ขอได้โปรดทำความเข้าใจกันให้ดีว่า พระธรรมกาย ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่ ไม่ใช่วิธีที่ ๔๑ แต่ว่าวิธีปฏิบัติทั้ง ๔๐ วิธีนั้น เป็นไปเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในทั้งสิ้น
แต่เนื่องจากว่า เราใช้คำนั้นไม่ครบถ้วน มักจะใช้คำว่า เป็นวิธีธรรมกาย เมื่อเราใช้คำว่า วิธีธรรมกาย ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่า เป็นวิธีที่ ๔๑ แต่ถ้าคำเต็มแล้ว เขาใช้ว่า วิธีเข้าถึงพระธรรมกาย
การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่วิธีการใหม่
เป็นของเก่าแต่นำมาเป่าฝุ่นใหม่
เพราะพระธรรมกายมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก
วิธีปฏิบัติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ ๔๐ วิธี ทุกวิธีเป็นไปเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายทั้งนั้น แต่ที่ไม่รู้จักพระธรรมกาย เพราะวางใจไว้ผิดที่ ถ้าหากเราวางใจไว้ถูกที่แล้ว จะต้องเข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน
การปฏิบัติธรรม ๔๐ วิธี ถ้าแยกเป็นประเภทสามารถแยกได้ดังนี้ คือ
๑ ส่งจิตออกนอกตัว
๒ ส่งจิตเข้าไว้ในตัว
๓ ส่งจิตเข้ากลางตัว
วิธีปฏิบัติประเภท ๑ กับ ๒ จะไม่พบพระธรรมกาย
…แต่จะพบพระธรรมกายได้ด้วยวิธีประเภทที่ ๓ คือ เอาจิตเข้ากลางตัว ซึ่งเป็นเส้นทางสายกลางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สายกลางของพระอริยเจ้า
ประเภทที่ ๑ ส่งจิตออกนอกตัว
เมื่อจิตสงบแล้ว จะพบแต่แสงสว่าง พบดวงแก้วนอกตัว บางครั้งก็มีนิมิตเลื่อนลอยต่าง ๆ เกิดขึ้นมามาก เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์สมัยโบราณ ท่านจึงไม่ให้ยึดติดในนิมิตเลื่อนลอยนั้น แต่จะไม่พบพระธรรมกาย จึงไม่รู้จัก ทำให้เข้าใจว่า ธรรมกาย คือ ลัทธิใหม่ วิธีการใหม่ เป็นวิธีที่ ๔๑ บ้าง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
ประเภทที่ ๒ ส่งจิตเข้ามาในตัว[url]
ที่สุดของสมาธิวิธีนี้ จะพบแค่ดวงสว่าง มีบางครั้งอาจพบกายของตัวเอง พบองค์พระบ้าง แต่ก็ไม่ทราบว่าคืออะไร แล้วจะไปอย่างไรต่อ
ประเภทที่ ๓ ส่งจิตเข้ากลางตัว
วิธีนี้เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนแล้วจะเข้าถึงพระธรรมกาย
พระธรรมกายนั้นอยู่ในกลางตัวของมนุษย์ทุกคน ที่ว่าเป็นของเก่าดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา คือ หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๕๐๐ ปี พระสัทธรรมนี้ คือ พระธรรมกายก็อันตรธานหายไปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และได้หวนกลับมาอีกครั้ง เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านสละชีวิต ศึกษาค้นคว้า ตั้งแต่ส่งจิตออกนอกตัว นำจิตเข้ามาสู่ภายในตัว แล้วก็นำจิตเข้ากลางตัว ก็พบว่า นอกตัวกับในตัวนั้นไม่พบพระธรรมกาย จะพบพระธรรมกายเมื่อวางใจไว้กลางตัวเท่านั้น
เมื่อนำจิตดำดิ่งเข้าไปสู่ภายในจึงพบพระธรรมกาย พอพบพระธรรมกายแล้วอาศัยมหากรุณา ได้นำสิ่งนี้มาเผยแพร่ต่อชาวโลกทั้งหลาย เพื่อให้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกแก่ชาวโลกว่า พระรัตนตรัยอยู่ในตัวของเรา
•
พระรัตนตรัย ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง อยู่ภายในตัวเรา
พระธรรมกายเป็นแก้ว เรียกว่า พุทธรัตนะ
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระธรรมกายนั้น หรือความรู้ทั้งมวลของพระธรรมกายหลั่งไหลออกมาจากในกลางของพระธรรมกาย เรียกว่า ธรรมรัตนะ
พระสงฆ์ หรือ พระธรรมกายละเอียด หรือดวงจิตที่ละเอียดที่รักษาธรรมรัตนะอันนั้นเอาไว้ เรียกว่า สังฆรัตนะ ซ้อนอยู่ภายใน
พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แม้จะแยกกันตามชื่อ แต่ความจริงนั้นรวมเป็นอันเดียวกัน พุทธรัตนะอย่างหนึ่ง ธรรมรัตนะอย่างหนึ่ง สังฆรัตนะอย่างหนึ่ง แต่รวมแล้วก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ สรณะที่พึ่งที่ระลึก เหมือนเพชร มีทั้งเนื้อดี สีดี แววดี รวมเรียกว่า เพชร เนื้อดีก็ได้แก่ พุทธรัตนะ สีดีก็ได้แก่ธรรมรัตนะ แววดีก็ได้แก่สังฆรัตนะ ทั้งสามนี้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ในกลางตัว
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ วัดปากน้ำ ท่านค้นคว้าต่อไป ก็พบว่าความสว่างของจิตที่สว่างที่สุดนั้นต้องอยู่กลางตัว อยู่ข้างนอกตัวนั้นสว่างพอประมาณ อยู่ในตัวนั้นสว่างยิ่งขึ้น อยู่กลางตัวนั้นสว่างที่สุด
ความสว่างกับความบริสุทธิ์สัมพันธ์กัน ยิ่งสว่างเท่าไรความบริสุทธิ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น
ความสว่าง ความบริสุทธิ์ กับความมั่นคงของจิตก็สัมพันธ์กัน อยู่นอกตัวเหมือนยืนหมิ่น ๆ หมิ่นเตียง หมิ่นโต๊ะ อยู่กลางตัวก็เขยิบเข้ามาหน่อย อยู่กลางตัวเหมือนยืนอยู่จุดกึ่งกลางของโต๊ะ มีความมั่นคง
เพราะฉะนั้น ขอได้โปรดทำความเข้าใจกันให้ดีว่า พระธรรมกาย ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่ ไม่ใช่วิธีที่ ๔๑ แต่ว่าวิธีปฏิบัติทั้ง ๔๐ วิธีนั้น เป็นไปเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในทั้งสิ้น
แต่เนื่องจากว่า เราใช้คำนั้นไม่ครบถ้วน มักจะใช้คำว่า เป็นวิธีธรรมกาย เมื่อเราใช้คำว่า วิธีธรรมกาย ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่า เป็นวิธีที่ ๔๑ แต่ถ้าคำเต็มแล้ว เขาใช้ว่า วิธีเข้าถึงพระธรรมกาย
เพราะฉะนั้น ทุกคนกรุณาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ดี แล้วเราจะพบว่า ของจริง ๆ นั้นมีอยู่ในตัวของเรานี่เอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ในกลางตัว ที่เราสามารถสัมผัสได้ด้วยใจของเราที่ละเอียดเท่ากันกับพระธรรมกาย เหมือนเครื่องส่งเครื่องรับของพระธรรมกายนั้นตรงกัน เหมือนเครื่องส่งเครื่องรับวิทยุอย่างนั้น
• สติปัฏฐาน ๔ กับวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายก็คืออันเดียวกัน
แล้วพระธรรมกายที่อยู่ในกลางตัวนี้ ก็เป็นวิธีปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน ๔ คือ ตามเห็นกายในกายเข้าไปเรื่อย ๆ กายภายในซ้อนอยู่กายภายนอก แล้วก็กายภายในซ้อนอยู่กายภายใน เป้าหมายก็คือ ต้องการให้เข้าไปถึงกายที่สุด ที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา
กายภายนอกที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีสาระแก่นสาร ท่านให้ปลด ปล่อย วาง ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะไปยึด เนื่องจากว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ยึดไว้ก็เสียเวลาเปล่า
กายภายนอกท่านให้วางเอาไว้ ให้เข้าไปยึดกายที่สุด ที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ให้ความสุขอย่างเต็มเปี่ยมของชีวิต ให้ความเบิกบาน เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
จะเปลี่ยนจากผู้ไม่รู้ มาเป็นผู้รู้ ความรู้นั้นเกิดจากการเห็นแจ้ง เห็นได้ด้วยตาธรรมกาย แล้วก็หยั่งรู้ได้ด้วยญาณของพระธรรมกาย จึงกลายเป็นผู้รู้เกิดขึ้น เมื่อรู้แล้วก็ตื่นจากกิเลสอาสวะที่ครอบงำอยู่ เช่น ความโลภทำให้จิตหิว ความโกรธทำให้จิตร้อน ความหลงทำให้จิตมืด หิว ร้อน มืดเหล่านี้ดับไป
เมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย จะมีความรู้สึกไม่หิว คือ เต็มเปี่ยม มีความอิ่มอกอิ่มใจ เบิกบาน จิตนั้นเย็นสบาย แล้วก็สว่าง ซึ่งตรงข้ามกับความหิว ความร้อน แล้วก็ความมืด จะรวมประชุมอยู่ในพระธรรมกาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว
• ธมฺมกาโย อหํ อิติปิฯ
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เกิดขึ้นเมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ภาษาบาลีท่านเรียกว่า พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เพราะฉะนั้นเห็นพระธรรมกายนี้ จึงได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ว่า
ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เรา คือ ธรรมกาย ธรรมกาย คือ เรา
ท่านใช้คำนี้เพราะว่า ใจของท่านปล่อยวาง กายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระธรรมกายที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา กลืนกันเป็นเนื้อเดียว ใจท่านกับใจธรรมกายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด
ธรรมกายคือท่าน ท่านคือธรรมกาย
ดังนั้นคำนี้จึงเกิดขึ้น ธมมกาโย อหํ อิติปํ เรากับธรรมกายเป็นอันเดียวกัน เห็นพระธรรมกายก็ได้ชื่อว่าเห็นเรา เห็นเราก็ได้ชื่อว่าเห็นพระธรรมกาย นั่นหมายถึง พระธรรมกายของพระองค์
พระธรรมกายในตัวเราก็เหมือนกัน เมื่อเราเข้าถึงแล้ว ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงพระพุทธเจ้าภายใน เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายขอได้โปรดทำความเข้าใจดังกล่าวแล้ว
• ขันธ์ ๕ กับ ธรรมขันธ์
กายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น บางครั้งท่านก็เรียกว่า ขันธ์ ๕ มีกายมนุษย์หยาบที่เราอาศัยนั่งเข้าที่ปฏิบัติธรรม กายมนุษย์ละเอียดที่ซ้อนอยู่ภายใน นั่นก็เรียกว่าขันธ์ ๕ กายทิพย์ที่ซ้อนอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียด ก็เรียกว่าขันธ์ ๕ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกลางกายทิพย์ ก็เรียกว่า ขันธ์ ๕ กายอรูปพรหมที่ซ้อนอยู่ในกลางกายรูปพรหม ก็เรียกว่าขันธ์ ๕
ที่เรียกว่าขันธ์ ๕ เพราะว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลาย ไม่มีสาระแก่นสาร
่วนธรรมกายที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา นั้นท่านมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมขันธ์ คือขันธ์ทั้งก้อนเป็นธรรมล้วน ๆ บริสุทธิ์ล้วน ๆ คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา จึงได้ชื่อว่า ธรรมขันธ์
เพราะฉะนั้น ขอได้โปรดแยกออกให้ได้ ระหว่างขันธ์ ๕ กับธรรมขันธ์
ดังนั้น สรุปได้ว่า ธรรมกายนี้เป็นของมีอยู่จริงในกลางตัวของพวกเรา เป็นของมีอยู่เก่าก่อน ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่วิธีการใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่
วิเคราะห์วิธีปฏิบัติ ๔๐ วิธี
ส่วนวิธีการปฏิบัติ ๔๐ วิธีนั้น ฟังให้ดีนะ ไม่ว่าจะเป็นกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา อนุสสติ ๑๐ ธาตุ ๔ หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
แต่ทีนี้ ทำไมบางท่านปฏิบัติวิธีอย่างนั้นแล้วจึงไม่พบพระธรรมกาย ก็ขอพูดซ้ำอีกทีว่า เพราะวางใจผิดที่
การปฏิบัตินั้น ถ้าเราเริ่มจากกสิณ เช่น สมมติว่า เราเริ่มจากกสิณน้ำ กำหนดน้ำเป็นอารมณ์ พอใจหยุดถูกส่วน ก็ได้ภาพน้ำนั้นติดอยู่ในใจเรา เป็นดวงกลมสว่าง ถ้าน้อมดวงสว่างนั้นมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เนื่องจากว่าธรรมกายนั้นอยู่ภายในนั้น
ดวงที่มาตั้งไว้ที่ฐานที่ ๗ นั้น จึงได้ชื่อปฐมมรรค แปลว่า หนทางเบื้องต้นที่จะเข้าถึงธรรมกายภายใน แต่ถ้าเอาดวงนั้นมาตั้งไว้ข้างหน้า คือหลับตาแล้วเห็นลอยอยู่ข้างหน้านั้น ธรรมกายไม่ได้เกิดขึ้นข้างหน้า เมื่อมาตั้งข้างหน้าจึงเป็นแค่กสิณ เป็นดวงสว่างเท่านั้นเอง
ทีนี้ ถ้าหากเราเริ่มต้นมาจากอสุภะ จากซากศพ เพ่งพิจารณาไป จะด้วยวิธีการอะไรก็แล้วแต่ เพ่งเฉย ๆ หรือแยกแยะเป็นส่วน ๆ หรือจะใช้จินตมยปัญญา ความรู้จำที่ได้เรียนรู้มาจากตำรับตำราพิจารณา จะให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเป็นปฏิกูลอะไรก็แล้วแต่ เมื่อใจสงบ หยุดนิ่งเป็นสมาธิ ภาพอสุภะนั้นจะใสเป็นแก้ว แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นดวงสว่าง ดวงสว่างที่ลอยอยู่ข้างหน้า ถ้าอยู่ข้างหน้าก็เหมือนกับกสิณน้ำ เมื่อสักครู่นี้ที่หลวงพ่อยกเป็นตัวอย่าง ถ้าน้อมเอาเข้ามาไว้ที่ฐานที่ ๗ ก็เป็นปฐมมรรค คือ หนทางเบื้องต้นที่จะเข้าถึงธรรมกาย
อีกวิธี หากเราเริ่มมาจากลมหายใจเข้าออก ที่เราเรียกอานาปานสติ แปลว่า สติจับลมเข้ากับออกให้มันหยุดนิ่ง คือ จับให้อยู่ ลมมันเข้าแล้วมันก็ออก เข้า แล้วก็ออก ถ้าเราจับอยู่ได้ เราจะมีความรู้สึกลมมันนิ่งเหมือนไม่ได้หายใจ พอลมหยุด ใจก็หยุด พอใจหยุดดวงธรรมก็เกิด เป็นดวงสว่าง ใสเป็นแก้วทีเดียว อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หรือยิ่งกว่านั้น
#####ธรรมกาย...ไม่ใช่ลัทธิใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่ แต่เป็น ๑ ในการปฏิบัติธรรม ๔๐ วิธี#####
แต่เนื่องจากว่า เราใช้คำนั้นไม่ครบถ้วน มักจะใช้คำว่า เป็นวิธีธรรมกาย เมื่อเราใช้คำว่า วิธีธรรมกาย ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่า เป็นวิธีที่ ๔๑ แต่ถ้าคำเต็มแล้ว เขาใช้ว่า วิธีเข้าถึงพระธรรมกาย
การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย
ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่วิธีการใหม่
เป็นของเก่าแต่นำมาเป่าฝุ่นใหม่
เพราะพระธรรมกายมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคนในโลก
วิธีปฏิบัติที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ ๔๐ วิธี ทุกวิธีเป็นไปเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายทั้งนั้น แต่ที่ไม่รู้จักพระธรรมกาย เพราะวางใจไว้ผิดที่ ถ้าหากเราวางใจไว้ถูกที่แล้ว จะต้องเข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน
การปฏิบัติธรรม ๔๐ วิธี ถ้าแยกเป็นประเภทสามารถแยกได้ดังนี้ คือ
๑ ส่งจิตออกนอกตัว
๒ ส่งจิตเข้าไว้ในตัว
๓ ส่งจิตเข้ากลางตัว
วิธีปฏิบัติประเภท ๑ กับ ๒ จะไม่พบพระธรรมกาย
…แต่จะพบพระธรรมกายได้ด้วยวิธีประเภทที่ ๓ คือ เอาจิตเข้ากลางตัว ซึ่งเป็นเส้นทางสายกลางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สายกลางของพระอริยเจ้า
ประเภทที่ ๑ ส่งจิตออกนอกตัว
เมื่อจิตสงบแล้ว จะพบแต่แสงสว่าง พบดวงแก้วนอกตัว บางครั้งก็มีนิมิตเลื่อนลอยต่าง ๆ เกิดขึ้นมามาก เพราะฉะนั้นครูบาอาจารย์สมัยโบราณ ท่านจึงไม่ให้ยึดติดในนิมิตเลื่อนลอยนั้น แต่จะไม่พบพระธรรมกาย จึงไม่รู้จัก ทำให้เข้าใจว่า ธรรมกาย คือ ลัทธิใหม่ วิธีการใหม่ เป็นวิธีที่ ๔๑ บ้าง ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด
ประเภทที่ ๒ ส่งจิตเข้ามาในตัว[url]
ที่สุดของสมาธิวิธีนี้ จะพบแค่ดวงสว่าง มีบางครั้งอาจพบกายของตัวเอง พบองค์พระบ้าง แต่ก็ไม่ทราบว่าคืออะไร แล้วจะไปอย่างไรต่อ
ประเภทที่ ๓ ส่งจิตเข้ากลางตัว
วิธีนี้เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วนแล้วจะเข้าถึงพระธรรมกาย
พระธรรมกายนั้นอยู่ในกลางตัวของมนุษย์ทุกคน ที่ว่าเป็นของเก่าดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา คือ หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๕๐๐ ปี พระสัทธรรมนี้ คือ พระธรรมกายก็อันตรธานหายไปตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
และได้หวนกลับมาอีกครั้ง เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ท่านสละชีวิต ศึกษาค้นคว้า ตั้งแต่ส่งจิตออกนอกตัว นำจิตเข้ามาสู่ภายในตัว แล้วก็นำจิตเข้ากลางตัว ก็พบว่า นอกตัวกับในตัวนั้นไม่พบพระธรรมกาย จะพบพระธรรมกายเมื่อวางใจไว้กลางตัวเท่านั้น
เมื่อนำจิตดำดิ่งเข้าไปสู่ภายในจึงพบพระธรรมกาย พอพบพระธรรมกายแล้วอาศัยมหากรุณา ได้นำสิ่งนี้มาเผยแพร่ต่อชาวโลกทั้งหลาย เพื่อให้เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึกแก่ชาวโลกว่า พระรัตนตรัยอยู่ในตัวของเรา
• พระรัตนตรัย ที่พึ่งที่ระลึกที่แท้จริง อยู่ภายในตัวเรา
พระธรรมกายเป็นแก้ว เรียกว่า พุทธรัตนะ
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระธรรมกายนั้น หรือความรู้ทั้งมวลของพระธรรมกายหลั่งไหลออกมาจากในกลางของพระธรรมกาย เรียกว่า ธรรมรัตนะ
พระสงฆ์ หรือ พระธรรมกายละเอียด หรือดวงจิตที่ละเอียดที่รักษาธรรมรัตนะอันนั้นเอาไว้ เรียกว่า สังฆรัตนะ ซ้อนอยู่ภายใน
พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แม้จะแยกกันตามชื่อ แต่ความจริงนั้นรวมเป็นอันเดียวกัน พุทธรัตนะอย่างหนึ่ง ธรรมรัตนะอย่างหนึ่ง สังฆรัตนะอย่างหนึ่ง แต่รวมแล้วก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ สรณะที่พึ่งที่ระลึก เหมือนเพชร มีทั้งเนื้อดี สีดี แววดี รวมเรียกว่า เพชร เนื้อดีก็ได้แก่ พุทธรัตนะ สีดีก็ได้แก่ธรรมรัตนะ แววดีก็ได้แก่สังฆรัตนะ ทั้งสามนี้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยู่ในกลางตัว
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ วัดปากน้ำ ท่านค้นคว้าต่อไป ก็พบว่าความสว่างของจิตที่สว่างที่สุดนั้นต้องอยู่กลางตัว อยู่ข้างนอกตัวนั้นสว่างพอประมาณ อยู่ในตัวนั้นสว่างยิ่งขึ้น อยู่กลางตัวนั้นสว่างที่สุด
ความสว่างกับความบริสุทธิ์สัมพันธ์กัน ยิ่งสว่างเท่าไรความบริสุทธิ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น
ความสว่าง ความบริสุทธิ์ กับความมั่นคงของจิตก็สัมพันธ์กัน อยู่นอกตัวเหมือนยืนหมิ่น ๆ หมิ่นเตียง หมิ่นโต๊ะ อยู่กลางตัวก็เขยิบเข้ามาหน่อย อยู่กลางตัวเหมือนยืนอยู่จุดกึ่งกลางของโต๊ะ มีความมั่นคง
เพราะฉะนั้น ขอได้โปรดทำความเข้าใจกันให้ดีว่า พระธรรมกาย ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่ ไม่ใช่วิธีที่ ๔๑ แต่ว่าวิธีปฏิบัติทั้ง ๔๐ วิธีนั้น เป็นไปเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในทั้งสิ้น
แต่เนื่องจากว่า เราใช้คำนั้นไม่ครบถ้วน มักจะใช้คำว่า เป็นวิธีธรรมกาย เมื่อเราใช้คำว่า วิธีธรรมกาย ผู้ที่ไม่เข้าใจก็คิดว่า เป็นวิธีที่ ๔๑ แต่ถ้าคำเต็มแล้ว เขาใช้ว่า วิธีเข้าถึงพระธรรมกาย
เพราะฉะนั้น ทุกคนกรุณาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ดี แล้วเราจะพบว่า ของจริง ๆ นั้นมีอยู่ในตัวของเรานี่เอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ในกลางตัว ที่เราสามารถสัมผัสได้ด้วยใจของเราที่ละเอียดเท่ากันกับพระธรรมกาย เหมือนเครื่องส่งเครื่องรับของพระธรรมกายนั้นตรงกัน เหมือนเครื่องส่งเครื่องรับวิทยุอย่างนั้น
• สติปัฏฐาน ๔ กับวิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายก็คืออันเดียวกัน
แล้วพระธรรมกายที่อยู่ในกลางตัวนี้ ก็เป็นวิธีปฏิบัติแบบสติปัฏฐาน ๔ คือ ตามเห็นกายในกายเข้าไปเรื่อย ๆ กายภายในซ้อนอยู่กายภายนอก แล้วก็กายภายในซ้อนอยู่กายภายใน เป้าหมายก็คือ ต้องการให้เข้าไปถึงกายที่สุด ที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา
กายภายนอกที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีสาระแก่นสาร ท่านให้ปลด ปล่อย วาง ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะไปยึด เนื่องจากว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ยึดไว้ก็เสียเวลาเปล่า
กายภายนอกท่านให้วางเอาไว้ ให้เข้าไปยึดกายที่สุด ที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ให้ความสุขอย่างเต็มเปี่ยมของชีวิต ให้ความเบิกบาน เป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
จะเปลี่ยนจากผู้ไม่รู้ มาเป็นผู้รู้ ความรู้นั้นเกิดจากการเห็นแจ้ง เห็นได้ด้วยตาธรรมกาย แล้วก็หยั่งรู้ได้ด้วยญาณของพระธรรมกาย จึงกลายเป็นผู้รู้เกิดขึ้น เมื่อรู้แล้วก็ตื่นจากกิเลสอาสวะที่ครอบงำอยู่ เช่น ความโลภทำให้จิตหิว ความโกรธทำให้จิตร้อน ความหลงทำให้จิตมืด หิว ร้อน มืดเหล่านี้ดับไป
เมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย จะมีความรู้สึกไม่หิว คือ เต็มเปี่ยม มีความอิ่มอกอิ่มใจ เบิกบาน จิตนั้นเย็นสบาย แล้วก็สว่าง ซึ่งตรงข้ามกับความหิว ความร้อน แล้วก็ความมืด จะรวมประชุมอยู่ในพระธรรมกาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว
• ธมฺมกาโย อหํ อิติปิฯ
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เกิดขึ้นเมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ภาษาบาลีท่านเรียกว่า พุทโธ พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว เพราะฉะนั้นเห็นพระธรรมกายนี้ จึงได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้ว่า
ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เรา คือ ธรรมกาย ธรรมกาย คือ เรา
ท่านใช้คำนี้เพราะว่า ใจของท่านปล่อยวาง กายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระธรรมกายที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา กลืนกันเป็นเนื้อเดียว ใจท่านกับใจธรรมกายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด
ธรรมกายคือท่าน ท่านคือธรรมกาย
ดังนั้นคำนี้จึงเกิดขึ้น ธมมกาโย อหํ อิติปํ เรากับธรรมกายเป็นอันเดียวกัน เห็นพระธรรมกายก็ได้ชื่อว่าเห็นเรา เห็นเราก็ได้ชื่อว่าเห็นพระธรรมกาย นั่นหมายถึง พระธรรมกายของพระองค์
พระธรรมกายในตัวเราก็เหมือนกัน เมื่อเราเข้าถึงแล้ว ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงพระพุทธเจ้าภายใน เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายขอได้โปรดทำความเข้าใจดังกล่าวแล้ว
• ขันธ์ ๕ กับ ธรรมขันธ์
กายที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั้น บางครั้งท่านก็เรียกว่า ขันธ์ ๕ มีกายมนุษย์หยาบที่เราอาศัยนั่งเข้าที่ปฏิบัติธรรม กายมนุษย์ละเอียดที่ซ้อนอยู่ภายใน นั่นก็เรียกว่าขันธ์ ๕ กายทิพย์ที่ซ้อนอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียด ก็เรียกว่าขันธ์ ๕ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกลางกายทิพย์ ก็เรียกว่า ขันธ์ ๕ กายอรูปพรหมที่ซ้อนอยู่ในกลางกายรูปพรหม ก็เรียกว่าขันธ์ ๕
ที่เรียกว่าขันธ์ ๕ เพราะว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมสลาย ไม่มีสาระแก่นสาร
่วนธรรมกายที่เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา นั้นท่านมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมขันธ์ คือขันธ์ทั้งก้อนเป็นธรรมล้วน ๆ บริสุทธิ์ล้วน ๆ คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา จึงได้ชื่อว่า ธรรมขันธ์
เพราะฉะนั้น ขอได้โปรดแยกออกให้ได้ ระหว่างขันธ์ ๕ กับธรรมขันธ์
ดังนั้น สรุปได้ว่า ธรรมกายนี้เป็นของมีอยู่จริงในกลางตัวของพวกเรา เป็นของมีอยู่เก่าก่อน ไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่วิธีการใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่
วิเคราะห์วิธีปฏิบัติ ๔๐ วิธี
ส่วนวิธีการปฏิบัติ ๔๐ วิธีนั้น ฟังให้ดีนะ ไม่ว่าจะเป็นกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา อนุสสติ ๑๐ ธาตุ ๔ หรืออะไรก็แล้วแต่ เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
แต่ทีนี้ ทำไมบางท่านปฏิบัติวิธีอย่างนั้นแล้วจึงไม่พบพระธรรมกาย ก็ขอพูดซ้ำอีกทีว่า เพราะวางใจผิดที่
การปฏิบัตินั้น ถ้าเราเริ่มจากกสิณ เช่น สมมติว่า เราเริ่มจากกสิณน้ำ กำหนดน้ำเป็นอารมณ์ พอใจหยุดถูกส่วน ก็ได้ภาพน้ำนั้นติดอยู่ในใจเรา เป็นดวงกลมสว่าง ถ้าน้อมดวงสว่างนั้นมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เนื่องจากว่าธรรมกายนั้นอยู่ภายในนั้น
ดวงที่มาตั้งไว้ที่ฐานที่ ๗ นั้น จึงได้ชื่อปฐมมรรค แปลว่า หนทางเบื้องต้นที่จะเข้าถึงธรรมกายภายใน แต่ถ้าเอาดวงนั้นมาตั้งไว้ข้างหน้า คือหลับตาแล้วเห็นลอยอยู่ข้างหน้านั้น ธรรมกายไม่ได้เกิดขึ้นข้างหน้า เมื่อมาตั้งข้างหน้าจึงเป็นแค่กสิณ เป็นดวงสว่างเท่านั้นเอง
ทีนี้ ถ้าหากเราเริ่มต้นมาจากอสุภะ จากซากศพ เพ่งพิจารณาไป จะด้วยวิธีการอะไรก็แล้วแต่ เพ่งเฉย ๆ หรือแยกแยะเป็นส่วน ๆ หรือจะใช้จินตมยปัญญา ความรู้จำที่ได้เรียนรู้มาจากตำรับตำราพิจารณา จะให้เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเป็นปฏิกูลอะไรก็แล้วแต่ เมื่อใจสงบ หยุดนิ่งเป็นสมาธิ ภาพอสุภะนั้นจะใสเป็นแก้ว แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นดวงสว่าง ดวงสว่างที่ลอยอยู่ข้างหน้า ถ้าอยู่ข้างหน้าก็เหมือนกับกสิณน้ำ เมื่อสักครู่นี้ที่หลวงพ่อยกเป็นตัวอย่าง ถ้าน้อมเอาเข้ามาไว้ที่ฐานที่ ๗ ก็เป็นปฐมมรรค คือ หนทางเบื้องต้นที่จะเข้าถึงธรรมกาย
อีกวิธี หากเราเริ่มมาจากลมหายใจเข้าออก ที่เราเรียกอานาปานสติ แปลว่า สติจับลมเข้ากับออกให้มันหยุดนิ่ง คือ จับให้อยู่ ลมมันเข้าแล้วมันก็ออก เข้า แล้วก็ออก ถ้าเราจับอยู่ได้ เราจะมีความรู้สึกลมมันนิ่งเหมือนไม่ได้หายใจ พอลมหยุด ใจก็หยุด พอใจหยุดดวงธรรมก็เกิด เป็นดวงสว่าง ใสเป็นแก้วทีเดียว อย่างเล็กขนาดดวงดาวในอากาศ อย่างกลางก็ขนาดพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน หรือยิ่งกว่านั้น