🔦🔦เลเซอร์หมายความว่าอะไร?💡💡
เลเซอร์ เป็นคำทับศัพท์มาจากคำว่า LASER
ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation
🔆Light แปลว่า แสง
🔍Amplification แปลว่า ขยาย
⚠️Stimulate แปลว่า กระตุ้น
🔓Emission แปลว่า การปลดปล่อย
♨️Radiation แปลว่า การแผ่รังสี
🌟ดังนั้นคำว่า Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation จึงหมายความว่า
🎈เลเซอร์จะปล่อยแสงจากการกระตุ้นอิเล็กตรอนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ปล่อยพลังงานออกมา
🎈พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจะถูกขยาย และปล่อยออกมาเป็นพลังงานแสง
🎈เรียกแสงนั้นว่าแสงเลเซอร์นั่นเองค่ะ
ภาพ Cr: brownsvilleherald.com
-----------------------------
🚩🚩ความรู้พื้นฐานและที่มาของแสงเลเซอร์📍📍
🔮เลเซอร์คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงแคบๆของสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมด
ยกตัวอย่างคลื่นไฟฟ้าอื่นๆ เช่น
🍵คลื่นไมโครเวฟ
☀️รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (รังสีจากดวงอาทิตย์)
💥คลื่นเอกซเรย์
📻คลื่นวิทยุ
📺คลื่นโทรทัศน์
👤ถูกค้นพบโดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันชื่อ ซี.เอช. ทาวน์ส (C.H. Townes) ในปี ค.ศ. 1954
➡️การแบ่งชนิดตามการใช้งานของเลเซอร์ มักจะแบ่งตามหน่วยของความยาวคลื่น เรียกหน่วยนี้ว่า นาโนเมตร
➡️ความยาวคลื่นของเลเซอร์อยู่ที่ 150-11,000 นาโนเมตร (nm)
👓เลเซอร์สามารถระบุความยาวคลื่นได้ ง่าย โดยดูจากสีของเลเซอร์ ถ้าอยู่ในสเป็กตรัมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Visible Spectrum)
💜แสงสีม่วง 380-440 nm
💙แสงสีน้ำเงิน 440-485 nm
💧แสงสีฟ้า 485-500 nm
💚แสงสีเขียว 500-565 nm
💛แสงสีเหลือง 565-590 nm
🍊แสงสีส้ม 590-625 nm
❤️แสงสีแดง 625-740 nm
Cr picture: ohsonline.com
churchandstate.org.uk
giangrandi.ch
aquaticplantcentral.com
-----------------------
เกิดอะไรข้างในผิวหนังเมื่อโดนแสงเลเซอร์? 🙈🙉🙊
➡️เมื่อแสงเลเซอร์ตกกระทบลงบนผิวหนัง
➡️พลังงานแสงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
♦️ผลของความร้อนจากแสงเลเซอร์ทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
ผลของความร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างภายในผิวหนัง หลักๆมีดังนี้คือ
1⃣ ทำลายเซลล์เป้าหมาย
🔴เลเซอร์ในแต่ละความยาวคลื่นจะมีเซลล์เป้าหมายไม่เหมือนกัน
🔵เซลล์เป้าหมายเหล่านี้เรียกกันว่า Chromophores
🔴Chromophores คือสารที่ดูดซับแสงเมื่อได้รับพลังงานในช่วงคลื่นที่เหมาะกับสารนั้น
🔵ยกตัวอย่างเซลล์เป้าหมายเช่น
🔺เมลานิน (เม็ดสี มักพบในผิวหนังและเส้นผม)
🔺ฮีโมโกบิน (พบในเลือด โดยเฉพาะในเส้นเลือดแดง)
🔺น้ำหมึก (น้ำหมึกจากการสักลงบนผิว)
🔺น้ำ
🔺แบคทีเรียบางชนิด เช่นแบคทีเรียในสิว
2⃣ กระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิดให้ทำลายเซลล์เป้าหมาย
3⃣ กระตุ้นกลไกภายในผิวหนัง เช่น กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนในผิวหนัง
Cr picture: L. Fodor et al., Aesthetic Applications of Intense Pulsed Light, Springer-Verlag London Limited, 2011
---------------------------
🌼ระดับของอุณหภูมิที่เกิดจากพลังงานแสงเลเซอร์ มีผลต่อผิวหนังของเราอย่างไร?🌱
🚏การเปลี่ยนแปลงต่างๆในผิวหนังขึ้นอยู่กับระดับของอุณหภูมิด้วย
📍อูณหภูมิในผิวหนังจะสูงเท่าไหร่นั้น ขึนอยู่กับเซลล์เป้าหมาย ว่าสามารถดูดซับพลังงานได้มากแค่ไหน ยิ่งดูดซับมาก ก็ยิ่งร้อน
⚠️นอกจากนี้ อุณหภูมิที่เกิดขึ้น ยังขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยด้วย เช่น
🌑ความเข้มของแสงเลเซอร์ (Laser intensity) ยิ่งเข้มยิ่งร้อน
🌒กำลังวัตต์ (Laser power) ยิ่งสูงยิ่งร้อน
🌓ขนาดของลำแสงเลเซอร์ (Beam diameter) ยิ่งใหญ่ยิ่งร้อน
🌔ระยะห่างของหัวเลเซอร์และผิว ยิ่งใกล้ยิ่งร้อน
🌕ระยะเวลาที่ผิวหนังโดนแสงเลเซอร์ (Pulse duration) ยิ่งนานยิ่งร้อน
🌖สีผิวและสีขน ยิ่งเข้มยิ่งร้อน
🌗อัตราการซ้ำ (Repetition rate) ยิ่งยิงแสงซ้ำหลายๆครั้งในช่วงเวลาติดๆกัน ยิ่งร้อน
🌘ความยาวคลื่น (Wavelength) แต่ละความยาวมีผลต่อรูปแบบความร้อนในลัษณะที่ต่างกัน
⛄️อุณหภูมิที่เกิดขึ้นในแต่ระดับ ส่งผลต่อเนื้อเยื่อของผิวหนัง ดังนี้
👩37˚c-----คืออุณหภูมิปกติของร่างกาย
😩45˚c-----ภาวะ Hyperthermia หรือภาวะที่มีความร้อนสูงกว่าปกติ
😫50˚c-----กระบวนการในการสร้างเอนไซม์ต่างๆลดลง เซลล์ต่างๆไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
😷60˚c-----โครงสร้างของโปรตีนในผิวหนังเกิดการเสียรูป และคอลลาเจนเกิดการแข็งตัว เรียกว่า Coagulation
😲80˚c-----คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเลเซอร์สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ได้
😡100˚c-----เกิดการระเหยกลายเป็นไอเรียกกระบวนการนี้ว่า Vaporization ทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังบางส่วนหายไป เรียกว่า Ablation
😱>100˚c-----เกิดกระบวนการ Carbonization ทำให้เนื่อเยื่อกลายเป็นคาร์บอนสีดำ
😈>300˚c-----เกิดการละลายของเนื้อเยื่อ
☝️☝️เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่สำคัญมากๆเลยสำหรับการรักษาผิวหนังด้วยเลเซอร์ก็คือ การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เผื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด☝️☝️
💬เราสามารถควบคุมอุณหภูมิ โดยควบคุมปัจจัยต่างๆข้างต้น ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่จะทำการรักษา
เช่น
✔️ถ้าต้องการกระตุ้นผิวหนังให้สร้างคอลลาเจนใหม่
อุณหภูมิไม่ควรเกิน 60˚c เพราะถ้าเกินกว่านี้ เนื้อเยื่อจะเกิดการแข็งตัว เส้นเลือดที่จะส่งเลือดไปเลี่ยงบริเวณนี้ก็จะแข็งตัวเช่นกัน ทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายค่ะ เพราะเลือดไม่สามารถไปเลี่ยงได้
✔️หรือถ้าต้องการเลเซอร์เพื่อปูผิวหน้าใหม่ หรือ resurfacing
อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ประมาณ100˚c เนื่องจาก100˚c เป็นจุดเดือดของน้ำ ทำให้น้ำที่อยู่ในเซลล์ของผิวหนังเกิดการเดือดและระเหยกลายเป็นไอ ผิวหนังส่วนนอกของเราก็จะถูกระเหยออกไปด้วยเช่นกันพร้อมๆกับน้ำ ทำให้เกิดเป็นแผลนั่นเองค่ะ
💯ดังนั้น เลือกทำการรักษากับผู้เชี่ยวชาญปลอดภัยที่สุดค่ะ💯
Cr picture: Markolf H. Niemz, Laser-Tissue Interactions Fundamentals and Applications, 2003
----------------------------
💁ชนิดของเลเซอร์ แบ่งตามปฏิกิริยาความร้อนต่อเนื้อเยื่อ🙋
✋แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้ค่ะ
💛(a) Non-ablative lasers:
เป็นเลเซอร์ชนิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของโปรตีนเท่านั้น แต่ไม่มีการระเหยเป็นไอ จึงไม่ทำให้เกิดแผล มักใช้สำหรับการกระตุ้นให้สร้างคอลลาเจนใหม่ จึงไม่ต้องมีการพักฟื้นผิวหน้า เพราะมีแค่เพียงอาการบวมแดงหลังการรักษาค่ะ
💙(b) Fully ablative lasers:
เลเซอร์ชนิดนี้ทำให้เกิดแผลตื้นๆในวงกว้าง เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงถึง 100 ˚c จึงทำให้เกิดการระเหยกลายเป็นไอ มักใช้กันในการปูผิวหน้าใหม่ หรือที่เรียกว่า resurfacing ค่ะ หลังการรักษาใช้เวลาในการพักฟื้นนาน แต่ให้ผลการรักษาที่เร็วกว่าแบบ Non-ablative (a) ค่ะ
💜(c) Superficial fractional ablative lasers:
เลเซอร์ประเภท fractional เป็นเลเซอร์ที่พัฒนามาจาก Fully ablative lasers (b) คือทำให้เกิดแผลน้อยกว่า จึงใช้เวลาในการพักฟื้นน้อยกว่า เลเซอร์ชนิดนี้ทำให้เกิดแผลตื้นๆ และมีการส่งพลังงานในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เรียกว่าการรักษาแบบ Selective photothermolysis มักใช้ในการปูผิวหน้าใหม่เช่นกัน แต่ใช้ได้ผลดีกับริ้วรอยหรือหลุมสิวตื้นๆเท่านั้น
💚(d) Fractionated non-ablative lasers:
เลเซอร์ชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดแผล แต่มีการส่งพลังงานลงไปในระดับที่ลึกขึ้น เมื่อเทียบกับชนิด Non-ablative lasers (a) จึงทำให้การรักษาได้ผลที่ดีกว่า และมีการส่งพลังงานในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น (Selective photothermolysis) จึงทำให้อาการบวมแดงหลังจากการรักษาหายเร็วขึ้น
❤️(e) Fractionated ablative lasers:
เป็นเลเซอร์ที่ทำให้เกิดแผลลึก แต่เป็นลักษณะการรักษาแบบ Selective photothermolysis จึงสามารถทำให้เลเซอร์ชนิดนี้สามารถส่งพลังงานไปในระดับลึกๆโดยที่ไม่ทำให้เกิดหลุมแผลเป็น เนื่องจากหลุมเล็กๆสามารถทำให้แผลสมานกันได้ดีกว่า ได้ผลดีกับการรักษาริ้วรอยร่องลึกๆ หรือหลุมสิวลึกๆ และใช้จำนวนครั้งในการรักษาน้อยกว่าชนิด Fractionated non-ablative lasers (d) ค่ะ
Cr picture: medicalling.com
----------------------------------------
🏡🏡โครงสร้างพื้นฐานของเครื่องมือเลเซอร์🏠🏠
✅เครื่องกำเนิดแสงเลเซอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้คือ
1⃣ แหล่งกำเนิดพลังงาน (Power source)
แหล่งกำเนิดพลังงาน แก่ ไฟฟ้า แสง และสารเคมี
2⃣ ตัวกลางที่ใช้ผลิตแสง (laser medium)
คือวัสดุที่ต้องการกระตุ้นให้ปล่อยแสงเลเซอร์ มีทั้งของเหลว (liquid) ของแข็ง (solid) และก๊าซ (gas)
3⃣ ห้องกำทอนแสง (resonating cavity)
คือห้องที่ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของโฟตอนซึ่งเป็นจุดที่ทำให้กำเนิดแสงเลเซอร์ ประกอบไปด้วย กระจกสองบานที่ใช้สะท้อนพลังงานไปมา และ ตัวกลางที่ใช้ผลิตแสง (lasing medium)
Cr picture:
Sean W. Lanigan, Lasers in dermatology, Springer-Verlag London, 2000
-------------------------------------------
😙ขั้นตอนของการเกิดแสงในเครื่องเลเซอร์😘
1. แหล่งกำเนิดพลังงานจะทำการจ่ายพลังงานไปยังตัวกลางในการผลิตแสง ขอเรียกสั้นๆว่า lasing medium นะคะ
😽พลังงานที่ถูกจ่ายนี้ มีทั้งพลังงานจากกระแสไฟฟ้า จากพลังงานแสง หรือจากสารเคมี ซึ่งอาจจะเป็นอันใดอันหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือเลเซอร์
2. หลังจากนั้น พลังงานที่ถูกส่งเข้าไปยัง lasing medium จะเข้าไปกระตุ้นอิเล็กตรอนข้างใน และปล่อยพลังงานออกมา เรียกว่าโฟตอน (photon) 🌕
3. โฟตอนที่ได้จะเป็นสองเท่าของอิเล็กตรอนที่ถูกกระตุ้น กล่าวคือ กระตุ้นอิเล็กตรอน1ตัว จะได้โฟตอนสองตัว✌️
4. โฟตอนสองตัวนี้ จะถูกส่งไปกระตุ้นอิเล็กตรอนตัวต่อไป โฟตอน1ตัว กระตุ้นอิเล็กตรอน1ตัว และได้โฟตอนเพิ่มเป็น2ตัวทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของโฟตอนอย่างทวีคูณ เรากระบวนการนี้เรียกกันในภาษาฟิสิกส์ว่า กระบวนการเพิ่มจำนวนประชากร หรือ population inversion👪
5. โฟตอนที่เพิ่มจำนวนอย่างทวีคูณนี้ จะทำให้เกิดแสงเปล่งออกมา นั่นก็คือแสงเลเซอร์นั่นเอง🔦
6. โฟตอนที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณจะถูกกระจกทั้งสองด้านที่อยู่ใน resonating cavity สะท้อนซ้ำไปซ้ำมาและในขณะเดียวกันก็เพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ
7. กระจกทั้งสองบาน จะอยู่คนละด้านของ resonating cavity บานแรกจะทำหน้าที่สะท้อนพลังงานทั้งหมด (100%) ส่วนบานที่สองจะสะท้อนพลังงานเกือบทั้งหมด (99%) และพลังงานที่เหลืออีก 1% จะถูกปล่อยออกทางรูตรงกลางของกระจกบานนี้👻
♥️♥️พลังงานที่ถูกปล่อยออกไปทางรูเล็กๆนี้ เราเรียกกันว่า ลำแสงเลเซอร์ (laser beam)♥️♥️
Cr picture:Sean W. Lanigan, Lasers in dermatology, Springer-Verlag London, 2000
th.pixtastock.com
iconfinder.com
ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เจ้าของกระทู้พึ่งจะเริ่มเขียนครั้งแรก อย่างไรติชมได้นะคะ
ติดตามได้ที่
https://www.facebook.com/laserbycookie
อยากจะแบ่งปันให้สาวๆที่อยากจะสวยด้วยเลเซอร์ทุกคนค่ะ
จะเสียเงินทั้งที ขอให้เสียอย่างมีเหตุผล และคุ้มค่าที่สุดนะคะ
*สุดยอด*ขอมูลที่ผู้หญิงอยากจะสวยด้วย*เลเซอร์* "ต้องรู้" โดยนักศึกษาปริญญาเอกวิศวกรรมการแพทย์
เลเซอร์ เป็นคำทับศัพท์มาจากคำว่า LASER
ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation
🔆Light แปลว่า แสง
🔍Amplification แปลว่า ขยาย
⚠️Stimulate แปลว่า กระตุ้น
🔓Emission แปลว่า การปลดปล่อย
♨️Radiation แปลว่า การแผ่รังสี
🌟ดังนั้นคำว่า Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation จึงหมายความว่า
🎈เลเซอร์จะปล่อยแสงจากการกระตุ้นอิเล็กตรอนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้ปล่อยพลังงานออกมา
🎈พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจะถูกขยาย และปล่อยออกมาเป็นพลังงานแสง
🎈เรียกแสงนั้นว่าแสงเลเซอร์นั่นเองค่ะ
ภาพ Cr: brownsvilleherald.com
-----------------------------
🚩🚩ความรู้พื้นฐานและที่มาของแสงเลเซอร์📍📍
🔮เลเซอร์คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วงแคบๆของสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมด
ยกตัวอย่างคลื่นไฟฟ้าอื่นๆ เช่น
🍵คลื่นไมโครเวฟ
☀️รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (รังสีจากดวงอาทิตย์)
💥คลื่นเอกซเรย์
📻คลื่นวิทยุ
📺คลื่นโทรทัศน์
👤ถูกค้นพบโดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันชื่อ ซี.เอช. ทาวน์ส (C.H. Townes) ในปี ค.ศ. 1954
➡️การแบ่งชนิดตามการใช้งานของเลเซอร์ มักจะแบ่งตามหน่วยของความยาวคลื่น เรียกหน่วยนี้ว่า นาโนเมตร
➡️ความยาวคลื่นของเลเซอร์อยู่ที่ 150-11,000 นาโนเมตร (nm)
👓เลเซอร์สามารถระบุความยาวคลื่นได้ ง่าย โดยดูจากสีของเลเซอร์ ถ้าอยู่ในสเป็กตรัมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Visible Spectrum)
💜แสงสีม่วง 380-440 nm
💙แสงสีน้ำเงิน 440-485 nm
💧แสงสีฟ้า 485-500 nm
💚แสงสีเขียว 500-565 nm
💛แสงสีเหลือง 565-590 nm
🍊แสงสีส้ม 590-625 nm
❤️แสงสีแดง 625-740 nm
Cr picture: ohsonline.com
churchandstate.org.uk
giangrandi.ch
aquaticplantcentral.com
-----------------------
เกิดอะไรข้างในผิวหนังเมื่อโดนแสงเลเซอร์? 🙈🙉🙊
➡️เมื่อแสงเลเซอร์ตกกระทบลงบนผิวหนัง
➡️พลังงานแสงจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน
♦️ผลของความร้อนจากแสงเลเซอร์ทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
ผลของความร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่างภายในผิวหนัง หลักๆมีดังนี้คือ
1⃣ ทำลายเซลล์เป้าหมาย
🔴เลเซอร์ในแต่ละความยาวคลื่นจะมีเซลล์เป้าหมายไม่เหมือนกัน
🔵เซลล์เป้าหมายเหล่านี้เรียกกันว่า Chromophores
🔴Chromophores คือสารที่ดูดซับแสงเมื่อได้รับพลังงานในช่วงคลื่นที่เหมาะกับสารนั้น
🔵ยกตัวอย่างเซลล์เป้าหมายเช่น
🔺เมลานิน (เม็ดสี มักพบในผิวหนังและเส้นผม)
🔺ฮีโมโกบิน (พบในเลือด โดยเฉพาะในเส้นเลือดแดง)
🔺น้ำหมึก (น้ำหมึกจากการสักลงบนผิว)
🔺น้ำ
🔺แบคทีเรียบางชนิด เช่นแบคทีเรียในสิว
2⃣ กระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเคมีบางชนิดให้ทำลายเซลล์เป้าหมาย
3⃣ กระตุ้นกลไกภายในผิวหนัง เช่น กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนในผิวหนัง
Cr picture: L. Fodor et al., Aesthetic Applications of Intense Pulsed Light, Springer-Verlag London Limited, 2011
---------------------------
🌼ระดับของอุณหภูมิที่เกิดจากพลังงานแสงเลเซอร์ มีผลต่อผิวหนังของเราอย่างไร?🌱
🚏การเปลี่ยนแปลงต่างๆในผิวหนังขึ้นอยู่กับระดับของอุณหภูมิด้วย
📍อูณหภูมิในผิวหนังจะสูงเท่าไหร่นั้น ขึนอยู่กับเซลล์เป้าหมาย ว่าสามารถดูดซับพลังงานได้มากแค่ไหน ยิ่งดูดซับมาก ก็ยิ่งร้อน
⚠️นอกจากนี้ อุณหภูมิที่เกิดขึ้น ยังขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยด้วย เช่น
🌑ความเข้มของแสงเลเซอร์ (Laser intensity) ยิ่งเข้มยิ่งร้อน
🌒กำลังวัตต์ (Laser power) ยิ่งสูงยิ่งร้อน
🌓ขนาดของลำแสงเลเซอร์ (Beam diameter) ยิ่งใหญ่ยิ่งร้อน
🌔ระยะห่างของหัวเลเซอร์และผิว ยิ่งใกล้ยิ่งร้อน
🌕ระยะเวลาที่ผิวหนังโดนแสงเลเซอร์ (Pulse duration) ยิ่งนานยิ่งร้อน
🌖สีผิวและสีขน ยิ่งเข้มยิ่งร้อน
🌗อัตราการซ้ำ (Repetition rate) ยิ่งยิงแสงซ้ำหลายๆครั้งในช่วงเวลาติดๆกัน ยิ่งร้อน
🌘ความยาวคลื่น (Wavelength) แต่ละความยาวมีผลต่อรูปแบบความร้อนในลัษณะที่ต่างกัน
⛄️อุณหภูมิที่เกิดขึ้นในแต่ระดับ ส่งผลต่อเนื้อเยื่อของผิวหนัง ดังนี้
👩37˚c-----คืออุณหภูมิปกติของร่างกาย
😩45˚c-----ภาวะ Hyperthermia หรือภาวะที่มีความร้อนสูงกว่าปกติ
😫50˚c-----กระบวนการในการสร้างเอนไซม์ต่างๆลดลง เซลล์ต่างๆไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
😷60˚c-----โครงสร้างของโปรตีนในผิวหนังเกิดการเสียรูป และคอลลาเจนเกิดการแข็งตัว เรียกว่า Coagulation
😲80˚c-----คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเลเซอร์สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ได้
😡100˚c-----เกิดการระเหยกลายเป็นไอเรียกกระบวนการนี้ว่า Vaporization ทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังบางส่วนหายไป เรียกว่า Ablation
😱>100˚c-----เกิดกระบวนการ Carbonization ทำให้เนื่อเยื่อกลายเป็นคาร์บอนสีดำ
😈>300˚c-----เกิดการละลายของเนื้อเยื่อ
☝️☝️เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่สำคัญมากๆเลยสำหรับการรักษาผิวหนังด้วยเลเซอร์ก็คือ การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เผื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด☝️☝️
💬เราสามารถควบคุมอุณหภูมิ โดยควบคุมปัจจัยต่างๆข้างต้น ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่จะทำการรักษา
เช่น
✔️ถ้าต้องการกระตุ้นผิวหนังให้สร้างคอลลาเจนใหม่
อุณหภูมิไม่ควรเกิน 60˚c เพราะถ้าเกินกว่านี้ เนื้อเยื่อจะเกิดการแข็งตัว เส้นเลือดที่จะส่งเลือดไปเลี่ยงบริเวณนี้ก็จะแข็งตัวเช่นกัน ทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายค่ะ เพราะเลือดไม่สามารถไปเลี่ยงได้
✔️หรือถ้าต้องการเลเซอร์เพื่อปูผิวหน้าใหม่ หรือ resurfacing
อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ ประมาณ100˚c เนื่องจาก100˚c เป็นจุดเดือดของน้ำ ทำให้น้ำที่อยู่ในเซลล์ของผิวหนังเกิดการเดือดและระเหยกลายเป็นไอ ผิวหนังส่วนนอกของเราก็จะถูกระเหยออกไปด้วยเช่นกันพร้อมๆกับน้ำ ทำให้เกิดเป็นแผลนั่นเองค่ะ
💯ดังนั้น เลือกทำการรักษากับผู้เชี่ยวชาญปลอดภัยที่สุดค่ะ💯
Cr picture: Markolf H. Niemz, Laser-Tissue Interactions Fundamentals and Applications, 2003
----------------------------
💁ชนิดของเลเซอร์ แบ่งตามปฏิกิริยาความร้อนต่อเนื้อเยื่อ🙋
✋แบ่งออกเป็น 5 ชนิด ดังนี้ค่ะ
💛(a) Non-ablative lasers:
เป็นเลเซอร์ชนิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของโปรตีนเท่านั้น แต่ไม่มีการระเหยเป็นไอ จึงไม่ทำให้เกิดแผล มักใช้สำหรับการกระตุ้นให้สร้างคอลลาเจนใหม่ จึงไม่ต้องมีการพักฟื้นผิวหน้า เพราะมีแค่เพียงอาการบวมแดงหลังการรักษาค่ะ
💙(b) Fully ablative lasers:
เลเซอร์ชนิดนี้ทำให้เกิดแผลตื้นๆในวงกว้าง เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงถึง 100 ˚c จึงทำให้เกิดการระเหยกลายเป็นไอ มักใช้กันในการปูผิวหน้าใหม่ หรือที่เรียกว่า resurfacing ค่ะ หลังการรักษาใช้เวลาในการพักฟื้นนาน แต่ให้ผลการรักษาที่เร็วกว่าแบบ Non-ablative (a) ค่ะ
💜(c) Superficial fractional ablative lasers:
เลเซอร์ประเภท fractional เป็นเลเซอร์ที่พัฒนามาจาก Fully ablative lasers (b) คือทำให้เกิดแผลน้อยกว่า จึงใช้เวลาในการพักฟื้นน้อยกว่า เลเซอร์ชนิดนี้ทำให้เกิดแผลตื้นๆ และมีการส่งพลังงานในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เรียกว่าการรักษาแบบ Selective photothermolysis มักใช้ในการปูผิวหน้าใหม่เช่นกัน แต่ใช้ได้ผลดีกับริ้วรอยหรือหลุมสิวตื้นๆเท่านั้น
💚(d) Fractionated non-ablative lasers:
เลเซอร์ชนิดนี้ไม่ทำให้เกิดแผล แต่มีการส่งพลังงานลงไปในระดับที่ลึกขึ้น เมื่อเทียบกับชนิด Non-ablative lasers (a) จึงทำให้การรักษาได้ผลที่ดีกว่า และมีการส่งพลังงานในลักษณะที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น (Selective photothermolysis) จึงทำให้อาการบวมแดงหลังจากการรักษาหายเร็วขึ้น
❤️(e) Fractionated ablative lasers:
เป็นเลเซอร์ที่ทำให้เกิดแผลลึก แต่เป็นลักษณะการรักษาแบบ Selective photothermolysis จึงสามารถทำให้เลเซอร์ชนิดนี้สามารถส่งพลังงานไปในระดับลึกๆโดยที่ไม่ทำให้เกิดหลุมแผลเป็น เนื่องจากหลุมเล็กๆสามารถทำให้แผลสมานกันได้ดีกว่า ได้ผลดีกับการรักษาริ้วรอยร่องลึกๆ หรือหลุมสิวลึกๆ และใช้จำนวนครั้งในการรักษาน้อยกว่าชนิด Fractionated non-ablative lasers (d) ค่ะ
Cr picture: medicalling.com
----------------------------------------
🏡🏡โครงสร้างพื้นฐานของเครื่องมือเลเซอร์🏠🏠
✅เครื่องกำเนิดแสงเลเซอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ดังนี้คือ
1⃣ แหล่งกำเนิดพลังงาน (Power source)
แหล่งกำเนิดพลังงาน แก่ ไฟฟ้า แสง และสารเคมี
2⃣ ตัวกลางที่ใช้ผลิตแสง (laser medium)
คือวัสดุที่ต้องการกระตุ้นให้ปล่อยแสงเลเซอร์ มีทั้งของเหลว (liquid) ของแข็ง (solid) และก๊าซ (gas)
3⃣ ห้องกำทอนแสง (resonating cavity)
คือห้องที่ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของโฟตอนซึ่งเป็นจุดที่ทำให้กำเนิดแสงเลเซอร์ ประกอบไปด้วย กระจกสองบานที่ใช้สะท้อนพลังงานไปมา และ ตัวกลางที่ใช้ผลิตแสง (lasing medium)
Cr picture:
Sean W. Lanigan, Lasers in dermatology, Springer-Verlag London, 2000
-------------------------------------------
😙ขั้นตอนของการเกิดแสงในเครื่องเลเซอร์😘
1. แหล่งกำเนิดพลังงานจะทำการจ่ายพลังงานไปยังตัวกลางในการผลิตแสง ขอเรียกสั้นๆว่า lasing medium นะคะ
😽พลังงานที่ถูกจ่ายนี้ มีทั้งพลังงานจากกระแสไฟฟ้า จากพลังงานแสง หรือจากสารเคมี ซึ่งอาจจะเป็นอันใดอันหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องมือเลเซอร์
2. หลังจากนั้น พลังงานที่ถูกส่งเข้าไปยัง lasing medium จะเข้าไปกระตุ้นอิเล็กตรอนข้างใน และปล่อยพลังงานออกมา เรียกว่าโฟตอน (photon) 🌕
3. โฟตอนที่ได้จะเป็นสองเท่าของอิเล็กตรอนที่ถูกกระตุ้น กล่าวคือ กระตุ้นอิเล็กตรอน1ตัว จะได้โฟตอนสองตัว✌️
4. โฟตอนสองตัวนี้ จะถูกส่งไปกระตุ้นอิเล็กตรอนตัวต่อไป โฟตอน1ตัว กระตุ้นอิเล็กตรอน1ตัว และได้โฟตอนเพิ่มเป็น2ตัวทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของโฟตอนอย่างทวีคูณ เรากระบวนการนี้เรียกกันในภาษาฟิสิกส์ว่า กระบวนการเพิ่มจำนวนประชากร หรือ population inversion👪
5. โฟตอนที่เพิ่มจำนวนอย่างทวีคูณนี้ จะทำให้เกิดแสงเปล่งออกมา นั่นก็คือแสงเลเซอร์นั่นเอง🔦
6. โฟตอนที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณจะถูกกระจกทั้งสองด้านที่อยู่ใน resonating cavity สะท้อนซ้ำไปซ้ำมาและในขณะเดียวกันก็เพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ
7. กระจกทั้งสองบาน จะอยู่คนละด้านของ resonating cavity บานแรกจะทำหน้าที่สะท้อนพลังงานทั้งหมด (100%) ส่วนบานที่สองจะสะท้อนพลังงานเกือบทั้งหมด (99%) และพลังงานที่เหลืออีก 1% จะถูกปล่อยออกทางรูตรงกลางของกระจกบานนี้👻
♥️♥️พลังงานที่ถูกปล่อยออกไปทางรูเล็กๆนี้ เราเรียกกันว่า ลำแสงเลเซอร์ (laser beam)♥️♥️
Cr picture:Sean W. Lanigan, Lasers in dermatology, Springer-Verlag London, 2000
th.pixtastock.com
iconfinder.com
ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่เจ้าของกระทู้พึ่งจะเริ่มเขียนครั้งแรก อย่างไรติชมได้นะคะ
ติดตามได้ที่
https://www.facebook.com/laserbycookie
อยากจะแบ่งปันให้สาวๆที่อยากจะสวยด้วยเลเซอร์ทุกคนค่ะ
จะเสียเงินทั้งที ขอให้เสียอย่างมีเหตุผล และคุ้มค่าที่สุดนะคะ