ส่อล้มประมูลคลื่น900 'ฐากร'อ้างมีปัญหาทางเทคนิค
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า กสทช.เปิดให้มีการรับฟัง ความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม คลื่น 1800 และคลื่น 900 MHz ตามแผนจะเปิดประมูลช่วงมิถุนายนปีนี้
ปัจจุบันคลื่นดังกล่าว บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้รับสัมปทานจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดสัญญาในเดือนกันยายน 2561
นายฐากรกล่าวว่า ตัวแทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ศึกษาแผนการประมูล ให้ความเห็นว่าการเปิดประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 5 MHz นั้น มีความเป็นไปได้ และความเสี่ยงที่จะไปกวนสัญญาณกับคลื่น 900 MHz อีกย่านหนึ่งที่ สำนักงานกสทช. ได้จัดสรรไปให้กระทรวงคมนาคม สำหรับใช้การสื่อสัญญาณของรถไฟความเร็วสูง
ดังนั้นในการประชุมคณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในวันที่ 25 มกราคม จะเสนอให้ยุติการวางแผนการประมูลในย่านดังกล่าวออกไปจนกว่าจะมีการนำคลื่นไปใช้งานสื่อสารในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง และมีเทคโนโลยีมา รองรับจนสามารถการันตีได้ 100% ว่าจะไม่เกิดคลื่นรบกวนต่อกัน หลังจากที่คณะอนุกรรมการ กทค.เห็นชอบแล้ว จากนั้นจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่คณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.ที่จะจัดประชุมในวันที่ 31 มกราคมต่อไป
เลขาธิการ กสทช.กล่าวถึงการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz (ปัจจุบัน ดีแทคให้บริการอยู่และสิ้นสุดในเดือนกันยายน)ว่า เดิมร่างหลักเกณฑ์การประมูลจะจัดสรรจำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 MHz โดยราคาขั้นต่ำของการประมูลครั้งนี้อยู่ที่ 37,457 ล้านบาท โดยในการรับฟังความเห็นสาธารณ พบว่า มีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บางราย เสนอให้แบ่งคลื่นความถี่ทั้ง 45 MHz ออกเป็น 9 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 MHz และให้โอเปอเรเตอร์แต่ละรายเป็นผู้เลือกว่ามีความต้องการใบอนุญาตกี่เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งการปรับหลักเกณฑ์ครั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นผลดีกับทุกฝ่าย เนื่องจากเอกชนแต่ละรายมีความต้องการไม่เท่ากัน ดังนั้น หากประมูลแบบเดิมที่กำหนดตายตัวใบละ 15 MHz อาจจะทำให้ใบอนุญาตไม่ถูกจัดสรรทั้งหมด
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/nnd/2769702
ไร้คลื่นสั้น!! ส่อแท้ง 900 MHz อ้าง! กระทบรถไฟความเร็วสูง!! ซอย 1800 MHz ใหม่ ลอตละ 5 Mhz ชี้ ดีกับทุกฝ่าย
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า กสทช.เปิดให้มีการรับฟัง ความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อร่างประกาศ หลักเกณฑ์ และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม คลื่น 1800 และคลื่น 900 MHz ตามแผนจะเปิดประมูลช่วงมิถุนายนปีนี้
ปัจจุบันคลื่นดังกล่าว บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ได้รับสัมปทานจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดสัญญาในเดือนกันยายน 2561
นายฐากรกล่าวว่า ตัวแทน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ศึกษาแผนการประมูล ให้ความเห็นว่าการเปิดประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 5 MHz นั้น มีความเป็นไปได้ และความเสี่ยงที่จะไปกวนสัญญาณกับคลื่น 900 MHz อีกย่านหนึ่งที่ สำนักงานกสทช. ได้จัดสรรไปให้กระทรวงคมนาคม สำหรับใช้การสื่อสัญญาณของรถไฟความเร็วสูง
ดังนั้นในการประชุมคณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในวันที่ 25 มกราคม จะเสนอให้ยุติการวางแผนการประมูลในย่านดังกล่าวออกไปจนกว่าจะมีการนำคลื่นไปใช้งานสื่อสารในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง และมีเทคโนโลยีมา รองรับจนสามารถการันตีได้ 100% ว่าจะไม่เกิดคลื่นรบกวนต่อกัน หลังจากที่คณะอนุกรรมการ กทค.เห็นชอบแล้ว จากนั้นจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่คณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.ที่จะจัดประชุมในวันที่ 31 มกราคมต่อไป
เลขาธิการ กสทช.กล่าวถึงการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz (ปัจจุบัน ดีแทคให้บริการอยู่และสิ้นสุดในเดือนกันยายน)ว่า เดิมร่างหลักเกณฑ์การประมูลจะจัดสรรจำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 MHz โดยราคาขั้นต่ำของการประมูลครั้งนี้อยู่ที่ 37,457 ล้านบาท โดยในการรับฟังความเห็นสาธารณ พบว่า มีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บางราย เสนอให้แบ่งคลื่นความถี่ทั้ง 45 MHz ออกเป็น 9 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 MHz และให้โอเปอเรเตอร์แต่ละรายเป็นผู้เลือกว่ามีความต้องการใบอนุญาตกี่เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งการปรับหลักเกณฑ์ครั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นผลดีกับทุกฝ่าย เนื่องจากเอกชนแต่ละรายมีความต้องการไม่เท่ากัน ดังนั้น หากประมูลแบบเดิมที่กำหนดตายตัวใบละ 15 MHz อาจจะทำให้ใบอนุญาตไม่ถูกจัดสรรทั้งหมด
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/nnd/2769702