ตับ เป็นอวัยวะสำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาอวัยวะภายใน อยู่ใต้ชายโครงขวา
หน้าที่หลักๆ การสร้างน้ำดีเพื่อการช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และทำลายสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย
ช่วยกรองของเสียให้เป็นของดีเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ เมื่อใดก็ตามที่ตับเกิดโรคหรือมีปัญหา
มีไขมันพอกตับ ติดเชื้อไว้รัสตับอักเสบ ตับแข็ง ร่างกายส่วนอื่นๆ ก็จะแย่ไปด้วยทั้งระบบ
โรคที่เกิดขึ้นกับตับที่พบบ่อย โรค “ตับอักเสบ” สาเหตุหลักๆ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และโรค “ตับแข็ง”
เกิดจากการมี
“ไขมันพอกตับ” ทำให้เกิดเนื้อเยื่อแข็งมาสะสมแทนที่เซลล์ตับที่เสียไป หรือเกิดจากภาวะพิษสุราเรื้อรัง
เชื้อไวรัส และการได้รับสารพิษต่างๆ สะสมในร่างกาย ผู้ป่วยโรคตับมักจะไม่มีอาการที่ชัดเจนจึงไม่ค่อยรู้ตัวว่ากำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือเกิดโรคแล้ว
คนไข้ที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพตับเป็นประจำจึงมักเข้ามาพบแพทย์เมื่อมีอาการลุกลามหรือเป็นหนักมากแล้ว
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ สังเกตอาการ...ไขมันพอกตับ
ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) ภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ Triglyceride ในเซลล์ตับ
มีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากเกินความต้องการจนตับนำไปสร้างเป็นไขมัน
ในคนปกติระดับน้ำตาลจะถูกควบคุมโดยอินซูลิน ซึ่งผลิตมาจากตับอ่อน
เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น โดยอินซูลินจะออกฤทธิ์ที่ตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมันเพื่อให้ใช้น้ำตาล
ในภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ จากพฤติกรรม การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันมากเกินไป
จะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
เมื่อภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ตับมีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยส่วนใหญ่โรคไขมันพอกตับจะไม่ค่อยแสดงอาการ
หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกปวดหน่วงบริเวณใต้ชายโครงขวา
ซึ่งหากแพทย์สงสัยจะมีการส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
ไขมันพอกตับ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอ้วนเท่านั้น
โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น แต่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงคือคนที่อ้วนลงพุง
น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ผู้ตรวจพบโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง
ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปถึง 60% การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี หรือการติดเชื้อเอชไอวี
การรับประทานอาหารพลังงานสูง ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
กลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีคอเรสเตอรอลในเลือดสูง ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
ผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)
ไขมันพอกตับมี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ ยังไม่มีอาการหรือการอักเสบเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ หากไม่มีการรักษาและปล่อยให้การอักเสบเกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้
ระยะที่ 3 การอักเสบรุนแรงต่อเนื่องจนเกิดพังผืด (fibrosis) สะสมในตับ ระยะนี้เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลงและกลายเป็นพังผืด
ระยะที่ 4 เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เกิดภาวะตับแข็งและอาจนำมาสู่มะเร็งตับได้
รู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังมีไขมันพอกตับ
เจาะเลือดดูการทำงานของตับ ว่ามีค่าการอักเสบ สูงกว่าปกติหรือไม่
ในคนที่มีภาวะไขมันพอกตับอาจพบระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติร่วมด้วย
การตรวจอัลตราซาวนด์บริเวณช่องท้องจะพบว่าตับอาจมีขนาดโตขึ้นและมีลักษณะขาวขึ้นเมื่อเทียบกับไตและม้าม
การตรวจวัดไขมันพอกตับจากการ Scan
เป็นการตรวจความยืดหยุ่นพร้อมกับประเมินไขมันสะสมภายในเนื้อตับเพื่อสำรวจความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการมีไขมันไปพอก
ป้องกันภาวะไขมันพอกตับ
ลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
เช่น นม เนย ไอศกรีม เค้ก ชีส กะทิ อาหารทะเล ไข่แดง
และเนื่องจาก Triglyceride เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไปด้วยเช่นกัน
เพิ่มผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชที่มีเมล็ด เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ด ฟักทอง งา
นอกจากนี้การรับประทานผักบางชนิดยังสามารถช่วยเร่งกระบวนการกำจัดพิษออกจากตับ
ได้ เช่น ผักตระกูลบรอกโคลี กะหล่ำ กระเทียม และหัวหอม
แนะนำให้รับประทานเนื้อที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา เน้นทานไขมันที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด น้ำมันปลาโอเมก้า3
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดทำหน้าที่ช่วยขับสารพิษออกจากตับได้
เช่น Milk Thistle, Alpha Lipoic Acid (ALA), N-Acetyl-l-Cysteine (NAC)/NAC เป็นสารตั้งต้นของ Glutathione
ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับพิษออกจากตับ
นอกจากนี้ Vitamin B และแมกนีเซียม (Magnesium) ยังมีคุณสมบัติในการช่วยเยียวยาและกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ตับที่เสียหายอีกด้วย
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=BG2di7uL9Dg
สังเกตอาการ..ไขมันพอกตับ
หน้าที่หลักๆ การสร้างน้ำดีเพื่อการช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และทำลายสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย
ช่วยกรองของเสียให้เป็นของดีเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ เมื่อใดก็ตามที่ตับเกิดโรคหรือมีปัญหา
มีไขมันพอกตับ ติดเชื้อไว้รัสตับอักเสบ ตับแข็ง ร่างกายส่วนอื่นๆ ก็จะแย่ไปด้วยทั้งระบบ
โรคที่เกิดขึ้นกับตับที่พบบ่อย โรค “ตับอักเสบ” สาเหตุหลักๆ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส และโรค “ตับแข็ง”
เกิดจากการมี “ไขมันพอกตับ” ทำให้เกิดเนื้อเยื่อแข็งมาสะสมแทนที่เซลล์ตับที่เสียไป หรือเกิดจากภาวะพิษสุราเรื้อรัง
เชื้อไวรัส และการได้รับสารพิษต่างๆ สะสมในร่างกาย ผู้ป่วยโรคตับมักจะไม่มีอาการที่ชัดเจนจึงไม่ค่อยรู้ตัวว่ากำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือเกิดโรคแล้ว
คนไข้ที่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพตับเป็นประจำจึงมักเข้ามาพบแพทย์เมื่อมีอาการลุกลามหรือเป็นหนักมากแล้ว
วันนี้พี่หมอฝั่งธน...จะมาให้ความรู้ สังเกตอาการ...ไขมันพอกตับ
ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) ภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ Triglyceride ในเซลล์ตับ
มีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากเกินความต้องการจนตับนำไปสร้างเป็นไขมัน
ในคนปกติระดับน้ำตาลจะถูกควบคุมโดยอินซูลิน ซึ่งผลิตมาจากตับอ่อน
เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น โดยอินซูลินจะออกฤทธิ์ที่ตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมันเพื่อให้ใช้น้ำตาล
ในภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ จากพฤติกรรม การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันมากเกินไป
จะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
เมื่อภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ตับมีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
โดยส่วนใหญ่โรคไขมันพอกตับจะไม่ค่อยแสดงอาการ
หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกปวดหน่วงบริเวณใต้ชายโครงขวา
ซึ่งหากแพทย์สงสัยจะมีการส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
ไขมันพอกตับ เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นคนอ้วนเท่านั้น
โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น แต่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงคือคนที่อ้วนลงพุง
น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ผู้ตรวจพบโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง
ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปถึง 60% การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี หรือการติดเชื้อเอชไอวี
การรับประทานอาหารพลังงานสูง ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
กลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีคอเรสเตอรอลในเลือดสูง ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
ผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)
ไขมันพอกตับมี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ ยังไม่มีอาการหรือการอักเสบเกิดขึ้นในตับ
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ หากไม่มีการรักษาและปล่อยให้การอักเสบเกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้
ระยะที่ 3 การอักเสบรุนแรงต่อเนื่องจนเกิดพังผืด (fibrosis) สะสมในตับ ระยะนี้เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลงและกลายเป็นพังผืด
ระยะที่ 4 เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เกิดภาวะตับแข็งและอาจนำมาสู่มะเร็งตับได้
รู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังมีไขมันพอกตับ
เจาะเลือดดูการทำงานของตับ ว่ามีค่าการอักเสบ สูงกว่าปกติหรือไม่
ในคนที่มีภาวะไขมันพอกตับอาจพบระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติร่วมด้วย
การตรวจอัลตราซาวนด์บริเวณช่องท้องจะพบว่าตับอาจมีขนาดโตขึ้นและมีลักษณะขาวขึ้นเมื่อเทียบกับไตและม้าม
การตรวจวัดไขมันพอกตับจากการ Scan
เป็นการตรวจความยืดหยุ่นพร้อมกับประเมินไขมันสะสมภายในเนื้อตับเพื่อสำรวจความเสียหายของเนื้อเยื่อจากการมีไขมันไปพอก
ป้องกันภาวะไขมันพอกตับ
ลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
เช่น นม เนย ไอศกรีม เค้ก ชีส กะทิ อาหารทะเล ไข่แดง
และเนื่องจาก Triglyceride เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไปด้วยเช่นกัน
เพิ่มผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชที่มีเมล็ด เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ด ฟักทอง งา
นอกจากนี้การรับประทานผักบางชนิดยังสามารถช่วยเร่งกระบวนการกำจัดพิษออกจากตับ
ได้ เช่น ผักตระกูลบรอกโคลี กะหล่ำ กระเทียม และหัวหอม
แนะนำให้รับประทานเนื้อที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา เน้นทานไขมันที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด น้ำมันปลาโอเมก้า3
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดทำหน้าที่ช่วยขับสารพิษออกจากตับได้
เช่น Milk Thistle, Alpha Lipoic Acid (ALA), N-Acetyl-l-Cysteine (NAC)/NAC เป็นสารตั้งต้นของ Glutathione
ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับพิษออกจากตับ
นอกจากนี้ Vitamin B และแมกนีเซียม (Magnesium) ยังมีคุณสมบัติในการช่วยเยียวยาและกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ตับที่เสียหายอีกด้วย
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ความรู้เพิ่มเติม
https://www.youtube.com/watch?v=BG2di7uL9Dg