CR :
https://www.pptvhd36.com/health/food/6202
ไขมันพอกตับ อันตรายที่เกิดได้ทั้งคนอ้วนและคนผอม ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกิน เผยอาหารที่กินบ่อยเสี่ยงไขมันพอกตับ รู้ก่อนลดเสี่ยงช่วยป้องกันได้
ไขมันพอกตับ คือภาวะการสะสมไขมันในตับที่มากเกินไป คือ มากกว่า 5% ของน้ำหนักตับ จะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งนำไปสู่การเกิดตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด ปกติร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือหน้าท้องและตับ ไขมันที่ตับนับเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ที่สุด หากเกิดการสะสมของไขมันที่ตับมากๆ จะส่งผลให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ได้ในที่สุด
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ
•ไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol fatty liver disease) เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก (การดื่มในระดับมาตรฐานหมายถึงการดื่มไวน์วันละ 1 แก้ว สำหรับผู้หญิงและไม่เกิน 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย) ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยไขมันพอกตับจากการดื่มประมาณ 5%
•ไขมันพอกตับที่ไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ Non-alcohol related fatty liver disease (NAFLD) (Non-alcoholic fatty liver disease; NAFLD) เกิดขึ้นในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะนี้ส่งผลต่อผู้ใหญ่ 1 ใน 3 คนและเด็ก 1 ใน 10 คนในสหรัฐอเมริกาพบอุบัติการณ์ในผู้ใหญ่ประมาณ 25-30% ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมด และในเด็กประมาณ 10%
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ
ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของโรคไขมันพอกตับที่ไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ แต่พบว่าอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง
•กลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)
•โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคไขมันสูง
•การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเป็นประจำ เช่น ไขมัน น้ำตาล แป้ง
•สตรีวัยหมดประจำเดือน
•ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
•ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัสบางชนิด
อาหารที่ควรจำกัดการบริโภคป้องกันไขมันพอกตับ
•อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง พิซซ่า เป็นต้น
•อาหารที่มีรสหวานมาก เช่น น้ำหวาน ชานม น้ำอัดลม
•ผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตสปริมาณมาก เช่น มะม่วงสุก ทุเรียน
•อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น นม ชีส กระทิ อาหารทะเล ของทอด ไอศกรีม เป็นต้น
•เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะไขมันพอกตับ
•ลดน้ำหนักในรายที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
•งดเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
อาหารที่ช่วยลดภาวะไขมันพอกตับ
•ผักบางชนิดที่ช่วยเร่งขบวนการกำจัดสารพิษออกจากตับเช่น ดอกกระหล่ำ บรอกโคลี หัวหอม กระเทียม สมุนไพร
•สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดที่ช่วยขับสารพิษจากตับได้ เช่น Milk Thistle,ALA และ NAC
•อาหารที่ช่วยลดภาวะการอักเสบของตับ เช่นปลาที่มี โอเมก้า 3 จำพวก แซลมอล ซาร์ดีน ทู เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง งา น้ำมันโอลีฟออยด์ ธัญพืช
•ชาเขียว ช่วยลดการดูดซึมของไขมัน
วิตามินที่ช่วยลดภาวะไขมันพอกตับ
-วิตามีนอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับ
-วิตามินบี แมกนีเซียมยังช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ตับที่เสียหาย
อย่างไรก็ตามควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อป้องกันโรคภัยต่างๆ หากมีความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย
อาหารกินบ่อยเสี่ยง 「ไขมันพอกตับ」 ปัจจัยก่อมะเร็งตับถึงไม่ดื่มแอลกอฮอล์
ไขมันพอกตับ อันตรายที่เกิดได้ทั้งคนอ้วนและคนผอม ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการกิน เผยอาหารที่กินบ่อยเสี่ยงไขมันพอกตับ รู้ก่อนลดเสี่ยงช่วยป้องกันได้
ไขมันพอกตับ คือภาวะการสะสมไขมันในตับที่มากเกินไป คือ มากกว่า 5% ของน้ำหนักตับ จะทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งนำไปสู่การเกิดตับอักเสบ ตับแข็งและมะเร็งตับได้ในที่สุด ปกติร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งมาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ คือหน้าท้องและตับ ไขมันที่ตับนับเป็นแหล่งพลังงานใหญ่ที่สุด หากเกิดการสะสมของไขมันที่ตับมากๆ จะส่งผลให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ได้ในที่สุด
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ
•ไขมันพอกตับที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol fatty liver disease) เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก (การดื่มในระดับมาตรฐานหมายถึงการดื่มไวน์วันละ 1 แก้ว สำหรับผู้หญิงและไม่เกิน 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย) ในสหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วยไขมันพอกตับจากการดื่มประมาณ 5%
•ไขมันพอกตับที่ไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ Non-alcohol related fatty liver disease (NAFLD) (Non-alcoholic fatty liver disease; NAFLD) เกิดขึ้นในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะนี้ส่งผลต่อผู้ใหญ่ 1 ใน 3 คนและเด็ก 1 ใน 10 คนในสหรัฐอเมริกาพบอุบัติการณ์ในผู้ใหญ่ประมาณ 25-30% ของประชากรผู้ใหญ่ทั้งหมด และในเด็กประมาณ 10%
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ
ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของโรคไขมันพอกตับที่ไม่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์ แต่พบว่าอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง
•กลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)
•โรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคไขมันสูง
•การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเป็นประจำ เช่น ไขมัน น้ำตาล แป้ง
•สตรีวัยหมดประจำเดือน
•ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
•ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัด ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัสบางชนิด
อาหารที่ควรจำกัดการบริโภคป้องกันไขมันพอกตับ
•อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง พิซซ่า เป็นต้น
•อาหารที่มีรสหวานมาก เช่น น้ำหวาน ชานม น้ำอัดลม
•ผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตสปริมาณมาก เช่น มะม่วงสุก ทุเรียน
•อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น นม ชีส กระทิ อาหารทะเล ของทอด ไอศกรีม เป็นต้น
•เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดูแลตนเองเมื่อมีภาวะไขมันพอกตับ
•ลดน้ำหนักในรายที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
•งดเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
อาหารที่ช่วยลดภาวะไขมันพอกตับ
•ผักบางชนิดที่ช่วยเร่งขบวนการกำจัดสารพิษออกจากตับเช่น ดอกกระหล่ำ บรอกโคลี หัวหอม กระเทียม สมุนไพร
•สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดที่ช่วยขับสารพิษจากตับได้ เช่น Milk Thistle,ALA และ NAC
•อาหารที่ช่วยลดภาวะการอักเสบของตับ เช่นปลาที่มี โอเมก้า 3 จำพวก แซลมอล ซาร์ดีน ทู เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง งา น้ำมันโอลีฟออยด์ ธัญพืช
•ชาเขียว ช่วยลดการดูดซึมของไขมัน
วิตามินที่ช่วยลดภาวะไขมันพอกตับ
-วิตามีนอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับ
-วิตามินบี แมกนีเซียมยังช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ตับที่เสียหาย
อย่างไรก็ตามควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อป้องกันโรคภัยต่างๆ หากมีความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย