เอไอเอสทุ่มหมื่นล้านชิงท็อป 3 บรอดแบนด์
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
"เอไอเอส" โหมหนักตลาดฟิกซ์บรอดแบนด์เล็งเทงบลงทุนหลักหมื่นล้าน ชิง "ท็อป3" ปั๊มลูกค้า 2 ล้านราย ใน 3 ปี ล่าสุดส่งบริการ "เน็ตหอ" แบบเติมเงินเจาะหอพักนักศึกษารายแรกในไทย ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ลูกค้าแตะ 4 แสนราย
นายศรัณย์ ผโลประการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับใช้ภายในบ้านของไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก ประเมินจากทั้งประเทศซึ่งมีอยู่ 20 ล้านครัวเรือน จำนวนดังกล่าวยังไม่ใช้งานมีอีกกว่า 14 ล้านครัวเรือน ตลาดรวมฟิกซ์บรอดแบนด์ประเทศไทย มีอยู่ราว 6 ล้านครัวเรือน ลูกค้ากระจายอยู่กับ 3 รายหลัก โดยต่อรายมีลูกค้าประมาณ 2 ล้านราย การแข่งขันมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นตามลำดับทั้งเชิงราคา ความเร็ว รวมถึงการปรับไปใช้เทคโนโลยีใหม่บนไฟเบอร์ออพติก
"ผู้เล่น 3 รายที่ครองตลาดอยู่มีความแข็งแรงอย่างมาก ดังนั้นไม่ง่ายที่จะเข้าไป แต่ที่ เอไอเอสกล้า เพราะเห็นโอกาสจากการที่เรามีฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือ ขณะนี้ลูกค้าเอไอเอสระบบโพสต์เพดมีอยู่ประมาณ 5.4 ล้านราย ถ้าเข้าไปขายในส่วนนี้ได้ก็เป็นที่ 1 ได้"
เอไอเอส มุ่งให้บริการเทคโนโลยีไฟเบอร์ออพติก 100% ทุกพื้นที่ ขณะนี้การให้บริการครอบคลุมกว่า 50% ในเขตกรุงเทพฯ ภายในสิ้นปีนี้จะทำให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งชั้นในและชั้นนอก รวมทั้งปริมณฑลปัจจุบันให้บริการได้ครอบคลุม 2.4 ล้านครัวเรือน หรือพื้นที่กว่า 10% ใน 2,000 อาคาร 9,700 หมู่บ้าน 12 จังหวัด เป้าหมายจะทำให้ได้ 24 จังหวัด หรือ 6.5 ล้านครัวเรือนภายในสิ้นปีนี้
ส่วนแนวทางการลงทุนระยะแรก เน้นกระจายจุดปล่อยสัญญาณให้ครอบคลุมก่อนจากปี 2558 ใช้งบการลงทุนไป 4,000 ล้านบาท ปีนี้ 7,000 ล้านบาทปีต่อไปถ้าจะต้องทำให้ครอบคลุม 40 จังหวัดเป้าหมายต้องใช้อีกราว 1 หมื่นล้านบาท ที่เหลือคือ การลากสายเข้าตามบ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มเข้ามา
การทำราคาปรับราคาลงเริ่มต้นไว้ที่ 590 บาท สำหรับความเร็ว15 เมกะบิตต่อวินาทีจากเดิม 790 บาท เทียบเท่ากับราคาเทคโนโลยีเอดีเอสแอล และวีดีเอสแอลพิเศษหากเป็นลูกค้าโทรศัพท์มือถือเอไอเอสได้รับส่วนลดเพิ่มอีก 10%
นอกจากนี้ เป็นอินเทอร์เน็ตบ้านเจ้าเดียวที่ไม่คิดค่าติดตั้งค่ามัดจำ รวมถึงค่าเดินสายที่เกินระยะกำหนด การันตีความเร็วทั้งการเชื่อมต่อผ่านสายแลน และไวไฟ เน้นจุดขายราคาถูกที่สุดคุ้มค่าที่สุดในตลาด
ล่าสุดเสนอทางเลือกสำหรับกลุ่มลูกค้านักศึกษาที่อาศัยอยู่ตามหอพักเปิดบริการใหม่ "เน็ตหอ โดยเอไอเอสไฟเบอร์" มิติใหม่อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงแบบเติมเงินเป็นครั้งแรกของไทย
ทั้งนี้ เปิดโอกาสให้ใช้งานได้แบบเปย์เปอร์ยูสสมัครใช้งานได้สะดวก เติมเงินได้ผ่านระบบวันทูคอล ปรับลดความเร็วได้ตามต้องการ ทั้งไม่จำเป็นต้องทำสัญญารายปี ใช้แค่ไหนจ่ายแค่นั้นด้านความเร็วได้เต็มสปีดทุกห้อง ไม่ต้องแชร์กับห้องข้างเคียง เปิดราคาเริ่มต้น 500 บาทต่อ 30 วันความเร็ว 15/5 เมกะบิตต่อวินาทีทุกแพ็ค ฟรีค่าติดตั้ง พร้อมอุปกรณ์ไม่มีค่ามัดจำ ปัจจุบันเน็ตหอโดยเอไอเอสไฟเบอร์เปิดให้บริการแล้วที่หอพักรอบมหาวิทยาลัย ทั้งในกทม. และปริมณฑลรวม20อาคารครอบคลุม4,704ยูนิตในแผนจะเพิ่มเป็น 900 อาคาร ภายในสิ้นปี 2559
"เรามีความตั้งใจที่จะเพิ่มโอกาส การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้กลุ่มนักศึกษา คนรุ่นใหม่ ทั้งสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้พันธมิตรเจ้าของหอพักในการยกระดับบริการห้องพัก ของตัวเอง"
ปัจจุบัน เอไอเอสมีฐานลูกค้าไฟเบอร์ 1 แสนราย สิ้นปี 2559 ตั้งเป้าหมาย 4 แสนราย มีรายได้เฉลี่ย 600 บาทต่อราย ขณะนี้ยังเป็นช่วงของการสร้างฐานลูกค้าไม่ได้เน้นทำรายได้และจะพยายามทำให้แตะ 1 ล้านภายในปี 2561
เอไอเอสหวังจะไต่ขึ้นอยู่อันดับ ท็อป 3 มีลูกค้าแตะ 2 ล้านราย ภายใน 2-3 ปี นับจากนี้
'เอไอเอส' ผ่านคุณสมบัติประมูล 4จี
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ประชุมนัดพิเศษ วานนี้ (23 พ.ค.) พิจารณาผลการตรวจคุณสมบัติของผู้สมัครขอรับ ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 895-905 คู่กับ 940-950 เมกะเฮิรตซ์ ที่สำนักงาน กสทช. เปิดการประมูลครั้งใหม่ วันที่ 27 พ.ค.นี้ เวลา 9.00 น.
โดยผลการประชุมมีมติให้บริษัท แอดวานซ์ ไวรเลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ผู้เข้าสมัคร เพียงรายเดียวผ่านเกณฑ์การพิจารณา เนื่องจากดำเนินการตามข้อกำหนดของ สำนักงาน กสทช. ซึ่งรวมถึงการวางหลักประกันการประมูลที่แนบหนังสือรับรองทางการเงิน (แบงก์ การันตี) 3,783 ล้านบาท แบ่งเป็น ของธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพอย่างละ 1,891.5 ล้านบาท
นอกจากนี้ ผู้สมัครยังยื่นคำรับรอง ที่จะดำเนินการตามกำหนดข้อห้ามการกระทำตามประกาศ กสทช. เรื่อง การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 พร้อมคำรับรองโดยผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล
ผู้สมัครยังได้รับรองตามข้อกำหนด ในมาตรการข้อจำกัดเรื่องการสมยอมราคา ในการตกลงราคาประมูล และการรับรองว่า เมื่อได้ใช้คลื่นความถี่ที่ยื่นประมูลแล้ว จะยินยอมให้มีแนวทางปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์เพื่อสังคม (ซีเอสอาร์) ด้วย
เงื่อนไขเพิ่มเติมที่กำหนดใน หลักเกณฑ์การประมูลรอบใหม่ 1.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล ต้องไม่ใช่ ผู้ทิ้งงานของ กสทช. 2. วงเงินประกัน ได้อนุมัติที่ 5% คิดเป็น 3,783 ล้านบาท ของราคาเริ่มต้นการประมูล 75,654 ล้านบาท แบ่งงวดชำระเป็น 4 งวด ตามเดิม คือ ปีที่ 1ชำระ 8,040 ล้านบาท ปีที่ 2 ชำระ 4,020 ล้านบาทปีที่ 3 ชำระ 4,020 ล้านบาท และปีที่ 4 ชำระจำนวนที่เหลือ ทั้งหมด
ขณะเดียวกัน ได้กำหนดมาตรการ ความรับผิด หากมีผู้ชนะการประมูล แต่ ไม่มาชำระตามหลักเกณฑ์ จะริบเงินประกัน 3,783 ล้านบาท และต้องชำระเพิ่มอีก 11,348 ล้านบาท รวมแล้วต้องชำระ 15,131 ล้านบาท ซึ่งคิดเท่ากับราคา เริ่มต้นการประมูลในครั้งแรกที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) คำนวณมูลค่าคลื่น 900 ที่แท้จริง
แหล่งข่าว
เอไอเอสทุ่มหมื่นล้านชิงท็อป 3 บรอดแบนด์
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 3)
'เอไอเอส' ผ่านคุณสมบัติประมูล 4จี
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 8)
'AIS' ทุ่มหมื่นล้านชิงท็อป3บรอดแบนด์ ด้าน 'AWN' ผ่านคุณสมบัติประมูล 4จี
เอไอเอสทุ่มหมื่นล้านชิงท็อป 3 บรอดแบนด์
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
"เอไอเอส" โหมหนักตลาดฟิกซ์บรอดแบนด์เล็งเทงบลงทุนหลักหมื่นล้าน ชิง "ท็อป3" ปั๊มลูกค้า 2 ล้านราย ใน 3 ปี ล่าสุดส่งบริการ "เน็ตหอ" แบบเติมเงินเจาะหอพักนักศึกษารายแรกในไทย ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ลูกค้าแตะ 4 แสนราย
นายศรัณย์ ผโลประการ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริหารธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า ธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสำหรับใช้ภายในบ้านของไทยยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก ประเมินจากทั้งประเทศซึ่งมีอยู่ 20 ล้านครัวเรือน จำนวนดังกล่าวยังไม่ใช้งานมีอีกกว่า 14 ล้านครัวเรือน ตลาดรวมฟิกซ์บรอดแบนด์ประเทศไทย มีอยู่ราว 6 ล้านครัวเรือน ลูกค้ากระจายอยู่กับ 3 รายหลัก โดยต่อรายมีลูกค้าประมาณ 2 ล้านราย การแข่งขันมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นตามลำดับทั้งเชิงราคา ความเร็ว รวมถึงการปรับไปใช้เทคโนโลยีใหม่บนไฟเบอร์ออพติก
"ผู้เล่น 3 รายที่ครองตลาดอยู่มีความแข็งแรงอย่างมาก ดังนั้นไม่ง่ายที่จะเข้าไป แต่ที่ เอไอเอสกล้า เพราะเห็นโอกาสจากการที่เรามีฐานลูกค้าโทรศัพท์มือถือ ขณะนี้ลูกค้าเอไอเอสระบบโพสต์เพดมีอยู่ประมาณ 5.4 ล้านราย ถ้าเข้าไปขายในส่วนนี้ได้ก็เป็นที่ 1 ได้"
เอไอเอส มุ่งให้บริการเทคโนโลยีไฟเบอร์ออพติก 100% ทุกพื้นที่ ขณะนี้การให้บริการครอบคลุมกว่า 50% ในเขตกรุงเทพฯ ภายในสิ้นปีนี้จะทำให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งชั้นในและชั้นนอก รวมทั้งปริมณฑลปัจจุบันให้บริการได้ครอบคลุม 2.4 ล้านครัวเรือน หรือพื้นที่กว่า 10% ใน 2,000 อาคาร 9,700 หมู่บ้าน 12 จังหวัด เป้าหมายจะทำให้ได้ 24 จังหวัด หรือ 6.5 ล้านครัวเรือนภายในสิ้นปีนี้
ส่วนแนวทางการลงทุนระยะแรก เน้นกระจายจุดปล่อยสัญญาณให้ครอบคลุมก่อนจากปี 2558 ใช้งบการลงทุนไป 4,000 ล้านบาท ปีนี้ 7,000 ล้านบาทปีต่อไปถ้าจะต้องทำให้ครอบคลุม 40 จังหวัดเป้าหมายต้องใช้อีกราว 1 หมื่นล้านบาท ที่เหลือคือ การลากสายเข้าตามบ้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มเข้ามา
การทำราคาปรับราคาลงเริ่มต้นไว้ที่ 590 บาท สำหรับความเร็ว15 เมกะบิตต่อวินาทีจากเดิม 790 บาท เทียบเท่ากับราคาเทคโนโลยีเอดีเอสแอล และวีดีเอสแอลพิเศษหากเป็นลูกค้าโทรศัพท์มือถือเอไอเอสได้รับส่วนลดเพิ่มอีก 10%
นอกจากนี้ เป็นอินเทอร์เน็ตบ้านเจ้าเดียวที่ไม่คิดค่าติดตั้งค่ามัดจำ รวมถึงค่าเดินสายที่เกินระยะกำหนด การันตีความเร็วทั้งการเชื่อมต่อผ่านสายแลน และไวไฟ เน้นจุดขายราคาถูกที่สุดคุ้มค่าที่สุดในตลาด
ล่าสุดเสนอทางเลือกสำหรับกลุ่มลูกค้านักศึกษาที่อาศัยอยู่ตามหอพักเปิดบริการใหม่ "เน็ตหอ โดยเอไอเอสไฟเบอร์" มิติใหม่อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงแบบเติมเงินเป็นครั้งแรกของไทย
ทั้งนี้ เปิดโอกาสให้ใช้งานได้แบบเปย์เปอร์ยูสสมัครใช้งานได้สะดวก เติมเงินได้ผ่านระบบวันทูคอล ปรับลดความเร็วได้ตามต้องการ ทั้งไม่จำเป็นต้องทำสัญญารายปี ใช้แค่ไหนจ่ายแค่นั้นด้านความเร็วได้เต็มสปีดทุกห้อง ไม่ต้องแชร์กับห้องข้างเคียง เปิดราคาเริ่มต้น 500 บาทต่อ 30 วันความเร็ว 15/5 เมกะบิตต่อวินาทีทุกแพ็ค ฟรีค่าติดตั้ง พร้อมอุปกรณ์ไม่มีค่ามัดจำ ปัจจุบันเน็ตหอโดยเอไอเอสไฟเบอร์เปิดให้บริการแล้วที่หอพักรอบมหาวิทยาลัย ทั้งในกทม. และปริมณฑลรวม20อาคารครอบคลุม4,704ยูนิตในแผนจะเพิ่มเป็น 900 อาคาร ภายในสิ้นปี 2559
"เรามีความตั้งใจที่จะเพิ่มโอกาส การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้กลุ่มนักศึกษา คนรุ่นใหม่ ทั้งสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้พันธมิตรเจ้าของหอพักในการยกระดับบริการห้องพัก ของตัวเอง"
ปัจจุบัน เอไอเอสมีฐานลูกค้าไฟเบอร์ 1 แสนราย สิ้นปี 2559 ตั้งเป้าหมาย 4 แสนราย มีรายได้เฉลี่ย 600 บาทต่อราย ขณะนี้ยังเป็นช่วงของการสร้างฐานลูกค้าไม่ได้เน้นทำรายได้และจะพยายามทำให้แตะ 1 ล้านภายในปี 2561
เอไอเอสหวังจะไต่ขึ้นอยู่อันดับ ท็อป 3 มีลูกค้าแตะ 2 ล้านราย ภายใน 2-3 ปี นับจากนี้
'เอไอเอส' ผ่านคุณสมบัติประมูล 4จี
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ประชุมนัดพิเศษ วานนี้ (23 พ.ค.) พิจารณาผลการตรวจคุณสมบัติของผู้สมัครขอรับ ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 895-905 คู่กับ 940-950 เมกะเฮิรตซ์ ที่สำนักงาน กสทช. เปิดการประมูลครั้งใหม่ วันที่ 27 พ.ค.นี้ เวลา 9.00 น.
โดยผลการประชุมมีมติให้บริษัท แอดวานซ์ ไวรเลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ผู้เข้าสมัคร เพียงรายเดียวผ่านเกณฑ์การพิจารณา เนื่องจากดำเนินการตามข้อกำหนดของ สำนักงาน กสทช. ซึ่งรวมถึงการวางหลักประกันการประมูลที่แนบหนังสือรับรองทางการเงิน (แบงก์ การันตี) 3,783 ล้านบาท แบ่งเป็น ของธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพอย่างละ 1,891.5 ล้านบาท
นอกจากนี้ ผู้สมัครยังยื่นคำรับรอง ที่จะดำเนินการตามกำหนดข้อห้ามการกระทำตามประกาศ กสทช. เรื่อง การกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว พ.ศ. 2555 พร้อมคำรับรองโดยผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล
ผู้สมัครยังได้รับรองตามข้อกำหนด ในมาตรการข้อจำกัดเรื่องการสมยอมราคา ในการตกลงราคาประมูล และการรับรองว่า เมื่อได้ใช้คลื่นความถี่ที่ยื่นประมูลแล้ว จะยินยอมให้มีแนวทางปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์เพื่อสังคม (ซีเอสอาร์) ด้วย
เงื่อนไขเพิ่มเติมที่กำหนดใน หลักเกณฑ์การประมูลรอบใหม่ 1.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้าร่วมประมูล ต้องไม่ใช่ ผู้ทิ้งงานของ กสทช. 2. วงเงินประกัน ได้อนุมัติที่ 5% คิดเป็น 3,783 ล้านบาท ของราคาเริ่มต้นการประมูล 75,654 ล้านบาท แบ่งงวดชำระเป็น 4 งวด ตามเดิม คือ ปีที่ 1ชำระ 8,040 ล้านบาท ปีที่ 2 ชำระ 4,020 ล้านบาทปีที่ 3 ชำระ 4,020 ล้านบาท และปีที่ 4 ชำระจำนวนที่เหลือ ทั้งหมด
ขณะเดียวกัน ได้กำหนดมาตรการ ความรับผิด หากมีผู้ชนะการประมูล แต่ ไม่มาชำระตามหลักเกณฑ์ จะริบเงินประกัน 3,783 ล้านบาท และต้องชำระเพิ่มอีก 11,348 ล้านบาท รวมแล้วต้องชำระ 15,131 ล้านบาท ซึ่งคิดเท่ากับราคา เริ่มต้นการประมูลในครั้งแรกที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) คำนวณมูลค่าคลื่น 900 ที่แท้จริง
แหล่งข่าว
เอไอเอสทุ่มหมื่นล้านชิงท็อป 3 บรอดแบนด์
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 3)
'เอไอเอส' ผ่านคุณสมบัติประมูล 4จี
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 8)