25 กุมภาพันธ์ 2556 CAT กอด 1800 ไว้ด้วยอีกมุก!!! ( สัมปทานระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ) พร้อมใช้มาตรา++พรบ.กสทช.82,83,84
ประเด็นหลัก
กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐชี้ต้องการให้ กทค.พิจารณาร่างบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,83 และ 84 ที่ชงเรื่องให้พิจารณาก่อนหน้านี้ งัดกฎหมายรอบด้านรักษาสิทธิ์ยันเหตุที่ทำเพื่อปกป้องลูกค้า 18 ล้านราย เตรียมปรึกษากฤษฎีกาหาช่องทางนำเรื่องเข้า ครม.พิจารณา ด้าน "กสทช." เผยหากไม่คืนคลื่นต้องบอกเหตุผล ชี้เรื่องนี้ต้องเจรจาหลายรอบ
ทั้งนี้ กสท เห็นว่าแม้มาตรา 45 บทบัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ แต่มาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติกรณีทั่วไปเพื่อให้ กสทช.ใช้เป็นแนวทางในการกำกับกิจการโทรคมนาคมในส่วนของคลื่นความถี่ใหม่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรรหรือใช้อยู่ก่อนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ใช้บังคับต้องดำเนินการตามวิธีการประมูลคลื่นความถี่
ในขณะที่บทบัญญัติในมาตรา 82, มาตรา 83 และ มาตรา 84 เป็นบทเฉพาะกาล ของ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯพ.ศ.2553 ที่บัญญัติไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเมื่อมีการตรากฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีการพัฒนาและเชื่อมโยงมาจากพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2477 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ดังนั้นพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 จึงได้บัญญัติให้มีการรองรับสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมายในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน
โดยในมาตรา 82 ได้บัญญัติให้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือ ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีใช้บังคับหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช.และในมาตรา 84 วรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือ ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่มาตรา 48 โดยให้นำความในมาตรา 83 วรรค 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
นายกิตติศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการตามมาตรา 82 ก็ถือว่าหน่วยงานดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว โดยมาตรา 84 วรรค 4 บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนของการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับการจัดสรรข้างต้นตามความจำเป็นที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานของรัฐ ได้แจ้งตามมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณา ดังนั้น กสท จึงได้มีหนังสือที่อ้างถึงแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช. และ มีหนังสือที่อ้างถึงขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ตามนัยมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่
" กสท ทำตามหลักกฎหมายทุกอย่าง กสท ไม่ได้เป็นเด็กเกเรแต่เราจำเป็นต้องใช้กลไกกฎหมายที่มีอยู่เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และไม่ได้ทิ้งลูกค้าที่มีอยู่จำนวน 18 ล้านราย และ กสท กำลังหาทางเอาความถี่มาเพื่อให้ กสท เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของลูกค้า เช่นเดียวกับสัญญาแนบท้ายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสท ระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ซึ่งจะใช้วิธีการว่าจ้างให้เอกชนมาดำเนินการ"
นอกจากนี้แล้ว กสท ได้ชี้แจ้งในเรื่องนี้ต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที รับทราบแล้วและกำลังอยู่ระหว่างการประสานเพื่อขอคำปรึกษากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อนำเรื่องการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
ซึ่ง CAT ได้ดำเนินตามมาตรา 82 ก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถูกบังคับใช้ และในวรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นความถี่ ดังนั้น CAT จึงได้มีหนังสือถึง กสทช.โดยอ้างตามบทบัญญัติข้างต้น ในการขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรองรับการใช้งานหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
______________________
'แคท'กอดคลื่น1800แน่นหนึบ
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
บิ๊ก "กสท" ออกโรงยันไม่พร้อมคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ หลัง "ทรูมูฟ –ดีพีซี" สิ้นสุดสัญญาสัมปทานดีเดย์ 16 กันยายน 2556 เผยสัญญาแนบท้ายมีสิทธิ์บริหารต่ออีก 2 ปี
กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐชี้ต้องการให้ กทค.พิจารณาร่างบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,83 และ 84 ที่ชงเรื่องให้พิจารณาก่อนหน้านี้ งัดกฎหมายรอบด้านรักษาสิทธิ์ยันเหตุที่ทำเพื่อปกป้องลูกค้า 18 ล้านราย เตรียมปรึกษากฤษฎีกาหาช่องทางนำเรื่องเข้า ครม.พิจารณา ด้าน "กสทช." เผยหากไม่คืนคลื่นต้องบอกเหตุผล ชี้เรื่องนี้ต้องเจรจาหลายรอบ
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับกรณีที่ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานที่ให้กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด เพื่อนำคลื่นดังกล่าวไปจัดสรรใหม่และได้ตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ DIGITAL PCN (PERSONL COMMUNICATION NETWORK) ในเบื้องต้น กสทไม่อาจคืนคลื่นความถี่ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานได้และขอให้ กทค.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) พิจารณาคำขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท รวมทั้งแผนและมาตรการรองรับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานตามหนังสือที่ กสทได้ส่งกลับไป
อย่างไรก็ตาม กสท ในฐานะผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ควรพิจารณาให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ กสท ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานและการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล
นายกิตติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ กสท ได้ส่งหนังสือกลับไปยังคณะกรรมการ กทค. ที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และในฐานะประธาน กทค. ได้มีการพิจารณาแล้วมีความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช. เป็นการพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เมื่อการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาสิ้นสุดลง แต่ยังไม่ให้ความเห็นในประเด็นบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,มาตรา 83 และ มาตรา 84 ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553) ที่ กสทได้ส่งหนังสือไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ กสท เห็นว่าแม้มาตรา 45 บทบัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ แต่มาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติกรณีทั่วไปเพื่อให้ กสทช.ใช้เป็นแนวทางในการกำกับกิจการโทรคมนาคมในส่วนของคลื่นความถี่ใหม่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรรหรือใช้อยู่ก่อนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ใช้บังคับต้องดำเนินการตามวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ในขณะที่บทบัญญัติในมาตรา 82, มาตรา 83 และ มาตรา 84 เป็นบทเฉพาะกาล ของ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯพ.ศ.2553 ที่บัญญัติไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเมื่อมีการตรากฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีการพัฒนาและเชื่อมโยงมาจากพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2477 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ดังนั้นพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 จึงได้บัญญัติให้มีการรองรับสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมายในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน โดยในมาตรา 82 ได้บัญญัติให้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือ ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีใช้บังคับหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช.และในมาตรา 84 วรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือ ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่มาตรา 48 โดยให้นำความในมาตรา 83 วรรค 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
นายกิตติศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการตามมาตรา 82 ก็ถือว่าหน่วยงานดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว โดยมาตรา 84 วรรค 4 บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนของการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับการจัดสรรข้างต้นตามความจำเป็นที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานของรัฐ ได้แจ้งตามมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณา ดังนั้น กสท จึงได้มีหนังสือที่อ้างถึงแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช. และ มีหนังสือที่อ้างถึงขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ตามนัยมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่
" กสท ทำตามหลักกฎหมายทุกอย่าง กสท ไม่ได้เป็นเด็กเกเรแต่เราจำเป็นต้องใช้กลไกกฎหมายที่มีอยู่เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และไม่ได้ทิ้งลูกค้าที่มีอยู่จำนวน 18 ล้านราย และ กสท กำลังหาทางเอาความถี่มาเพื่อให้ กสท เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของลูกค้า เช่นเดียวกับสัญญาแนบท้ายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสท ระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ซึ่งจะใช้วิธีการว่าจ้างให้เอกชนมาดำเนินการ"
นอกจากนี้แล้ว กสท ได้ชี้แจ้งในเรื่องนี้ต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที รับทราบแล้วและกำลังอยู่ระหว่างการประสานเพื่อขอคำปรึกษากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อนำเรื่องการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการ กสทช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หาก กสท มีมติไม่ส่งคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กลับมายัง กสทช.ก็ต้องบอกเหตุผลกลับมา ส่วนในระหว่างนี้เมื่อ กสทช.ชี้แจงไปแล้วเชื่อว่า กสท ต้องส่งจดหมายตอบกลับมาเพราะสัญญาสัมปทานหมดอายุในวันที่ 16 กันยายน 2556 ยังมีเวลาอีกหลายเดือนในการเจร
CAT กอด 1800 ไว้ด้วยอีกมุก!!! ( สัมปทานระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ) พร้อมใช้มาตรา++พรบ.กสทช.82,83,84
ประเด็นหลัก
กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐชี้ต้องการให้ กทค.พิจารณาร่างบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,83 และ 84 ที่ชงเรื่องให้พิจารณาก่อนหน้านี้ งัดกฎหมายรอบด้านรักษาสิทธิ์ยันเหตุที่ทำเพื่อปกป้องลูกค้า 18 ล้านราย เตรียมปรึกษากฤษฎีกาหาช่องทางนำเรื่องเข้า ครม.พิจารณา ด้าน "กสทช." เผยหากไม่คืนคลื่นต้องบอกเหตุผล ชี้เรื่องนี้ต้องเจรจาหลายรอบ
ทั้งนี้ กสท เห็นว่าแม้มาตรา 45 บทบัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ แต่มาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติกรณีทั่วไปเพื่อให้ กสทช.ใช้เป็นแนวทางในการกำกับกิจการโทรคมนาคมในส่วนของคลื่นความถี่ใหม่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรรหรือใช้อยู่ก่อนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ใช้บังคับต้องดำเนินการตามวิธีการประมูลคลื่นความถี่
ในขณะที่บทบัญญัติในมาตรา 82, มาตรา 83 และ มาตรา 84 เป็นบทเฉพาะกาล ของ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯพ.ศ.2553 ที่บัญญัติไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเมื่อมีการตรากฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีการพัฒนาและเชื่อมโยงมาจากพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2477 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ดังนั้นพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 จึงได้บัญญัติให้มีการรองรับสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมายในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน
โดยในมาตรา 82 ได้บัญญัติให้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือ ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีใช้บังคับหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช.และในมาตรา 84 วรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือ ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่มาตรา 48 โดยให้นำความในมาตรา 83 วรรค 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
นายกิตติศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการตามมาตรา 82 ก็ถือว่าหน่วยงานดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว โดยมาตรา 84 วรรค 4 บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนของการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับการจัดสรรข้างต้นตามความจำเป็นที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานของรัฐ ได้แจ้งตามมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณา ดังนั้น กสท จึงได้มีหนังสือที่อ้างถึงแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช. และ มีหนังสือที่อ้างถึงขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ตามนัยมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่
" กสท ทำตามหลักกฎหมายทุกอย่าง กสท ไม่ได้เป็นเด็กเกเรแต่เราจำเป็นต้องใช้กลไกกฎหมายที่มีอยู่เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และไม่ได้ทิ้งลูกค้าที่มีอยู่จำนวน 18 ล้านราย และ กสท กำลังหาทางเอาความถี่มาเพื่อให้ กสท เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของลูกค้า เช่นเดียวกับสัญญาแนบท้ายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสท ระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ซึ่งจะใช้วิธีการว่าจ้างให้เอกชนมาดำเนินการ"
นอกจากนี้แล้ว กสท ได้ชี้แจ้งในเรื่องนี้ต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที รับทราบแล้วและกำลังอยู่ระหว่างการประสานเพื่อขอคำปรึกษากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อนำเรื่องการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
ซึ่ง CAT ได้ดำเนินตามมาตรา 82 ก่อนที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะถูกบังคับใช้ และในวรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการคืนคลื่นความถี่ ดังนั้น CAT จึงได้มีหนังสือถึง กสทช.โดยอ้างตามบทบัญญัติข้างต้น ในการขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อรองรับการใช้งานหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
______________________
'แคท'กอดคลื่น1800แน่นหนึบ
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
บิ๊ก "กสท" ออกโรงยันไม่พร้อมคืนคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ หลัง "ทรูมูฟ –ดีพีซี" สิ้นสุดสัญญาสัมปทานดีเดย์ 16 กันยายน 2556 เผยสัญญาแนบท้ายมีสิทธิ์บริหารต่ออีก 2 ปี
กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐชี้ต้องการให้ กทค.พิจารณาร่างบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,83 และ 84 ที่ชงเรื่องให้พิจารณาก่อนหน้านี้ งัดกฎหมายรอบด้านรักษาสิทธิ์ยันเหตุที่ทำเพื่อปกป้องลูกค้า 18 ล้านราย เตรียมปรึกษากฤษฎีกาหาช่องทางนำเรื่องเข้า ครม.พิจารณา ด้าน "กสทช." เผยหากไม่คืนคลื่นต้องบอกเหตุผล ชี้เรื่องนี้ต้องเจรจาหลายรอบ
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ แคท เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับกรณีที่ กสทช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานที่ให้กับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด เพื่อนำคลื่นดังกล่าวไปจัดสรรใหม่และได้ตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ DIGITAL PCN (PERSONL COMMUNICATION NETWORK) ในเบื้องต้น กสทไม่อาจคืนคลื่นความถี่ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานได้และขอให้ กทค.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม) พิจารณาคำขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของ กสท รวมทั้งแผนและมาตรการรองรับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานตามหนังสือที่ กสทได้ส่งกลับไป
อย่างไรก็ตาม กสท ในฐานะผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ควรพิจารณาให้เกิดความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ กสท ปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานและการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล
นายกิตติศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ กสท ได้ส่งหนังสือกลับไปยังคณะกรรมการ กทค. ที่มี พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และในฐานะประธาน กทค. ได้มีการพิจารณาแล้วมีความเห็นของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย กสทช. เป็นการพิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเฉพาะประเด็นสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เมื่อการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาสิ้นสุดลง แต่ยังไม่ให้ความเห็นในประเด็นบทเฉพาะกาลตามมาตรา 82,มาตรา 83 และ มาตรา 84 ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553) ที่ กสทได้ส่งหนังสือไปก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ กสท เห็นว่าแม้มาตรา 45 บทบัญญัติให้ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาตดำเนินการโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ แต่มาตราดังกล่าวเป็นบทบัญญัติกรณีทั่วไปเพื่อให้ กสทช.ใช้เป็นแนวทางในการกำกับกิจการโทรคมนาคมในส่วนของคลื่นความถี่ใหม่ที่ยังไม่ได้มีการจัดสรรหรือใช้อยู่ก่อนพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ใช้บังคับต้องดำเนินการตามวิธีการประมูลคลื่นความถี่ ในขณะที่บทบัญญัติในมาตรา 82, มาตรา 83 และ มาตรา 84 เป็นบทเฉพาะกาล ของ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯพ.ศ.2553 ที่บัญญัติไว้เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเมื่อมีการตรากฎหมายหรือเปลี่ยนแปลงกฎหมายใหม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 มีการพัฒนาและเชื่อมโยงมาจากพระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ.2477 พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และ พระราชบัญญัติประกอบกิจการกระจายเสียง และ กิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ดังนั้นพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 จึงได้บัญญัติให้มีการรองรับสิทธิและหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องตามกฎหมายเดิมเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการบังคับใช้กฎหมายในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน โดยในมาตรา 82 ได้บัญญัติให้ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือผู้ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ หรือ ใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีใช้บังคับหน้าที่แจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช.และในมาตรา 84 วรรค 4 ได้บัญญัติให้ กสทช. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการให้ผู้ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่คืนคลื่นความถี่เพื่อนำไปจัดสรรใหม่ หรือ ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ตามที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่มาตรา 48 โดยให้นำความในมาตรา 83 วรรค 3 มาบังคับใช้โดยอนุโลม
นายกิตติศักดิ์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เมื่อส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการตามมาตรา 82 ก็ถือว่าหน่วยงานดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว โดยมาตรา 84 วรรค 4 บัญญัติให้ กสทช.กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนของการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับการจัดสรรข้างต้นตามความจำเป็นที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และ หน่วยงานของรัฐ ได้แจ้งตามมาตรา 82 มาประกอบการพิจารณา ดังนั้น กสท จึงได้มีหนังสือที่อ้างถึงแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่รวมทั้งเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่ต่อ กสทช. และ มีหนังสือที่อ้างถึงขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 800 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ตามนัยมาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 เพื่อรองรับการให้บริการหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลและปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่
" กสท ทำตามหลักกฎหมายทุกอย่าง กสท ไม่ได้เป็นเด็กเกเรแต่เราจำเป็นต้องใช้กลไกกฎหมายที่มีอยู่เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์และไม่ได้ทิ้งลูกค้าที่มีอยู่จำนวน 18 ล้านราย และ กสท กำลังหาทางเอาความถี่มาเพื่อให้ กสท เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของลูกค้า เช่นเดียวกับสัญญาแนบท้ายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน กสท ระบุชัดเจนว่ามีสิทธิ์บริหารต่อได้อีก 2 ปี ซึ่งจะใช้วิธีการว่าจ้างให้เอกชนมาดำเนินการ"
นอกจากนี้แล้ว กสท ได้ชี้แจ้งในเรื่องนี้ต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที รับทราบแล้วและกำลังอยู่ระหว่างการประสานเพื่อขอคำปรึกษากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อนำเรื่องการคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เข้าสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการ กสทช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า หาก กสท มีมติไม่ส่งคืนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กลับมายัง กสทช.ก็ต้องบอกเหตุผลกลับมา ส่วนในระหว่างนี้เมื่อ กสทช.ชี้แจงไปแล้วเชื่อว่า กสท ต้องส่งจดหมายตอบกลับมาเพราะสัญญาสัมปทานหมดอายุในวันที่ 16 กันยายน 2556 ยังมีเวลาอีกหลายเดือนในการเจร