<< ชายกางเข้าครัว ... เป็ดตุ๋นฟัก มะนาวดอง >>

   กับข้าวในสำรับไทย ๆ หรือชาติไหนก็ตาม มักจะต้องมีน้ำแกง มีซุบอยู่ด้วยเสมอ ทั้งนี้ จะเพื่อเรียกน้ำย่อย แก้ฝืดคอ หรือจะซดน้ำแกงร้อน ๆ ล้างปาก ให้โล่งคอ เพื่อกินจานอื่น ๆ ต่อได้อย่างรู้รสแท้จริงก็มีอยู่ทั่วไปทุกเชื้อชาติ
   ในสำรับไทยนั้น น้ำแกงที่ซดในสำรับนั้น ในส่วนตัวของชายกางเอง นั่งคิดเล่น ๆ รู้สึกว่า น้ำแกงของไทยเรานั้น มากกว่าชาติพันธุ์อื่นเยอะมากนะ ไหนจะแกงจืด ที่บางบ้านเรียกต้มจืด เพราะจะเรียกแกง ก็ต่อเมื่อ มีพริกแกง ถึงเรียกว่า “ แกง ” นอกเรื่องอีกแล้ว   แกงจืด  แกงส้ม ต้มยำ ต้มส้ม ต้มโคล้ง ต้มโย้ง แกงเลียง  แหม จาระไนยกันไม่หมด กับอีแค่แกงประจำสำรับไทยในแต่ละวัน  ซึ่งถ้าเปรียบกับชาติอื่นแล้ว จะมีก็ซุบนั่น ซุบนี่ มีเพียงหนึ่ง ในสำรับยุโรป  ถ้าคนจีนก็จะเป็นต้มหรือตุ๋น เพียงอย่างเดียว
   หลายคนยังนึกกันอยู่ว่า  ต้ม กับ ตุ๋น นั้น มันต่างกันอย่างไร  ถ้าเอาคำตอบแบบบ้าน ๆ ที่ชายกางได้รับการสั่งสมใส่หัวมาตั้งแต่เด็กจากทั้งคุณยายและคุณแม่นะครับ  ไม่ขอเกี่ยวกับทางวิชาการคหกรรมใด ๆ นะครับ  ต้มนั้น ตั้งไฟตรง ส่วนตุ๋นนั้น ต้มผ่านน้ำในหม้ออีกใบ ที่ครอบคลุมความร้อนได้รอบทิศในหม้อใบในนั้น งง ละซิ   
   เอาง่าย ๆ ก็คือ เราไปหาร้านข้าวต้มใหญ่ ๆ ที่มีลังถึง หรือซึ้งใบใหญ่ตั้งหน้าร้าน แล้วภายในนั้น เค้ามีโถดินเผาเคลือบลายจีน บรรจุน้ำแกงสารพัดในนั้น ทั้งมะระซี่โครงหมู  ดอกไม้จีนกระดูกหมู  เม่งซุ่ง  ซี๊ชวนช่าย  ไก่เห็ดหอม และสุดฮิต เป็ดตุ๋นฟัก มะนาวดอง นั่นแหละครับ การตุ๋นด้วยไอน้ำ ให้สุกเปื่อยนุ่ม

   เข้าเรื่องกันในวันนี้ก็คือ  ชายกางไปกินเป็ดตุ๋นฟักมะนาวดองตามร้านแล้วไม่สะใจ ก็เลยมาต้มกินเองซะเลย  วันนี้ ใช้คำว่าต้ม เพราะทำหม้อมหึมา หาหม้อมาตุ๋นกันไปไหวครับ ใหญ่เกิน
  เข้าครัว ๆ ... แหมแม่ ๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่