'กสทช.' เล่นใหญ่ พาเหรด 6 คลื่นมือถือ ไฟเขียวเปิดประมูลเม.ย.นี้
กสทช.ลงมติประมูล 6 คลื่นมือถือพร้อมกันทุกคลื่นเก่า-ใหม่ 390 MHz พร้อมกัน ไม่เน้นราคาสูง คาดประชาพิจารณ์เสร็จภายใน 30 วัน หวังประมูลไม่เกินเม.ย.ปี 68
นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช. วันนี้ ( 14 ม.ค. ) มีมติเห็นชอบให้สำนักงาน กสทช.นำหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 850 MHz 1500 MHz 1800 MHz 2100 MHz 2300 MHz และ 26 GHz ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์)
ขั้นตอนต่อไปต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน จากนั้นนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะสามารถประมูลภายในเม.ย.ปี 2568
ด้านพล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกสทช.ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านคลื่นความถี่ และมาตรฐานทางเทคนิค กสทช. เปิดเผยว่า คลื่นที่จะนำมาประมูลพร้อมกันมีทั้งคลื่นที่กำลังหมดอายุใบอนุญาต,คลื่นว่างที่ไม่มีใครประมูลครั้งที่ผ่านมา,คลื่นที่ไม่เคยถูกนำมาประมูลมาก่อน และ คลื่นที่ยังไม่หมดอายุใบอนุญาต แต่นำมาประมูลล่วงหน้า รวมทั้งสิ้น 6 คลื่น 390 MHz พร้อมกัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
คลื่นในย่านความถี่ต่ำ Low Band
ประกอบด้วย 3 คลื่น ได้แก่
1.คลื่น 850 MHz ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ที่ต้องคืนคลื่นมาให้กสทช.จัดสรร โดยจะหมดใบอนุญาต 3 ส.ค. 2568 จำนวน 2x15 MHz จำนวน 30 MHz
2. คลื่น 1500 MHz จำนวน 90 MHz ของ NT ที่จะหมดอายุในวันเดียวกัน และ
3.คลื่น 1800 MHz ที่เหลือจากการประมูลครั้งที่ผ่านมา 35 MHz
คลื่นในย่านความถี่กลาง Mid Band
ประกอบด้วย 2100 MHz ซึ่งมี 2 ประเภทย่านความถี่ แบ่งเป็น
1.คลื่น FDD จำนวน 60 MHz โดยเป็นของ NT ที่กำลังจะหมดใบอนุญาตจำนวน 15 MHz และเป็นการนำคลื่นของ 3 ค่ายมือถือ ทรู เอไอเอส ดีแทค ที่จะสิ้นสุดใบอนุญาตปี 2570 จำนวน 45 MHz และ
2.ประเภท TDD ที่สำนักงานกสทช.ได้มีการปรับปรุงย่านความถี่ (Re-farming) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานคลื่นความถี่เพิ่มเติมอีกจำนวน 15 MHz นอกจากนี้ยังมีคลื่น 2300 MHz ของ NT ที่จะหมดอายุอีกจำนวน 60 MHz
คลื่นในย่านความถี่สูง Hi Band
ได้แก่ คลื่น 26 GHz จำนวน 100 MHz ซึ่งเหลือจากการประมูลในครั้งที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุม พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กรรมการกสทช.ด้านกฎหมาย ตั้งคำถามว่า การประมูลคลื่นความถี่พร้อมกันดังกล่าวนั้น วัตถุประสงค์เพื่ออะไร เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่แบบมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องแรกหรือไม่ เหตุใดวัตถุประสงค์เรื่องการนำรายได้เข้ารัฐจึงอยู่ข้อสุดท้าย แบบนี้จะทำให้นำเงินเข้ารัฐน้อยหรือไม่ ซึ่งในที่ประชุมยอมรับว่าราคาเริ่มต้นการประมูลบางคลื่นก็เริ่มสูงขึ้นจากเดิมคือคลื่น 850 MHz ขณะที่คลื่น 2100 MHz ราคาเริ่มต้นการประมูลต่ำกว่าการประมูลครั้งก่อน โดยสำนักงานกสทช.ให้เหตุผลว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนมีผลต่อราคาเริ่มต้นการประมูล
ที่มา bangkokbiznews
'กสทช.' เล่นใหญ่ พาเหรด 6 คลื่นมือถือ ไม่เน้นราคาสูง ไฟเขียวเปิดประมูลเม.ย.นี้
ขั้นตอนต่อไปต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน จากนั้นนำเสนอต่อที่ประชุมบอร์ดพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะสามารถประมูลภายในเม.ย.ปี 2568
ด้านพล.อ.ท.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกสทช.ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านคลื่นความถี่ และมาตรฐานทางเทคนิค กสทช. เปิดเผยว่า คลื่นที่จะนำมาประมูลพร้อมกันมีทั้งคลื่นที่กำลังหมดอายุใบอนุญาต,คลื่นว่างที่ไม่มีใครประมูลครั้งที่ผ่านมา,คลื่นที่ไม่เคยถูกนำมาประมูลมาก่อน และ คลื่นที่ยังไม่หมดอายุใบอนุญาต แต่นำมาประมูลล่วงหน้า รวมทั้งสิ้น 6 คลื่น 390 MHz พร้อมกัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
คลื่นในย่านความถี่ต่ำ Low Band
ประกอบด้วย 3 คลื่น ได้แก่
1.คลื่น 850 MHz ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ที่ต้องคืนคลื่นมาให้กสทช.จัดสรร โดยจะหมดใบอนุญาต 3 ส.ค. 2568 จำนวน 2x15 MHz จำนวน 30 MHz
2. คลื่น 1500 MHz จำนวน 90 MHz ของ NT ที่จะหมดอายุในวันเดียวกัน และ
3.คลื่น 1800 MHz ที่เหลือจากการประมูลครั้งที่ผ่านมา 35 MHz
คลื่นในย่านความถี่กลาง Mid Band
ประกอบด้วย 2100 MHz ซึ่งมี 2 ประเภทย่านความถี่ แบ่งเป็น
1.คลื่น FDD จำนวน 60 MHz โดยเป็นของ NT ที่กำลังจะหมดใบอนุญาตจำนวน 15 MHz และเป็นการนำคลื่นของ 3 ค่ายมือถือ ทรู เอไอเอส ดีแทค ที่จะสิ้นสุดใบอนุญาตปี 2570 จำนวน 45 MHz และ
2.ประเภท TDD ที่สำนักงานกสทช.ได้มีการปรับปรุงย่านความถี่ (Re-farming) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานคลื่นความถี่เพิ่มเติมอีกจำนวน 15 MHz นอกจากนี้ยังมีคลื่น 2300 MHz ของ NT ที่จะหมดอายุอีกจำนวน 60 MHz
คลื่นในย่านความถี่สูง Hi Band
ได้แก่ คลื่น 26 GHz จำนวน 100 MHz ซึ่งเหลือจากการประมูลในครั้งที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุม พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กรรมการกสทช.ด้านกฎหมาย ตั้งคำถามว่า การประมูลคลื่นความถี่พร้อมกันดังกล่าวนั้น วัตถุประสงค์เพื่ออะไร เพื่อจัดสรรคลื่นความถี่แบบมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องแรกหรือไม่ เหตุใดวัตถุประสงค์เรื่องการนำรายได้เข้ารัฐจึงอยู่ข้อสุดท้าย แบบนี้จะทำให้นำเงินเข้ารัฐน้อยหรือไม่ ซึ่งในที่ประชุมยอมรับว่าราคาเริ่มต้นการประมูลบางคลื่นก็เริ่มสูงขึ้นจากเดิมคือคลื่น 850 MHz ขณะที่คลื่น 2100 MHz ราคาเริ่มต้นการประมูลต่ำกว่าการประมูลครั้งก่อน โดยสำนักงานกสทช.ให้เหตุผลว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนมีผลต่อราคาเริ่มต้นการประมูล
ที่มา bangkokbiznews