(เกาะติดประมูล4G) อนุภาพ ระบุ กฎ และ กติกาไม่มีการเปลี่ยนแปลง สุดท้ายหนีไม่พ้น "ฮั้ว" ราคาในรูปแบบเดิม

(เกาะติดประมูล4G) อนุภาพ ระบุ กฎ และ กติกาไม่มีการเปลี่ยนแปลง การประมูลเชื่อว่ายังคงเป็นรูปแบบเดิม สุดท้ายหนีไม่พ้น "ฮั้ว" ราคาในรูปแบบเดิม

ประเด็นหลัก


** นักวิชาการชี้ หนีไม่พ้น "ฮั้ว" ราคา
    ขณะที่ นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการ อิสระทางด้านสื่อสารโทรคมนาคม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กฎ และ กติกาไม่มีการเปลี่ยนแปลง การประมูลเชื่อว่ายังคงเป็นรูปแบบเดิม ดังนั้นถ้าหากหวังผลการเปลี่ยนแปลงย่อมไม่มีแน่นอน สุดท้ายหนีไม่พ้น "ฮั้ว" ราคาในรูปแบบเดิม
    "แม้ตอนนี้ กสทช.ยังไม่ได้เคาะราคาเริ่มต้น แต่เชื่อว่าราคาประมูลจะสูงกว่าราคาเริ่มต้นไม่มากนัก เมื่อ "ฮั้ว" ราคากันเอกชนจะไปเสียราคาให้สูงทำไม"
    นอกจากนี้แล้ว การประมูลไม่มีใครสามารถแทรกแซงได้ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการฟ้องร้องมาแล้ว แต่มีคำสั่งทางปกครอง การฟ้องร้องเกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น
*** ผ่องถ่ายลูกค้า "คลาสสิก" ที่สุด
    อย่างไรก็ตามเรื่องการโอนย้ายลูกค้า ภายหลังสัญญาสัมปทานหมดอายุลง ตัวอย่างกรณีของ ทรูมูฟ หรือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ตามสัญญาต้องโอนทรัพย์สินพร้อมลูกค้า ตามกฎหมายไม่สามารถบีบลูกค้าได้
    "เรื่องนี้ เป็นกรณี คลาสสิกที่สุดลองไปดูได้เลยว่ามีการโอนย้ายไปจริงหรือไม่ และ ยิ่งเปิดประมูลคลื่นเร็วเท่าไหร่ เอกชนไม่จำเป็นต้องย้ายลูกค้าออกเพราะเมื่อได้คลื่นมาก็คงสภาพลูกค้าเอาไว้ เสียแต่ค่าใบอนุญาตแค่นั้น" นายอนุภาพ กล่าว
  








http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=222236:--900-1800&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.UyQeNlGSwcs
______________________________________



กสทช.เดินหน้า ประมูลคลื่น 900-1800




งวดเข้ามาทุกทีแล้ว สำหรับการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ขณะนี้  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.วางโรดแมป เดินหน้าจัดประมูลภายในปีนี้ (: ดูตารางประกอบ)
alt *** ย้อนรอยประมูลใบอนุญาต
    เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555  เป็นวันที่ กสทช. เปิดประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์  โดยรูปแบบการประมูลของ กสทช. ครั้งนั้นได้ให้บริษัทที่ยื่นซองประกวดราคาจับสลากเลือกห้องประชุมก่อน พร้อมการจับสลากยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ด
    อย่างไรก็ตามการประมูลในครั้งนั้นกลุ่มทุนสื่อสาร 3 รายเดิม ยื่นซองประกวดราคาโดยให้บริษัทลูกเข้าประมูล ไล่เลียงตั้งแต่  บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ตเวิร์ก จำกัด ในเครือ เอไอเอส ได้ห้องประมูลชั้น 6 ซองยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ด หมายเลข 3 , บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด  ได้ห้องประมูลชั้น 3 ซองยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ด หมายเลข 2 , ส่วนรายสุดท้ายคือ บริษัท ดีแทค ไทรเน็ต  จำกัด ได้ห้องประมูลชั้น 4 ซองยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ด หมายเลข 1
    ส่วนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ กสทช.แบ่งออกเป็น 9 สล็อต สล็อตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ราคาตั้งต้นอยู่ที่สล็อตละ 4.5 พันล้านบาท และ ราคาจะขึ้นทุก 5% หรือ ไม่ต่ำกว่า 225 ล้านบาทในการเคาะราคาประมูล 1 ครั้ง  สรุปผลประมูล 3G คลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ราคารวม 4.162 หมื่น ล้านบาท
    สำหรับผู้เสนอราคาสูงสุดคือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด เป็นเงิน 1.462 หมื่นล้านบาท เลือกย่านความถี่ 1950 เมกะเฮิรตซ์  - 1965 เมกะเฮิรตซ์ และ 2140  เมกะเฮิรตซ์  - 2155  เมกะเฮิรตซ์  ส่วน บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด และ บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เสนอราคาเท่ากันที่ 1.35 หมื่นล้านบาท โดยทาง บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด  เลือกช่วงความถี่ 1935 เมกะเฮิรตซ์ - 1950 เมกะเฮิรตซ์  และ 2125 เมกะเฮิรตซ์  - 2140 เมกะเฮิรตซ์  ส่วน บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เลือกช่วงความถี่ 1920  เมกะเฮิรตซ์  - 1935 เมกะเฮิรตซ์  และ 2110 เมกะเฮิรตซ์  - 2135 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 3 รายแบ่งได้รับคลื่นความถี่ไปเครือข่ายละ 15 เมกะเฮิรตซ์ เป็นระยะเวลา 15 ปี
** นักวิชาการชี้ หนีไม่พ้น "ฮั้ว" ราคา
    ขณะที่ นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการ อิสระทางด้านสื่อสารโทรคมนาคม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กฎ และ กติกาไม่มีการเปลี่ยนแปลง การประมูลเชื่อว่ายังคงเป็นรูปแบบเดิม ดังนั้นถ้าหากหวังผลการเปลี่ยนแปลงย่อมไม่มีแน่นอน สุดท้ายหนีไม่พ้น "ฮั้ว" ราคาในรูปแบบเดิม
    "แม้ตอนนี้ กสทช.ยังไม่ได้เคาะราคาเริ่มต้น แต่เชื่อว่าราคาประมูลจะสูงกว่าราคาเริ่มต้นไม่มากนัก เมื่อ "ฮั้ว" ราคากันเอกชนจะไปเสียราคาให้สูงทำไม"
    นอกจากนี้แล้ว การประมูลไม่มีใครสามารถแทรกแซงได้ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการฟ้องร้องมาแล้ว แต่มีคำสั่งทางปกครอง การฟ้องร้องเกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเท่านั้น
*** ผ่องถ่ายลูกค้า "คลาสสิก" ที่สุด
    อย่างไรก็ตามเรื่องการโอนย้ายลูกค้า ภายหลังสัญญาสัมปทานหมดอายุลง ตัวอย่างกรณีของ ทรูมูฟ หรือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ตามสัญญาต้องโอนทรัพย์สินพร้อมลูกค้า ตามกฎหมายไม่สามารถบีบลูกค้าได้
    "เรื่องนี้ เป็นกรณี คลาสสิกที่สุดลองไปดูได้เลยว่ามีการโอนย้ายไปจริงหรือไม่ และ ยิ่งเปิดประมูลคลื่นเร็วเท่าไหร่ เอกชนไม่จำเป็นต้องย้ายลูกค้าออกเพราะเมื่อได้คลื่นมาก็คงสภาพลูกค้าเอาไว้ เสียแต่ค่าใบอนุญาตแค่นั้น" นายอนุภาพ กล่าว
    ขณะที่นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันลูกค้า ทรูมูฟ ได้ขอโอนย้ายเข้ามาในระบบ ทรูมูฟ เอช จำนวน 10 ล้านเลขหมาย และ ยังเหลืออีก 7-8 ล้านเลขหมาย ไม่ได้โอนย้ายแต่อย่างใด ตามสถิติแล้วการโอนย้ายลูกค้าจะโอนย้ายไปทั้งหมด 90% และ อีก 10% ยังไม่ขอย้ายออกจากระบบ
    "การเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮริตซ์ ทาง กสทช. เปิดให้มีการประมูล เพื่อนำมาให้บริการลูกค้าต่อไป ซึ่งถ้าประมูลได้สินทรัพย์ที่เสื่อมราคาไปในช่วงที่ผ่านมาก็จะกลับกลายมา เป็นรายได้ให้กลุ่มทรูด้วยเช่นเดียวกัน"
*** 3 ทุนสื่อสารลั่น ร่วมวงชัวร์
    สำหรับ บริษัท  ทรูมูฟ จำกัด ได้รับสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ ได้สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กับ แคท หรือ บริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2556 เช่นเดียวกับ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด แต่ กสทช. ได้ออกมาตรการเยียวยาให้เอกชนทั้ง 2 ราย มีสิทธิ์ให้บริการคลื่นความถี่ต่อไปอีก 1 ปี สิ้นสุดในเดือนกันยายน 2557
    ขณะที่ ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กับ แคท สัญญาสัมปทานสิ้นสุดในปี 2561
    ส่วน เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้สัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 เมกะเฮิรตซ์  กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สัญญาสัมปทานสิ้นสุดปี 2558
    ทั้งนี้กลุ่มทุนสื่อสารทั้ง 3 ราย คือ เอไอเอส-ดีแทค และ ทรูมูฟ ประกาศจุดยืนเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ 1800-900 เมกะเฮิรตซ์ อย่างแน่นอนเพื่อรักษาฐานลูกค้าที่มีอยู่เดิม โดย  เอไอเอส มีลูกค้ากว่า 36 ล้านราย, ดีแทค จำนวน 27 ล้านราย และ  กลุ่มทรูโมบายล์ มีจำนวนผู้ใช้ 22.9 ล้านราย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=222236:--900-1800&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.UyQeNlGSwcs
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่