติ กกต.ไม่รับรองให้มีกลุ่มสังเกตการณ์อย่างเป็นทางการ แล้วเราไม่ห่วงกันบ้างหรือครับ??
โดยมีรายละเอียดดังนี้
แถลงการณ์เครือข่าย We Watch อาสาสมัครเยาวชนสังเกตการณ์ประชามติ กรณีความห่วงใยต่อสถานการณ์การจัดการออกเสียงประชามติ และเชิญชวนผู้มีสิทธิออกเสียง เยาวชน คนรุ่นใหม่ได้แสดงเจตจำนงของตนเองอย่างแท้จริง
เครือข่าย We Watch อาสาสมัครเยาวชนสังเกตการณ์ประชามติมีความห่วงใยต่อสถานการณ์การจัดการออกเสียงประชามติ ที่จะถึงในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งขณะนี้ มีเวลาเหลืออีกเพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์ โดยจะต้องเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนจาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอและรอบด้าน ทั้งในเรื่องเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการการออกเสียงประชามติ เพื่อให้ประชาชนได้แสดงและยืนยันเจตจานงของตนเองได้อย่างแท้จริง
สืบเนื่องจากประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 อย่างไรก็ตาม ในการจัดการการออกเสียงประชามติในครั้งนี้ มิได้เป็นไปตามหลักกติกาสากล โดยเฉพาะในข้อ 25 ที่กำหนดให้สิทธิของพลเมืองทุกคนมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเสรี ซึ่งถือว่าเป็นแกนกลางสำคัญของหลักการธรรมาภิบาลในระบอบประชาธิปไตยและตั้งอยู่บนฐานของความเห็นชอบของประชาชน
จากการสังเกตการณ์ที่ผ่านมา ทางเครือข่าย We Watch มีความห่วงใยในเรื่องดังต่อไปนี้
1. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้มีการประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจต่อเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญอย่างไม่เพียงพอ โดยประชาชนไม่ได้รับคู่มือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็ม จึงไม่สามารถเข้าถึงการรับรู้ข้อมูลได้โดยตรง อีกทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งมีการประชาสัมพันธ์เรื่องกระบวนการประชามติที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งมิได้มีการขยายการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะอย่างเพียงพอ และการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ได้ทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม
2. ภาคประชาชนถูกปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการมีส่วนร่วมในการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจต่อเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการออกเสียงประชามติ นำไปสู่การขาดการรับรู้ข้อมูลที่รอบด้านของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงทั่วไป
3. คณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้เปิดพื้นที่หรือมีการรับรองให้มีกลุ่มสังเกตการณ์การออกเสียงประชามติอย่างเป็นทางการ โดยกล่าวว่ามิได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายว่าให้มีการสังเกตการณ์การออกเสียงประชามติ ซึ่งทำให้ขาดกระบวนการการตรวจสอบที่จะสามารถยืนยันความโปร่งใสและเป็นธรรม หรือสะท้อนปัญหาของการจัดการการออกเสียงประชามติในครั้งนี้ได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ทางเครือข่าย We Watch จึงขอเชิญชวนให้ผู้มีสิทธิออกเสียงโดยเฉพาะเยาวชน คนรุ่นใหม่ ได้ใช้ช่วงเวลาที่เหลือในการค้นคว้า ศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านและเท่าทัน เพื่อการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้สิทธิในการออกเสียงประชามติเพื่อแสดงเจตจำนงของประชาชนในการกำหนดอนาคตของประเทศอย่างแท้จริง รวมทั้งร่วมกันสังเกตการณ์สถานการณ์และกระบวนการการออกเสียงประชามติในช่วงเวลาที่เหลือ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและเป็นธรรมให้กับกระบวนการออกเสียงประชามติในครั้งนี้
27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
http://prachatai.com/journal/2016/07/67107
น่าดีใจครับที่เด็กๆและเยาวชนมีความกระตือรือร้นและห่วงใยในสถานการบ้านเมือง แล้วพวกเราล่ะครับมัวทำอะไรกันอยู่ขนาดเหล่าเยาวชนยังห่วงเลย