โรคไขมันพอกตับ (fatty liver disease) กลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับ และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้ผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติเล็กน้อย มักไม่แสดงอาการ พบได้บ่อยเมื่อตรวจสุขภาพ แต่ถ้าไม่รับการดูแลและเฝ้าระวัง อาจทำให้ก็ภาวะแทรกซ้อน และโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในอนาคต
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี
กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ
ตับทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงาน การรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้เกิดไขมันก่อตัวขึ้นในตับ เมื่อตับไม่ได้นำไขมันไปใช้หรือไม่ย่อยสลายไขมันตามที่ควรจะเป็นก็จะเกิดไขมันสะสมขึ้นที่ตับ
โรคที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิด โรคไขมันเกาะตับได้ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ
โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย
น้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 23-25) ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 แปลว่าอ้วน
เบาหวาน
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
รับประทานอาหารที่ ไขมัน และพลังงานสูง
รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป
พฤติกรรมเสี่ยง : ออกกำลังกายน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
อาการและอาการแสดง
โดยทั่วไปโรคไขมันพอกตับไม่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย หรือหากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา โดยส่วนใหญ่การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ
ไขมันพอกตับ” แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
- ระยะแรก...เป็นช่วงที่ไขมันมีการสะสมในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบเกิดขึ้นภายในตับ
- ระยะที่สอง...เมื่อมีการสะสมต่อเนื่อง ตับจึงเริ่มเข้าสู่ภาวะของการอักเสบ...และหากปล่อยไปเรื่อยๆ อาจกลายเป็น “ตับอักเสบเรื้อรัง”
- ระยะที่สาม...หลังเกิดภาวะการอักเสบรุนแรงหรือเกิดพังผืดสะสม เซลล์ตับจะค่อยๆ ถูกทำลาย
- ระยะที่สี่...เมื่อเซลล์ตับถูกทำลาย ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้...และเกิดเป็น “ภาวะตับแข็ง” หรือ “โรคมะเร็งตับ” ในที่สุด!!
แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ
ถ้ามีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ควรลดน้ำหนัก โดยให้น้ำหนักตัวลดลงจากเดิมร้อยละ 7-10
ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 200-250 นาทีสัปดาห์ ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง ปั่นจักรยาน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
ควรควบคุมโรคให้ดี ถ้ามีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย พบแพทย์ตามนัด สม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ พบแพทย์เป็นประจำตามแพทย์นัดเมื่อต้องตรวจติดตามโรค
#โรคอ้วน #Obesity
#ไขมันพอกตับ
#fattyliver
#หมอกัลแบ่งปันสุขภาพดี
ไขมันเกาะตับ ภัยร้ายใกล้ตัว
โรคไขมันพอกตับ (fatty liver disease) กลุ่มของโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันในตับ และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้ผลการตรวจการทำงานของตับผิดปกติเล็กน้อย มักไม่แสดงอาการ พบได้บ่อยเมื่อตรวจสุขภาพ แต่ถ้าไม่รับการดูแลและเฝ้าระวัง อาจทำให้ก็ภาวะแทรกซ้อน และโรคตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในอนาคต
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับ
สาเหตุของโรคไขมันพอกตับสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (alcoholic fatty liver disease) ความรุนแรงของโรคจะขึ้นกับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (non-alcoholic fatty liver disease) โดยมีผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไวรัสตับอักเสบซี
กลไกการเกิดโรคไขมันพอกตับ
ตับทำหน้าที่เก็บสะสมพลังงาน การรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้เกิดไขมันก่อตัวขึ้นในตับ เมื่อตับไม่ได้นำไขมันไปใช้หรือไม่ย่อยสลายไขมันตามที่ควรจะเป็นก็จะเกิดไขมันสะสมขึ้นที่ตับ
โรคที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิด โรคไขมันเกาะตับได้ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง รวมถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป
ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับ
โรคอ้วน ประมาณร้อยละ 20 ของคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีโรคไขมันพอกตับอยู่ด้วย
น้ำหนักตัวมากเกิน (ดัชนีมวลกายหรือ BMI 23-25) ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 แปลว่าอ้วน
เบาหวาน
ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มาก
รับประทานอาหารที่ ไขมัน และพลังงานสูง
รับประทานอาหารที่มีรสหวานมากเกินไป
พฤติกรรมเสี่ยง : ออกกำลังกายน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
อาการและอาการแสดง
โดยทั่วไปโรคไขมันพอกตับไม่ทำให้เกิดอาการทางร่างกาย หรือหากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา โดยส่วนใหญ่การตรวจพบโรคไขมันพอกตับจึงมักพบเมื่อผู้ป่วยเข้ารับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจทางการแพทย์ด้วยเหตุผลอื่นๆ
ไขมันพอกตับ” แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
- ระยะแรก...เป็นช่วงที่ไขมันมีการสะสมในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบเกิดขึ้นภายในตับ
- ระยะที่สอง...เมื่อมีการสะสมต่อเนื่อง ตับจึงเริ่มเข้าสู่ภาวะของการอักเสบ...และหากปล่อยไปเรื่อยๆ อาจกลายเป็น “ตับอักเสบเรื้อรัง”
- ระยะที่สาม...หลังเกิดภาวะการอักเสบรุนแรงหรือเกิดพังผืดสะสม เซลล์ตับจะค่อยๆ ถูกทำลาย
- ระยะที่สี่...เมื่อเซลล์ตับถูกทำลาย ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้...และเกิดเป็น “ภาวะตับแข็ง” หรือ “โรคมะเร็งตับ” ในที่สุด!!
แนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากโรคไขมันพอกตับ
ถ้ามีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ควรลดน้ำหนัก โดยให้น้ำหนักตัวลดลงจากเดิมร้อยละ 7-10
ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 200-250 นาทีสัปดาห์ ควรออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็วครึ่งชั่วโมง ปั่นจักรยาน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
ควรควบคุมโรคให้ดี ถ้ามีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย พบแพทย์ตามนัด สม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ตรวจสุขภาพเป็นประจำ พบแพทย์เป็นประจำตามแพทย์นัดเมื่อต้องตรวจติดตามโรค
#โรคอ้วน #Obesity
#ไขมันพอกตับ
#fattyliver
#หมอกัลแบ่งปันสุขภาพดี