ตามที่ปรากฏในกฎการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาที่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคลื่นความถี่ (Wireless Broadband) มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมกับรัฐบาลมีนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) ทำให้อุตสาหกรรมมี ความต้องการใช้คลื่นความถี่ ในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นยิ่งยวดในการเข้าถึงแบบไร้สายทุกประเภท ดังนั้น ท่าทีของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลื่นความถี่จึงควรเป็นการส่งเสริมให้มีคลื่นความถี่ในตลาดอย่างเพียงพอต่อการให้บริการ และเข้ามากำกับดูแลแทรกแซงเฉพาะในกรณีที่มีการถือคลื่นความถี่โดยกีดกันเท่านั้น
รายงานข่าวจากดีแทค ระบุว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ทั้งในส่วนของคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 MHz ด้วยวิธีการประมูล โดยร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีข้อกำหนดการถือครองคลื่นความถี่ไว้ที่ 60 MHz ต่อผู้ประกอบการหนึ่งราย หรือ Overall Spectrum Cap บริษัทฯ เห็นว่า มีประเด็นพิจารณาที่น่าสนใจหลายประการ กล่าวคือ
การถือครองคลื่นความถี่ตามสัญญาสัมปทานโดยผู้รับสัมปทานย่อมไม่ใช่การกักตุน เพราะสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ในกรณีนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานยังคงมีสิทธิในการประกอบกิจการ และใช้คลื่นความถี่ตามที่มีอยู่เดิมต่อไปเพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการสาธารณะ และมิให้บริการสาธารณะสะดุดหยุดลง นอกจากนี้ การยกเลิกสัญญาสัมปทานนั้นไม่อาจกระทำได้เพราะกระทบกระเทือนต่อการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชน
ยิ่งไปกว่านั้น อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากระบอบการกำกับดูแลผ่านสัมปทาน (Concession) ไปสู่ระบอบใบอนุญาต (Licensing) ซึ่งยังเปลี่ยนผ่านไม่สมบูรณ์ ผู้ประกอบการจึงยังมีการใช้คลื่นความถี่ในทั้ง 2 ระบอบอยู่พร้อมกัน การใช้คลื่นความถี่ทั้ง 2 ระบอบยังมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของต้นทุนในการประกอบกิจการ (ภายใต้ระบอบสัมปทานจะมีต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ 30% ในขณะที่การประกอบกิจการในระบอบใบอนุญาตมีต้นทุนเพียง 5.25% ของรายได้) ความเป็นจ้าของในทรัพย์สิน (สัมปทานอยู่ภายใต้เงื่อนไข BTO ในขณะที่การประกอบกิจการผ่านใบอนุญาตไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว) ระดับในการกำกับดูแล (แต่ละสัญญาสัมปทานมีเงื่อนไขในการดำเนินการที่แตกต่างกัน ในขณะที่ภายใต้ระบอบใบอนุญาตจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกันทั้งตลาด) เป็นต้น ดังนั้น การถือครองคลื่นตามสัญญาสัมปทานเป็นเรื่องที่รัฐได้บัญญัติให้ต้องดำเนินการต่อไปเป็นการบังคับเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยถือเป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาต ไม่ใช่การที่ผู้ถือครองคลื่นความถี่ได้กระทำการเพื่อสะสมคลื่น หรือกักตุนคลื่นความถี่เพื่อกีดกันการแข่งขันแต่อย่างใด
ดังนั้น เมื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ในปัจจุบันกำลังจะสิ้นสุดลงในระยะเวลา 3 ปี จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการเร่งรัดกำหนด Overall Spectrum a Cap ในตอนนี้
ปริมาณคลื่นความถี่ที่เหมาะสมจะกำหนด Overall Spectrum Cap ก็เป็นอีกประเด็นที่สำคัญ การกำหนด Overall Spectrum Cap อย่างไม่เหมาะสมย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบริการโทรคมนาคม
ในต่างประเทศ มีการกำหนด Overall Spectrum Cap ไว้ในปริมาณแตกต่างกัน แต่กำหนดไว้จำนวนมากสอดคล้องต่อสภาพความต้องการของตลาด เช่น
1.ประเทศอังกฤษ OFCOM ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ได้กำหนด Overall Spectrum Cap ไว้ที่ 105 MHz โดยมีข้อจำกัดพิเศษในกรณีคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 1 GHz ผู้ประกอบการแต่ละรายจะต้องไม่ถือคลื่นความถี่ดังกล่าวเกิน 27.5 MHz อีกด้วย
2.ประเทศสเปน อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน ไม่มีการกำหนด Overall Spectrum Cap แต่ในบางกรณีมีการกำหนดข้อจำกัดการถือคลื่นความถี่ในแต่ละย่านความถี่ (Band-specific Cap) เช่น ในย่าน 2.6 GHz องค์กรกำกับดูแลของนอร์เวย์ กำหนด Band-specific Cap ไว้ที่ 90 MHz ในขณะที่องค์กรกำกับดูแลของสวีเดน กำหนด Band-specific Cap ไว้ที่ 140 MHz
3.ประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ในอดีตมีการกำหนด Overall Spectrum Cap ไว้หลายระดับ โดยมีการเพิ่ม Cap มากขึ้นเรื่อย จนกระทั่งในช่วงปี 2003-2004 สหรัฐอเมริกา และแคนาดาได้พิจารณายกเลิกการกำหนด Overall Spectrum Cap โดยหันไปใช้วิธีการกำกับดูแลในเชิงการป้องกันการกีดกันการแข่งขันแทน
4.ประเทศญี่ปุ่น ไม่มีการกำหนด Overall Spectrum Cap และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนมากล้วนถือครองคลื่นมากกว่า 60 MHz เช่น DoCoMo ถือคลื่นความถี่อยู่รวม 160 MHz, AU ถือคลื่นความถี่อยู่รวม 110 MHz และ Softbank ถือคลื่นความถี่อยู่รวม 90 MHz เป็นต้น
ในกรณีของประเทศไทยการกำหนดคลื่นความถี่ให้ถือครองได้เพียง 60 MHz ต่อหนึ่งราย จึงไม่สอดคล้องต่อแนวปฏิบัติระหว่างประเทศที่ดี และจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่อาจมีคลื่นความถี่เพียงพอต่อการให้บริการที่ดีต่อประชาชน ไม่สอดคล้องต่อนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล ทั้งนี้ ก่อนที่จะสามารถกำหนดปริมาณการถือครองคลื่นความถี่ที่เหมาะสมได้ จำเป็นที่จะต้องมี Spectrum Roadmap ที่ ชัดเจนเพื่อที่จะทราบได้ว่าคลื่นความถี่ทั้งหมดที่จะนำมาจัดสรรได้มีปริมาณเท่าใด และเมื่อไหร่
ประกอบกับการศึกษาโครงสร้างตลาดของประเทศไทยว่าจะมีผู้ให้บริการที่มีศักยภาพที่จะแข่งขันในตลาดกี่ราย และความต้องการใช้บริการโดยเฉพาะด้าน Data จะเพิ่มขึ้นเท่าใด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ กสทช. สามารถใช้ในการกำหนด Overall Spectrum Cap ได้อย่างเหมาะสม หรืออาจจะกำหนด Spectrum Cap ตามความเหมาะสมเป็นขั้นตอน เช่น แยกเป็น Spectrum Cap สำหรับ Hi-Band Spectrum และ Low-Band Spectrum หรืออาจกำหนดเป็นแบบ Band by Band ซึ่งขึ้นกับเหตุผล และความจำเป็นที่แตกต่างกันไปตามสภาพตลาด และการแข่งขัน
Cr.
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000087861
จุดยืนดีแทคต่อข้อกำหนดการถือครองคลื่นความถี่ (Overall Spectrum Cap)
ตามที่ปรากฏในกฎการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และ 900 MHz ประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาที่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคลื่นความถี่ (Wireless Broadband) มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด พร้อมกับรัฐบาลมีนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy) ทำให้อุตสาหกรรมมี ความต้องการใช้คลื่นความถี่ ในฐานะที่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นยิ่งยวดในการเข้าถึงแบบไร้สายทุกประเภท ดังนั้น ท่าทีของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลื่นความถี่จึงควรเป็นการส่งเสริมให้มีคลื่นความถี่ในตลาดอย่างเพียงพอต่อการให้บริการ และเข้ามากำกับดูแลแทรกแซงเฉพาะในกรณีที่มีการถือคลื่นความถี่โดยกีดกันเท่านั้น
รายงานข่าวจากดีแทค ระบุว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม ทั้งในส่วนของคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 MHz ด้วยวิธีการประมูล โดยร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวมีข้อกำหนดการถือครองคลื่นความถี่ไว้ที่ 60 MHz ต่อผู้ประกอบการหนึ่งราย หรือ Overall Spectrum Cap บริษัทฯ เห็นว่า มีประเด็นพิจารณาที่น่าสนใจหลายประการ กล่าวคือ
การถือครองคลื่นความถี่ตามสัญญาสัมปทานโดยผู้รับสัมปทานย่อมไม่ใช่การกักตุน เพราะสิทธิในการใช้คลื่นความถี่ในกรณีนี้เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานยังคงมีสิทธิในการประกอบกิจการ และใช้คลื่นความถี่ตามที่มีอยู่เดิมต่อไปเพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการสาธารณะ และมิให้บริการสาธารณะสะดุดหยุดลง นอกจากนี้ การยกเลิกสัญญาสัมปทานนั้นไม่อาจกระทำได้เพราะกระทบกระเทือนต่อการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชน
ยิ่งไปกว่านั้น อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากระบอบการกำกับดูแลผ่านสัมปทาน (Concession) ไปสู่ระบอบใบอนุญาต (Licensing) ซึ่งยังเปลี่ยนผ่านไม่สมบูรณ์ ผู้ประกอบการจึงยังมีการใช้คลื่นความถี่ในทั้ง 2 ระบอบอยู่พร้อมกัน การใช้คลื่นความถี่ทั้ง 2 ระบอบยังมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของต้นทุนในการประกอบกิจการ (ภายใต้ระบอบสัมปทานจะมีต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ 30% ในขณะที่การประกอบกิจการในระบอบใบอนุญาตมีต้นทุนเพียง 5.25% ของรายได้) ความเป็นจ้าของในทรัพย์สิน (สัมปทานอยู่ภายใต้เงื่อนไข BTO ในขณะที่การประกอบกิจการผ่านใบอนุญาตไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว) ระดับในการกำกับดูแล (แต่ละสัญญาสัมปทานมีเงื่อนไขในการดำเนินการที่แตกต่างกัน ในขณะที่ภายใต้ระบอบใบอนุญาตจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกันทั้งตลาด) เป็นต้น ดังนั้น การถือครองคลื่นตามสัญญาสัมปทานเป็นเรื่องที่รัฐได้บัญญัติให้ต้องดำเนินการต่อไปเป็นการบังคับเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยถือเป็นการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบใบอนุญาต ไม่ใช่การที่ผู้ถือครองคลื่นความถี่ได้กระทำการเพื่อสะสมคลื่น หรือกักตุนคลื่นความถี่เพื่อกีดกันการแข่งขันแต่อย่างใด
ดังนั้น เมื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าสัญญาสัมปทานที่มีอยู่ในปัจจุบันกำลังจะสิ้นสุดลงในระยะเวลา 3 ปี จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการเร่งรัดกำหนด Overall Spectrum a Cap ในตอนนี้
ปริมาณคลื่นความถี่ที่เหมาะสมจะกำหนด Overall Spectrum Cap ก็เป็นอีกประเด็นที่สำคัญ การกำหนด Overall Spectrum Cap อย่างไม่เหมาะสมย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบริการโทรคมนาคม
ในต่างประเทศ มีการกำหนด Overall Spectrum Cap ไว้ในปริมาณแตกต่างกัน แต่กำหนดไว้จำนวนมากสอดคล้องต่อสภาพความต้องการของตลาด เช่น
1.ประเทศอังกฤษ OFCOM ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ได้กำหนด Overall Spectrum Cap ไว้ที่ 105 MHz โดยมีข้อจำกัดพิเศษในกรณีคลื่นความถี่ที่ต่ำกว่า 1 GHz ผู้ประกอบการแต่ละรายจะต้องไม่ถือคลื่นความถี่ดังกล่าวเกิน 27.5 MHz อีกด้วย
2.ประเทศสเปน อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน ไม่มีการกำหนด Overall Spectrum Cap แต่ในบางกรณีมีการกำหนดข้อจำกัดการถือคลื่นความถี่ในแต่ละย่านความถี่ (Band-specific Cap) เช่น ในย่าน 2.6 GHz องค์กรกำกับดูแลของนอร์เวย์ กำหนด Band-specific Cap ไว้ที่ 90 MHz ในขณะที่องค์กรกำกับดูแลของสวีเดน กำหนด Band-specific Cap ไว้ที่ 140 MHz
3.ประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ในอดีตมีการกำหนด Overall Spectrum Cap ไว้หลายระดับ โดยมีการเพิ่ม Cap มากขึ้นเรื่อย จนกระทั่งในช่วงปี 2003-2004 สหรัฐอเมริกา และแคนาดาได้พิจารณายกเลิกการกำหนด Overall Spectrum Cap โดยหันไปใช้วิธีการกำกับดูแลในเชิงการป้องกันการกีดกันการแข่งขันแทน
4.ประเทศญี่ปุ่น ไม่มีการกำหนด Overall Spectrum Cap และผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่วนมากล้วนถือครองคลื่นมากกว่า 60 MHz เช่น DoCoMo ถือคลื่นความถี่อยู่รวม 160 MHz, AU ถือคลื่นความถี่อยู่รวม 110 MHz และ Softbank ถือคลื่นความถี่อยู่รวม 90 MHz เป็นต้น
ในกรณีของประเทศไทยการกำหนดคลื่นความถี่ให้ถือครองได้เพียง 60 MHz ต่อหนึ่งราย จึงไม่สอดคล้องต่อแนวปฏิบัติระหว่างประเทศที่ดี และจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่อาจมีคลื่นความถี่เพียงพอต่อการให้บริการที่ดีต่อประชาชน ไม่สอดคล้องต่อนโยบายดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล ทั้งนี้ ก่อนที่จะสามารถกำหนดปริมาณการถือครองคลื่นความถี่ที่เหมาะสมได้ จำเป็นที่จะต้องมี Spectrum Roadmap ที่ ชัดเจนเพื่อที่จะทราบได้ว่าคลื่นความถี่ทั้งหมดที่จะนำมาจัดสรรได้มีปริมาณเท่าใด และเมื่อไหร่
ประกอบกับการศึกษาโครงสร้างตลาดของประเทศไทยว่าจะมีผู้ให้บริการที่มีศักยภาพที่จะแข่งขันในตลาดกี่ราย และความต้องการใช้บริการโดยเฉพาะด้าน Data จะเพิ่มขึ้นเท่าใด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ กสทช. สามารถใช้ในการกำหนด Overall Spectrum Cap ได้อย่างเหมาะสม หรืออาจจะกำหนด Spectrum Cap ตามความเหมาะสมเป็นขั้นตอน เช่น แยกเป็น Spectrum Cap สำหรับ Hi-Band Spectrum และ Low-Band Spectrum หรืออาจกำหนดเป็นแบบ Band by Band ซึ่งขึ้นกับเหตุผล และความจำเป็นที่แตกต่างกันไปตามสภาพตลาด และการแข่งขัน
Cr.http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000087861