เอไอเอสยอมเซ้งต่อคลื่นแจส กสทช.จ่อชงใช้ ม.44 กู้หน้าไร้เงาผู้ประมูล
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559
“เอไอเอส” ยอมซื้อคลื่นแจสต่อราคา 75,654 ล้านบาท แต่ขอคุยผู้ถือหุ้นก่อน คาด 2 เดือนรู้ผล พร้อมยื่นเงื่อนไขขอใช้คลื่นต่อก่อนจ่ายเงิน ลุ้นบอร์ด กสทช.ชงใช้ ม.44 เรียกผู้เสนอราคาเป็นอันดับ 2 มาเจรจา หวั่นเมินร่วมประมูลคลื่น 900 ใหม่ จับตา “พิชญ์” โผล่หัวแก้ตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วันนี้ (5 เม.ย.) จะพิจารณาอนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ใหม่ เนื่องจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่มาชำระเงินค่าประมูล 75,654 ล้านบาท โดยร่างหลักเกณฑ์การประมูลใหม่มีรายละเอียดดังนี้ ราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลรายเดียวกัน ก็สามารถเปิดประมูลได้ แต่ผู้เข้าร่วมประมูลต้องเคาะราคายืนยันเพื่อเป็นผู้ชนะประมูล การกำหนดวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกวาง 5%หรือ 3,783 ล้านบาทของราคาเริ่มต้นการประมูล ส่วนที่เหลือ 15% วงเงิน 11,348 ล้านบาท จะต้องชดใช้ค่าเสียหายกรณีไม่มาชำระค่าประมูลตามกำหนด โดยจะนำไปเปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ในวันที่ 22 เม.ย.59 นี้
ทั้งนี้ การพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ จะพิจารณาควบคู่ไปกับข้อเสนอของหลายหน่วยงานที่ให้ กสทช.นำระเบียบพัสดุแห่งชาติมาใช้ ด้วยการเรียกผู้เสนอราคาเป็นอันดับ 2 มาเจรจา แต่ต้องทำเรื่องเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติ เนื่องจาก กสทช.ไม่มีอำนาจในการดำเนินการ ดังนั้นจึงต้องเสนอ คสช.ออกประกาศ ด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 นั้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะหากไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้าร่วมประมูล กสทช.จะต้องเก็บคลื่นดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ฉะนั้นควรนำคลื่นนั้นมาจัดสรรใหม่ หรือเรียกเอกชนที่เสนอราคาเป็นอันดับ 2 มาเจรจา โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้หารือกันเพื่อหาทางออกกรณีดังกล่าว เพราะไม่ต้องการให้ประเทศเสียประโยชน์ หากไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้าร่วมประมูลอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการ กสทช.ในนามตัวแทนบริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ในฐานะผู้เข้าร่วมประมูล 4 จี คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ระบุ ขอให้ กสทช.พิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ที่แจส โมบายประมูลได้แต่ไม่ได้มาชำระเงินให้แก่เอไอเอส (ในนามเอดับบลิวเอ็น) เนื่องจากหากนำคลื่นออกมาประมูลใหม่โดยใช้ราคาที่แจสโมบายประมูลได้ คาดว่าจะไม่มีผู้สนใจ
โดยเอไอเอสนั้น ยินดีที่จะรับช่วงคลื่นในราคาสุดท้ายที่แจสโมบายชนะประมูลที่ 75,654 ล้านบาท แม้ความจริงแล้วต้องการคลื่นในย่านที่บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล จำกัด ในเครือกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลได้ไปมากกว่า โดยยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขการประมูลของผู้ชนะทุกประการ ทั้งการชำระเงิน 4 งวด การวางหนังสือค้ำประกัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลัง กสทช.อนุมัติให้เอไอเอสรับช่วงคลื่นดังกล่าวได้แล้ว เอไอเอสจะต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาและขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจากนี้ เพื่อได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว จึงจะสามารถชำระเงินค่าประมูลได้ ซึ่งในระหว่างนี้เอไอเอสขอให้ กสทช.พิจารณาให้ความคุ้มครองหรือกำหนดมาตรการใดๆ ที่ให้ลูกค้า 2 จี บนคลื่น 900 เดิมซึ่งเป็นลูกค้าของเอไอเอส อันมีอยู่ 400,000 เลขหมาย และมีที่ใช้บริการโรมมิ่ง (ใช้เครือข่ายร่วม) อีกราว 7.8 ล้านเลขหมาย สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง โดย กสทช.ต้องมีมาตรการก่อนวันที่ 5 เม.ย. เพื่อเอไอเอสจะได้ไม่ต้องเริ่มโรมมิ่ง (ใช้เครือข่ายร่วม) กับบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค อันเป็น 1 ในแนวทางแก้ปัญหาไม่ให้ลูกค้าซิมดับ
นอกจากนั้น กสทช.ยังต้องกำหนดมาตรการหรือดำเนินการป้องกันปัญหาการรบกวนการใช้งานในคลื่นความถี่ที่เอไอเอสจะรับช่วงตลอดระยะเวลาใบอนุญาต เพื่อไม่ให้เอไอเอสต้องสูญเสียผลประโยชน์และได้รับผลกระทบจากการใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า คลื่นในช่วงของแจสโมบายนั้น ไม่ใช่คลื่นที่เอไอเอสแข่งประมูลราคาสุดท้าย เนื่องจากเป็นคลื่นที่ติดกับย่านของดีแทค เสี่ยงต่อการถูกรบกวน โดยเอไอเอสแข่งขันในคลื่นช่วงที่ทรูชนะประมูลไป
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ (5 เม.ย.) เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จะไปยื่นหนังสือถึง กสทช. เพื่อให้ กสทช.เร่งรัดการจัดสรรคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องเอาผิดแจส โมบาย กรณีประมูลในราคาสูงแล้วไม่มาชำระเงิน ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการทำงาน พิจารณาความรับผิดกรณีแจส โมบาย ไม่มาชำระเงินค่าประมูล โดยล่าสุดทางผู้บริหาร แจส โมบาย ได้แจ้งว่า นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แจส โมบาย จะมาชี้แจงคณะทำงานด้วยตัวเอง หลังจากที่ไม่เคยติดต่อ กสทช.ในกรณีไม่นำเงินประมูลมาชำระแต่อย่างใด.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 8)
ข่าวอื่นๆ
ประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งใหม่ ไม่ง่าย และอาจเสียหายร้ายแรง
http://ppantip.com/topic/34999184
"ทีโอที" โรมมิ่งเครือข่าย 3G คลื่น2100 กับ "เอไอเอส" ปิด 2G คลื่น 900 ทั้งหมดภายใน 14 เม.ย.นี้
http://ppantip.com/topic/34999135
ลุ้นทรูคว้าไลเซนส์คลื่น 900 อีกใบ 'ฐากร' เผยราคาลดเหลือ 7.3 หมื่นล้านน่าสน
http://ppantip.com/topic/34999506
'เอไอเอส' ยอมเซ้งต่อคลื่น 'แจส' 'กสทช.' จ่อชงใช้ ม.44 กู้หน้าไร้เงาผู้ประมูล
เอไอเอสยอมเซ้งต่อคลื่นแจส กสทช.จ่อชงใช้ ม.44 กู้หน้าไร้เงาผู้ประมูล
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559
“เอไอเอส” ยอมซื้อคลื่นแจสต่อราคา 75,654 ล้านบาท แต่ขอคุยผู้ถือหุ้นก่อน คาด 2 เดือนรู้ผล พร้อมยื่นเงื่อนไขขอใช้คลื่นต่อก่อนจ่ายเงิน ลุ้นบอร์ด กสทช.ชงใช้ ม.44 เรียกผู้เสนอราคาเป็นอันดับ 2 มาเจรจา หวั่นเมินร่วมประมูลคลื่น 900 ใหม่ จับตา “พิชญ์” โผล่หัวแก้ตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) วันนี้ (5 เม.ย.) จะพิจารณาอนุมัติร่างหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์ใหม่ เนื่องจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่มาชำระเงินค่าประมูล 75,654 ล้านบาท โดยร่างหลักเกณฑ์การประมูลใหม่มีรายละเอียดดังนี้ ราคาเริ่มต้นที่ 75,654 ล้านบาท มีผู้สนใจเข้าร่วมประมูลรายเดียวกัน ก็สามารถเปิดประมูลได้ แต่ผู้เข้าร่วมประมูลต้องเคาะราคายืนยันเพื่อเป็นผู้ชนะประมูล การกำหนดวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรกวาง 5%หรือ 3,783 ล้านบาทของราคาเริ่มต้นการประมูล ส่วนที่เหลือ 15% วงเงิน 11,348 ล้านบาท จะต้องชดใช้ค่าเสียหายกรณีไม่มาชำระค่าประมูลตามกำหนด โดยจะนำไปเปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ในวันที่ 22 เม.ย.59 นี้
ทั้งนี้ การพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ จะพิจารณาควบคู่ไปกับข้อเสนอของหลายหน่วยงานที่ให้ กสทช.นำระเบียบพัสดุแห่งชาติมาใช้ ด้วยการเรียกผู้เสนอราคาเป็นอันดับ 2 มาเจรจา แต่ต้องทำเรื่องเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติ เนื่องจาก กสทช.ไม่มีอำนาจในการดำเนินการ ดังนั้นจึงต้องเสนอ คสช.ออกประกาศ ด้วยการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 นั้น เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ เพราะหากไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้าร่วมประมูล กสทช.จะต้องเก็บคลื่นดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี ซึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ฉะนั้นควรนำคลื่นนั้นมาจัดสรรใหม่ หรือเรียกเอกชนที่เสนอราคาเป็นอันดับ 2 มาเจรจา โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้หารือกันเพื่อหาทางออกกรณีดังกล่าว เพราะไม่ต้องการให้ประเทศเสียประโยชน์ หากไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้าร่วมประมูลอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการ กสทช.ในนามตัวแทนบริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือเอดับบลิวเอ็น ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ในฐานะผู้เข้าร่วมประมูล 4 จี คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ระบุ ขอให้ กสทช.พิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ที่แจส โมบายประมูลได้แต่ไม่ได้มาชำระเงินให้แก่เอไอเอส (ในนามเอดับบลิวเอ็น) เนื่องจากหากนำคลื่นออกมาประมูลใหม่โดยใช้ราคาที่แจสโมบายประมูลได้ คาดว่าจะไม่มีผู้สนใจ
โดยเอไอเอสนั้น ยินดีที่จะรับช่วงคลื่นในราคาสุดท้ายที่แจสโมบายชนะประมูลที่ 75,654 ล้านบาท แม้ความจริงแล้วต้องการคลื่นในย่านที่บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล จำกัด ในเครือกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชนะการประมูลได้ไปมากกว่า โดยยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขการประมูลของผู้ชนะทุกประการ ทั้งการชำระเงิน 4 งวด การวางหนังสือค้ำประกัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลัง กสทช.อนุมัติให้เอไอเอสรับช่วงคลื่นดังกล่าวได้แล้ว เอไอเอสจะต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาและขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นก่อน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจากนี้ เพื่อได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว จึงจะสามารถชำระเงินค่าประมูลได้ ซึ่งในระหว่างนี้เอไอเอสขอให้ กสทช.พิจารณาให้ความคุ้มครองหรือกำหนดมาตรการใดๆ ที่ให้ลูกค้า 2 จี บนคลื่น 900 เดิมซึ่งเป็นลูกค้าของเอไอเอส อันมีอยู่ 400,000 เลขหมาย และมีที่ใช้บริการโรมมิ่ง (ใช้เครือข่ายร่วม) อีกราว 7.8 ล้านเลขหมาย สามารถใช้บริการได้อย่างต่อเนื่อง โดย กสทช.ต้องมีมาตรการก่อนวันที่ 5 เม.ย. เพื่อเอไอเอสจะได้ไม่ต้องเริ่มโรมมิ่ง (ใช้เครือข่ายร่วม) กับบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค อันเป็น 1 ในแนวทางแก้ปัญหาไม่ให้ลูกค้าซิมดับ
นอกจากนั้น กสทช.ยังต้องกำหนดมาตรการหรือดำเนินการป้องกันปัญหาการรบกวนการใช้งานในคลื่นความถี่ที่เอไอเอสจะรับช่วงตลอดระยะเวลาใบอนุญาต เพื่อไม่ให้เอไอเอสต้องสูญเสียผลประโยชน์และได้รับผลกระทบจากการใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า คลื่นในช่วงของแจสโมบายนั้น ไม่ใช่คลื่นที่เอไอเอสแข่งประมูลราคาสุดท้าย เนื่องจากเป็นคลื่นที่ติดกับย่านของดีแทค เสี่ยงต่อการถูกรบกวน โดยเอไอเอสแข่งขันในคลื่นช่วงที่ทรูชนะประมูลไป
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ (5 เม.ย.) เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จะไปยื่นหนังสือถึง กสทช. เพื่อให้ กสทช.เร่งรัดการจัดสรรคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องเอาผิดแจส โมบาย กรณีประมูลในราคาสูงแล้วไม่มาชำระเงิน ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการทำงาน พิจารณาความรับผิดกรณีแจส โมบาย ไม่มาชำระเงินค่าประมูล โดยล่าสุดทางผู้บริหาร แจส โมบาย ได้แจ้งว่า นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แจส โมบาย จะมาชี้แจงคณะทำงานด้วยตัวเอง หลังจากที่ไม่เคยติดต่อ กสทช.ในกรณีไม่นำเงินประมูลมาชำระแต่อย่างใด.
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559 (หน้า 8)
ข่าวอื่นๆ
ประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งใหม่ ไม่ง่าย และอาจเสียหายร้ายแรง
http://ppantip.com/topic/34999184
"ทีโอที" โรมมิ่งเครือข่าย 3G คลื่น2100 กับ "เอไอเอส" ปิด 2G คลื่น 900 ทั้งหมดภายใน 14 เม.ย.นี้
http://ppantip.com/topic/34999135
ลุ้นทรูคว้าไลเซนส์คลื่น 900 อีกใบ 'ฐากร' เผยราคาลดเหลือ 7.3 หมื่นล้านน่าสน
http://ppantip.com/topic/34999506