“ไขมันพอกตับ” หนึ่งในโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่สนใจเรื่องโภชนาการ และตามใจปาก กินแต่อาหารที่อุดมไปด้วยแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป จนร่างกายไม่สามารถใช้พลังงานดังกล่าวได้ และสะสมอยู่ในตับ ทำให้ตับทำงานผิดปกติ อาจจะนำไปสู่ภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับได้
🙋♀️ไขมันพอกตับคืออะไร ?
ภาวะที่ตับมีไขมันแทรกหรือสะสมเกินกว่า 5% ของน้ำหนักตับ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและคนที่น้ำหนักปกติ โดยส่วนใหญ่ไขมันที่สะสมจะเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันไม่ดี ทำให้เสี่ยงต่อโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา
ไขมันพอกตับมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการกินอาหาร แบ่งเป็นสาเหตุหลัก ดังนี้
🚫การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือ Alcoholic Fatty Liver Disease เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นประจำ ทำให้เกิดภาวะไขมันสะสมที่ตับ และนำไปสู่โรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้
🚫การบริโภคอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลมากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่มีระดับความหวาน 100% ขนมหวาน ขนมปัง เค้ก อาหารทอด หมูสามชั้น
🚫ผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs สเตียรอยด์ ยาต้านฮอร์โมน หรือยาอื่น ๆ
⚠️ใครคือกลุ่มเสี่ยง ?
ไขมันพอกตับ ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นเด่นชัด จนกว่าตับจะเกิดภาวะอักเสบ หรือมีภาวะของตับแข็ง แต่หากว่าใครอยู่ในกลุ่มเสี่ยง แนะนำให้ตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ โดยมีกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
❌ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือกลุ่มอ้วนลงพุง โดยผู้ชายจะมีรอบเอวเกิน 100 เซนติเมตร และผู้หญิงจะเกิน 90 เซนติเมตร
❌ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงเกินกว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
❌ผู้ที่มีภาวะโรคความดันสูง เกินกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท
❌ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
❌ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
❌ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
💪การดูแล ป้องกัน และรักษา
ไขมันพอกตับ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการกินอาหาร ซึ่งหากตรวจพบว่ามีภาวะดังกล่าว แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้
🤩หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
🤩ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 วัน วันละ 30 นาที
🤩ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
🤩งดอาหารที่มีปริมาณแป้ง น้ำตาล และไขมันในระดับที่สูง แนะนำให้กินผักและผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ
🤩
ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจเลือดหาความผิดปกติ ทั้งค่าการทำงานของตับ ไขมันในเลือด และน้ำตาลในเลือด
✨การตรวจภาวะไขมันพอกตับ✨
หากพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ ควรปรึกษาแพทย์โรคระบบทางเดินอาหาร เพื่อเข้ารับการตรวจ โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ตรวจด้วยเครื่อง
Liver Fibrosis Scan เป็นการตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับ และตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ รวมถึงติดตามการดำเนินโรค และประเมินความรุนแรงของภาวะตับแข็ง การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่ต้องเจาะชิ้นเนื้อ ไม่ต้องเจ็บตัว ใช้เวลาไม่เกิน 5-10 นาที ที่สำคัญคือ ทราบผลหลังตรวจทันที
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้✅ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร 02-734-0000 ต่อ 2960
"ระวัง! ผอมแค่ไหนก็เสี่ยง 'ไขมันพอกตับ' หากกินตามใจปากมากเกินไป"
“ไขมันพอกตับ” หนึ่งในโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่สนใจเรื่องโภชนาการ และตามใจปาก กินแต่อาหารที่อุดมไปด้วยแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป จนร่างกายไม่สามารถใช้พลังงานดังกล่าวได้ และสะสมอยู่ในตับ ทำให้ตับทำงานผิดปกติ อาจจะนำไปสู่ภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับได้
🙋♀️ไขมันพอกตับคืออะไร ?
ภาวะที่ตับมีไขมันแทรกหรือสะสมเกินกว่า 5% ของน้ำหนักตับ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและคนที่น้ำหนักปกติ โดยส่วนใหญ่ไขมันที่สะสมจะเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันไม่ดี ทำให้เสี่ยงต่อโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา
ไขมันพอกตับมีสาเหตุหลัก ๆ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการกินอาหาร แบ่งเป็นสาเหตุหลัก ดังนี้
🚫การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือ Alcoholic Fatty Liver Disease เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเป็นประจำ ทำให้เกิดภาวะไขมันสะสมที่ตับ และนำไปสู่โรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้
🚫การบริโภคอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลมากจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่มีระดับความหวาน 100% ขนมหวาน ขนมปัง เค้ก อาหารทอด หมูสามชั้น
🚫ผลข้างเคียงจากการกินยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs สเตียรอยด์ ยาต้านฮอร์โมน หรือยาอื่น ๆ
💪การดูแล ป้องกัน และรักษา
ไขมันพอกตับ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการกินอาหาร ซึ่งหากตรวจพบว่ามีภาวะดังกล่าว แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้
🤩หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
🤩ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 วัน วันละ 30 นาที
🤩ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
🤩งดอาหารที่มีปริมาณแป้ง น้ำตาล และไขมันในระดับที่สูง แนะนำให้กินผักและผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ
🤩ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจเลือดหาความผิดปกติ ทั้งค่าการทำงานของตับ ไขมันในเลือด และน้ำตาลในเลือด
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้