สวัสดีครับทุกคน วันนี้พี่หมอมีเรื่องของ “ตับ” มีแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันนะครับ ถ้าพูดถึงโรคเกี่ยวกับตับ หลายคนคงจะนึกถึง ตับอักเสบ ตับแข็ง (อันนี้คนที่ดื่มแอลกอฮอล์เยอะ ๆ อาจกำลังสะดุ้ง 😊) แต่มีอีกภาวะหนึ่ง ที่หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน นั่นคือ “ไขมันพอกตับ” ซึ่งเจ้าไขมันพอกตับนี้เป็นภาวะเริ่มต้นที่อาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกได้หลายโรคเลยนะครับ มาดูกันดีกว่าว่า “ไขมันพอกตับ” เป็นภัยเงียบได้ยังไง
ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับตับกันก่อนนะครับ ตับเป็นอวัยวะสำคัญ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในร่างกาย ทำหน้าที่นำสารอาหารที่ย่อยแล้วจากทางเดินอาหาร มาปรับเปลี่ยน แล้วผลิตเป็นพลังงานที่เหมาะกับการใช้ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และยังทำหน้าที่ทำลายสารพิษต่างๆ ที่เป็นอันตรายออกจากเลือด รวมถึงกักเก็บพลังงานในรูปแบบของไขมันเพื่อใช้สร้างเป็นแหล่งพลังงาน แต่หากกินอาหารที่ให้พลังงานสูง หรือไขมันสูงมากจนเกินไป โดยไม่มีการใช้พลังงานออกไปอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับจำนวนมากกว่า 5-10% ของน้ำหนักตับ ถือว่าเริ่มมีภาวะไขมันพอกตับ ส่งผลให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบ เมื่อเป็นเรื้อรังจะมีการสร้างพังผืดมากขึ้น จนกลายเป็นโรคตับแข็ง และเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับได้อีกด้วย ดังนั้น ไขมันพอกตับ (Fatty liver) ก็คือ ภาวะที่มีไขมันสะสมในเซลล์ตับ ซึ่งการมีไขมันในตับมากเกินไปอาจกลายเป็นปัญหาสุขภาพได้ นั่นเองครับ
สาเหตุที่ทำให้ไขมันในตับสูง🍺
1. ภาวะไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) มีสาเหตุหลักจากการดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันในปริมาณมาก จนตับไม่สามารถทำงานได้ปกติและเกิดการสะสมของไขมันที่ตับในที่สุด
2. ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD)) หรือในปัจจุบันมีผู้พยายามเปลี่ยนชื่อเป็น Metabolic-associated Fatty Liver disease (MAFLD) เพื่อให้สอดคล้องกับกลไกการเกิดโรคมากขึ้น เกิดจากภาวะระบบการเผาผลาญผิดปกติ สัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) เช่น โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูลในปัจจุบัน พบว่า ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังและโรคตับแข็ง ที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ มีสาเหตุมาจากภาวะนี้ถึงหนึ่งในสามของผู้ป่วยทั้งหมด
อาการของไขมันพอกตับ🤦♀️
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไขมันพอกตับ มักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ส่วนใหญ่ทราบจากการตรวจสุขภาพ หรือตรวจคัดกรองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ เมื่อมีปริมาณไขมันสะสมในตับมากและเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง จนเริ่มเสียหน้าที่การทำงานของตับไป โดยอาการที่พบบ่อย มีดังนี้ครับ
· เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มึนงง
· ผิวและตาเหลือง
· ปัสสาวะสีเข้ม
· อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อย
· น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
· ขาบวม หรือมีน้ำในช่องท้อง
· ไม่สบายท้องหรือปวดท้องบริเวณด้านขวาบน
· ผิวหนังคัน ช้ำ หรือเลือดออกง่าย
โรคต่างๆ ที่มักพบร่วมกับภาวะไขมันพอกตับ😫
เนื่องจากภาวะไขมันพอกตับ มีสาเหตุจากการเผาผลาญพลังงานที่ไม่เหมาะสม มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเมตาบอลิซึม จึงมักพบร่วมกับโรคต่างๆ ดังนี้
· โรคเบาหวาน ทั้งชนิดที่ 2 และชนิดที่ 1
· โรคอ้วนลงพุง หรือผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
· โรคไขมันในเลือดสูง
· โรคความดันโลหิตสูง
· โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
· ผลข้างเคียงการใช้ยาบางชนิด
การวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับ🩺
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะไขมันพอกตับ หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงประวัติครอบครัว ประวัติการใช้ยา การดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ดังนี้
· เจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่การทำงานของตับ เช่น ระดับบิลิรูบิน ระดับเอนไซม์ AST, ALT ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือด
· วินิจฉัยแยกโรคไวรัสตับอักเสบ โดยการเจาะเลือดตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซีเรื้อรัง
· การตรวจอัลตร้าซาวด์ตับ เป็นวิธีที่สะดวก ไม่เจ็บ โดยภาพรังสีจะเห็นสีของเนื้อตับขาวกว่าปกติจากการที่มีไขมันมาพอกจับ โดยจะพบลักษณะดังกล่าว เมื่อมีไขมันสะสมในตับ มากกว่า 30% ขึ้นไป
· การตรวจวัดความยืดหยุ่นของตับ (Liver stiffness) ด้วยวิธีตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan®) เป็นการตรวจที่ง่าย ได้ผลเร็ว ไม่เจ็บ สามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของตับ ความเสี่ยงในการเป็นโรคตับแข็ง และประเมินปริมาณไขมันสะสมในเนื้อตับ ช่วยทดแทนการเจาะชิ้นเนื้อตับได้ดี
· เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan) สามารถตรวจพบไขมันสะสมในตับได้ ตั้งแต่ 5-10% แต่ส่วนมากใช้เมื่อสงสัยว่าจะมีก้อนผิดปกติในตับมากกว่า
แนวทางการรักษาภาวะไขมันพอกตับ💊
ปัจจุบันยังไม่มียาสำหรับรักษาภาวะไขมันพอกตับโดยตรงนะครับ การรักษาภาวะไขมันพอกตับเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และดูแลสุขภาพในองค์รวม
· หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ลดอาหารจำพวกแป้ง และคาร์โบไฮเดรท เพิ่มโปรตีนที่มีคุณภาพ และผักต่างๆ ให้มากขึ้น
· ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยครั้งละ 45 นาทีขึ้นไป 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
· ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยคำนวณจากดัชนีมวลกาย (Body Mass Index (BMI)
· ลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณแอลกอฮอล์ที่พอรับได้ สำหรับผู้ชาย คือไม่เกิน 2-3 แก้ว/วัน และ 1-2 แก้วต่อวัน สำหรับผู้หญิง
· ใช้ยาเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการกินยาสมุนไพร หรือยาที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
· ลดหรือเลิกสูบบุหรี่
นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมต่างๆ ควรได้รับการควบคุมที่เหมาะสม เช่น รักษาโรคเบาหวาน ให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ดี รักษาโรคไขมันในเลือดสูง โดยสามารถใช้ยาลดไขมันในกลุ่ม Statin ด้วยความระมัดระวัง ในบางกรณี อาจพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม Antioxidant เพื่อช่วยลดการอักเสบของตับ
การป้องกันภาวะไขมันพอกตับ🏃
ไขมันพอกตับเป็นภาวะที่สามารถป้องกันเบื้องต้นได้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีการดูแลสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรพบคุณหมอตามนัด รับประทานยาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหลายชนิดสามารถทำลายตับได้เช่นกัน คุณหมออาจแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี ในผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนะครับ
ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับจำนวนมากมักไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าตับจะถูกทำลายอย่างรุนแรง เช่น เมื่อมีภาวะตับแข็งในระยะแรก จะเริ่มแสดงอาการ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ขาบวม ตัวตาเหลือง หรือจุกแน่นบริเวณท้องด้านขวาบน ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป และควรปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน รับประทานอาหารให้เหมาะสม ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนัก ทั้งนี้เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไขมันพอกตับแล้ว ควรติดตามดูแลรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังการดำเนินของโรค และติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากเราละเลยปัญหาเล็กๆ อาจนำไปสู่ภาวะตับแข็ง รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับได้นะครับ อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองและคนรอบข้างด้วยนะครับ พี่หมอเป็นห่วง 😊
ไขมันพอกตับ ภัยเงียบที่อาจไม่รู้ตัว
สาเหตุที่ทำให้ไขมันในตับสูง🍺
1. ภาวะไขมันพอกตับจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol-related Fatty Liver Disease) มีสาเหตุหลักจากการดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันในปริมาณมาก จนตับไม่สามารถทำงานได้ปกติและเกิดการสะสมของไขมันที่ตับในที่สุด
2. ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ (Non-alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD)) หรือในปัจจุบันมีผู้พยายามเปลี่ยนชื่อเป็น Metabolic-associated Fatty Liver disease (MAFLD) เพื่อให้สอดคล้องกับกลไกการเกิดโรคมากขึ้น เกิดจากภาวะระบบการเผาผลาญผิดปกติ สัมพันธ์กับภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin resistance) เช่น โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูลในปัจจุบัน พบว่า ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังและโรคตับแข็ง ที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ มีสาเหตุมาจากภาวะนี้ถึงหนึ่งในสามของผู้ป่วยทั้งหมด
อาการของไขมันพอกตับ🤦♀️
ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไขมันพอกตับ มักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ส่วนใหญ่ทราบจากการตรวจสุขภาพ หรือตรวจคัดกรองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ เมื่อมีปริมาณไขมันสะสมในตับมากและเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง จนเริ่มเสียหน้าที่การทำงานของตับไป โดยอาการที่พบบ่อย มีดังนี้ครับ
· เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มึนงง
· ผิวและตาเหลือง
· ปัสสาวะสีเข้ม
· อ่อนเพลีย ไม่มีแรง รู้สึกเหนื่อย
· น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
· ขาบวม หรือมีน้ำในช่องท้อง
· ไม่สบายท้องหรือปวดท้องบริเวณด้านขวาบน
· ผิวหนังคัน ช้ำ หรือเลือดออกง่าย
โรคต่างๆ ที่มักพบร่วมกับภาวะไขมันพอกตับ😫
เนื่องจากภาวะไขมันพอกตับ มีสาเหตุจากการเผาผลาญพลังงานที่ไม่เหมาะสม มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบเมตาบอลิซึม จึงมักพบร่วมกับโรคต่างๆ ดังนี้
· โรคเบาหวาน ทั้งชนิดที่ 2 และชนิดที่ 1
· โรคอ้วนลงพุง หรือผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
· โรคไขมันในเลือดสูง
· โรคความดันโลหิตสูง
· โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
· ผลข้างเคียงการใช้ยาบางชนิด
การวินิจฉัยภาวะไขมันพอกตับ🩺
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะไขมันพอกตับ หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงประวัติครอบครัว ประวัติการใช้ยา การดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้อาจส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ดังนี้
· เจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่การทำงานของตับ เช่น ระดับบิลิรูบิน ระดับเอนไซม์ AST, ALT ระดับโปรตีนอัลบูมินในเลือด
· วินิจฉัยแยกโรคไวรัสตับอักเสบ โดยการเจาะเลือดตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซีเรื้อรัง
· การตรวจอัลตร้าซาวด์ตับ เป็นวิธีที่สะดวก ไม่เจ็บ โดยภาพรังสีจะเห็นสีของเนื้อตับขาวกว่าปกติจากการที่มีไขมันมาพอกจับ โดยจะพบลักษณะดังกล่าว เมื่อมีไขมันสะสมในตับ มากกว่า 30% ขึ้นไป
· การตรวจวัดความยืดหยุ่นของตับ (Liver stiffness) ด้วยวิธีตรวจไฟโบรสแกน (FibroScan®) เป็นการตรวจที่ง่าย ได้ผลเร็ว ไม่เจ็บ สามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของตับ ความเสี่ยงในการเป็นโรคตับแข็ง และประเมินปริมาณไขมันสะสมในเนื้อตับ ช่วยทดแทนการเจาะชิ้นเนื้อตับได้ดี
· เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI scan) สามารถตรวจพบไขมันสะสมในตับได้ ตั้งแต่ 5-10% แต่ส่วนมากใช้เมื่อสงสัยว่าจะมีก้อนผิดปกติในตับมากกว่า
แนวทางการรักษาภาวะไขมันพอกตับ💊
ปัจจุบันยังไม่มียาสำหรับรักษาภาวะไขมันพอกตับโดยตรงนะครับ การรักษาภาวะไขมันพอกตับเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และดูแลสุขภาพในองค์รวม
· หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง ลดอาหารจำพวกแป้ง และคาร์โบไฮเดรท เพิ่มโปรตีนที่มีคุณภาพ และผักต่างๆ ให้มากขึ้น
· ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยครั้งละ 45 นาทีขึ้นไป 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์
· ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยคำนวณจากดัชนีมวลกาย (Body Mass Index (BMI)
· ลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณแอลกอฮอล์ที่พอรับได้ สำหรับผู้ชาย คือไม่เกิน 2-3 แก้ว/วัน และ 1-2 แก้วต่อวัน สำหรับผู้หญิง
· ใช้ยาเท่าที่จำเป็น หลีกเลี่ยงการกินยาสมุนไพร หรือยาที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
· ลดหรือเลิกสูบบุหรี่
นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมต่างๆ ควรได้รับการควบคุมที่เหมาะสม เช่น รักษาโรคเบาหวาน ให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ดี รักษาโรคไขมันในเลือดสูง โดยสามารถใช้ยาลดไขมันในกลุ่ม Statin ด้วยความระมัดระวัง ในบางกรณี อาจพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม Antioxidant เพื่อช่วยลดการอักเสบของตับ
การป้องกันภาวะไขมันพอกตับ🏃
ไขมันพอกตับเป็นภาวะที่สามารถป้องกันเบื้องต้นได้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และมีการดูแลสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกาย สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรพบคุณหมอตามนัด รับประทานยาและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ นอกจากนี้การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหลายชนิดสามารถทำลายตับได้เช่นกัน คุณหมออาจแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี ในผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคนะครับ
ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับจำนวนมากมักไม่แสดงอาการใดๆ จนกว่าตับจะถูกทำลายอย่างรุนแรง เช่น เมื่อมีภาวะตับแข็งในระยะแรก จะเริ่มแสดงอาการ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ขาบวม ตัวตาเหลือง หรือจุกแน่นบริเวณท้องด้านขวาบน ควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป และควรปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน รับประทานอาหารให้เหมาะสม ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และควบคุมน้ำหนัก ทั้งนี้เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะไขมันพอกตับแล้ว ควรติดตามดูแลรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังการดำเนินของโรค และติดตามภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากเราละเลยปัญหาเล็กๆ อาจนำไปสู่ภาวะตับแข็ง รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับได้นะครับ อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองและคนรอบข้างด้วยนะครับ พี่หมอเป็นห่วง 😊