คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ความหมาย คือ การสรุปหลักการฝึกปฏิบัติธรรมของศาสนาพุทธ...
......................
หลักธรรมของศาสนาพุทธมีมากมาย คุณเห็นพระไตรปิฏกเต็มตู้ไหมละ ? นั่นคือ ธรรมะ 84,000 ธรรมขันธ์ และยังมีแยกย่อยรายละเอียดอีกมากมาย ในคัมภีร์ชั้นรองๆลงไป เช่น ระดับอรรถกถา ระดับฏีกา ระดับอนุฏีกา ระดับโยชนา ....เป็นต้น
เอาที่ระดับบาลี (พระไตรปิฏก) ที่มีหัวข้อธรรม 84,000 ธรรมขันธ์ ....ถ้าย่อลงมา ก็จะเป็นหลักปฏิบัติที่เรียกว่า มงคล 38 ถ้าย่อมงคล 38 ลงมาอีก ก็จะเป็นหลักปฏิบัติที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8 ถ้าย่ออริยมรรคมีองค์ 8 ลงมาอีก ก็เป็นหลักปฏิบัติที่เรียกว่า ไตรสิกขา (หรือสิกขา 3)...ถ้าย่อไตรสิกขาลงมา ก็เหลือ 1 เดียว คือ สติ หรือ ความไม่ประมาท (แต่ต้องเป็นสติในสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น ไม่ใช่สติแบบอื่นๆ)
สรุป ดังนี้ --> 84,000 ธรรมขันธ์ > มงคล 38 > อริยมรรคมีองค์ 8 > ไตรสิกขา (หรือสิกขา 3) > สติ หรือ ความไม่ประมาท 1
เพื่อจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน
......................
หลักธรรมของศาสนาพุทธมีมากมาย คุณเห็นพระไตรปิฏกเต็มตู้ไหมละ ? นั่นคือ ธรรมะ 84,000 ธรรมขันธ์ และยังมีแยกย่อยรายละเอียดอีกมากมาย ในคัมภีร์ชั้นรองๆลงไป เช่น ระดับอรรถกถา ระดับฏีกา ระดับอนุฏีกา ระดับโยชนา ....เป็นต้น
เอาที่ระดับบาลี (พระไตรปิฏก) ที่มีหัวข้อธรรม 84,000 ธรรมขันธ์ ....ถ้าย่อลงมา ก็จะเป็นหลักปฏิบัติที่เรียกว่า มงคล 38 ถ้าย่อมงคล 38 ลงมาอีก ก็จะเป็นหลักปฏิบัติที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8 ถ้าย่ออริยมรรคมีองค์ 8 ลงมาอีก ก็เป็นหลักปฏิบัติที่เรียกว่า ไตรสิกขา (หรือสิกขา 3)...ถ้าย่อไตรสิกขาลงมา ก็เหลือ 1 เดียว คือ สติ หรือ ความไม่ประมาท (แต่ต้องเป็นสติในสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น ไม่ใช่สติแบบอื่นๆ)
สรุป ดังนี้ --> 84,000 ธรรมขันธ์ > มงคล 38 > อริยมรรคมีองค์ 8 > ไตรสิกขา (หรือสิกขา 3) > สติ หรือ ความไม่ประมาท 1
เพื่อจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน
แสดงความคิดเห็น
ช่วยอธิบายภาพนี้หน่อยครับ
ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
สรุปคือ ท่านได้ตรัสว่า ชีวิตของเรามันสั้น ให้รีบเจริญไตรสิกขา อย่าได้ประมาทในกาลเวลาใช่ไหมครับ
ความไม่ประมาทตามรูปคือการดำรงไว้ไม่ให้ตัวเองพลั้งเผลอใช่ไหมครับ ต้องอาศัยการเจริญสมาธิให้มากเป็นพิเศษใช่ป่าวครับ