ที่มา :
https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000126123
ขาดเธอเหมือนขาดใจ การที่ กสทช.ไร้แผนจัดสรรคลื่นความถี่ ทำให้ประเทศไทยประมูลคลื่นความถี่แพงเกินจริง ทั้งที่ไทยกำลังมุ่งหน้าสู่นโยบาย 4.0 คลื่นความถี่และแผนงานจัดสรรคลื่นความถี่ ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่สำคัญที่จะผลักดันให้ไทยบรรลุผลสำเร็จได้นั้นจะต้องมีความชัดเจน เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกหรือประเทศเพื่อนบ้านที่วันนี้เหมือนจะแซงหน้าเราไปในเชิงนโยบายจัดสรรคลื่นความถี่
ประเทศไทยวันนี้ยังขาดเส้นเลือดหลัก เพราะเรายังแค่เตรียมประมูลคลื่นเพื่อทดแทนการใช้งานที่หมดสัมปทานไปเท่านั้น นี่คือหนึ่งในความคืบหน้าล่าสุดของคลื่นความถี่ที่จะทำให้ไทยก้าวสู่ 4.0 ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล กำลังเดินหน้าสู่การเตรียมการจัดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz (คลื่น 850MHz เดิม) และ 1800 MHz โดยจะจัดขึ้นประมาณกลางปี 2561 โดยสำนักงาน กสทช.กำหนดจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 MHz และ 1800 MHz ในวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2560
***จาก ดีมานด์เทียมถึงแผนจัดสรรคลื่น
สิ่งที่น่ากังขาต่ออนาคตคลื่นความถี่ของไทย คือความดันทุรังของ กสทช. ที่ครั้งนี้ออกมากำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่มากกว่า 37,000 ล้านบาท โดยให้เหตุผลง่ายๆ ว่าอ้างอิงจากราคาการประมูลครั้งที่ผ่านมา โดยไม่มีการศึกษารายละเอียด ไม่มีหลักการทางเศรษฐศาสตร์มารองรับ ทั้งๆ ที่ราคาจากการประมูลครั้งก่อนมี 'ดีมานด์เทียม' จากผู้เข้าประมูลรายหนึ่ง ที่สุดท้ายแล้วก็ทิ้งใบอนุญาตที่ปั่นราคาคลื่นไว้สูงลิ่วจนติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยยอมเสียค่าปรับเพียงเล็กน้อยก่อนที่จะพลิ้วหายไป
แต่สิ่งที่ทิ้งไว้คือประเทศชาติและประชาชนคนไทยเสียโอกาสการเข้าถึงบริการและการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ จากคลื่นความถี่ เพราะราคาที่สูงเกินไป ซึ่งส่งผลเสียต่อการประมูลทุกใบอนุญาตนับจากนี้เป็นต้นไป
สิ่งที่ตามมาคือความอิหลักอิเหลื่อจากทุกฝ่ายในแวดวงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและนักวิชาการ ทุกคนที่จับตามอง เพราะรู้ว่าการกำหนดราคาประมูลสูงแต่ไม่สะท้อนความเป็นจริงของตลาดในปัจจุบัน จะไม่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน อาจทำให้เสียประโยชน์มากกว่าเดิม เช่น ไม่มีใครสนใจแข่งขันประมูลคลื่นความถี่ หรือกลายเป็นต้นทุนที่สูงเกินจริงสำหรับเอกชน ประเทศชาติสูญเสียโอกาส และสุดท้ายประชาชนต้องแบกรับภาระกับค่าบริการที่แพงจากต้นทุนที่สูงขึ้น
ไม่เพียงแค่เรากำลังก้าวพลาดกับราคาเริ่มประมูลที่สูงแล้ว ความบกพร่องอีกประการของ กสทช. คือ การดำเนินการโดยไม่มีการประกาศแผนคลื่นความถี่ล่วงหน้า ทั้งที่รู้มาตั้งแต่แรกว่า สัญญาสัมปทานจะหมดลงในปี 2561 เพราะ กสทช. ไม่มี 'แผนจัดสรรคลื่นความถี่' หรือ Spectrum Roadmap ของประเทศที่ชัดเจน ซึ่งเป็นหน้าที่อันดับแรกของ กสทช. แต่จนปัจจุบันก็ยังไม่มีใครเคยเห็นแผนดังกล่าว
***ไร้แผน ไร้คลื่น การกำกับดูแลที่ผิดพลาด
การไม่มีแผนจัดสรรคลื่นความถี่นี้เอง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ราคาคลื่นความถี่สูงเกินจริง เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะมีคลื่นความถี่ใดได้รับการจัดสรรออกมาบ้าง ทั้งที่ประเทศไทยกำหนดนโยบาย เศรษฐกิจดิจิทัลและไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งคลื่นความถี่คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญ แต่กลับถูกนำออกมาใช้ประโยชน์น้อยมาก และไม่มีแผนที่แน่นอน
ทั้งที่ มีการเสนอแนวทางเบื้องต้นว่า ควรมีการกำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ 5 ปีข้างหน้า ระหว่างปี 2559-2563 ในการนำคลื่น 850, 900, 1800, 700, 2300 และ 2600 MHz มาจัดสรร แต่จนสุดท้ายก็ไม่มีการกำหนด และยังไม่รู้ว่า คลื่นความถี่ 700, 2300 และ 2600 MHz จะถูกนำมาจัดสรรเมื่อไรหรือไม่
เทียบกับประเทศยุโรป ที่มีแผนชัดเจนในการนำคลื่นความถี่มาจัดสรรในช่วงปี 2560-2563 โดยจะเพิ่มจำนวนคลื่นความถี่พร้อมใช้งานเป็น 2 เท่าจากเดิมเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ เช่น อังกฤษ และ เยอรมัน เตรียมจัดสรรคลื่นความถี่ 700, 1500, 2300 และ 2600 MHz ไว้ในปี 2563
แม้แต่เมียนมาร์ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย ก็มีแผนจัดสรรคลื่นความถี่อย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง 700, 900, 1800 และ 2600 MHz หรือ มาเลเซีย ที่ปัจจุบันมีการนำคลื่นความถี่มาใช้งานมากกว่าไทยถึงเท่าตัว ก็มีแผนจัดสรรคลื่น 700 MHz เพิ่มเติมอีกในปี 2560
ทั้งหมดกลายเป็นคำถามว่า ประเทศไทยและ กสทช. กำลังจะจัดสรรคลื่นความถี่ โดยไม่มีแผนที่ชัดเจน และอาจอยู่บนพื้นฐานของความผิดพลาด ??
***แผนจัดสรรคลื่นต้องรีบดำเนินการ
พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นอกจากเรื่องการกำหนดราคาเริ่มต้นที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง ไม่มีการศึกษาแล้ว สิ่งที่ กสทช. ควรทำเป็นอันดับแรกแต่ยังไม่ได้ทำ คือ จัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ถือเป็นหน้าที่หลักขององค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ทั่วโลก เป็นการกำหนดแผนว่า จะนำคลื่นความถี่อะไร มาใช้ทำอะไร จะมีการจัดสรรเมื่อไร เพื่อบริษัทเอกชนจะได้วางแผนด้านการเงิน การลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน กสทช. ยังไม่มีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ออกมา แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความแน่นอนในการกำกับดูแล ทั้งที่รู้ล่วงหน้าว่าสัญญาสัมปทานจะหมดอายุ แต่ไม่มีการจัดประมูลล่วงหน้า หรือ Early Auction ดังนั้นสภาพตอนนี้คือ มีคลื่นความถี่อะไร บริษัทเอกชนก็ต้องคว้าเอาไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าอนาคตจะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใดออกมาอีกหรือไม่
'ต้องกล้าทำเพื่อประเทศ วางแนวทางสู่อนาคต ประเทศไทย 4.0 ที่ดีกว่า'
หากพิจารณาปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่นำคลื่นความถี่ออกมาใช้ประโยชน์น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งๆ ที่รัฐบาลกำลังก้าวไปสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 แต่พอหันกลับมาดูคลื่นความถี่ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะให้ไทยก้าวไปสู่ความเป็น 4.0 ได้นั้น กลับเป็นความหวังริบหรี่โดยสิ้นเชิง เพราะวันนี้ กสทช. เพียงแค่นำคลื่นความถี่ที่หมดสัญญาสัมปทานมาจัดสรรใหม่ ซึ่งมีปริมาณคลื่นไม่พอกับการผลักดันประเทศ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล กสทช. ควรจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ กำหนดเวลาเรียกคืนคลื่นความถี่จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์
'ต้องยอมรับว่าการทำหน้าที่ส่วนนี้เป็นเรื่องยาก อาจเกิดความขัดแย้ง และมีการฟ้องร้องทางกฎหมาย แต่เป็นสิ่งที่ กสทช. ต้องแสดงความกล้าหาญ เพื่อวางแนวทางให้ประเทศไทยก้าวไปสู่อนาคตที่ดีกว่า แน่นอนต้องไม่ใช่แค่ทำอะไรแบบเดิมๆ ที่ถือว่าทำไปตามหน้าที่เท่านั้น'
***แผนจัดสรรคลื่นส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แผนการจัดสรรคลื่นความถี่ คือ หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ใช่แค่แผนที่บอกว่า จะนำคลื่นความถี่อะไร มาจัดสรรเมื่อไร แต่ยังกำหนดถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้งานคลื่นความถี่เดิม หรือการกำหนดการใช้งานสิ่งใหม่ๆ แต่ปัจจุบันไม่มีอะไรชัดเจน
'คลื่นความถี่ 700 MHz จะเปลี่ยนจากทีวีแอนะล็อก มาใช้กับโทรคมนาคม หรือ การจะเริ่มต้นจัดทำวิทยุดิจิทัล เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดไว้ในแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ทุกฝ่ายจะได้รู้ว่ากิจการจะเริ่มได้เมื่อไร ต่อไปผู้ประกอบการที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี จะได้วางแผนธุรกิจได้ว่า อนาคตจะมีคลื่นความถี่ใดถูกนำมาใช้อะไร นี่คือเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัลและไทยแลนด์ 4.0 แต่ไทยยังไม่มี'
***แผนจัดสรรคลื่นทางแก้ปัญหาระยะยาว
หน้าที่หลักของ กสทช. คือ การจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งย้ำอีกครั้งว่า ปัจจุบันยังไม่มี ส่งผลให้ในประเทศไทยยังไม่มีใครรู้ว่า หลังจากนี้จะมีคลื่นความถี่อะไรถูกนำออกมาจัดสรรอีกหรือไม่ เมื่อไร จึงขาดการศึกษาและวางแผนในระยะยาว เท่ากับขัดแย้งกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะใช้ขับเคลื่อนประเทศ
เมื่อไม่รู้ว่าจะมีการจัดประมูลคลื่นเมื่อไร ก็ไม่สามารถศึกษารายละเอียดเพื่อจัดการประมูลและกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ผลที่ตามมาคือ กสทช.กำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่กว่า 37,000 ล้านบาทในทั้ง 2 คลื่นความถี่ โดยบอกว่า ใช้ราคาอ้างอิงจากการประมูลครั้งที่ผ่านมา
'นี่คือวิธีการที่ไม่มีหลักเศรษฐศาสตร์มารองรับ แสดงถึงความไม่แน่นอนในการกำกับดูแล และเป็นคำถามที่สังคมต้องตั้งคำถามกับการทำหน้าที่ของ กสทช. และเรียกร้องให้มีการทบทวนการดำเนินการดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักสากล และมีการศึกษาที่เป็นรูปธรรมชัดเจนกว่านี้'
ทำไม ประมูลความถี่แพงเกินจริง !!
ขาดเธอเหมือนขาดใจ การที่ กสทช.ไร้แผนจัดสรรคลื่นความถี่ ทำให้ประเทศไทยประมูลคลื่นความถี่แพงเกินจริง ทั้งที่ไทยกำลังมุ่งหน้าสู่นโยบาย 4.0 คลื่นความถี่และแผนงานจัดสรรคลื่นความถี่ ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่สำคัญที่จะผลักดันให้ไทยบรรลุผลสำเร็จได้นั้นจะต้องมีความชัดเจน เช่นเดียวกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกหรือประเทศเพื่อนบ้านที่วันนี้เหมือนจะแซงหน้าเราไปในเชิงนโยบายจัดสรรคลื่นความถี่
ประเทศไทยวันนี้ยังขาดเส้นเลือดหลัก เพราะเรายังแค่เตรียมประมูลคลื่นเพื่อทดแทนการใช้งานที่หมดสัมปทานไปเท่านั้น นี่คือหนึ่งในความคืบหน้าล่าสุดของคลื่นความถี่ที่จะทำให้ไทยก้าวสู่ 4.0 ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล กำลังเดินหน้าสู่การเตรียมการจัดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz (คลื่น 850MHz เดิม) และ 1800 MHz โดยจะจัดขึ้นประมาณกลางปี 2561 โดยสำนักงาน กสทช.กำหนดจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 900 MHz และ 1800 MHz ในวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2560
***จาก ดีมานด์เทียมถึงแผนจัดสรรคลื่น
สิ่งที่น่ากังขาต่ออนาคตคลื่นความถี่ของไทย คือความดันทุรังของ กสทช. ที่ครั้งนี้ออกมากำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่มากกว่า 37,000 ล้านบาท โดยให้เหตุผลง่ายๆ ว่าอ้างอิงจากราคาการประมูลครั้งที่ผ่านมา โดยไม่มีการศึกษารายละเอียด ไม่มีหลักการทางเศรษฐศาสตร์มารองรับ ทั้งๆ ที่ราคาจากการประมูลครั้งก่อนมี 'ดีมานด์เทียม' จากผู้เข้าประมูลรายหนึ่ง ที่สุดท้ายแล้วก็ทิ้งใบอนุญาตที่ปั่นราคาคลื่นไว้สูงลิ่วจนติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยยอมเสียค่าปรับเพียงเล็กน้อยก่อนที่จะพลิ้วหายไป
แต่สิ่งที่ทิ้งไว้คือประเทศชาติและประชาชนคนไทยเสียโอกาสการเข้าถึงบริการและการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ จากคลื่นความถี่ เพราะราคาที่สูงเกินไป ซึ่งส่งผลเสียต่อการประมูลทุกใบอนุญาตนับจากนี้เป็นต้นไป
สิ่งที่ตามมาคือความอิหลักอิเหลื่อจากทุกฝ่ายในแวดวงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและนักวิชาการ ทุกคนที่จับตามอง เพราะรู้ว่าการกำหนดราคาประมูลสูงแต่ไม่สะท้อนความเป็นจริงของตลาดในปัจจุบัน จะไม่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน อาจทำให้เสียประโยชน์มากกว่าเดิม เช่น ไม่มีใครสนใจแข่งขันประมูลคลื่นความถี่ หรือกลายเป็นต้นทุนที่สูงเกินจริงสำหรับเอกชน ประเทศชาติสูญเสียโอกาส และสุดท้ายประชาชนต้องแบกรับภาระกับค่าบริการที่แพงจากต้นทุนที่สูงขึ้น
ไม่เพียงแค่เรากำลังก้าวพลาดกับราคาเริ่มประมูลที่สูงแล้ว ความบกพร่องอีกประการของ กสทช. คือ การดำเนินการโดยไม่มีการประกาศแผนคลื่นความถี่ล่วงหน้า ทั้งที่รู้มาตั้งแต่แรกว่า สัญญาสัมปทานจะหมดลงในปี 2561 เพราะ กสทช. ไม่มี 'แผนจัดสรรคลื่นความถี่' หรือ Spectrum Roadmap ของประเทศที่ชัดเจน ซึ่งเป็นหน้าที่อันดับแรกของ กสทช. แต่จนปัจจุบันก็ยังไม่มีใครเคยเห็นแผนดังกล่าว
***ไร้แผน ไร้คลื่น การกำกับดูแลที่ผิดพลาด
การไม่มีแผนจัดสรรคลื่นความถี่นี้เอง ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ราคาคลื่นความถี่สูงเกินจริง เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะมีคลื่นความถี่ใดได้รับการจัดสรรออกมาบ้าง ทั้งที่ประเทศไทยกำหนดนโยบาย เศรษฐกิจดิจิทัลและไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งคลื่นความถี่คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญ แต่กลับถูกนำออกมาใช้ประโยชน์น้อยมาก และไม่มีแผนที่แน่นอน
ทั้งที่ มีการเสนอแนวทางเบื้องต้นว่า ควรมีการกำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ 5 ปีข้างหน้า ระหว่างปี 2559-2563 ในการนำคลื่น 850, 900, 1800, 700, 2300 และ 2600 MHz มาจัดสรร แต่จนสุดท้ายก็ไม่มีการกำหนด และยังไม่รู้ว่า คลื่นความถี่ 700, 2300 และ 2600 MHz จะถูกนำมาจัดสรรเมื่อไรหรือไม่
เทียบกับประเทศยุโรป ที่มีแผนชัดเจนในการนำคลื่นความถี่มาจัดสรรในช่วงปี 2560-2563 โดยจะเพิ่มจำนวนคลื่นความถี่พร้อมใช้งานเป็น 2 เท่าจากเดิมเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ เช่น อังกฤษ และ เยอรมัน เตรียมจัดสรรคลื่นความถี่ 700, 1500, 2300 และ 2600 MHz ไว้ในปี 2563
แม้แต่เมียนมาร์ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทย ก็มีแผนจัดสรรคลื่นความถี่อย่างเป็นรูปธรรม ทั้ง 700, 900, 1800 และ 2600 MHz หรือ มาเลเซีย ที่ปัจจุบันมีการนำคลื่นความถี่มาใช้งานมากกว่าไทยถึงเท่าตัว ก็มีแผนจัดสรรคลื่น 700 MHz เพิ่มเติมอีกในปี 2560
ทั้งหมดกลายเป็นคำถามว่า ประเทศไทยและ กสทช. กำลังจะจัดสรรคลื่นความถี่ โดยไม่มีแผนที่ชัดเจน และอาจอยู่บนพื้นฐานของความผิดพลาด ??
***แผนจัดสรรคลื่นต้องรีบดำเนินการ
พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า นอกจากเรื่องการกำหนดราคาเริ่มต้นที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง ไม่มีการศึกษาแล้ว สิ่งที่ กสทช. ควรทำเป็นอันดับแรกแต่ยังไม่ได้ทำ คือ จัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ถือเป็นหน้าที่หลักขององค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ทั่วโลก เป็นการกำหนดแผนว่า จะนำคลื่นความถี่อะไร มาใช้ทำอะไร จะมีการจัดสรรเมื่อไร เพื่อบริษัทเอกชนจะได้วางแผนด้านการเงิน การลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน กสทช. ยังไม่มีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ออกมา แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความแน่นอนในการกำกับดูแล ทั้งที่รู้ล่วงหน้าว่าสัญญาสัมปทานจะหมดอายุ แต่ไม่มีการจัดประมูลล่วงหน้า หรือ Early Auction ดังนั้นสภาพตอนนี้คือ มีคลื่นความถี่อะไร บริษัทเอกชนก็ต้องคว้าเอาไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าอนาคตจะมีการจัดสรรคลื่นความถี่ใดออกมาอีกหรือไม่
'ต้องกล้าทำเพื่อประเทศ วางแนวทางสู่อนาคต ประเทศไทย 4.0 ที่ดีกว่า'
หากพิจารณาปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่นำคลื่นความถี่ออกมาใช้ประโยชน์น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งๆ ที่รัฐบาลกำลังก้าวไปสู่นโยบายประเทศไทย 4.0 แต่พอหันกลับมาดูคลื่นความถี่ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะให้ไทยก้าวไปสู่ความเป็น 4.0 ได้นั้น กลับเป็นความหวังริบหรี่โดยสิ้นเชิง เพราะวันนี้ กสทช. เพียงแค่นำคลื่นความถี่ที่หมดสัญญาสัมปทานมาจัดสรรใหม่ ซึ่งมีปริมาณคลื่นไม่พอกับการผลักดันประเทศ ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล กสทช. ควรจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ กำหนดเวลาเรียกคืนคลื่นความถี่จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อมาจัดสรรใหม่ให้เกิดประโยชน์
'ต้องยอมรับว่าการทำหน้าที่ส่วนนี้เป็นเรื่องยาก อาจเกิดความขัดแย้ง และมีการฟ้องร้องทางกฎหมาย แต่เป็นสิ่งที่ กสทช. ต้องแสดงความกล้าหาญ เพื่อวางแนวทางให้ประเทศไทยก้าวไปสู่อนาคตที่ดีกว่า แน่นอนต้องไม่ใช่แค่ทำอะไรแบบเดิมๆ ที่ถือว่าทำไปตามหน้าที่เท่านั้น'
***แผนจัดสรรคลื่นส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แผนการจัดสรรคลื่นความถี่ คือ หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ใช่แค่แผนที่บอกว่า จะนำคลื่นความถี่อะไร มาจัดสรรเมื่อไร แต่ยังกำหนดถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้งานคลื่นความถี่เดิม หรือการกำหนดการใช้งานสิ่งใหม่ๆ แต่ปัจจุบันไม่มีอะไรชัดเจน
'คลื่นความถี่ 700 MHz จะเปลี่ยนจากทีวีแอนะล็อก มาใช้กับโทรคมนาคม หรือ การจะเริ่มต้นจัดทำวิทยุดิจิทัล เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดไว้ในแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ทุกฝ่ายจะได้รู้ว่ากิจการจะเริ่มได้เมื่อไร ต่อไปผู้ประกอบการที่สนใจเรื่องเทคโนโลยี จะได้วางแผนธุรกิจได้ว่า อนาคตจะมีคลื่นความถี่ใดถูกนำมาใช้อะไร นี่คือเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัลและไทยแลนด์ 4.0 แต่ไทยยังไม่มี'
***แผนจัดสรรคลื่นทางแก้ปัญหาระยะยาว
หน้าที่หลักของ กสทช. คือ การจัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งย้ำอีกครั้งว่า ปัจจุบันยังไม่มี ส่งผลให้ในประเทศไทยยังไม่มีใครรู้ว่า หลังจากนี้จะมีคลื่นความถี่อะไรถูกนำออกมาจัดสรรอีกหรือไม่ เมื่อไร จึงขาดการศึกษาและวางแผนในระยะยาว เท่ากับขัดแย้งกับนโยบายประเทศไทย 4.0 และเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะใช้ขับเคลื่อนประเทศ
เมื่อไม่รู้ว่าจะมีการจัดประมูลคลื่นเมื่อไร ก็ไม่สามารถศึกษารายละเอียดเพื่อจัดการประมูลและกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างแท้จริง ผลที่ตามมาคือ กสทช.กำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่กว่า 37,000 ล้านบาทในทั้ง 2 คลื่นความถี่ โดยบอกว่า ใช้ราคาอ้างอิงจากการประมูลครั้งที่ผ่านมา
'นี่คือวิธีการที่ไม่มีหลักเศรษฐศาสตร์มารองรับ แสดงถึงความไม่แน่นอนในการกำกับดูแล และเป็นคำถามที่สังคมต้องตั้งคำถามกับการทำหน้าที่ของ กสทช. และเรียกร้องให้มีการทบทวนการดำเนินการดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักสากล และมีการศึกษาที่เป็นรูปธรรมชัดเจนกว่านี้'