นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เปิดเผยว่า จากกรณีที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคได้แสดงเจตจำนงที่จะคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้นำประมูล 4 จีด้วยนั้น ทางแคทไม่ยินยอม และไม่เห็นด้วยที่จะคืนคลื่นดังกล่าว เนื่องจากคลื่นดังกล่าวเป็นสิทธิ์ของแคท ที่สามารถนำมาให้บริการอย่างต่อเนื่องได้ และเมื่อแคทรับมอบทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานแล้ว หากไม่มีคลื่นความถี่แล้วจะให้แคทดำเนินการอย่างไรต่อไป ดังนั้นเมื่อมีทรัพย์สินที่รับโอนจากสัญญาสัมปทาน ก็ควรจะนำมาใช้ประโยชน์ สร้างรายได้ให้กับแคท มากกว่าการคืนเพื่อนำไปประมูล เพราะแคทจะได้ประโยชน์ใดจากการคืนคลื่นดังกล่าว ขณะเดียวกันแคทก็สนใจที่จะเข้าร่วมประมูล 4 จี เช่นเดียวกัน เพราะเป็นโอกาสในการทำธุรกิจและสร้างรายได้ให้องค์กร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทางดีแทคได้ทำหนังสือมายังคณะกรรมการ กสทช.อีกครั้ง เพื่อยืนยันวัตถุประสงค์ที่จะคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ชุดที่สำรองไว้ใช้งาน 25 เมกะเฮิรตซ์เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำไปประมูลร่วมกับคลื่น 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ กสทช.ได้เตรียมจัดประมูล 4 จีอยู่แล้ว จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ดังกล่าว ได้สิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทานแล้วเมื่อเดือน ก.ย.2556 ทั้งนี้การคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น เพื่อให้ความกว้างช่วงคลื่นที่จะประมูลเพิ่มเป็น 50 เมกะเฮิรตซ์ นอกจากนี้ ดีแทคยังยินดีขยับคลื่นความถี่ให้เป็นก้อนเดียวกัน เพื่อให้คลื่นไม่เหลือเศษ จัดสรรได้ง่ายขึ้น และยินดีนำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ อีก 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ถือครองอยู่ในปัจจุบัน และคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ อีก 10 เมกะเฮิรตซ์ มาประมูลก่อนหมดอายุสัมปทานปี 2561 ด้วย
อย่างไรก็ตาม การจะคืนความถี่นั้น ทั้งแคทและดีแทคต้อง เจรจากัน ซึ่งต้องยินยอมทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยินยอมก็ไม่สามารถที่จะนำคลื่นความถี่ไปใช้งานได้ เพราะเป็นสิทธิ์ตามสัญญา สัมปทานที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ และถึงแม้คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะมอบนโยบายให้ กสทช.และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)ไปเจรจาเพื่อปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ให้มีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งก็ต้องให้ กสทช.เจรจากับกระทรวงไอซีทีให้ได้ข้อยุติก่อนจึงจะตัดสินใจได้.
ที่มา
http://www.thairath.co.th/content/492234
"แคท" หัก "ดีแทค" คืนคลื่น 4 จี อ้างเหตุรับมอบทรัพย์สินมาแล้วต้องสร้างรายได้
นายวิโรจน์ โตเจริญวาณิช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท เปิดเผยว่า จากกรณีที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคได้แสดงเจตจำนงที่จะคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อให้นำประมูล 4 จีด้วยนั้น ทางแคทไม่ยินยอม และไม่เห็นด้วยที่จะคืนคลื่นดังกล่าว เนื่องจากคลื่นดังกล่าวเป็นสิทธิ์ของแคท ที่สามารถนำมาให้บริการอย่างต่อเนื่องได้ และเมื่อแคทรับมอบทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานแล้ว หากไม่มีคลื่นความถี่แล้วจะให้แคทดำเนินการอย่างไรต่อไป ดังนั้นเมื่อมีทรัพย์สินที่รับโอนจากสัญญาสัมปทาน ก็ควรจะนำมาใช้ประโยชน์ สร้างรายได้ให้กับแคท มากกว่าการคืนเพื่อนำไปประมูล เพราะแคทจะได้ประโยชน์ใดจากการคืนคลื่นดังกล่าว ขณะเดียวกันแคทก็สนใจที่จะเข้าร่วมประมูล 4 จี เช่นเดียวกัน เพราะเป็นโอกาสในการทำธุรกิจและสร้างรายได้ให้องค์กร
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาทางดีแทคได้ทำหนังสือมายังคณะกรรมการ กสทช.อีกครั้ง เพื่อยืนยันวัตถุประสงค์ที่จะคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ชุดที่สำรองไว้ใช้งาน 25 เมกะเฮิรตซ์เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำไปประมูลร่วมกับคลื่น 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ กสทช.ได้เตรียมจัดประมูล 4 จีอยู่แล้ว จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ดังกล่าว ได้สิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทานแล้วเมื่อเดือน ก.ย.2556 ทั้งนี้การคืนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์นั้น เพื่อให้ความกว้างช่วงคลื่นที่จะประมูลเพิ่มเป็น 50 เมกะเฮิรตซ์ นอกจากนี้ ดีแทคยังยินดีขยับคลื่นความถี่ให้เป็นก้อนเดียวกัน เพื่อให้คลื่นไม่เหลือเศษ จัดสรรได้ง่ายขึ้น และยินดีนำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ อีก 25 เมกะเฮิรตซ์ที่ถือครองอยู่ในปัจจุบัน และคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ อีก 10 เมกะเฮิรตซ์ มาประมูลก่อนหมดอายุสัมปทานปี 2561 ด้วย
อย่างไรก็ตาม การจะคืนความถี่นั้น ทั้งแคทและดีแทคต้อง เจรจากัน ซึ่งต้องยินยอมทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยินยอมก็ไม่สามารถที่จะนำคลื่นความถี่ไปใช้งานได้ เพราะเป็นสิทธิ์ตามสัญญา สัมปทานที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ และถึงแม้คณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะมอบนโยบายให้ กสทช.และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)ไปเจรจาเพื่อปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ให้มีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งก็ต้องให้ กสทช.เจรจากับกระทรวงไอซีทีให้ได้ข้อยุติก่อนจึงจะตัดสินใจได้.
ที่มา http://www.thairath.co.th/content/492234