‘นีร่า’ระบุ4Gไทยคุณภาพต่ำกว่าเขมร
นายฮานส์ อีลเล ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท นีร่า อีโคโนมิค คอนเซาท์ติง จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านนโยบายสาธารณะระดับโลก รายงานผลการวิจัยว่า จากการเตรียมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 1800 MHz ในปี 2561 ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมฯ (กสทช.) จะจัดรับฟังความคิดสาธารณะในวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2560 นั้น ทางบริษัทที่ปรึกษาพบว่าจะข้อน่ากังวลต่อแผนการประมูล ตลอดจนแนวคิด 2 ประการ
ประการที่ 1 การใช้สูตรการประมูล N-1 กล่าวคือ กสทช. จะไม่นำคลื่นความถี่บางช่วงเข้ามาประมูล ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย จุดประสงค์ของแนวคิด N-1 มีขึ้นเพื่อให้ได้เงินจากการประมูลสูงสุด แต่แนวคิดดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้เกิดการบริหารการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีคลื่นความถี่อย่างน้อย 10% ไม่ได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ประเทศต้องการการใช้คลื่นความถี่จากแนวโน้มการใช้งานดาต้าและพฤติกรรมผู้บริโภค
“จากข้อมูลของ OpenSignal ระบุว่า คุณภาพการให้บริการ 4G ของไทย เทียบเท่ากับอินโดนีเซีย และต่ำกว่า ปากีสถาน กัมพูชา มาเลเซีย”
ส่วนประการที่ 2 คือ การกำหนดราคาตั้งต้น โดยอ้างอิงจากราคาการประมูลในปี 2558 ซึ่งนี่จะไม่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมประมูล ทั้งยังนำไปสู่ผลเสียด้านคุณภาพการบริหาร โดยจากการศึกษาของ GSMA ระบุว่า ราคาคลื่นความถี่ที่สูง ทำให้เกิดคุณภาพโครงข่ายที่ต่ำลง และค่าบริการที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ไทยประสบอยู่ในขณะนี้
ทังนี้ พบว่าราคาขั้นต่ำการมูลของคลื่น 900 MHz ของ กสทช.ที่ผ่านมา สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 6 เท่า และราคาแพ็กเกจที่ใช้มีราคาแพงกว่าในสิงคโปร์และมาเลเซีย การกำหนดราคาขั้นต้นจากการประมูลครั้งก่อนเคยเกิดขึ้นในอินเดียมาแล้ว และทำให้เกิดปัญหาต่ออุตสาหกรรม ไม่มีผู้สนใจการประมูล ทำให้เกิดการควบรวมกิจการ ส่งผลให้การทำธุรกิจเกิดการแข่งขันยาก เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูง กสทช.ควรทำการสำรวจราคาจากตลาดเหมือนการประมูลครั้งที่ผ่านมา เพื่อหาราคาตั้งต้นที่เหมาะสม
http://www.naewna.com/business/309121/preview
"4G ไทย" คุณภาพต่ำกว่า กัมพูชา มาเลเซีย ปากีสถาน จริงหรือไม่ ?
นายฮานส์ อีลเล ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท นีร่า อีโคโนมิค คอนเซาท์ติง จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านนโยบายสาธารณะระดับโลก รายงานผลการวิจัยว่า จากการเตรียมการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 1800 MHz ในปี 2561 ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมฯ (กสทช.) จะจัดรับฟังความคิดสาธารณะในวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2560 นั้น ทางบริษัทที่ปรึกษาพบว่าจะข้อน่ากังวลต่อแผนการประมูล ตลอดจนแนวคิด 2 ประการ
ประการที่ 1 การใช้สูตรการประมูล N-1 กล่าวคือ กสทช. จะไม่นำคลื่นความถี่บางช่วงเข้ามาประมูล ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย จุดประสงค์ของแนวคิด N-1 มีขึ้นเพื่อให้ได้เงินจากการประมูลสูงสุด แต่แนวคิดดังกล่าวเชื่อว่าจะทำให้เกิดการบริหารการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยจะมีคลื่นความถี่อย่างน้อย 10% ไม่ได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ประเทศต้องการการใช้คลื่นความถี่จากแนวโน้มการใช้งานดาต้าและพฤติกรรมผู้บริโภค
“จากข้อมูลของ OpenSignal ระบุว่า คุณภาพการให้บริการ 4G ของไทย เทียบเท่ากับอินโดนีเซีย และต่ำกว่า ปากีสถาน กัมพูชา มาเลเซีย”
ส่วนประการที่ 2 คือ การกำหนดราคาตั้งต้น โดยอ้างอิงจากราคาการประมูลในปี 2558 ซึ่งนี่จะไม่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมประมูล ทั้งยังนำไปสู่ผลเสียด้านคุณภาพการบริหาร โดยจากการศึกษาของ GSMA ระบุว่า ราคาคลื่นความถี่ที่สูง ทำให้เกิดคุณภาพโครงข่ายที่ต่ำลง และค่าบริการที่สูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ที่ไทยประสบอยู่ในขณะนี้
ทังนี้ พบว่าราคาขั้นต่ำการมูลของคลื่น 900 MHz ของ กสทช.ที่ผ่านมา สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 6 เท่า และราคาแพ็กเกจที่ใช้มีราคาแพงกว่าในสิงคโปร์และมาเลเซีย การกำหนดราคาขั้นต้นจากการประมูลครั้งก่อนเคยเกิดขึ้นในอินเดียมาแล้ว และทำให้เกิดปัญหาต่ออุตสาหกรรม ไม่มีผู้สนใจการประมูล ทำให้เกิดการควบรวมกิจการ ส่งผลให้การทำธุรกิจเกิดการแข่งขันยาก เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูง กสทช.ควรทำการสำรวจราคาจากตลาดเหมือนการประมูลครั้งที่ผ่านมา เพื่อหาราคาตั้งต้นที่เหมาะสม
http://www.naewna.com/business/309121/preview