JJNY : ภรป.จี้วุฒิฯ ถกร่างพ.ร.บ.ประชามติ│น้ำป่าไหลทะลักแม่ฮ่องสอน│โรงงานชิ้นส่วนแห่ปิดกิจการ│ธ.กลางรัสเซียขึ้นดอกเบี้ย

ภรป. ยื่นจม.เปิดผนึก 6 ข้อ จี้วุฒิฯ ถกร่างพ.ร.บ.ประชามติ ให้เสร็จ รองรับแก้รธน.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4703409

 
ภรป. ยื่นจม.เปิดผนึก 6 ข้อ จี้วุฒิฯ ถกร่างพ.ร.บ.ประชามติ ให้เสร็จ รองรับแก้รธน.
 
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย (ภรป.) โดยผู้แทน อาทิ รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ รศ.ดร.โคทม อารียา คุณอังคณา นีละไพจิตร ดร.นันทนา นันทวโรภาส คุณเรืองระวี พิชัยกุล อ.สุนี ไชยรส ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ พร้อมด้วยเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง และผู้หญิงและความหลากหลาย ได้ร่วมกันแถลงจดหมายเปิดผนึกถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตัวแทนภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วไป เรื่องการมีส่วนร่วมสนับสนุนการออกเสียงประชามติของภาคส่วนต่างๆ และเสนอไทม์ไลน์กระบวนการและระยะเวลาโดยประมาณในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้แล้วเสร็จภายในสมัยของสภาผู้แทนราษฏรชุดปัจจุบัน
มีเนื้อหาดัง นี้

จดหมายเปิดผนึกภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย เรื่อง การมีส่วนร่วมสนับสนุนการออกเสียงประชามติของภาคส่วนต่าง ๆ
กราบเรียน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

เรียน ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
– ตัวแทนภาคประชาสังคม และ ประชาชนทั่วไป
 
ด้วยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้รับหลักการในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 และคาดหมายว่าจะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในวาระที่สองและสาม ในสมัยประชุมสามัญระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 – 30 ตุลาคม 2567 และโดยที่กระบวนการประชามติเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง นั้น
 
ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย (ภรป.) ซึ่งเป็นองค์กรประสานงานระหว่างนักการเมืองจากพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ตลอดจนองค์กรภาคประชาสังคมและภาควิชาการ ที่สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งสมาชิก (สสร.) มาจากการเลือกตั้ง จึงมีข้อเสนอในเรื่องการมีส่วนร่วมสนับสนุนการออกเสียงประชามติของภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้

1) ขอให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการให้มีเวทีและการประชุมที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำกฏหมายประชามติอย่างกว้างขวาง
 
2) ขอให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. พิจารณา ดังนี้
 
2.1 พิจารณาดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเวลา เพื่อให้สามารถจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในสมัยของสภาผู้แทนราษฏรชุดปัจจุบัน โดยเคารพหลักการสำคัญ คือ การผ่านประชามติต้องการเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ และต้องมีผู้มาใช้สิทธิอย่างน้อย 1 ใน 5 ของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มาตรา 214 วรรคหก
 
2.2 เพื่อประกันความเท่าเทียมกันทางโอกาสของทุกฝ่าย ควรบัญญัติให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งและหน่วยงานของรัฐ สนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ประชาชน พรรคการเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และกลุ่มต่าง ๆ สามารถแสดง ความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในการตอบคำถามประชามติ และรณรงค์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการชุมนุมในที่สาธารณะได้
 
2.3 เพื่อประกันความสุจริตและเที่ยงธรรม ควรบัญญัติให้มีอาสาสมัครสังเกตการณ์ การออกเสียงประชามติ โดยผู้สังเกตการณ์ในระดับชาติและนานาชาติสามารถสังเกตการณ์อย่างกว้างขวางตลอดทั้งกระบวนการ และเข้าถึงสถานที่ทุกแห่งที่เกี่ยวกับการดำเนินการออกเสียงประชามติ ยกเว้นสถานที่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งขอสงวนไว้โดยมีเหตุผลประกอบ
 
3) ขอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งออกระเบียบและเตรียมการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการออกเสียงประชามติโดยไม่ชักช้า
 
4) ขอให้วุฒิสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้วเป็นเรื่องเร่งด่วน เพื่อให้ประชาชนมีเวลาพอสมควรแก่การพิจารณาหลักการและเหตุผลในการตอบคำถามประชามติ โดยเฉพาะในครั้งแรกที่คาดว่าจะมีขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งนายก อบจ. ก่อนวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จภายในอายุของสภาผู้แทนราษฎร ชุดปัจจุบัน

5)ขอให้ภาคประชาสังคมและพรรคการเมืองจัดให้มีพื้นที่การแลกเปลี่ยนความเห็นและการรณรงค์เกี่ยวกับการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญอย่างเสรี โดยให้มั่นใจว่ามีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ครอบคลุมหลากหลายกลุ่ม ทั้งในมิติเพศสภาพ เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ภาษา อายุ ความพิการ และจัดเตรียมอาสาสมัครเพื่อการสังเกตการณ์กระบวนการประชามติรัฐธรรมนูญ ตลอดจนรณรงค์ส่งเสริมการไปใช้สิทธิ
 
6) ขอให้ประชาชนทั่วไปได้ติดตามกระบวนการประชามติรัฐธรรมนูญโดยใกล้ชิด และเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองสู่สังคมประชาธิปไตยที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน
 
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ภาคีเพื่อรัฐธรรมนูญประชาธิปไตย
26 กรกฎาคม 2567




น้ำป่าไหลทะลักแม่ฮ่องสอน ท่วมเส้นทางชายแดนบ้านเสาหิน เส้นทางถูกตัดขาด
https://www.thairath.co.th/news/local/north/2803617

แม่ฮ่องสอนอ่วม น้ำป่าไหลหลากทะลักเข้าท่วมเส้นทางชายแดน ช่องทางจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านเสาหิน ทำให้ชาวบ้าน ผู้ค้าขาย ที่ต้องผ่านลำน้ำแม่แงะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ขณะที่ พอ.สว. แพทย์อาสา ก็ได้รับผลกระทบ ต้องเดินเรียงแถวเกาะกันลุยข้ามลำห้วยอย่างทุลักทุเล
 
เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 67 นายวรศักดิ์ พานทอง นายอำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากราษฎรและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ตำบลเสาหิน ว่าเมื่อค่ำวานที่ผ่านมา จากฝนที่ตกลงมาตลอดทั้งวัน ทำให้ปริมาณน้ำในลำห้วยแม่แงะ ที่เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างบ้านโพซอ ไปยังช่องทางจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนบ้านเสาหิน ต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราษฎรและผู้ประกอบการค้าชายแดนที่อาศัยเส้นทางดังกล่าว ต้องเร่งข้ามลุยผ่านลำน้ำแม่แงะให้ได้ เพื่อนำสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค รวมไปถึงสินค้าที่จะส่งไปขายให้ชาวเมียนมาที่อำเภอแม่แจ๊ะ ตรงข้ามช่องทางบ้านเสาหิน ต้องรีบลำเลียงสิ่งของผ่านไปให้ได้ หากไม่เช่นนั้นถ้าน้ำป่าไหลหลากและเพิ่มปริมาณสูงมากกว่านี้ จะทำให้ไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้เลย ซึ่งบางจุดต้องใช้รถลากขนสินค้าจากลำห้วยขึ้นสู่ฝั่ง ทั้งนี้ เส้นทางจากบ้านโพซอ ไปบ้านเสาหิน ต้องผ่านลำน้ำแม่แงะ จำนวน 52 จุด  เนื่องจากแม่น้ำไหลคดเคี้ยวไปตามร่องเขาที่เป็นเส้นทางสู่บ้านเสาหิน ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น
...
จากสถานการณ์ดังกล่าว ทางอำเภอแม่สะเรียงได้แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการสัญจรผ่านลำห้วยแม่แงะ หากพบว่าน้ำสูงเกินกว่าที่จะข้ามผ่านให้ยุติการข้ามไว้ก่อน เนื่องจากอาจจะเกิดอันตรายต่อประชาชนที่ผ่านบริเวณจุดลำห้วยดังกล่าวได้ หรือหากน้ำป่าไหลหลากมากเกินไป ให้ยุติการเดินทางและให้พักรอบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง จนน้ำลดลงสู่ระดับที่สามารถข้ามไปได้ แล้วค่อยเดินทางต่อ
 
ขณะเดียวกันคณะหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ของมูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ต้องเดินทางฝ่าน้ำในลำห้วยที่กำลังเพิ่มระดับสูงขึ้น จากบ้านสล่าเชียงตอง มาบ้านแม่แพะ ตำบลเสาหิน อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังเสร็จสิ้นการให้บริการแก่พี่น้องประชาชนบ้านสล่าเชียงตอง คณะแพทย์ทุกคนต้องเกาะกันเป็นแนวยาวเดินข้ามลำห้วย ขณะที่น้ำเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถข้ามลำน้ำได้อย่างปลอดภัยทั้งหมด  
 
นอกจากการเดินทางเท้าแล้ว การเดินทางด้วยรถยนต์ของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากถนนเป็นดินโคลน การข้ามลำห้วยต้องใช้ความระมัดระวัง เนื่องจากรถบรรทุกหนักส่วนใหญ่เป็นรถเสบียง  เวชภัณฑ์ต่างๆ จะติดหล่มทรายที่ถูกกระแสน้ำพัดมา ต้องอาศัยรถโฟร์วีล และ รถไถในการลากจูงข้ามลำห้วย โดยจุดที่ยากที่สุดและมีรถติดมากที่สุดคือ เส้นทางก่อนถึงหน่วยอมเป ซึ่งต้องลุยข้ามถึง 2 ลำห้วย อย่างไรก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการอำเภอแม่สะเรียงที่ได้เดินทางร่วมกิจกรรม สามารถกลับออกมาอย่างปลอดภัย โดยใช้เวลาในการเดินทาง 11 ชั่วโมง ออกจากพื้นที่ในระยะทาง 90 กิโลเมตร  
 
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการคมนาคมสู่บ้านเสาหิน เกิดเป็นประจำทุกปีให้ห้วงฤดูฝน เมื่อน้ำป่าไหลหลากลงสู่ลำห้วยแม่แงะ ทำให้การคมนาคมต้องถูกตัดขาด ที่สำคัญส่งผลกระทบต่อราษฎรในพื้นที่ ครู อาจารย์ที่ไปสอนเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเสาหิน และรวมไปถึงการส่งออกสินค้าไปยังอำเภอแม่แจ๊ะ ประเทศเมียนมา ตรงข้ามช่องทางบ้านเสาหินต้องหยุดชะงักลง และไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะสามารถเดินทางผ่านได้เมื่อไร เพราะยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง



โรงงานชิ้นส่วนแห่ปิดกิจการ พิษยอดขายรถดิ่ง-เตะฝุ่นนับแสน.
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1616988

บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์สันดาปภาคตะวันออกกระอัก ปิดกิจการแล้วกว่า 500 ราย พนักงานประจำ-พนักงานซับคอนแทร็กต์ ตกงานกว่า 1 แสนคน ส่วนที่ยังอยู่แห่ใช้ ม.75 ลดเวลาทำงาน-จ่ายเงินน้อยลง เปิดโครงการสมัครใจลาออก เหตุยอดผลิตรถตกต่ำ ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายย่อยกระทบหนัก ขาดสภาพคล่อง สะสมปัญหาหลังโควิด เมืองชลวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ส.อ.ท.ปรับลดเป้าผลิตรถปีนี้ลง 2 แสนคัน เหลือ 1.7 ล้านคัน เหตุยอดขายในประเทศวูบ

โรงงานภาคตะวันออกหนีตาย

นายมงคล ไตรพาน ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก พื้นที่บ่อวิน รับผิดชอบดูแลแรงงานในจังหวัดชลบุรีและระยอง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ภาพรวมสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ปิดกิจการกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์ และชิ้นส่วนของรถสันดาป ปิดกิจการลงเกือบ 50% หากนับรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 ประมาณกว่า 500 แห่ง

โดยเฉพาะบริษัทผลิตชิ้นส่วนของยานยนต์ (Tier-1) ที่ประกอบชิ้นส่วนยานยนต์จากวัตถุดิบ (Tier-2) และบริษัทที่ผลิตวัตถุดิบเพื่อประกอบเป็นชิ้นส่วนของยานยนต์ (Tier-3) ส่งผลให้มีพนักงานตกงานประมาณ 1 แสนคน ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นพนักงานประจำ ประมาณ 30% และพนักงานเหมาค่าแรง (Subcontractor) ซึ่งเป็นพนักงานชั่วคราว พนักงานรายวันตกงาน ประมาณ 70% ขณะเดียวกันมีบางโรงงานเปิดโครงการสมัครใจลาออก โดยจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินก้อนให้ เนื่องจากยอดการสั่งซื้อลดลงมาก

ทั้งปิดและลดเวลาทำงาน
 
ส่วนโรงงานที่ยังพอมีสภาพคล่องไปต่อได้ แต่ยอดการสั่งซื้อลดลง ต้องลดกำลังการผลิต มีการแจ้งสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ขอใช้มาตรา 75 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยให้เหตุผลถึงความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมด หรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว บางโรงงานลดวันทำงาน โดยจ่ายเงินค่าจ้างเพียง 75% ของค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่