ภาวะไขมันในช่องท้อง
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาวะไขมันในช่องท้อง ดูจากชื่อโรคแล้วน่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนอ้วนพุงพลุ้ยมากกว่าคนผอม แต่ความจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นคนอ้วน หรือผอมหุ่นดีก็มีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้เหมือนกันหากละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพ
เคยสงสัยกันไหมว่าอาการอ้วนลงพุงที่มียื่นออกมาให้เห็นเหมือนคนท้อง และ อาการพุงห้อยเป็นชั้น ๆ นั้นมีอะไรซ่อนอยู่ข้างใน หลายคนอาจรู้ดีว่าเกิดการการที่ไขมันไปกองรวมกันอยู่ ซึ่งสำหรับคนอ้วนก็คงไม่น่าแปลกใจอะไร แต่สำหรับคนผอมที่พุงไม่มีพุงยื่นล่ะ ก็น่าคิดเหมือนกันนะว่าภาวะไขมันในช่องท้องนี้กำลังสร้างฐานทัพอยู่ในร่างกายเราเหมือนกันด้วยหรือเปล่า ถ้าอย่างนั้นเราก็มาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันเลย
ภาวะไขมันในช่องท้องเกิดขึ้นได้อย่างไร
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เกิดจากการสะสมตัวของสารอาหารประเภทไขมันในอาหารที่ร่างกายเผาผลาญเป็นพลังงานไม่หมดในแต่ละวัน ทำให้ไปเกาะอยู่ตามบริเวณระหว่างกล้ามเนื้อท้องกับอวัยวะภายในช่องท้อง ในลักษณะแทรกตัวอยู่ตามเนื้อเยื่อของเซลล์ต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มไขมันใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้เมื่อมองจากภายนอกแล้วเห็นเป็นพุงป่องออกมา แต่ถ้าหากลองอัลตร้าซาวด์ดูจะพบว่าอวัยวะภายในของเรากำลังถูกห่อหุ้มไว้ด้วยถุงไขมันสีเหลือง
ไขมันในช่องท้องอันตรายกว่าไขมันในบริเวณอื่น
เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่าการที่เราดูอ้วน ตัวใหญ่ขึ้นนั้น ความจริงแล้วเกิดมาจากการสะสมของไขมัน ถึง 3 ชนิดด้วยกัน คือ ไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง
ภาวะไขมันในช่องท้อง
ภาพประกอบจาก doodeedai.com
จากภาพจะเห็นได้ว่ามีการสะสมของไขมันบริเวณใต้ชั้นผิวหนังชัดเจนกว่าในส่วนอื่น แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปกว่านี้จะพบว่าหลอดเลือดของเรานั้นมีไขมันเกาะอยู่เต็มไปหมดเช่นกัน ชั้นถัดมาเป็นกล้ามเนื้อท้อง เป็นตำแหน่งที่ไขมันใต้ชั้นผิวหนังบังเอาไว้อยู่ ซึ่งหากเราเบิร์นไขมันหน้าท้องออกไปแล้ว ก็จะเห็นเป็นกล้ามเนื้อท้องสวย ๆ นั่นเอง ถัดมาก็จะเป็นชั้นไขมันในช่องท้องของเรา หากใครที่มีไขมันในช่องท้องแล้วจากภาพจะเห็นได้ว่า ลดยากแน่ ๆ เพราะอยู่ในชั้นลึกสุดเลย อีกทั้งยังสามารถกระจายได้ทั่วไปตามอวัยวะต่าง ๆ อีกด้วย ทีนี้ลองมาดูกันว่าไขมันที่เกาะอยู่ในแต่ละชั้นมีอันตรายอย่างไรบ้าง
ไขมันในหลอดเลือด
เกิดจากการก่อตัวขึ้นของตะกอนไขมันในหลอดเลือดทั่วร่างกาย หากเกิดการสะสมมากขึ้นก็จะก่อตัวหนาขึ้นเป็นชั้น ๆ เกิดการแข็งตัวขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนก้อนหิน ก็จะสามารถไปอุดตันการไหลเวียนของเลือดได้ในที่สุด ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ร่างกายจะไม่ส่งสัญญาณเตือนใด ๆ เลย เว้นเสียแต่ว่าหลอดเลือดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของเราจะตีบมากถึงร้อยละ 80-90 แล้ว ร่างกายถึงจะแสดงอาการแน่นหน้าอกออกมาให้เห็น ที่สำคัญไปกว่านั้น เมื่อไรที่มีอาการเตือนขึ้นมา 1 ครั้งนั่นหมายความว่า เรามีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากอาการหลอดเลือดตีบตันสูงถึงร้อยละ 60 เลยทีเดียว
ไขมันใต้ผิวหนัง
เมื่อเกิดการสะสมไขมันในชั้นนี้ เราจะสามารถรู้สึกได้ว่าตัวใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุเกิดจากการสะสมของน้ำตาลที่แปรสภาพเป็นไขมัน เกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเรา หรือการที่เราเห็นเป็นผิวเปลือกส้ม (เซลลูไลท์) มองเห็นเป็นชั้นพุงหนา ๆ นั่นเอง ไขมันในชั้นนี้ไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรงมากนัก เพราะเป็นไขมันที่เราสามารถกำจัดได้ง่ายกว่าไขมันในส่วนอื่น
ไขมันในช่องท้อง
เป็นไขมันในที่อันตรายกว่าไขมันบริเวณอื่นมากที่สุด เพราะไขมันในชั้นนี้สามารถละลายเข้าสู่กระแสเลือดไปสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังเผาผลาญออกให้หมดยากกว่าไขมันในบริเวณอื่นด้วย ซึ่งถ้าหากเรายังไม่รีบสลายไขมันของเก่าที่สะสมค้างอยู่ เจ้าไขมันกลุ่มนี้ก็จะไปขัดขวางทางเดินของเลือดไม่ให้ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายของเรา ด้วยเหตุนี้เองเราจึงมีโอกาสป่วยด้วยโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา
ภาวะไขมันในช่องท้อง
ภาพประกอบจาก สสส.
ลองมาดูคลิปต่อไปนี้ แล้วจะเห็นความน่ากลัวของภาวะไขมันในช่องท้อง
คลิป ภาวะไขมันในช่องท้อง
คลิปภาวะไขมันในช่องท้อง ภัยร้ายที่คนผอมก็ต้องระวัง
คลิป Oprah winfrey with doctor Oz Visceral Fat Look inside our body
คลิป What is Visceral Fat & what it does to your body
ไขมันในช่องท้อง ผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่า
ไขมันในช่องท้องมักพบในผู้ชายอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป สาเหตุการเกิดไขมันในช่องท้องก็คล้ายคลึงกันนั่นคือ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ลักษณะการใช้ชีวิต รวมถึง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
หากพูดถึงความเสี่ยงของภาวะไขมันช่องท้องระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงแล้ว พบว่า ผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงจะมีไขมันสะสมอยู่บริเวณ 3 ตำแหน่งหลักในร่างกายก็ตาม ได้แก่ หน้าอก ก้น และต้นขา ในขณะที่ผู้ชายมีไขมันสะสมอยู่ที่บริเวณหน้าท้องเป็นหลัก และด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ทำให้ผู้ชายมีแนวโน้มเกิดภาวะไขมันในช่องท้องง่ายกว่าผู้หญิงเราซะอีก
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงที่ไม่ดูแลสุขภาพตั้งแต่ตอนอายุยังน้อย ก็สามารถได้รับผลกระทบจากภาวะนี้เมื่ออายุมากแล้วเช่นกัน จากผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร American Heart Association เผยว่า ไขมันในช่องท้องนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพหัวใจของผู้หญิงสูงวัยมากกว่าโรคอ้วนเสียอีก โดยผู้หญิงที่มีไขมันบริเวณหน้าท้องสะสมอยู่มากมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบ (atherosclerosis) มากกว่าผู้หญิงที่มีไขมันสะสมที่บริเวณก้น เอว สะโพกและต้นขา
10 โรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นแน่ หากเรายังปล่อยให้ตัวเองลงพุงต่อไป
จากข้อมูลของ สสส. เผยว่า เมื่อไรที่เราปล่อยให้ไขมันในช่องท้องของเราสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลร้ายต่ออวัยวะหลัก ๆ ได้แก่ สมอง หัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ และตับ เพราะเมื่อเกิดการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อเซลล์ในอวัยวะเหล่านี้แล้วจะทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายติดขัด ร่างกายเกิดการกระตุ้นสร้างไขมันเลว (LDL) หรือ คอเลสเตอรอลออกมามากกว่าไขมันดี (HDL) ผลคือ ร่างกายเราจะอ่อนแอลงด้วยโรคเรื้อรัง 10 อันดับต่อไปนี้
โรคเบาหวานประเภท 2 เกิดจากการที่ไขมันกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน จึงนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
โรคไขมันในเลือดสูง เกิดจากการที่ร่างกายกระตุ้นการสร้างไขมันเลว หรือ คอเลสเตอรอลมากกว่าไขมันดี
โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับอินซูลินในเลือดสูง จึงนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด เกิดจากการที่ไขมันไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด เกิดจากการที่ไขมันไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักมากกว่าปกติ
โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการที่มีไขมันไปอุดตันตามหลอดเลือดแดง ทำให้สมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ เกิดอาการสมองฝ่อตัว
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากการที่ไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือดแล้วไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้หลอดเลือดในสมองตีบ นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้
ภาวะภูมิแพ้ เกิดจากการที่ไขมันไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือดที่ทำให้ร่างกายเกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ
ภาวะไขมันพอกตับ เกิดจากการที่ไขมันไปขัดขวางการเผาผลาญน้ำตาล และยังสามารถนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้อีกด้วย
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เกิดจากการที่ไขมันไปขัดขวางการขยายตัวของปอด ทำให้หายใจไม่เป็นปกติ มีความเสี่ยงที่ร่างกายจะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ภาวะไขมันในช่องท้อง
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า ไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไปแล้ว
มีระดับความดันโลหิตสูง 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
มีระดับไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับผู้ชาย และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้หญิง
มีรอบเอวหนาเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งรอบเอวที่ปกติควรอยู่ที่ 90 เซนติเมตรสำหรับผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรสำหรับผู้หญิง วิธีคำนวณคือ นำส่วนสูงมาหารสอง เช่น 160 หาร 2 = 80 หากได้ตัวเลขมากกว่าค่ารอบเอวมาตรฐาน นั่นหมายถึงกำลังอ้วนลงพุง
มีหน้าท้องมีลักษณะย้วยเป็นชั้น และป่องยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด
ภาวะไขมันในช่องท้อง
เรามีไขมันในช่องท้องมากเกินไปหรือยัง ลองเช็กเองได้ง่าย ๆ
วิธีเช็กไขมันในช่องท้องอย่างง่ายนี้เรียกว่า Waist-to-Hip Ratio Measurement เป็นวิธีช่วยประเมินคร่าว ๆ ได้ว่า เราจะมีแนวโน้มป่วยเพราะมีไขมันในช่องท้องมากเกินไปหรือไม่ มาลองคำนวณกันดูเลยดีกว่า
ใช้สายวัดตัว เริ่มวัดที่ตำแหน่งเอวโดยห้ามแขม่วท้อง
ต่อมาให้ใช้สายวัดตัว วัดส่วนที่กว้างที่สุดของสะโพก จากนั้นนำค่าที่ได้มาหารกันดังนี้
ค่า Waist-to-Hip Ratio = รอบเอว / รอบสะโพก
สำหรับผู้ชาย ถ้าค่าที่ได้ มากกว่า 0.95 แสดงว่ามีไขมันในช่องท้องมากเกินไป
สำหรับ ผู้หญิง ถ้าค่าที่ได้ มากกว่า 0.80 แสดงว่ามีไขมันในช่องท้องมากเกินไป
5 กิจวัตรประจำวันยอดฮิตทำเราลงพุงไม่รู้ตัว เช็กเลย !
กินไม่คำนึงถึงแคลอรีด้วยการเน้นหนักไปทางอาหารประเภทแป้ง ไขมันทรานส์ และน้ำตาล
ไม่เคยออกกำลังกาย หรือ ไม่เคยทำกายบริหารอะไรเลย
ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
มีความเครียดเป็นประจำ
กิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่นั่ง ๆ นอน ๆ
ภาวะไขมันในช่องท้อง
8 วิธีสลายไขมันในช่องท้องที่น่าลอง
ไขมันที่เราสะสมเข้าไปในร่างกายทำเราเริ่มอึดอัดตัวขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหม ลองมาดูวิธีลดไขมันในช่องท้องที่เรานำมาฝากกันดู พยายามทำให้ได้ทุกข้อ แต่อาจต้องอาศัยวินัยในการทำสักนิดนะคะ อย่างน้อยก็เคร่งครัดตัวเองให้ทำติดต่อกันนาน 3 เดือนก็ยังดี
เน้นอาหารหมู่โปรตีน และไฟเบอร์มากหน่อย
หากจะลดพุงให้ยุบโดยเร็วเราก็ควรงดอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เพราะการบริโภคอาหารประเภทแป้ง ไขมันทรานส์ และน้ำตาล เป็นการสะสมไขมันเพิ่มเข้าไป ดังนั้นขอแนะนำว่า ให้เน้นทานอาหารที่ร่างกายดูดซึมง่าย และเอาไปใช้ในกระบวนการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ เช่น อาหารหมู่โปรตีน และอาหารจำพวกไฟเบอร์ หรือใยอาหารสูง เช่น ถั่วลิสง เนื้อไก่ ผักบุ้ง อะโวคาโด รวมถึงการเลือกใช้น้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
บริหารร่างกายให้ครบทุกส่วน
ไขมันในช่องท้องเกิดจากการที่เราไม่ค่อยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ไม่ค่อยออกกำลังกาย ดังนั้น วิธีกำจัดที่ดีที่สุดก็คือ การออกกำลังกายนี่แหละ สำหรับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะไขมันในช่องท้องที่ดีที่สุดก็คือ ต้องบริหารร่างกายให้ครบทุกส่วนอย่างน้อยวันละ 45 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 6 วัน ด้วยวิธีแอโรบิค จ็อกกิ้ง วิ่ง เล่นฟุตบอล ว่ายน้ำ ทำงานบ้าน ปั่นจักรยาน เต้น T25 เป็นต้น เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ถึง 5-10% และยังช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนเป็นปกติอีกด้วย
พยายามทำอารมณ์ให้เบิกบาน แจ่มใสเข้าไว้
แม้ว่าอารมณ์เครียด หดหู่ ซึมเศร้าทำให้เราอ้วน ส่วนหนึ่งเพราะมาจากการกินให้หายเครียด แต่ก็ยังมีผลการวิจัยพบว่าการที่ไขมันสะสมอยู่ภายในช่องท้องของเราเกิดจากกระบวนการหลั่งฮอร์โมนเครียด คอร์ติซอลที
ลดความอ้วนอย่างไรถึงจะได้ผล
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาวะไขมันในช่องท้อง ดูจากชื่อโรคแล้วน่าจะเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับคนอ้วนพุงพลุ้ยมากกว่าคนผอม แต่ความจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นคนอ้วน หรือผอมหุ่นดีก็มีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้เหมือนกันหากละเลยเรื่องการดูแลสุขภาพ
เคยสงสัยกันไหมว่าอาการอ้วนลงพุงที่มียื่นออกมาให้เห็นเหมือนคนท้อง และ อาการพุงห้อยเป็นชั้น ๆ นั้นมีอะไรซ่อนอยู่ข้างใน หลายคนอาจรู้ดีว่าเกิดการการที่ไขมันไปกองรวมกันอยู่ ซึ่งสำหรับคนอ้วนก็คงไม่น่าแปลกใจอะไร แต่สำหรับคนผอมที่พุงไม่มีพุงยื่นล่ะ ก็น่าคิดเหมือนกันนะว่าภาวะไขมันในช่องท้องนี้กำลังสร้างฐานทัพอยู่ในร่างกายเราเหมือนกันด้วยหรือเปล่า ถ้าอย่างนั้นเราก็มาไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันเลย
ภาวะไขมันในช่องท้องเกิดขึ้นได้อย่างไร
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) เกิดจากการสะสมตัวของสารอาหารประเภทไขมันในอาหารที่ร่างกายเผาผลาญเป็นพลังงานไม่หมดในแต่ละวัน ทำให้ไปเกาะอยู่ตามบริเวณระหว่างกล้ามเนื้อท้องกับอวัยวะภายในช่องท้อง ในลักษณะแทรกตัวอยู่ตามเนื้อเยื่อของเซลล์ต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้จึงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มไขมันใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้เมื่อมองจากภายนอกแล้วเห็นเป็นพุงป่องออกมา แต่ถ้าหากลองอัลตร้าซาวด์ดูจะพบว่าอวัยวะภายในของเรากำลังถูกห่อหุ้มไว้ด้วยถุงไขมันสีเหลือง
ไขมันในช่องท้องอันตรายกว่าไขมันในบริเวณอื่น
เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้ว่าการที่เราดูอ้วน ตัวใหญ่ขึ้นนั้น ความจริงแล้วเกิดมาจากการสะสมของไขมัน ถึง 3 ชนิดด้วยกัน คือ ไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง
ภาวะไขมันในช่องท้อง
ภาพประกอบจาก doodeedai.com
จากภาพจะเห็นได้ว่ามีการสะสมของไขมันบริเวณใต้ชั้นผิวหนังชัดเจนกว่าในส่วนอื่น แต่ถ้าหากเจาะลึกลงไปกว่านี้จะพบว่าหลอดเลือดของเรานั้นมีไขมันเกาะอยู่เต็มไปหมดเช่นกัน ชั้นถัดมาเป็นกล้ามเนื้อท้อง เป็นตำแหน่งที่ไขมันใต้ชั้นผิวหนังบังเอาไว้อยู่ ซึ่งหากเราเบิร์นไขมันหน้าท้องออกไปแล้ว ก็จะเห็นเป็นกล้ามเนื้อท้องสวย ๆ นั่นเอง ถัดมาก็จะเป็นชั้นไขมันในช่องท้องของเรา หากใครที่มีไขมันในช่องท้องแล้วจากภาพจะเห็นได้ว่า ลดยากแน่ ๆ เพราะอยู่ในชั้นลึกสุดเลย อีกทั้งยังสามารถกระจายได้ทั่วไปตามอวัยวะต่าง ๆ อีกด้วย ทีนี้ลองมาดูกันว่าไขมันที่เกาะอยู่ในแต่ละชั้นมีอันตรายอย่างไรบ้าง
ไขมันในหลอดเลือด
เกิดจากการก่อตัวขึ้นของตะกอนไขมันในหลอดเลือดทั่วร่างกาย หากเกิดการสะสมมากขึ้นก็จะก่อตัวหนาขึ้นเป็นชั้น ๆ เกิดการแข็งตัวขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนก้อนหิน ก็จะสามารถไปอุดตันการไหลเวียนของเลือดได้ในที่สุด ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ร่างกายจะไม่ส่งสัญญาณเตือนใด ๆ เลย เว้นเสียแต่ว่าหลอดเลือดในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของเราจะตีบมากถึงร้อยละ 80-90 แล้ว ร่างกายถึงจะแสดงอาการแน่นหน้าอกออกมาให้เห็น ที่สำคัญไปกว่านั้น เมื่อไรที่มีอาการเตือนขึ้นมา 1 ครั้งนั่นหมายความว่า เรามีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตจากอาการหลอดเลือดตีบตันสูงถึงร้อยละ 60 เลยทีเดียว
ไขมันใต้ผิวหนัง
เมื่อเกิดการสะสมไขมันในชั้นนี้ เราจะสามารถรู้สึกได้ว่าตัวใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุเกิดจากการสะสมของน้ำตาลที่แปรสภาพเป็นไขมัน เกาะอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเรา หรือการที่เราเห็นเป็นผิวเปลือกส้ม (เซลลูไลท์) มองเห็นเป็นชั้นพุงหนา ๆ นั่นเอง ไขมันในชั้นนี้ไม่ส่งผลอันตรายร้ายแรงมากนัก เพราะเป็นไขมันที่เราสามารถกำจัดได้ง่ายกว่าไขมันในส่วนอื่น
ไขมันในช่องท้อง
เป็นไขมันในที่อันตรายกว่าไขมันบริเวณอื่นมากที่สุด เพราะไขมันในชั้นนี้สามารถละลายเข้าสู่กระแสเลือดไปสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังเผาผลาญออกให้หมดยากกว่าไขมันในบริเวณอื่นด้วย ซึ่งถ้าหากเรายังไม่รีบสลายไขมันของเก่าที่สะสมค้างอยู่ เจ้าไขมันกลุ่มนี้ก็จะไปขัดขวางทางเดินของเลือดไม่ให้ไปหล่อเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายของเรา ด้วยเหตุนี้เองเราจึงมีโอกาสป่วยด้วยโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา
ภาวะไขมันในช่องท้อง
ภาพประกอบจาก สสส.
ลองมาดูคลิปต่อไปนี้ แล้วจะเห็นความน่ากลัวของภาวะไขมันในช่องท้อง
คลิป ภาวะไขมันในช่องท้อง
คลิปภาวะไขมันในช่องท้อง ภัยร้ายที่คนผอมก็ต้องระวัง
คลิป Oprah winfrey with doctor Oz Visceral Fat Look inside our body
คลิป What is Visceral Fat & what it does to your body
ไขมันในช่องท้อง ผู้ชายมีความเสี่ยงมากกว่า
ไขมันในช่องท้องมักพบในผู้ชายอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป สาเหตุการเกิดไขมันในช่องท้องก็คล้ายคลึงกันนั่นคือ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ไม่ค่อยออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ลักษณะการใช้ชีวิต รวมถึง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
หากพูดถึงความเสี่ยงของภาวะไขมันช่องท้องระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงแล้ว พบว่า ผู้ชายมีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ผู้หญิงจะมีไขมันสะสมอยู่บริเวณ 3 ตำแหน่งหลักในร่างกายก็ตาม ได้แก่ หน้าอก ก้น และต้นขา ในขณะที่ผู้ชายมีไขมันสะสมอยู่ที่บริเวณหน้าท้องเป็นหลัก และด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ ทำให้ผู้ชายมีแนวโน้มเกิดภาวะไขมันในช่องท้องง่ายกว่าผู้หญิงเราซะอีก
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงที่ไม่ดูแลสุขภาพตั้งแต่ตอนอายุยังน้อย ก็สามารถได้รับผลกระทบจากภาวะนี้เมื่ออายุมากแล้วเช่นกัน จากผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร American Heart Association เผยว่า ไขมันในช่องท้องนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพหัวใจของผู้หญิงสูงวัยมากกว่าโรคอ้วนเสียอีก โดยผู้หญิงที่มีไขมันบริเวณหน้าท้องสะสมอยู่มากมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดแดงตีบ (atherosclerosis) มากกว่าผู้หญิงที่มีไขมันสะสมที่บริเวณก้น เอว สะโพกและต้นขา
10 โรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นแน่ หากเรายังปล่อยให้ตัวเองลงพุงต่อไป
จากข้อมูลของ สสส. เผยว่า เมื่อไรที่เราปล่อยให้ไขมันในช่องท้องของเราสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลร้ายต่ออวัยวะหลัก ๆ ได้แก่ สมอง หัวใจ ปอด กล้ามเนื้อ และตับ เพราะเมื่อเกิดการสะสมไขมันตามเนื้อเยื่อเซลล์ในอวัยวะเหล่านี้แล้วจะทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายติดขัด ร่างกายเกิดการกระตุ้นสร้างไขมันเลว (LDL) หรือ คอเลสเตอรอลออกมามากกว่าไขมันดี (HDL) ผลคือ ร่างกายเราจะอ่อนแอลงด้วยโรคเรื้อรัง 10 อันดับต่อไปนี้
โรคเบาหวานประเภท 2 เกิดจากการที่ไขมันกระตุ้นให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน จึงนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2
โรคไขมันในเลือดสูง เกิดจากการที่ร่างกายกระตุ้นการสร้างไขมันเลว หรือ คอเลสเตอรอลมากกว่าไขมันดี
โรคความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับอินซูลินในเลือดสูง จึงนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด เกิดจากการที่ไขมันไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ส่งผลให้ระบบการไหลเวียนโลหิตผิดปกติ
โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด เกิดจากการที่ไขมันไปเกาะอยู่ตามหลอดเลือดหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานหนักมากกว่าปกติ
โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการที่มีไขมันไปอุดตันตามหลอดเลือดแดง ทำให้สมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ เกิดอาการสมองฝ่อตัว
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากการที่ไขมันสะสมตามผนังหลอดเลือดแล้วไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้หลอดเลือดในสมองตีบ นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้
ภาวะภูมิแพ้ เกิดจากการที่ไขมันไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือดที่ทำให้ร่างกายเกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ
ภาวะไขมันพอกตับ เกิดจากการที่ไขมันไปขัดขวางการเผาผลาญน้ำตาล และยังสามารถนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้อีกด้วย
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เกิดจากการที่ไขมันไปขัดขวางการขยายตัวของปอด ทำให้หายใจไม่เป็นปกติ มีความเสี่ยงที่ร่างกายจะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ภาวะไขมันในช่องท้อง
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า ไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไปแล้ว
มีระดับความดันโลหิตสูง 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป
มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป
มีระดับไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอลน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับผู้ชาย และน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรสำหรับผู้หญิง
มีรอบเอวหนาเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งรอบเอวที่ปกติควรอยู่ที่ 90 เซนติเมตรสำหรับผู้ชาย และ 80 เซนติเมตรสำหรับผู้หญิง วิธีคำนวณคือ นำส่วนสูงมาหารสอง เช่น 160 หาร 2 = 80 หากได้ตัวเลขมากกว่าค่ารอบเอวมาตรฐาน นั่นหมายถึงกำลังอ้วนลงพุง
มีหน้าท้องมีลักษณะย้วยเป็นชั้น และป่องยื่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด
ภาวะไขมันในช่องท้อง
เรามีไขมันในช่องท้องมากเกินไปหรือยัง ลองเช็กเองได้ง่าย ๆ
วิธีเช็กไขมันในช่องท้องอย่างง่ายนี้เรียกว่า Waist-to-Hip Ratio Measurement เป็นวิธีช่วยประเมินคร่าว ๆ ได้ว่า เราจะมีแนวโน้มป่วยเพราะมีไขมันในช่องท้องมากเกินไปหรือไม่ มาลองคำนวณกันดูเลยดีกว่า
ใช้สายวัดตัว เริ่มวัดที่ตำแหน่งเอวโดยห้ามแขม่วท้อง
ต่อมาให้ใช้สายวัดตัว วัดส่วนที่กว้างที่สุดของสะโพก จากนั้นนำค่าที่ได้มาหารกันดังนี้
ค่า Waist-to-Hip Ratio = รอบเอว / รอบสะโพก
สำหรับผู้ชาย ถ้าค่าที่ได้ มากกว่า 0.95 แสดงว่ามีไขมันในช่องท้องมากเกินไป
สำหรับ ผู้หญิง ถ้าค่าที่ได้ มากกว่า 0.80 แสดงว่ามีไขมันในช่องท้องมากเกินไป
5 กิจวัตรประจำวันยอดฮิตทำเราลงพุงไม่รู้ตัว เช็กเลย !
กินไม่คำนึงถึงแคลอรีด้วยการเน้นหนักไปทางอาหารประเภทแป้ง ไขมันทรานส์ และน้ำตาล
ไม่เคยออกกำลังกาย หรือ ไม่เคยทำกายบริหารอะไรเลย
ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
มีความเครียดเป็นประจำ
กิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่นั่ง ๆ นอน ๆ
ภาวะไขมันในช่องท้อง
8 วิธีสลายไขมันในช่องท้องที่น่าลอง
ไขมันที่เราสะสมเข้าไปในร่างกายทำเราเริ่มอึดอัดตัวขึ้นมาบ้างแล้วใช่ไหม ลองมาดูวิธีลดไขมันในช่องท้องที่เรานำมาฝากกันดู พยายามทำให้ได้ทุกข้อ แต่อาจต้องอาศัยวินัยในการทำสักนิดนะคะ อย่างน้อยก็เคร่งครัดตัวเองให้ทำติดต่อกันนาน 3 เดือนก็ยังดี
เน้นอาหารหมู่โปรตีน และไฟเบอร์มากหน่อย
หากจะลดพุงให้ยุบโดยเร็วเราก็ควรงดอาหารหมู่คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เพราะการบริโภคอาหารประเภทแป้ง ไขมันทรานส์ และน้ำตาล เป็นการสะสมไขมันเพิ่มเข้าไป ดังนั้นขอแนะนำว่า ให้เน้นทานอาหารที่ร่างกายดูดซึมง่าย และเอาไปใช้ในกระบวนการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ เช่น อาหารหมู่โปรตีน และอาหารจำพวกไฟเบอร์ หรือใยอาหารสูง เช่น ถั่วลิสง เนื้อไก่ ผักบุ้ง อะโวคาโด รวมถึงการเลือกใช้น้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวในการปรุงอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น
บริหารร่างกายให้ครบทุกส่วน
ไขมันในช่องท้องเกิดจากการที่เราไม่ค่อยขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ไม่ค่อยออกกำลังกาย ดังนั้น วิธีกำจัดที่ดีที่สุดก็คือ การออกกำลังกายนี่แหละ สำหรับการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะไขมันในช่องท้องที่ดีที่สุดก็คือ ต้องบริหารร่างกายให้ครบทุกส่วนอย่างน้อยวันละ 45 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 6 วัน ด้วยวิธีแอโรบิค จ็อกกิ้ง วิ่ง เล่นฟุตบอล ว่ายน้ำ ทำงานบ้าน ปั่นจักรยาน เต้น T25 เป็นต้น เพราะการออกกำลังกายจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ถึง 5-10% และยังช่วยกระตุ้นให้เลือดลมไหลเวียนเป็นปกติอีกด้วย
พยายามทำอารมณ์ให้เบิกบาน แจ่มใสเข้าไว้
แม้ว่าอารมณ์เครียด หดหู่ ซึมเศร้าทำให้เราอ้วน ส่วนหนึ่งเพราะมาจากการกินให้หายเครียด แต่ก็ยังมีผลการวิจัยพบว่าการที่ไขมันสะสมอยู่ภายในช่องท้องของเราเกิดจากกระบวนการหลั่งฮอร์โมนเครียด คอร์ติซอลที