“ผมห่วง dtac มากกว่า เพราะเขาเหมือนเราเมื่อ 2 ปีก่อน” คือคำตอบของ AIS กับการประมูลคลื่นใหม่
By Tangsiri - 13/11/2017
หลัง กสทช. ประกาศแผนประมูลคลื่น 900 กับ 1800 MHz พร้อมราคาใบอนุญาตละ 37,000 กว่าล้านบาท “สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AIS จะคิดเห็นอย่างไรบ้าง Brand Inside จะพาไปหาคำตอบ
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS)
จะถูกจะแพงต่างมีนัยยะสนับสนุนอุตฯ
เมื่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายต่างต้องการคลื่นความถี่เพิ่มเติม เพื่อไปพัฒนาบริการของตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเร็วด้านการรับส่งข้อมูล (Data) ที่ยิ่งเร็วก็ยิ่งสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคนี้ได้ รวมถึงความเสถียร และความครอบคลุมในการให้บริการก็ยังเป็นอีกแกนสำคัญในการให้บริการโทรคมนาคมยุคนี้
ซึ่งการที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศไทยจะได้คลื่นความถี่มาได้ ถ้าเป็นแต่ก่อนคงแค่เดินไปหาหน่วยงานราชการเพื่อเซ็นสัญญาสัมปทาน แล้วก็ได้คลื่นมาใช้ และแบ่งรายได้ให้ตามที่ตกลง แต่ปัจจุบันการได้มาซึ่งคลื่นนั้นต้องเข้าประมูลร่วมกับคู่แข่งในตลาด ทำให้มันไม่ได้คลื่นมาง่ายๆ เหมือนในอดีตแล้ว
และจากการเข้าประมูลนี้เอง การกำหนด “ราคาตั้งต้น” ก็กลายเป็นอีกตัวแปรในการดึงดูดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเข้ามาแย่งชิง โดย “สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) เล่าให้ฟังว่า การกำหนดราคาถูกหรือแพง มันมีนัยยะของการสนับสนุนให้พัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไปทางไหน
ห่วง dtac เพราะเหมือนเราเมื่อก่อน
“ตอนนี้คลื่นที่ AIS และ True มีผมว่าก็เพียงพอที่จะให้บริการ แต่ฝั่ง dtac เองนั้นเขาเป็นเหมือนเราเมื่อง 2 ปีก่อนที่อยากได้คลื่นมาก และทำให้เขาเป็นคนที่อยากให้เกิดการประมูลครั้งนี้มากที่สุด ส่วนเรา และ True เองต่างก็มีภาระที่ต้องชำระค่าประมูลอีกคนละ 60,000 กว่าล้านบาท ดังนั้นเรื่องการเข้าประมูลใหม่ก็รอให้มันชัดๆ ก่อนดีกว่า”
ส่วนความคาดหวังกับกสทช. ชุดใหม่นั้น ทางแม่ทัพ AIS มองว่า อยากได้บุคลากรที่เข้าใจอุตสาหกรรม และบทบาทของผู้กำกับกิจการ (Regulator) อย่างแท้จริง ที่สำคัญต้องสร้างความสมดุล (Balance) ระหว่างผลประโยชน์ของชาติ, บริษัทเอกชน และประชาชนด้วย เพื่อให้มันดีกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
“ถามว่าคลื่น 5 MHz ราคา 30,000 กว่าล้านบาท และอยู่ติดกับเรามันคุ้มที่จะลงทุนหรือเปล่า หรือถ้าให้เรามาเลยก็คงไม่ใช่ เพราะตอนนี้เหมือนกสทช. มองประโยชน์เรื่องชาติอย่างเดียว และต้นทุนคลื่นมันเยอะ ซึ่งสุดท้ายภาระทั้งหมดมันก็ไปตกอยู่กับผู้บริโภคแน่นอน และถ้าเป็นแบบนี้มันก็เหมือนกลัดกระดุมผิดเม็ดไปเรื่อยๆ”
3 รายแข็งแกร่งทำหน้าใหม่เกิดยาก
และแม้การประมูลคลื่น 900 MHz ในครั้งก่อนจะเกือบมีผู้เล่นหน้าใหม่ในอุตสาหกรรมเข้ามา แต่สุดท้าย JAS หรือกลุ่มจัสมินก็ทิ้งไปอนุญาต และ AIS ก็เป็นผู้จ่ายเงิน พร้อมนำคลื่นส่วนดังกล่าวไปใช้แทน เหตุนี้เองพี่ใหญ่ในวงการจึงมองว่า รายใหม่ในอุตสาหกรรมนี้เกิดยากมาก เพราะมี 3 รายใหญ่ที่แข็งแกร่งอยู่
“ในอุตสาหกรรมบริการโทรคมนาคม ไทยมีผู้เล่น 3 รายที่แกร่งมาก และแต่ละรายก็ลงทุนหลายแสนล้านบาทเพื่อสร้าง Infrastructure จนโทรคมนาคมไทยดีมาก และรัฐแทบไม่ต้องลงทุนเรื่องนี้เลย ประกอบกับเรื่อง Infrastructure Sharing ก็ยังไม่ชัดเจน รายใหม่ก็คงจะเกิดยาก”
สำหรับ AIS ปัจจุบันมีลูกค้า 40.19 ล้านเลขหมาย เป็นลูกค้าที่ใช้งาน 4G ทั้งหมด 16.9 ล้านเลขหมาย และในไตรมาสที่ 3 มีรายได้เพิ่มขึ้น 4% โดยมีคลื่นให้บริการภายใต้ใบอนุญาตทั้งหมด 40 MHz ส่วน dtac หากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนก.ย. 2561 จะทำให้มีคลื่นภายใต้ใบอนุญาตเหลือเพียง 15 MHz
สรุป
การประมูลคลื่นครั้งนี้ ต้องยอมรับว่า dtac คือผู้ที่ต้องการคลื่นมากที่สุด เพราะถ้าเหลือคลื่นความถี่น้อยขนาดนั้น การให้บริการลูกค้าให้ได้ประสบการณ์ใช้งานเหมือนเดิมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และการเพิ่งตกเป็นเบอร์ 3 ของตลาดหมาดๆ การจะดึงความเชื่อมั่นให้นักลงทุน และผู้ใช้บริการในระบบเอง ก็เป็นเรื่องจำเป็น
ทั้งนี้การประมูลคลื่น 900 กับ 1800 MHz กสทช. คาดว่าจะเปิดประมูลได้ช่วงเดือนพ.ค. 2561 และให้ใบอนุญาตได้เดือนก.ค.-ส.ค. 2561 หรือก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุด ประกอบด้วยคลื่น 900 MHz ขนาด 5 MHz จำนวน 1 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 37,988 ล้านบาท กับคลื่น 1800 MHz ขนาด 45 MHz แบ่งเป็น 3 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 37,457 ล้านบาท ทั้งคู่ต่างมีระยะเวลาใบอนุญาตทั้งหมด 15 ปี
ทุกท่านคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับ
Cr .
https://brandinside.asia/ais-new-spectrum-auction/
“ผมห่วง dtac มากกว่า" คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าว ..
By Tangsiri - 13/11/2017
หลัง กสทช. ประกาศแผนประมูลคลื่น 900 กับ 1800 MHz พร้อมราคาใบอนุญาตละ 37,000 กว่าล้านบาท “สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ AIS จะคิดเห็นอย่างไรบ้าง Brand Inside จะพาไปหาคำตอบ
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS)
จะถูกจะแพงต่างมีนัยยะสนับสนุนอุตฯ
เมื่อผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายต่างต้องการคลื่นความถี่เพิ่มเติม เพื่อไปพัฒนาบริการของตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเร็วด้านการรับส่งข้อมูล (Data) ที่ยิ่งเร็วก็ยิ่งสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคนี้ได้ รวมถึงความเสถียร และความครอบคลุมในการให้บริการก็ยังเป็นอีกแกนสำคัญในการให้บริการโทรคมนาคมยุคนี้
ซึ่งการที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศไทยจะได้คลื่นความถี่มาได้ ถ้าเป็นแต่ก่อนคงแค่เดินไปหาหน่วยงานราชการเพื่อเซ็นสัญญาสัมปทาน แล้วก็ได้คลื่นมาใช้ และแบ่งรายได้ให้ตามที่ตกลง แต่ปัจจุบันการได้มาซึ่งคลื่นนั้นต้องเข้าประมูลร่วมกับคู่แข่งในตลาด ทำให้มันไม่ได้คลื่นมาง่ายๆ เหมือนในอดีตแล้ว
และจากการเข้าประมูลนี้เอง การกำหนด “ราคาตั้งต้น” ก็กลายเป็นอีกตัวแปรในการดึงดูดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเข้ามาแย่งชิง โดย “สมชัย เลิศสุทธิวงค์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) เล่าให้ฟังว่า การกำหนดราคาถูกหรือแพง มันมีนัยยะของการสนับสนุนให้พัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไปทางไหน
ห่วง dtac เพราะเหมือนเราเมื่อก่อน
“ตอนนี้คลื่นที่ AIS และ True มีผมว่าก็เพียงพอที่จะให้บริการ แต่ฝั่ง dtac เองนั้นเขาเป็นเหมือนเราเมื่อง 2 ปีก่อนที่อยากได้คลื่นมาก และทำให้เขาเป็นคนที่อยากให้เกิดการประมูลครั้งนี้มากที่สุด ส่วนเรา และ True เองต่างก็มีภาระที่ต้องชำระค่าประมูลอีกคนละ 60,000 กว่าล้านบาท ดังนั้นเรื่องการเข้าประมูลใหม่ก็รอให้มันชัดๆ ก่อนดีกว่า”
ส่วนความคาดหวังกับกสทช. ชุดใหม่นั้น ทางแม่ทัพ AIS มองว่า อยากได้บุคลากรที่เข้าใจอุตสาหกรรม และบทบาทของผู้กำกับกิจการ (Regulator) อย่างแท้จริง ที่สำคัญต้องสร้างความสมดุล (Balance) ระหว่างผลประโยชน์ของชาติ, บริษัทเอกชน และประชาชนด้วย เพื่อให้มันดีกว่าที่เป็นอยู่ในตอนนี้
“ถามว่าคลื่น 5 MHz ราคา 30,000 กว่าล้านบาท และอยู่ติดกับเรามันคุ้มที่จะลงทุนหรือเปล่า หรือถ้าให้เรามาเลยก็คงไม่ใช่ เพราะตอนนี้เหมือนกสทช. มองประโยชน์เรื่องชาติอย่างเดียว และต้นทุนคลื่นมันเยอะ ซึ่งสุดท้ายภาระทั้งหมดมันก็ไปตกอยู่กับผู้บริโภคแน่นอน และถ้าเป็นแบบนี้มันก็เหมือนกลัดกระดุมผิดเม็ดไปเรื่อยๆ”
3 รายแข็งแกร่งทำหน้าใหม่เกิดยาก
และแม้การประมูลคลื่น 900 MHz ในครั้งก่อนจะเกือบมีผู้เล่นหน้าใหม่ในอุตสาหกรรมเข้ามา แต่สุดท้าย JAS หรือกลุ่มจัสมินก็ทิ้งไปอนุญาต และ AIS ก็เป็นผู้จ่ายเงิน พร้อมนำคลื่นส่วนดังกล่าวไปใช้แทน เหตุนี้เองพี่ใหญ่ในวงการจึงมองว่า รายใหม่ในอุตสาหกรรมนี้เกิดยากมาก เพราะมี 3 รายใหญ่ที่แข็งแกร่งอยู่
“ในอุตสาหกรรมบริการโทรคมนาคม ไทยมีผู้เล่น 3 รายที่แกร่งมาก และแต่ละรายก็ลงทุนหลายแสนล้านบาทเพื่อสร้าง Infrastructure จนโทรคมนาคมไทยดีมาก และรัฐแทบไม่ต้องลงทุนเรื่องนี้เลย ประกอบกับเรื่อง Infrastructure Sharing ก็ยังไม่ชัดเจน รายใหม่ก็คงจะเกิดยาก”
สำหรับ AIS ปัจจุบันมีลูกค้า 40.19 ล้านเลขหมาย เป็นลูกค้าที่ใช้งาน 4G ทั้งหมด 16.9 ล้านเลขหมาย และในไตรมาสที่ 3 มีรายได้เพิ่มขึ้น 4% โดยมีคลื่นให้บริการภายใต้ใบอนุญาตทั้งหมด 40 MHz ส่วน dtac หากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนก.ย. 2561 จะทำให้มีคลื่นภายใต้ใบอนุญาตเหลือเพียง 15 MHz
สรุป
การประมูลคลื่นครั้งนี้ ต้องยอมรับว่า dtac คือผู้ที่ต้องการคลื่นมากที่สุด เพราะถ้าเหลือคลื่นความถี่น้อยขนาดนั้น การให้บริการลูกค้าให้ได้ประสบการณ์ใช้งานเหมือนเดิมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และการเพิ่งตกเป็นเบอร์ 3 ของตลาดหมาดๆ การจะดึงความเชื่อมั่นให้นักลงทุน และผู้ใช้บริการในระบบเอง ก็เป็นเรื่องจำเป็น
ทั้งนี้การประมูลคลื่น 900 กับ 1800 MHz กสทช. คาดว่าจะเปิดประมูลได้ช่วงเดือนพ.ค. 2561 และให้ใบอนุญาตได้เดือนก.ค.-ส.ค. 2561 หรือก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุด ประกอบด้วยคลื่น 900 MHz ขนาด 5 MHz จำนวน 1 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 37,988 ล้านบาท กับคลื่น 1800 MHz ขนาด 45 MHz แบ่งเป็น 3 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้น 37,457 ล้านบาท ทั้งคู่ต่างมีระยะเวลาใบอนุญาตทั้งหมด 15 ปี
ทุกท่านคิดเห็นกันอย่างไรบ้างครับ
Cr . https://brandinside.asia/ais-new-spectrum-auction/