รายงาน: ค่ายมือถือท้าดวล! เกมการตลาด ชิงขุมทรัพย์ใหม่ 4G
โต๊ะข่าวไอที : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558
หลังจากกสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ) เปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G บนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และจัดสรรใบอนุญาตให้กับผู้ชนะการประมูลไปแล้ว คือ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด กลุ่มทรู ราคาประมูลอยู่ที่ 39,792 ล้านบาท และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด กลุ่มเอไอเอส ราคาประมูลอยู่ที่ 40,968 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 18 ปี
พลันที่กสทช. แจกใบอนุญาตอย่างเป็นทางการให้กับผู้ชนะการประมูลไปแล้ว หากแต่อีกด้านหนึ่งของเกมการตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G ได้เริ่มขึ้นแล้ว
"
ดีแทค" ลุยติดเครือข่าย
แม้ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ถอยฉากเป็นรายแรกกับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพราะ ดีแทค เชื่อว่าสัญญาสัมปทานที่ บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดในปี 2561 ยังพอมีเวลาเหลือเฟือในการเก็บกระสุนไว้ประมูลในคราวหน้า
เพราะหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสทช. ต้องออกมาตรการเยียวยาให้กับผู้ใช้บริการไม่ให้ "ซิมดับ" อย่างเร็วครึ่งปี หรืออย่างช้า 1 ปี และกสทช. ต้องออกกฎเกณฑ์การประมูลใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ขยายแบนด์วิดธ์เพิ่มเป็น 15 เมก
เพราะฉะนั้นระยะเวลาสัมปทานที่ ดีแทค เหลืออยู่สู้เอาไปขยายเครือข่ายล่วงหน้าไปก่อนคู่แข่ง ซึ่งขณะนี้ ดีแทค ได้เพิ่มแบนด์วิดธ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์เป็น 15 เมกะเฮิรตซ์แล้ว
นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทค ได้เพิ่มความกว้างแบนด์วิดธ์บนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์เป็น 15 เมกะเฮิรตซ์จากเดิมอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้การใช้งาน 4G เร็วขึ้นกว่าเดิมพร้อมทั้งมีบริการ 4G บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ อีกจำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ขณะนี้ ดีแทค เป็นผู้ให้บริการ 4G ที่มีแบนด์วิธรวมมากถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ และสำหรับการให้บริการ 4G บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีจำนวนเครือข่ายทั้งสิ้น 2,200 แห่ง ครอบคลุมกรุงเทพฯและปริมณฑล
"กระแสการใช้งาน 4G เติบโตขึ้น 4 เท่าเทียบจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วจากจำนวนผู้ใช้งานดีแทค 4G จำนวน 5 แสนราย เพิ่มเป็นจำนวน 2 ล้านรายในปัจจุบัน โดยมียอดอุปกรณ์รองรับ 4G เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากประมาณ 1.7 ล้านเครื่องเป็น 3.5 ล้านเครื่อง"
"
เอไอเอส"กดปุ่มลงทุน14,520 ล.
ขณะที่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทลูกของ เอไอเอส ซึ่งชนะการประมูลคลื่นและได้ใบอนุญาตประกอบกิจการคลื่นความถี่ 1800 เมกะ เฮิรตซ์ไปแล้ว และได้แถลงข่าวร่วมกับกสทช. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558 เรื่อง "แผนงานการเปิดให้บริการ 4G" ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าเอไอเอสจะเปิดทดลองใช้งานในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 ซึ่งก่อนหน้านี้ เอไอเอส ได้เปิดวางจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ LAVA ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ เอไอเอส โดยตรง ภายใต้สโลแกน "AIS Super Combo Lava 4G" มีจำนวนทิ้งสิ้น 4รุ่น รองรับทั้งระบบ3G และ 4G
ทั้งนี้เอไอเอสได้ชี้แจงต่อตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เอไอเอส จะใช้งบลงทุนเบื้องต้นสำหรับคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 14,520 ล้านบาท จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรอง รับการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือรับส่งข้อมูลถึง 100 เมกะบิต ขณะที่ระบบ 3G รับส่งได้เพียง 42 เมกะบิตเท่านั้น
ส่วนกระแสเงินสด เงินกู้จากสถาบันการเงิน และ/หรือ การออกหุ้นกู้ โดยในรอบ 9 เดือนของปี 2558 บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินการ (หลังหักภาษี) รวม 44,611 ล้านบาท และมีเงินกู้ยืมรวม 46,485 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 1.22 เท่า แสดงถึงความแข็งแกร่งของโครงสร้างเงินทุนและความสามารถในการกู้ยืมเพิ่มเติม
เปิดทดลองใช้ ธ.ค.
ขณะที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ในเครือเอไอเอส กล่าวว่า บริษัท ยังได้เตรียมงบประมาณลงทุนเบื้องต้นสำหรับบริการ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไว้จำนวน 14,520 ล้านบาท แล้วด้วยเช่นกัน
"วันนี้เราจึงขอประกาศยืนยันถึงความพร้อมของแผนการให้บริการ AIS4G บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบภายในเดือนมกราคม 2559 รวมไปถึงความพร้อมของงานบริการ, บริการดิจิตอล และการจัดเตรียม Handset 4G เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดให้ทดลองใช้บริการได้ฟรีภายในเดือนธันวาคมอย่างแน่นอน"
"
ทรู" ลุย
ส่วนกลุ่มทรู นั้น เป็นผู้ประกอบการอีกหนึ่งรายที่ได้ขยายเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ไปก่อนหน้าแล้วเช่นเดียวกัน เนื่องจาก ทรู มีคลื่นความถี่ 850-1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งปริมาณคลื่นความถี่มีเพียงพอต่อการขยายเครือข่ายไปยังระบบ 4G เช่นเดียวกัน
หลังกลุ่มทรู ชนะการประกวดราคาใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ในครั้งนี้ ทรู ต้องนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปต่อยอดฐานลูกค้า 1800 กลุ่มเดิมที่มีอยู่ในระบบกว่า 15 ล้านเลขหมาย เพื่อให้ฐานลูกค้ากลุ่มนี้ย้ายเข้ามาใช้ระบบ 4G ให้ได้
"
ขนาด ทรู แจกเครื่องฟรี แต่ลูกค้าก็ไม่ยอมย้ายข้ามมาอยู่ในระบบใหม่" นั่นคือคำบอกเล่าของ ศุภชัยเจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
การแข่งขันโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G ได้เริ่มขึ้นแล้ว
จับตา "เอไอเอส" หลังจากปล่อยให้ ดีแทค และทรู เปิดเกมรุกไปก่อนหน้า ถึงคราวที่ "เอไอเอส" ได้เวลาลุยแล้ว
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 24)
รายงาน: ค่ายมือถือท้าดวล! เกมการตลาด ชิงขุมทรัพย์ใหม่ 4G
รายงาน: ค่ายมือถือท้าดวล! เกมการตลาด ชิงขุมทรัพย์ใหม่ 4G
โต๊ะข่าวไอที : ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558
หลังจากกสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ) เปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G บนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และจัดสรรใบอนุญาตให้กับผู้ชนะการประมูลไปแล้ว คือ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด กลุ่มทรู ราคาประมูลอยู่ที่ 39,792 ล้านบาท และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด กลุ่มเอไอเอส ราคาประมูลอยู่ที่ 40,968 ล้านบาท ระยะเวลาใบอนุญาต 18 ปี
พลันที่กสทช. แจกใบอนุญาตอย่างเป็นทางการให้กับผู้ชนะการประมูลไปแล้ว หากแต่อีกด้านหนึ่งของเกมการตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G ได้เริ่มขึ้นแล้ว
"ดีแทค" ลุยติดเครือข่าย
แม้ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ถอยฉากเป็นรายแรกกับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพราะ ดีแทค เชื่อว่าสัญญาสัมปทานที่ บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดในปี 2561 ยังพอมีเวลาเหลือเฟือในการเก็บกระสุนไว้ประมูลในคราวหน้า
เพราะหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสทช. ต้องออกมาตรการเยียวยาให้กับผู้ใช้บริการไม่ให้ "ซิมดับ" อย่างเร็วครึ่งปี หรืออย่างช้า 1 ปี และกสทช. ต้องออกกฎเกณฑ์การประมูลใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ขยายแบนด์วิดธ์เพิ่มเป็น 15 เมก
เพราะฉะนั้นระยะเวลาสัมปทานที่ ดีแทค เหลืออยู่สู้เอาไปขยายเครือข่ายล่วงหน้าไปก่อนคู่แข่ง ซึ่งขณะนี้ ดีแทค ได้เพิ่มแบนด์วิดธ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์เป็น 15 เมกะเฮิรตซ์แล้ว
นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทค ได้เพิ่มความกว้างแบนด์วิดธ์บนย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์เป็น 15 เมกะเฮิรตซ์จากเดิมอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้การใช้งาน 4G เร็วขึ้นกว่าเดิมพร้อมทั้งมีบริการ 4G บนคลื่น 2100 เมกะเฮิรตซ์ อีกจำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ขณะนี้ ดีแทค เป็นผู้ให้บริการ 4G ที่มีแบนด์วิธรวมมากถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ และสำหรับการให้บริการ 4G บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีจำนวนเครือข่ายทั้งสิ้น 2,200 แห่ง ครอบคลุมกรุงเทพฯและปริมณฑล
"กระแสการใช้งาน 4G เติบโตขึ้น 4 เท่าเทียบจากเดือนธันวาคมปีที่แล้วจากจำนวนผู้ใช้งานดีแทค 4G จำนวน 5 แสนราย เพิ่มเป็นจำนวน 2 ล้านรายในปัจจุบัน โดยมียอดอุปกรณ์รองรับ 4G เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากประมาณ 1.7 ล้านเครื่องเป็น 3.5 ล้านเครื่อง"
"เอไอเอส"กดปุ่มลงทุน14,520 ล.
ขณะที่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทลูกของ เอไอเอส ซึ่งชนะการประมูลคลื่นและได้ใบอนุญาตประกอบกิจการคลื่นความถี่ 1800 เมกะ เฮิรตซ์ไปแล้ว และได้แถลงข่าวร่วมกับกสทช. เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558 เรื่อง "แผนงานการเปิดให้บริการ 4G" ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าเอไอเอสจะเปิดทดลองใช้งานในวันที่ 18 ธันวาคม 2558 ซึ่งก่อนหน้านี้ เอไอเอส ได้เปิดวางจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ LAVA ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ เอไอเอส โดยตรง ภายใต้สโลแกน "AIS Super Combo Lava 4G" มีจำนวนทิ้งสิ้น 4รุ่น รองรับทั้งระบบ3G และ 4G
ทั้งนี้เอไอเอสได้ชี้แจงต่อตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เอไอเอส จะใช้งบลงทุนเบื้องต้นสำหรับคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 14,520 ล้านบาท จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรอง รับการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือรับส่งข้อมูลถึง 100 เมกะบิต ขณะที่ระบบ 3G รับส่งได้เพียง 42 เมกะบิตเท่านั้น
ส่วนกระแสเงินสด เงินกู้จากสถาบันการเงิน และ/หรือ การออกหุ้นกู้ โดยในรอบ 9 เดือนของปี 2558 บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินการ (หลังหักภาษี) รวม 44,611 ล้านบาท และมีเงินกู้ยืมรวม 46,485 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน 1.22 เท่า แสดงถึงความแข็งแกร่งของโครงสร้างเงินทุนและความสามารถในการกู้ยืมเพิ่มเติม
เปิดทดลองใช้ ธ.ค.
ขณะที่นายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอดับบลิวเอ็น ในเครือเอไอเอส กล่าวว่า บริษัท ยังได้เตรียมงบประมาณลงทุนเบื้องต้นสำหรับบริการ 4G บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ไว้จำนวน 14,520 ล้านบาท แล้วด้วยเช่นกัน
"วันนี้เราจึงขอประกาศยืนยันถึงความพร้อมของแผนการให้บริการ AIS4G บนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบภายในเดือนมกราคม 2559 รวมไปถึงความพร้อมของงานบริการ, บริการดิจิตอล และการจัดเตรียม Handset 4G เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดให้ทดลองใช้บริการได้ฟรีภายในเดือนธันวาคมอย่างแน่นอน"
"ทรู" ลุย
ส่วนกลุ่มทรู นั้น เป็นผู้ประกอบการอีกหนึ่งรายที่ได้ขยายเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ไปก่อนหน้าแล้วเช่นเดียวกัน เนื่องจาก ทรู มีคลื่นความถี่ 850-1800 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งปริมาณคลื่นความถี่มีเพียงพอต่อการขยายเครือข่ายไปยังระบบ 4G เช่นเดียวกัน
หลังกลุ่มทรู ชนะการประกวดราคาใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ในครั้งนี้ ทรู ต้องนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปต่อยอดฐานลูกค้า 1800 กลุ่มเดิมที่มีอยู่ในระบบกว่า 15 ล้านเลขหมาย เพื่อให้ฐานลูกค้ากลุ่มนี้ย้ายเข้ามาใช้ระบบ 4G ให้ได้
"ขนาด ทรู แจกเครื่องฟรี แต่ลูกค้าก็ไม่ยอมย้ายข้ามมาอยู่ในระบบใหม่" นั่นคือคำบอกเล่าของ ศุภชัยเจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
การแข่งขันโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G ได้เริ่มขึ้นแล้ว
จับตา "เอไอเอส" หลังจากปล่อยให้ ดีแทค และทรู เปิดเกมรุกไปก่อนหน้า ถึงคราวที่ "เอไอเอส" ได้เวลาลุยแล้ว
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558 (หน้า 24)