TOT นำคลื่น 900MHz ไปให้บริการต่อ หลังสัญญากับ ‘AIS’ สิ้นสุดลง ลุ้นที่ประชุมบอร์ด กทค.อนุมัติ
มีรายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 4 ก.พ.2558 นี้ มีประเด็นเด่นที่น่าจับตา ทั้งเรื่องการพิจารณา (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และเงื่อนไขการประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งให้บริการดาวเทียมสื่อสาร พ.ศ. ... เรื่อง บมจ. ทีโอที จำกัด ขอแก้เงื่อนไขในการอนุญาตและเสนอแผนการให้บริการคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพื่อนำไปให้บริการต่อหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
สืบเนื่องจากสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ. ทีโอที และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย. 2558 บมจ. ทีโอที จึงได้ทำหนังสือถึง สำนักงาน กสทช. เพื่อขอแก้เงื่อนไขในการอนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 และเสนอแผนการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 MHz หลังสิ้นสุดสัมปทาน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นฝ่ายนำคลื่นความถี่ไปใช้ให้บริการต่อไปเอง
อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ เมื่อการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาในการให้เอกชนเป็นผู้ประกอบการสิ้นสุดลง สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ก็สิ้นสุดลงด้วย ดังนั้นต้องคืนคลื่นความถี่ให้กับ กสทช. เพื่อนำไปจัดสรรคลื่นด้วยการประมูลต่อไป เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ที่บัญญัติไว้ให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ นั่นหมายถึง บมจ. ทีโอที ไม่มีสิทธิใช้คลื่นความถี่ต่อไปได้ โดยต้องคืนคลื่นความถี่กลับมาที่ กสทช. เพื่อนำไปจัดสรรใหม่
“เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีที่สัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด สิ้นสุดลง หนนั้น บมจ. กสท โทรคมนาคม ก็ได้ทำแผนขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ถึงสำนักงาน กสทช. ซึ่งที่ประชุม กทค. ครั้งที่ 11/2556 ก็มีมติชี้ว่า สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม สิ้นสุดลงด้วยเมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง หนนี้จึงคาดว่ามติที่ประชุม กทค. ไม่น่าสวนทางแตกต่างออกไป”
แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์แนวหน้าออนไลน์
(4 กุมภาพันธ์ 2558)
http://www.naewna.com/business/142833
TOTนำคลื่น900MHzไปให้บริการต่อ หลังสัญญากับ‘AIS’สิ้นสุดลง ลุ้นที่ประชุมบอร์ดกทค.อนุมัติ
มีรายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ครั้งที่ 3/2558 วันที่ 4 ก.พ.2558 นี้ มีประเด็นเด่นที่น่าจับตา ทั้งเรื่องการพิจารณา (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการอนุญาต และเงื่อนไขการประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งให้บริการดาวเทียมสื่อสาร พ.ศ. ... เรื่อง บมจ. ทีโอที จำกัด ขอแก้เงื่อนไขในการอนุญาตและเสนอแผนการให้บริการคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz เพื่อนำไปให้บริการต่อหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
สืบเนื่องจากสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ. ทีโอที และ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 ก.ย. 2558 บมจ. ทีโอที จึงได้ทำหนังสือถึง สำนักงาน กสทช. เพื่อขอแก้เงื่อนไขในการอนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 และเสนอแผนการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 MHz หลังสิ้นสุดสัมปทาน โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นฝ่ายนำคลื่นความถี่ไปใช้ให้บริการต่อไปเอง
อย่างไรก็ตาม เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ เมื่อการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาในการให้เอกชนเป็นผู้ประกอบการสิ้นสุดลง สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ก็สิ้นสุดลงด้วย ดังนั้นต้องคืนคลื่นความถี่ให้กับ กสทช. เพื่อนำไปจัดสรรคลื่นด้วยการประมูลต่อไป เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ที่บัญญัติไว้ให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ นั่นหมายถึง บมจ. ทีโอที ไม่มีสิทธิใช้คลื่นความถี่ต่อไปได้ โดยต้องคืนคลื่นความถี่กลับมาที่ กสทช. เพื่อนำไปจัดสรรใหม่
“เรื่องทำนองนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีที่สัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ระหว่าง บมจ. กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ทรู มูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด สิ้นสุดลง หนนั้น บมจ. กสท โทรคมนาคม ก็ได้ทำแผนขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ถึงสำนักงาน กสทช. ซึ่งที่ประชุม กทค. ครั้งที่ 11/2556 ก็มีมติชี้ว่า สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ของ บมจ. กสท โทรคมนาคม สิ้นสุดลงด้วยเมื่อสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง หนนี้จึงคาดว่ามติที่ประชุม กทค. ไม่น่าสวนทางแตกต่างออกไป”
แหล่งข่าว : หนังสือพิมพ์แนวหน้าออนไลน์
(4 กุมภาพันธ์ 2558)
http://www.naewna.com/business/142833