'เอไอเอส' ทุ่ม 8พันล้านแจกเครื่อง - ซิมช่วย2จี
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559
ความคืบหน้ากรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 คุ้มครองการใช้งานลูกค้าในระบบ 2จี ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่ค้างการใช้งานอยู่บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ หลังหมดสัญญาสัมปทานจนถึงวันที่ 30 มิถุนายนระหว่างรอให้ผู้ชนะการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์รายใหม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งการประมูลจะมีขึ้นวันที่ 27 พฤษภาคมนั้น
เมื่อวันที่ 13 เมษายน นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เอไอเอสดูแลลูกค้าที่ค้างการใช้งานอยู่บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ มาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2558 หลังเอไอเอสไม่ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ อาทิ การแจกซิมการ์ด พร้อมเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับระบบ 3จี และ 4จี ให้ลูกค้า 2จี สามารถโอนย้ายไปยังระบบ 3จี หรือ 4จี แต่หลังจากมีการขยายถึงวันที่ 30 มิถุนายน จากนี้เอไอเอสจะเดินหน้าดำเนินการดังกล่าวต่อไปดังเดิม แม้ คสช.ให้การคุ้มครองแล้วก็ตาม ภายใต้งบประมาณรวม 8,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันได้ใช้งบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 2,500 ล้านบาท
"ปัจจุบันลูกค้า 2จี ของเอไอเอสที่ค้างการใช้งานอยู่บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ มีเหลือราว 250,000 เลขหมาย และลูกค้า 2จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ แต่ยังมีการเชื่อมโยงข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) เพื่อใช้งานโครงข่ายระบบ 2จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ อีกราว 7 ล้านเลขหมาย โดยลูกค้าที่ยังใช้งาน 2จี อยู่ทั้งหมดทางเอไอเอสได้มีการโทรไปสอบถามพร้อมเชิญชวนให้มีการย้ายระบบ พบว่ามีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถติดต่อได้" นายปรัธนากล่าว
ขู่ฟ้องค่ายคู่แข่ง-โจมตีซิมดับ
นายปรัธนากล่าวว่า สำหรับผู้ประกอบการรายอื่นที่มีการออกสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยแจ้งว่าคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ จะเกิดเหตุการณ์ซิมดับ แต่หากไม่อยาก ซิมดับให้ย้ายค่ายไปใช้บริการบนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ของผู้ออกสื่อโฆษณา กรณีนี้ไม่มีการเอ่ยชื่อแบบชัดๆ แต่ทางเอไอเอสมีแนวทางชัดเจนว่าจะไม่ไปโต้แย้ง เพราะเอไอเอสเห็นว่าการประชาสัมพันธ์ที่ดีควรให้ลูกค้ามีสิทธิเลือกใช้งานที่ดีตามการตัดสินใจ ของลูกค้าเองมากกว่าการโจมตีคู่แข่ง แต่หากจากนี้ยังพบสื่อโฆษณามีการเน้นโจมตี เอไอเอสที่เป็นการเอ่ยชื่อชัดๆ ว่าคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ซิมดับ ทางเอไอเอส อาจพิจารณาฟ้องร้องในอนาคต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดบริษัทที่เผยแพร่สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้ที่ใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ย้ายค่ายมาใช้บริการของบริษัทดังกล่าว ได้เริ่มนำสื่อประชาสัมพันธ์ออกจากเว็บไซต์ หรือยูทูบ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ศูนย์วิจัยชี้ประมูลทางออกดีที่สุด
นายสืบศักดิ์ สืบภักดี อาจารย์และนักวิจัย ด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า จากการจัดประมูล 4จีบนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ รอบใหม่ ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ นั้นส่วนตัวยังเห็นด้วยกับรัฐบาลและ คสช. ที่ให้จัดสรรใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูลมากกว่าการให้เอไอเอส รับใบอนุญาตไปทันทีในราคา 75,654 ล้านบาท เนื่องจากการประมูลถือเป็นวิธีการที่โปร่งใสที่สุดในการจัดสรรใบอนุญาต ในขณะที่หากไม่จัดสรรใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล แม้เป็นการดำเนินการภายใต้ มาตรา 44 ก็อาจเกิดปัญหาตามมาในภายภาคหน้าได้
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 6)
ข่าวอื่นเพิมเติม
'ดีแทค' เขย่าองค์กรอีกรอบปิดแจ๋ว-ปรับแบรนด์ 'แฮปปี้'
http://ppantip.com/topic/35034522
"TOT" ฮุบ "บรอดแบนด์" 3 หมื่นหมู่บ้าน
http://ppantip.com/topic/35035038
เอไอเอสทุ่ม 8พันล. แจกเครื่อง-ซิม ขู่ฟ้องค่ายคู่แข่ง-โจมตีซิมดับ
'เอไอเอส' ทุ่ม 8พันล้านแจกเครื่อง - ซิมช่วย2จี
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559
ความคืบหน้ากรณีคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้มาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 คุ้มครองการใช้งานลูกค้าในระบบ 2จี ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่ค้างการใช้งานอยู่บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ หลังหมดสัญญาสัมปทานจนถึงวันที่ 30 มิถุนายนระหว่างรอให้ผู้ชนะการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์รายใหม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งการประมูลจะมีขึ้นวันที่ 27 พฤษภาคมนั้น
เมื่อวันที่ 13 เมษายน นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เอไอเอสดูแลลูกค้าที่ค้างการใช้งานอยู่บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ มาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2558 หลังเอไอเอสไม่ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ อาทิ การแจกซิมการ์ด พร้อมเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับระบบ 3จี และ 4จี ให้ลูกค้า 2จี สามารถโอนย้ายไปยังระบบ 3จี หรือ 4จี แต่หลังจากมีการขยายถึงวันที่ 30 มิถุนายน จากนี้เอไอเอสจะเดินหน้าดำเนินการดังกล่าวต่อไปดังเดิม แม้ คสช.ให้การคุ้มครองแล้วก็ตาม ภายใต้งบประมาณรวม 8,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันได้ใช้งบประมาณไปแล้วทั้งสิ้น 2,500 ล้านบาท
"ปัจจุบันลูกค้า 2จี ของเอไอเอสที่ค้างการใช้งานอยู่บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ มีเหลือราว 250,000 เลขหมาย และลูกค้า 2จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ แต่ยังมีการเชื่อมโยงข้ามโครงข่าย (โรมมิ่ง) เพื่อใช้งานโครงข่ายระบบ 2จี บนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ อีกราว 7 ล้านเลขหมาย โดยลูกค้าที่ยังใช้งาน 2จี อยู่ทั้งหมดทางเอไอเอสได้มีการโทรไปสอบถามพร้อมเชิญชวนให้มีการย้ายระบบ พบว่ามีอยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถติดต่อได้" นายปรัธนากล่าว
ขู่ฟ้องค่ายคู่แข่ง-โจมตีซิมดับ
นายปรัธนากล่าวว่า สำหรับผู้ประกอบการรายอื่นที่มีการออกสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยแจ้งว่าคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ จะเกิดเหตุการณ์ซิมดับ แต่หากไม่อยาก ซิมดับให้ย้ายค่ายไปใช้บริการบนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ของผู้ออกสื่อโฆษณา กรณีนี้ไม่มีการเอ่ยชื่อแบบชัดๆ แต่ทางเอไอเอสมีแนวทางชัดเจนว่าจะไม่ไปโต้แย้ง เพราะเอไอเอสเห็นว่าการประชาสัมพันธ์ที่ดีควรให้ลูกค้ามีสิทธิเลือกใช้งานที่ดีตามการตัดสินใจ ของลูกค้าเองมากกว่าการโจมตีคู่แข่ง แต่หากจากนี้ยังพบสื่อโฆษณามีการเน้นโจมตี เอไอเอสที่เป็นการเอ่ยชื่อชัดๆ ว่าคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ซิมดับ ทางเอไอเอส อาจพิจารณาฟ้องร้องในอนาคต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดบริษัทที่เผยแพร่สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ผู้ที่ใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ ย้ายค่ายมาใช้บริการของบริษัทดังกล่าว ได้เริ่มนำสื่อประชาสัมพันธ์ออกจากเว็บไซต์ หรือยูทูบ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ศูนย์วิจัยชี้ประมูลทางออกดีที่สุด
นายสืบศักดิ์ สืบภักดี อาจารย์และนักวิจัย ด้านโทรคมนาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า จากการจัดประมูล 4จีบนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ รอบใหม่ ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ นั้นส่วนตัวยังเห็นด้วยกับรัฐบาลและ คสช. ที่ให้จัดสรรใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูลมากกว่าการให้เอไอเอส รับใบอนุญาตไปทันทีในราคา 75,654 ล้านบาท เนื่องจากการประมูลถือเป็นวิธีการที่โปร่งใสที่สุดในการจัดสรรใบอนุญาต ในขณะที่หากไม่จัดสรรใบอนุญาตด้วยวิธีการประมูล แม้เป็นการดำเนินการภายใต้ มาตรา 44 ก็อาจเกิดปัญหาตามมาในภายภาคหน้าได้
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 6)
ข่าวอื่นเพิมเติม
'ดีแทค' เขย่าองค์กรอีกรอบปิดแจ๋ว-ปรับแบรนด์ 'แฮปปี้'
http://ppantip.com/topic/35034522
"TOT" ฮุบ "บรอดแบนด์" 3 หมื่นหมู่บ้าน
http://ppantip.com/topic/35035038