ยิ่งใกล้งวดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี มากขึ้นเท่าใด ดูเหมือนว่าแรงกระเพื่อมเริ่มมีให้เห็นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมีกระแสข่าวว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ออกมาทำท่าแข็งกร้าวจะไม่ยอมคืนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ให้กับ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ภายหลังจาก เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 900 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 30 กันยายน 2558
ไม่ขวางแต่ไม่คืน
นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ สรท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สรท. ไม่ขัดขวางการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่การประมูลไม่ควรจะเป็นในช่วงเวลานี้ เพราะเมื่อสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.ทีโอที และ เอไอเอส สิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 กันยายน 2558 จะต้องมีการส่งทรัพย์สิน และ ลูกค้าจำนวน 30 ล้านเลขหมายส่งคืนกลับมายัง บมจ.ทีโอทีก่อน เนื่องจากสัญญาสัมปทานเป็นในลักษณะ BTO (Build-Transfer-Operate) คือสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินตกเป็นของรัฐ
"ดังนั้นทรัพย์สินที่ส่งกลับคืนมายัง บมจ.ทีโอที ต้องส่งมอบและใช้งานได้ คือ เป็นสิ่งของที่จับต้องได้และไม่ได้ สิ่งของที่จับต้องได้ คือ สถานีฐาน ส่วนสิ่งที่จับต้องไม่ได้ คือ เลขหมายโทรศัพท์จำนวน 30 ล้านเลขหมาย"
เดินสายคงสิทธิ
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ สรท. ได้ยื่นหนังสือขอให้ระงับการนำคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปจัดประมูลให้กับทางสำนักงาน กสทช. แล้ว รวมไปถึงได้ยื่นต่อประธานคณะกรรมการเตรียมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นายพรชัย รุจิประภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ไปแล้ว
ไม่เพียงเท่านี้ สรท. เมื่อ กสทช.ทำประชาพิจารณ์เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สรท.และพนักงาน เดินทางไปแสดงจุดยืนถึงสิทธิในการถือครองคลื่น ดังกล่าวพร้อมรายชื่อพนักงานทีโอที 500 คน ที่ลงรายชื่อไม่เห็นด้วยต่อการประมูล และเอกสารแสดงถึงเหตุผล และศักยภาพในการนำคลื่นดังกล่าวมาให้บริการเอง ซึ่งคาดว่าหากนำคลื่นมาให้บริการเองจะสามารถสร้างรายได้ให้รัฐไม่ต่ำกว่า เดือนละ 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ สรท.ยืนยันว่า มีศักยภาพในการนำคลื่นดังกล่าวมาพัฒนาเอง ซึ่ง สรท.ได้ทำแผนธุรกิจไว้เรียบร้อยแล้ว
สิทธิใช้คลื่นถึงปี 68
นอกจากนี้ สรท. ได้ออกแถลงการณ์พร้อมไปยื่นต่อ กสทช. โดยในเนื้อหาตอนหนึ่ง สรท. ยืนยันในสิทธิใช้คลื่นในการประกอบกิจการสื่อสารโทรคมนาคมต่อไป เว้นแต่สำนักงาน กสทช.จะมีกฎหมายรองรับที่จะเอาคลื่นความถี่คืน ทั้งนี้เห็นว่าสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องได้คุ้มครองตามกฎหมายโดยเฉพาะ ซึ่งในอดีตทีโอที หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ในขณะนั้นได้รับการจัดสรรคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์จากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ให้คลื่นแก่ทีโอทีแบบไม่มีกำหนดเวลา
แม้ว่า ทีโอที ไม่ได้นำคลื่นมาประกอบกิจการเอง แต่ได้ให้บริการในรูปแบบของสัญญาสัมปทานกับ เอไอเอส แต่ที่ผ่านมา ทีโอที ก็ใช้คลื่นความถี่มาตลอดไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลยไม่นำคลื่นความถี่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นในขณะที่ทีโอทีใช้งานคลื่นความถี่นี้อยู่ กสทช.ไม่ควรจะมายึดคลื่นความถี่คืน และปัจจุบันทีโอที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมไปจนถึงปี 2568 ดังนั้นสิทธิในคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จึงควรอยู่ไปจนถึงปี 2568 เป็นอย่างน้อยจึงไม่ควรนำมาเปิดประมูล
นายกฯสั่งเคลียร์คลื่น
อย่างไรก็ตามก่อนการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีจาก นายพรชัย รุจิประภา มาเป็นนายอุตตม สาวนายน นั้น นายพรชัย รุจิประภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า นายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดให้ ทีโอที แก้ปัญหาสัญญาสัมปทานบริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่กับ เอไอเอส ให้เสร็จใน 1 เดือน ทั้งตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในส่วนของการ ปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากบริการพรีเพด (เติมเงิน) และการหักค่าใช้จ่ายจากบริการโรมมิ่งออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดจากสัมปทาน ทั้งเตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความสิทธิในการใช้คลื่นภายใต้สัมปทานของทีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ว่า มาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 คุ้มครองสิทธิแค่ไหน เนื่องจากรัฐวิสาหกิจตีความว่า มีสิทธิใช้ตามใบอนุญาตจนถึงปี 2568 ขณะที่ กสทช.ตีความว่าสิทธิย่อมสิ้นสุดพร้อมสัญญาสัมปทาน
ประมูล 4 จีจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรม
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ไว้ว่า การประมูล 4G จะเป็นก้าวสำคัญให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนไปสู่กรอบการแข่งขันใหม่ๆที่ผู้ชนะในระยะต่อไปจำเป็นจะต้องมี Network data ที่แข็งแกร่งและมีความสามารถในการสร้างรายได้ใหม่ๆ บนฐานลูกค้าเดิม (Monetization) แม้ผู้ชนะจะยังเห็นไม่ชัดเจนทั้งนี้ การประมูลน่าจะเกิดขึ้นตามแผนของรัฐบาล คือ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 สลอต ทั้งหมด 25 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน และ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 สลอต จำนวนทั้งหมด 20MHz เราคาดภายในพฤศจิกายน (ยังไม่ยืนยันวัน) เราคาดว่า เอไอเอส และ ทรู จะเป็นผู้ชนะในการประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์
ต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าระยะเวลาอีก 2 เดือนหลังจากนี้บทสรุปคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์จะจบลงอย่างไร ส่วน 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีเค้าลางว่า บมจ.กสทโทรคมนาคม จะคืนคลื่น จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ กลับคืนมาให้ไม่ทันภายในวันที่ 25 กันยายนนี้
แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จะไฟเขียว และ กสทช.ก็วางโรดแมปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่เชื่อว่าจะเกิดข้อพิพาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฟันธง!!
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558 (หน้า 24 บน)
รายงาน: ปมปะทุรอบใหม่ ศึกชิงคลื่น 900 MHz ทีโอทีกร้าว! ไม่ส่งคืนให้กสทช.
ยิ่งใกล้งวดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี มากขึ้นเท่าใด ดูเหมือนว่าแรงกระเพื่อมเริ่มมีให้เห็นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เมื่อมีกระแสข่าวว่า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ออกมาทำท่าแข็งกร้าวจะไม่ยอมคืนคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ให้กับ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ภายหลังจาก เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน 900 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 30 กันยายน 2558
ไม่ขวางแต่ไม่คืน
นายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ สรท. เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สรท. ไม่ขัดขวางการประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่การประมูลไม่ควรจะเป็นในช่วงเวลานี้ เพราะเมื่อสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.ทีโอที และ เอไอเอส สิ้นสุดสัญญาสัมปทานในวันที่ 30 กันยายน 2558 จะต้องมีการส่งทรัพย์สิน และ ลูกค้าจำนวน 30 ล้านเลขหมายส่งคืนกลับมายัง บมจ.ทีโอทีก่อน เนื่องจากสัญญาสัมปทานเป็นในลักษณะ BTO (Build-Transfer-Operate) คือสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินตกเป็นของรัฐ
"ดังนั้นทรัพย์สินที่ส่งกลับคืนมายัง บมจ.ทีโอที ต้องส่งมอบและใช้งานได้ คือ เป็นสิ่งของที่จับต้องได้และไม่ได้ สิ่งของที่จับต้องได้ คือ สถานีฐาน ส่วนสิ่งที่จับต้องไม่ได้ คือ เลขหมายโทรศัพท์จำนวน 30 ล้านเลขหมาย"
เดินสายคงสิทธิ
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ สรท. ได้ยื่นหนังสือขอให้ระงับการนำคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไปจัดประมูลให้กับทางสำนักงาน กสทช. แล้ว รวมไปถึงได้ยื่นต่อประธานคณะกรรมการเตรียมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ นายพรชัย รุจิประภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ไปแล้ว
ไม่เพียงเท่านี้ สรท. เมื่อ กสทช.ทำประชาพิจารณ์เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สรท.และพนักงาน เดินทางไปแสดงจุดยืนถึงสิทธิในการถือครองคลื่น ดังกล่าวพร้อมรายชื่อพนักงานทีโอที 500 คน ที่ลงรายชื่อไม่เห็นด้วยต่อการประมูล และเอกสารแสดงถึงเหตุผล และศักยภาพในการนำคลื่นดังกล่าวมาให้บริการเอง ซึ่งคาดว่าหากนำคลื่นมาให้บริการเองจะสามารถสร้างรายได้ให้รัฐไม่ต่ำกว่า เดือนละ 5,000 ล้านบาท ทั้งนี้ สรท.ยืนยันว่า มีศักยภาพในการนำคลื่นดังกล่าวมาพัฒนาเอง ซึ่ง สรท.ได้ทำแผนธุรกิจไว้เรียบร้อยแล้ว
สิทธิใช้คลื่นถึงปี 68
นอกจากนี้ สรท. ได้ออกแถลงการณ์พร้อมไปยื่นต่อ กสทช. โดยในเนื้อหาตอนหนึ่ง สรท. ยืนยันในสิทธิใช้คลื่นในการประกอบกิจการสื่อสารโทรคมนาคมต่อไป เว้นแต่สำนักงาน กสทช.จะมีกฎหมายรองรับที่จะเอาคลื่นความถี่คืน ทั้งนี้เห็นว่าสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จะต้องได้คุ้มครองตามกฎหมายโดยเฉพาะ ซึ่งในอดีตทีโอที หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ในขณะนั้นได้รับการจัดสรรคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์จากคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ (กบถ.) ให้คลื่นแก่ทีโอทีแบบไม่มีกำหนดเวลา
แม้ว่า ทีโอที ไม่ได้นำคลื่นมาประกอบกิจการเอง แต่ได้ให้บริการในรูปแบบของสัญญาสัมปทานกับ เอไอเอส แต่ที่ผ่านมา ทีโอที ก็ใช้คลื่นความถี่มาตลอดไม่ใช่ว่าปล่อยปละละเลยไม่นำคลื่นความถี่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นในขณะที่ทีโอทีใช้งานคลื่นความถี่นี้อยู่ กสทช.ไม่ควรจะมายึดคลื่นความถี่คืน และปัจจุบันทีโอที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมไปจนถึงปี 2568 ดังนั้นสิทธิในคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จึงควรอยู่ไปจนถึงปี 2568 เป็นอย่างน้อยจึงไม่ควรนำมาเปิดประมูล
นายกฯสั่งเคลียร์คลื่น
อย่างไรก็ตามก่อนการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีจาก นายพรชัย รุจิประภา มาเป็นนายอุตตม สาวนายน นั้น นายพรชัย รุจิประภา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า นายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดให้ ทีโอที แก้ปัญหาสัญญาสัมปทานบริการโทรศัพท์เคลื่อน ที่กับ เอไอเอส ให้เสร็จใน 1 เดือน ทั้งตามคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในส่วนของการ ปรับลดส่วนแบ่งรายได้จากบริการพรีเพด (เติมเงิน) และการหักค่าใช้จ่ายจากบริการโรมมิ่งออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดจากสัมปทาน ทั้งเตรียมยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความสิทธิในการใช้คลื่นภายใต้สัมปทานของทีโอที และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ว่า มาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 คุ้มครองสิทธิแค่ไหน เนื่องจากรัฐวิสาหกิจตีความว่า มีสิทธิใช้ตามใบอนุญาตจนถึงปี 2568 ขณะที่ กสทช.ตีความว่าสิทธิย่อมสิ้นสุดพร้อมสัญญาสัมปทาน
ประมูล 4 จีจุดเปลี่ยนอุตสาหกรรม
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด ระบุในบทวิเคราะห์ไว้ว่า การประมูล 4G จะเป็นก้าวสำคัญให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนไปสู่กรอบการแข่งขันใหม่ๆที่ผู้ชนะในระยะต่อไปจำเป็นจะต้องมี Network data ที่แข็งแกร่งและมีความสามารถในการสร้างรายได้ใหม่ๆ บนฐานลูกค้าเดิม (Monetization) แม้ผู้ชนะจะยังเห็นไม่ชัดเจนทั้งนี้ การประมูลน่าจะเกิดขึ้นตามแผนของรัฐบาล คือ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 สลอต ทั้งหมด 25 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน และ 900 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 2 สลอต จำนวนทั้งหมด 20MHz เราคาดภายในพฤศจิกายน (ยังไม่ยืนยันวัน) เราคาดว่า เอไอเอส และ ทรู จะเป็นผู้ชนะในการประมูล 1800 เมกะเฮิรตซ์
ต้องรอลุ้นกันต่อไปว่าระยะเวลาอีก 2 เดือนหลังจากนี้บทสรุปคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์จะจบลงอย่างไร ส่วน 1800 เมกะเฮิรตซ์ มีเค้าลางว่า บมจ.กสทโทรคมนาคม จะคืนคลื่น จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ กลับคืนมาให้ไม่ทันภายในวันที่ 25 กันยายนนี้
แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จะไฟเขียว และ กสทช.ก็วางโรดแมปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่เชื่อว่าจะเกิดข้อพิพาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฟันธง!!
ขอขอบคุณแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558 (หน้า 24 บน)