กสทช.เข็นคลื่นออกประมูลอีก 1,000 MHz หนุน 5G เต็มสูบ หลังเร่ขาย 700 MHz ได้ 5.6 หมื่นล้าน ฟากค่ายมือถือหืดจับ วิ่งหาแบงก์การันตีวางค้ำประกันรัว ๆ ด้าน “ทรู” เดินหน้ากดดัน กสทช. ลดราคาคลื่น “ดีแทค” ย้ำ กสทช. รอบที่ร้อยขอสเปกตรัมโรดแมป ขณะที่ “เอไอเอส” เล็งประเมินเงินลงทุน 5G เข้าบอร์ด
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การจัดสรรคลื่น 700 MHz ตามคำสั่ง คสช.ที่ 4/2562 ถือว่าประสบความสำเร็จ ได้เงิน 56,444.64 ล้านบาท จาก 3 ค่ายมือถือซึ่งเมื่อหักเงินชดเชยให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลราว 36,000 ล้านบาทแล้ว ยังเหลือเงินส่งเข้าคลัง 21,000 ล้านบาททั้งยังรับประกันว่า ไทยจะเปิดให้บริการ 5G ได้ภายในปลายปี 2563 แต่ กสทช.จะเดินหน้าจัดประมูลคลื่นเพิ่มอีก
“การให้บริการ 5G ต้องใช้คลื่นเยอะ กสทช.เตรียมไว้ให้อีกกว่า 1,000 MHz”
โดยปลายปีนี้จะประมูลคลื่น 2600 MHz คู่กับคลื่น 26-28 GHz แบบมัลติแบนด์ ต้นปี 2563 จะจัดประมูลคลื่น 3.5 GHz โดยมีทั้งการอนุญาตให้บริการแบบทั่วประเทศ และเฉพาะพื้นที่ อาทิ ในโครงการ EEC
ค่ายมือถือมึนแบงก์การันตี
แหล่งข่าวค่ายมือถือรายหนึ่งเปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การมีคลื่นความถี่จำนวนมากเพื่อให้บริการเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจ แต่การที่ กสทช.ยังไม่มีแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ชัดเจนเป็นทางการ สร้างอุปสรรคและเป็นภาระด้านการเงินของบริษัท โดยเฉพาะการระบุเงื่อนไขจะต้องวางหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) ทุกการประมูล ซึ่งสถาบันการเงินจะรวมอยู่ในวงเงินกู้ที่บริษัทจะใช้ได้ด้วย แม้ว่าจะเป็นแค่การวางการันตี
“อย่าง 700 MHz ต้องวางแบงก์การันตีไว้ก่อน 880 ล้านบาท ทั้งที่อีกเป็นปีกว่าจะได้ใช้คลื่น และด้วยการไม่มีโรดแมปที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า ทำให้บริษัทวางแผนทางการเงินได้ลำบากขึ้นไปอีก”
ดีแทคย้ำขอสเปกตรัมโรดแมป
ด้าน นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า การเข้ารับจัดสรรคลื่น 700 MHz เป็นไปตามสัญญาของดีแทคที่จะไม่หยุดการพัฒนาบริการ และนี่จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะยื่นขอใช้คลื่นความถี่ ซึ่งการให้บริการ 5G จำเป็นต้องมีคลื่นจำนวนมาก กสทช. จึงควรให้ความสำคัญกับการประกาศแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ 5G อย่างชัดเจน ทั้งคลื่นย่านความถี่สูงและความถี่ต่ำ เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนคลื่น 700 MHz ที่ได้ไปจะช่วยให้การขยายสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีก โดยเฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือในพื้นที่ห่างไกล
กดดันลดราคาคลื่น
ขณะที่นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในประเทศที่เจริญแล้ว การให้บริการโทรคมนาคมจะมีต้นทุนเฉลี่ยต่อ MHz ที่ค่อนข้างต่ำ แตกต่างจากในประเทศไทยที่มีต้นทุนสูงมาก ฉะนั้นในการจัดประมูลคลื่นใหม่ของ กสทช. ไม่ว่าจะเป็นย่าน 2600 MHz หรือ 3500 MHz จะมีการเสนอความเห็นในประเด็นนี้
ส่วนคลื่น 700 MHz ที่ขอรับจัดสรรในครั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีอีโคซิสเต็มสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี 5G แต่สามารถนำมาใช้งานกับ 4G ได้ และด้วยระยะเวลาที่กว่า กสทช.จะรีฟาร์มคลื่นย่านนี้ให้ใช้งานได้ คาดว่า ณ เวลานั้นจะมีอุปกรณ์รองรับการใช้งาน 5G บนคลื่น 700 MHz ทั้งยังสามารถนำไปให้บริการ 4G คู่ขนานกันไปได้ เพราะถึงจะมี 5G ให้บริการแล้ว โอเปอเรเตอร์ก็ยังต้องคงบริการ 4G ไปพร้อมกันอีกพักใหญ่
เอไอเอสยังประเมินลงทุน 5G
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า การให้บริการ 5G จำเป็นต้องมีทั้งคลื่นความถี่ย่านต่ำ กลาง สูง ต้องนำมาผสมผสานกัน ไม่ใช่มีแค่ 700 MHz ซึ่งการเข้ารับจัดสรรครั้งนี้ประเมินแล้วว่าคุ้มค่า ทั้งในแง่ได้คลื่นมาเตรียมพร้อมรับ 5G ที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า การนำเสริมศักยภาพของโครงข่ายปัจจุบัน
ส่วนเม็ดเงินที่จะใช้สำหรับการลงทุน 5G ขณะนี้ยังไม่ได้ประเมินออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจน ซึ่งหากมีการพิจารณาเรียบร้อยแล้วก็ต้องเสนอให้บอร์ดบริษัทอนุมัติอีกครั้ง
ที่มา
https://www.prachachat.net/ict/news-341751
กสทช.เข็นคลื่นออกประมูลอีก 1,000 MHz หนุน 5G เต็มสูบ หลังเร่ขาย 700 MHzได้ 5.6 หมื่นล้าน ฟากค่ายมือถือหืดจับ วิ่งหาแบงก์
กสทช.เข็นคลื่นออกประมูลอีก 1,000 MHz หนุน 5G เต็มสูบ หลังเร่ขาย 700 MHz ได้ 5.6 หมื่นล้าน ฟากค่ายมือถือหืดจับ วิ่งหาแบงก์การันตีวางค้ำประกันรัว ๆ ด้าน “ทรู” เดินหน้ากดดัน กสทช. ลดราคาคลื่น “ดีแทค” ย้ำ กสทช. รอบที่ร้อยขอสเปกตรัมโรดแมป ขณะที่ “เอไอเอส” เล็งประเมินเงินลงทุน 5G เข้าบอร์ด
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การจัดสรรคลื่น 700 MHz ตามคำสั่ง คสช.ที่ 4/2562 ถือว่าประสบความสำเร็จ ได้เงิน 56,444.64 ล้านบาท จาก 3 ค่ายมือถือซึ่งเมื่อหักเงินชดเชยให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลราว 36,000 ล้านบาทแล้ว ยังเหลือเงินส่งเข้าคลัง 21,000 ล้านบาททั้งยังรับประกันว่า ไทยจะเปิดให้บริการ 5G ได้ภายในปลายปี 2563 แต่ กสทช.จะเดินหน้าจัดประมูลคลื่นเพิ่มอีก
“การให้บริการ 5G ต้องใช้คลื่นเยอะ กสทช.เตรียมไว้ให้อีกกว่า 1,000 MHz”
โดยปลายปีนี้จะประมูลคลื่น 2600 MHz คู่กับคลื่น 26-28 GHz แบบมัลติแบนด์ ต้นปี 2563 จะจัดประมูลคลื่น 3.5 GHz โดยมีทั้งการอนุญาตให้บริการแบบทั่วประเทศ และเฉพาะพื้นที่ อาทิ ในโครงการ EEC
ค่ายมือถือมึนแบงก์การันตี
แหล่งข่าวค่ายมือถือรายหนึ่งเปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การมีคลื่นความถี่จำนวนมากเพื่อให้บริการเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจ แต่การที่ กสทช.ยังไม่มีแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ชัดเจนเป็นทางการ สร้างอุปสรรคและเป็นภาระด้านการเงินของบริษัท โดยเฉพาะการระบุเงื่อนไขจะต้องวางหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) ทุกการประมูล ซึ่งสถาบันการเงินจะรวมอยู่ในวงเงินกู้ที่บริษัทจะใช้ได้ด้วย แม้ว่าจะเป็นแค่การวางการันตี
“อย่าง 700 MHz ต้องวางแบงก์การันตีไว้ก่อน 880 ล้านบาท ทั้งที่อีกเป็นปีกว่าจะได้ใช้คลื่น และด้วยการไม่มีโรดแมปที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า ทำให้บริษัทวางแผนทางการเงินได้ลำบากขึ้นไปอีก”
ดีแทคย้ำขอสเปกตรัมโรดแมป
ด้าน นางอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า การเข้ารับจัดสรรคลื่น 700 MHz เป็นไปตามสัญญาของดีแทคที่จะไม่หยุดการพัฒนาบริการ และนี่จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่จะยื่นขอใช้คลื่นความถี่ ซึ่งการให้บริการ 5G จำเป็นต้องมีคลื่นจำนวนมาก กสทช. จึงควรให้ความสำคัญกับการประกาศแผนการจัดสรรคลื่นความถี่ 5G อย่างชัดเจน ทั้งคลื่นย่านความถี่สูงและความถี่ต่ำ เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนคลื่น 700 MHz ที่ได้ไปจะช่วยให้การขยายสัญญาณครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีก โดยเฉพาะการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือในพื้นที่ห่างไกล
กดดันลดราคาคลื่น
ขณะที่นายวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ในประเทศที่เจริญแล้ว การให้บริการโทรคมนาคมจะมีต้นทุนเฉลี่ยต่อ MHz ที่ค่อนข้างต่ำ แตกต่างจากในประเทศไทยที่มีต้นทุนสูงมาก ฉะนั้นในการจัดประมูลคลื่นใหม่ของ กสทช. ไม่ว่าจะเป็นย่าน 2600 MHz หรือ 3500 MHz จะมีการเสนอความเห็นในประเด็นนี้
ส่วนคลื่น 700 MHz ที่ขอรับจัดสรรในครั้งนี้ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีอีโคซิสเต็มสำหรับการใช้งานเทคโนโลยี 5G แต่สามารถนำมาใช้งานกับ 4G ได้ และด้วยระยะเวลาที่กว่า กสทช.จะรีฟาร์มคลื่นย่านนี้ให้ใช้งานได้ คาดว่า ณ เวลานั้นจะมีอุปกรณ์รองรับการใช้งาน 5G บนคลื่น 700 MHz ทั้งยังสามารถนำไปให้บริการ 4G คู่ขนานกันไปได้ เพราะถึงจะมี 5G ให้บริการแล้ว โอเปอเรเตอร์ก็ยังต้องคงบริการ 4G ไปพร้อมกันอีกพักใหญ่
เอไอเอสยังประเมินลงทุน 5G
นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า การให้บริการ 5G จำเป็นต้องมีทั้งคลื่นความถี่ย่านต่ำ กลาง สูง ต้องนำมาผสมผสานกัน ไม่ใช่มีแค่ 700 MHz ซึ่งการเข้ารับจัดสรรครั้งนี้ประเมินแล้วว่าคุ้มค่า ทั้งในแง่ได้คลื่นมาเตรียมพร้อมรับ 5G ที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า การนำเสริมศักยภาพของโครงข่ายปัจจุบัน
ส่วนเม็ดเงินที่จะใช้สำหรับการลงทุน 5G ขณะนี้ยังไม่ได้ประเมินออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจน ซึ่งหากมีการพิจารณาเรียบร้อยแล้วก็ต้องเสนอให้บอร์ดบริษัทอนุมัติอีกครั้ง
ที่มา
https://www.prachachat.net/ict/news-341751