18 พ.ค. - นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) ประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปทุกคณะ มีมติให้มีการจัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. และได้ทำหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเสนอให้มีการจัดทำประชามติ ผ่าน 3 ความเห็น ว่า
สปช.เห็นควรให้มีการออกเสียงประชามติ โดยมีเหตุผลสอดตล้องคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยการออกเสียงประชามติต้องทำหลังจากที่สปช.ให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญแล้ว และควรเป็นการออกเสียงทั้งฉบับ
นอกจากนี้สปช.เสนอว่า ควรกำหนดหน่วยงานหรือองค์กรเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำประชามติ รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำประชามติ และกำหนดวัน เวลา ทำประชามติควรมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับจากสปช.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เพื่อให้ประชาชนเข้าใจประเด็น มีเวลาเผยแพร่เอกสารร่างรัฐธรรมนูญอย่างทั่วถึง เพราะเป็นกฎหมายที่ซับซ้อน
การดำเนินเพื่อให้มีการทำ ควรมีองค์กรรับผิดชอบ กำหนดกฎเกณฑ์ ควรมีเวลาอย่างน้อย6 เดือน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจประเด็น เผยแพร่เอกสารร่างฯอย่างทั่งถึง เพราะเป็นกฎหมายที่ซับซ้อน และเป็นเสียงจากประชาชนอย่างเเท้จริง
อีกทั้งสปช.ทุกคน และคณะกรรมาธิการยกร่างฯยกร่างพร้อมให้การสนับสนุน ทั้งก่อนและหลังการทำจัดทำประชามติอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ยืนยันว่า ไม่เป็นการผูกมัดคณะรัฐมนตรี(ครม.)และคสช.ต่อการดำเนิน ในการพิจารณาวันพรุ่งนี้ และกล่าวว่าร่างต้องตัดสินไปตามขั้นตอน ที่ต้องมีกระบวนการแปรญัตติ 30 วัน การออกเสียง 3 วาระ ซึ่งจะไม่เกินวันที่ 6 สิงหาคมนี้ และการให้มีการจัดประชามติเพื่อให้ประชาชนตัดสินในขั้นตอนสุดท้าย แต่จะต้องผ่านสปช.ก่อน เพราะ ไม่สามารถนำร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างฯไปทำประชามติได้ทันที และเวลา 6 เดือนถือว่าเหมาะสม เพราะ 3 เดือนแรกต้องทำการจัดพิมพ์สำเนาร่างรัฐธรรมนูญ 47 ล้านฉบับ แก่ประชาชน 47 ล้านคนที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงประชามติ ไม่ถือเป็นการยืดเวลา เพื่อป้องกันชนวนความขัดแย้งต่อร่างรัฐธรรมนูญในอนาคต
หากพรุ่งนี้ครม.และคสช.มีมติที่ประชุมร่วมไม่ให้มีการทำประชามติ ระบุ สปช.ยังไม่มีการหารือ แต่เคารพการตัดสินใจ โดยคสช.-ครม.มีระยะเวลาตัดสินใจจนกว่าสปช.จะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
JJNY : มติสปช. ชงบิ๊กตู่ "ทำประชามติ" ร่างรธน.ใหม่ ทั้งฉบับ!
สปช.เห็นควรให้มีการออกเสียงประชามติ โดยมีเหตุผลสอดตล้องคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยการออกเสียงประชามติต้องทำหลังจากที่สปช.ให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญแล้ว และควรเป็นการออกเสียงทั้งฉบับ
นอกจากนี้สปช.เสนอว่า ควรกำหนดหน่วยงานหรือองค์กรเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำประชามติ รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำประชามติ และกำหนดวัน เวลา ทำประชามติควรมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับจากสปช.เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว เพื่อให้ประชาชนเข้าใจประเด็น มีเวลาเผยแพร่เอกสารร่างรัฐธรรมนูญอย่างทั่วถึง เพราะเป็นกฎหมายที่ซับซ้อน
การดำเนินเพื่อให้มีการทำ ควรมีองค์กรรับผิดชอบ กำหนดกฎเกณฑ์ ควรมีเวลาอย่างน้อย6 เดือน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจประเด็น เผยแพร่เอกสารร่างฯอย่างทั่งถึง เพราะเป็นกฎหมายที่ซับซ้อน และเป็นเสียงจากประชาชนอย่างเเท้จริง
อีกทั้งสปช.ทุกคน และคณะกรรมาธิการยกร่างฯยกร่างพร้อมให้การสนับสนุน ทั้งก่อนและหลังการทำจัดทำประชามติอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ยืนยันว่า ไม่เป็นการผูกมัดคณะรัฐมนตรี(ครม.)และคสช.ต่อการดำเนิน ในการพิจารณาวันพรุ่งนี้ และกล่าวว่าร่างต้องตัดสินไปตามขั้นตอน ที่ต้องมีกระบวนการแปรญัตติ 30 วัน การออกเสียง 3 วาระ ซึ่งจะไม่เกินวันที่ 6 สิงหาคมนี้ และการให้มีการจัดประชามติเพื่อให้ประชาชนตัดสินในขั้นตอนสุดท้าย แต่จะต้องผ่านสปช.ก่อน เพราะ ไม่สามารถนำร่างจากคณะกรรมาธิการยกร่างฯไปทำประชามติได้ทันที และเวลา 6 เดือนถือว่าเหมาะสม เพราะ 3 เดือนแรกต้องทำการจัดพิมพ์สำเนาร่างรัฐธรรมนูญ 47 ล้านฉบับ แก่ประชาชน 47 ล้านคนที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงประชามติ ไม่ถือเป็นการยืดเวลา เพื่อป้องกันชนวนความขัดแย้งต่อร่างรัฐธรรมนูญในอนาคต
หากพรุ่งนี้ครม.และคสช.มีมติที่ประชุมร่วมไม่ให้มีการทำประชามติ ระบุ สปช.ยังไม่มีการหารือ แต่เคารพการตัดสินใจ โดยคสช.-ครม.มีระยะเวลาตัดสินใจจนกว่าสปช.จะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ