เมื่อวันที่ 5 พ.ค. นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Pornson Liengboonlertchai เกี่ยวกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 ส.ค. ดังนี้
การทำประชามติในร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม นั้น หาใช่เป็นเรื่องของการพิจารณาแต่เพียงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Opinion) ในระดับ “กฎหมายลูก” (Statutory Right) อย่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2559 เท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องของ “สิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ” หรือ “Right to Participate Constitution-Making” ในระดับกฎหมายแม่ อย่าง “รัฐธรรมนูญ” (Constitutional Right) ซึ่งมีนัยกว้างกว่า โดยอาจสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. ม.4 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามพันธกรณีที่ประเทศไทยไปลงนามเป็นภาคีไว้ ซึ่ง ณ ที่นี้คงจะมีอยู่ 2 ฉบับเป็นหลักได้แก่ UDRH และ ICCPR โดยพันธกรณีทั้งสองต่างรับรอและคัมครองสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ นัยของการมีส่วนร่วมดังกล่าวคือ การมีส่วนร่วมในการจัดทำอย่างเป็นประชาธิปไตย (Democratic Participation) จึงส่งผลให้การทำประชามติอันเป็นกระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยด้วย
2. ม.7 ใน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 ถือเป็นบทบัญญัติทั่วไป (General Clause) ที่สะท้อนให้เห็นว่าการแสดงความคิดความเห็นโดยสุจริตในร่างรัฐธรรมนูญและเผยแพร่ไม่มีความผิดตามกฎหมาย
3. ส่วน ม.61 ใน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 เป็นบทบัญญัติรายละเอียด กล่าวคือ พยายามอธิบายว่าการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรกระทำมิได้ ดังนั้น หากมิใช่สิ่งที่ระบุไว้ย่อมกระทำได้
4. การตีความรวมตลอดถึงการออกกฎ หรือระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อปรับใช้ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 จะตีความ ม.61 ให้ขัดแย้งกับ ม.7 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมิได้ อีกทั้งที่สำคัญคือ “มิอาจที่จะการตีความรวมตลอดถึงการออกกฎ หรือระเบียบ” ขัดแย้งกับพันธกรณีระหว่างประเทศอย่าง UDRH และ ICCPR ได้ มิฉะนั้น ย่อมส่งผลให้เป็นการขัดแย้งต่อ ม.4 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional) อันจะเป็นการใช้บังคับมิได้ไป กล่าวโดยสรุปคือ ผู้เกี่ยวข้องอย่างคณะกรรมการการเลือกตั้งจะยึดแต่เพียง ม.7 และ ม.61 ในพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 ไม่ได้ หากแต่ต้องไปพิจารณาถึง ม.4 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่จะขัดแย้งมิได้ด้วย อนึ่ง คำอธิบายข้างต้นนั้นเป็นคนละประเด็นกับความสุ่มเสี่ยงในเนื้อหาสาระของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 ว่าจะขัดแย้งต่อ ม.4 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557
JJNY : “พรสันต์” โพสต์ไขปมประชามติ 7 สิงหา
การทำประชามติในร่างรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม นั้น หาใช่เป็นเรื่องของการพิจารณาแต่เพียงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (Freedom of Opinion) ในระดับ “กฎหมายลูก” (Statutory Right) อย่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2559 เท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องของ “สิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ” หรือ “Right to Participate Constitution-Making” ในระดับกฎหมายแม่ อย่าง “รัฐธรรมนูญ” (Constitutional Right) ซึ่งมีนัยกว้างกว่า โดยอาจสรุปเป็นข้อๆ ได้ดังนี้
1. ม.4 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามพันธกรณีที่ประเทศไทยไปลงนามเป็นภาคีไว้ ซึ่ง ณ ที่นี้คงจะมีอยู่ 2 ฉบับเป็นหลักได้แก่ UDRH และ ICCPR โดยพันธกรณีทั้งสองต่างรับรอและคัมครองสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญ นัยของการมีส่วนร่วมดังกล่าวคือ การมีส่วนร่วมในการจัดทำอย่างเป็นประชาธิปไตย (Democratic Participation) จึงส่งผลให้การทำประชามติอันเป็นกระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญต้องเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยด้วย
2. ม.7 ใน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 ถือเป็นบทบัญญัติทั่วไป (General Clause) ที่สะท้อนให้เห็นว่าการแสดงความคิดความเห็นโดยสุจริตในร่างรัฐธรรมนูญและเผยแพร่ไม่มีความผิดตามกฎหมาย
3. ส่วน ม.61 ใน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 เป็นบทบัญญัติรายละเอียด กล่าวคือ พยายามอธิบายว่าการแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรกระทำมิได้ ดังนั้น หากมิใช่สิ่งที่ระบุไว้ย่อมกระทำได้
4. การตีความรวมตลอดถึงการออกกฎ หรือระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อปรับใช้ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 จะตีความ ม.61 ให้ขัดแย้งกับ ม.7 อันเป็นบทบัญญัติทั่วไปมิได้ อีกทั้งที่สำคัญคือ “มิอาจที่จะการตีความรวมตลอดถึงการออกกฎ หรือระเบียบ” ขัดแย้งกับพันธกรณีระหว่างประเทศอย่าง UDRH และ ICCPR ได้ มิฉะนั้น ย่อมส่งผลให้เป็นการขัดแย้งต่อ ม.4 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (Unconstitutional) อันจะเป็นการใช้บังคับมิได้ไป กล่าวโดยสรุปคือ ผู้เกี่ยวข้องอย่างคณะกรรมการการเลือกตั้งจะยึดแต่เพียง ม.7 และ ม.61 ในพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 ไม่ได้ หากแต่ต้องไปพิจารณาถึง ม.4 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่จะขัดแย้งมิได้ด้วย อนึ่ง คำอธิบายข้างต้นนั้นเป็นคนละประเด็นกับความสุ่มเสี่ยงในเนื้อหาสาระของ พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญญฯ พ.ศ.2559 ว่าจะขัดแย้งต่อ ม.4 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557