เปิดขุมทรัพย์คลื่น 'รอประมูล' นำร่อง 2600 MHz-กสทช.ลั่นไม่ขายถูกๆ
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
จบสิ้นไปแล้วกับการประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4จี และนับเป็นไฮไลต์ของตลาดมือถือในรอบ 2-3 ปีมานี้ หลัง การประมูลคลื่น 2100 MHz ในปี 2555
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาราคาประมูลที่ออกมา จะพบว่าสูงเกินความคาดหมายทั้งสองย่านความถี่ โดยคลื่น 1800 MHz เฉลี่ยอยู่ที่ ใบละ 4 หมื่นล้านบาท ส่วนคลื่น 900 MHz สูงถึงใบละ 7.5 หมื่นล้านบาท
พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ราคาประมูลที่ออกมาถือว่าค่อนข้างสูง สะท้อนว่าคลื่นความถี่มีน้อยและยังเป็นที่ต้องการอีกมาก อีกทั้งมีความไม่แน่นอนในอนาคต เช่น คลื่น 1800 MHz ที่หมดสัมปทานในอีก 3 ปีข้างหน้าจะได้ประมูลหรือไม่
พรเทพ เสนอว่า ขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ควรต้องมองเรื่องการเร่งนำคลื่นความถี่ใหม่ๆ ออกมาจัดสรร และควร กำหนดโรดแมปให้ชัดเจนว่าจะเปิดประมูลคลื่นความถี่ใดบ้าง และปีอะไร รวมทั้งพิจารณาคลื่นความถี่ที่อยู่ในมือหน่วยงานรัฐ เช่น กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที หากพบว่ามีการใช้งานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็ควรพิจารณาขอคืนคลื่นและนำกลับมาจัดสรรใหม่
เสน่ห์ สายวงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารคลื่นความถี่ สำนักงาน กสทช. ให้ข้อมูลว่า คลื่นความถี่ที่คาดว่าจะนำมาจัดสรรได้ในอนาคตจะมีคลื่น 1800 MHz ซึ่งนำมาใช้งานแบบ FDD (Frequency Division Duplex) ได้ภายในปี 2561 จำนวน 45 MHz หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
นอกจากนี้ ยังมีคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ซึ่งปัจจุบันทีโอทียังใช้งานอยู่จนถึงปี 2568 ซึ่งหลังจากนั้นสามารถนำมาประมูลแบบ TDD (Time Division Duplex) ได้ 70 MHz รวมทั้งคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz ซึ่งมีมากถึง 190 MHz โดยสามารถนำมาประมูลแบบ FDD จำนวน 70 MHz และแบบ TDD อีก 40 MHz โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาความจำเป็นในการใช้งานคลื่นความถี่ร่วมกันระหว่าง บริษัท อสมท และกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) แต่ถ้าถือตามสิทธิเดิมจะใช้ได้ถึงปี 2565
ในส่วนของคลื่นย่าน Low Band จะมีความถี่ย่าน 800 MHz ซึ่งปัจจุบันอยู่ในการใช้งานของบริษัท กสท โทรคมนาคม และดีแทค โดยมี 15 MHz จะหมดสัมปทานปี 2561 และอีก 10 MHz หมดสัมปทานในปี 2568 โดยมาสามารถนำมาประมูลแบบ FDD ได้จำนวน 25 MHz
นอกจากนี้ ยังมีความถี่ย่าน 700 MHz อีกจำนวน 92 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้งานสำหรับทีวีดิจิทัล แต่หากนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถนำมาประมูลได้อย่างเร็วที่สุด 45 MHz ในปี 2566
ขณะที่ย่านความถี่ 450 MHz อีก 20 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้งานสำหรับวิทยุสื่อสาร และยังไม่มีการกำหนดแผนความถี่สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากผู้ประกอบการยังไม่มีความต้องการใช้คลื่นดังกล่าว รวมทั้งคลื่นความถี่ย่าน 1500 MHz อีก 91 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้งานสำหรับวิทยุเชื่อมโยง microwave fixed link แต่จะมีการพิจารณาปรับปรุงเพื่อนำคลื่นมาใช้งานต่อไป
ด้าน ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กสทช.ยังต้องเจรจากับ อสมท ในการนำคลื่น 2600 MHz ออกมาประมูล โดยคลื่นความถี่ของ อสมท ทั้งหมด 120 MHz อาจเจรจาขอมาประมูล 60 MHz ส่วนที่เหลือ อสมท อาจนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น โดยหากมีความคืบหน้าจะสามารถนำคลื่น 2600 MHz มาเปิดประมูลได้ภายในปี 2559
ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขา ธิการ กสทช. ระบุว่า แม้ว่าจะมีการนำคลื่น 2600 MHz มาเปิดประมูลก็ไม่ได้หมายความว่าเอกชนจะประมูลคลื่นไปได้ในราคาถูก เพราะการประมูลคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz ได้สร้างมาตรฐานการแข่งขันไว้สูงมาก ขณะที่ประชาชนเองก็จับตามองอยู่ ดังนั้นการนำคลื่นออกมาประมูลในแต่ละช่วงเวลาจะต้องมีความเหมาะสม เช่น หากคลื่น 2600 MHz มีผู้สนใจน้อย กสทช.ก็อาจเปิดประมูล 1 ใบอนุญาต และประมูลเพียง 5 MHz ก็ได้
"คลื่นเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ดังนั้นราคาคลื่นจะต้องสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง จึงต้องมี กสทช.ทำหน้าที่ควบคุมซัพพลายของคลื่นในแต่ละช่วงเวลาให้เหมาะสม เราก็ไม่มีทางขายของถูกๆ แน่ และก็มีวิธีการมากมายที่จะทำให้มีการแข่งขันกันดุเดือด ทำให้คนไทยได้เฮเหมือนกับคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz เพราะเงินเหล่านี้จะถูกส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนเอกชนไม่ต้องกลัวว่าเขาจะอยู่ไม่ได้ อย่างการประมูลคลื่นคราวนี้ที่ชนะประมูลไปในราคาที่สูง เอกชนอาจจะยังไม่มีกำไรใน 1-2 ปีแรก แต่ในระยะยาวเขามีกำไรแน่" ก่อกิจ ทิ้งท้าย
2600 MHz paired Spectrum FDD-band (band 7)
ข้อมูลแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หน้า B12
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
เปิดขุมทรัพย์คลื่น 'รอประมูล' นำร่อง 2600 MHz-กสทช.ลั่นไม่ขายถูกๆ
เปิดขุมทรัพย์คลื่น 'รอประมูล' นำร่อง 2600 MHz-กสทช.ลั่นไม่ขายถูกๆ
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
จบสิ้นไปแล้วกับการประมูลคลื่น 900 MHz และ 1800 MHz สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 4จี และนับเป็นไฮไลต์ของตลาดมือถือในรอบ 2-3 ปีมานี้ หลัง การประมูลคลื่น 2100 MHz ในปี 2555
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาราคาประมูลที่ออกมา จะพบว่าสูงเกินความคาดหมายทั้งสองย่านความถี่ โดยคลื่น 1800 MHz เฉลี่ยอยู่ที่ ใบละ 4 หมื่นล้านบาท ส่วนคลื่น 900 MHz สูงถึงใบละ 7.5 หมื่นล้านบาท
พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นว่า ราคาประมูลที่ออกมาถือว่าค่อนข้างสูง สะท้อนว่าคลื่นความถี่มีน้อยและยังเป็นที่ต้องการอีกมาก อีกทั้งมีความไม่แน่นอนในอนาคต เช่น คลื่น 1800 MHz ที่หมดสัมปทานในอีก 3 ปีข้างหน้าจะได้ประมูลหรือไม่
พรเทพ เสนอว่า ขั้นตอนต่อไป คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ควรต้องมองเรื่องการเร่งนำคลื่นความถี่ใหม่ๆ ออกมาจัดสรร และควร กำหนดโรดแมปให้ชัดเจนว่าจะเปิดประมูลคลื่นความถี่ใดบ้าง และปีอะไร รวมทั้งพิจารณาคลื่นความถี่ที่อยู่ในมือหน่วยงานรัฐ เช่น กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที หากพบว่ามีการใช้งานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็ควรพิจารณาขอคืนคลื่นและนำกลับมาจัดสรรใหม่
เสน่ห์ สายวงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารคลื่นความถี่ สำนักงาน กสทช. ให้ข้อมูลว่า คลื่นความถี่ที่คาดว่าจะนำมาจัดสรรได้ในอนาคตจะมีคลื่น 1800 MHz ซึ่งนำมาใช้งานแบบ FDD (Frequency Division Duplex) ได้ภายในปี 2561 จำนวน 45 MHz หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
นอกจากนี้ ยังมีคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz ซึ่งปัจจุบันทีโอทียังใช้งานอยู่จนถึงปี 2568 ซึ่งหลังจากนั้นสามารถนำมาประมูลแบบ TDD (Time Division Duplex) ได้ 70 MHz รวมทั้งคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz ซึ่งมีมากถึง 190 MHz โดยสามารถนำมาประมูลแบบ FDD จำนวน 70 MHz และแบบ TDD อีก 40 MHz โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาความจำเป็นในการใช้งานคลื่นความถี่ร่วมกันระหว่าง บริษัท อสมท และกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) แต่ถ้าถือตามสิทธิเดิมจะใช้ได้ถึงปี 2565
ในส่วนของคลื่นย่าน Low Band จะมีความถี่ย่าน 800 MHz ซึ่งปัจจุบันอยู่ในการใช้งานของบริษัท กสท โทรคมนาคม และดีแทค โดยมี 15 MHz จะหมดสัมปทานปี 2561 และอีก 10 MHz หมดสัมปทานในปี 2568 โดยมาสามารถนำมาประมูลแบบ FDD ได้จำนวน 25 MHz
นอกจากนี้ ยังมีความถี่ย่าน 700 MHz อีกจำนวน 92 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้งานสำหรับทีวีดิจิทัล แต่หากนำมาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสามารถนำมาประมูลได้อย่างเร็วที่สุด 45 MHz ในปี 2566
ขณะที่ย่านความถี่ 450 MHz อีก 20 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้งานสำหรับวิทยุสื่อสาร และยังไม่มีการกำหนดแผนความถี่สำหรับให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากผู้ประกอบการยังไม่มีความต้องการใช้คลื่นดังกล่าว รวมทั้งคลื่นความถี่ย่าน 1500 MHz อีก 91 MHz ซึ่งปัจจุบันใช้งานสำหรับวิทยุเชื่อมโยง microwave fixed link แต่จะมีการพิจารณาปรับปรุงเพื่อนำคลื่นมาใช้งานต่อไป
ด้าน ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า กสทช.ยังต้องเจรจากับ อสมท ในการนำคลื่น 2600 MHz ออกมาประมูล โดยคลื่นความถี่ของ อสมท ทั้งหมด 120 MHz อาจเจรจาขอมาประมูล 60 MHz ส่วนที่เหลือ อสมท อาจนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น โดยหากมีความคืบหน้าจะสามารถนำคลื่น 2600 MHz มาเปิดประมูลได้ภายในปี 2559
ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขา ธิการ กสทช. ระบุว่า แม้ว่าจะมีการนำคลื่น 2600 MHz มาเปิดประมูลก็ไม่ได้หมายความว่าเอกชนจะประมูลคลื่นไปได้ในราคาถูก เพราะการประมูลคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz ได้สร้างมาตรฐานการแข่งขันไว้สูงมาก ขณะที่ประชาชนเองก็จับตามองอยู่ ดังนั้นการนำคลื่นออกมาประมูลในแต่ละช่วงเวลาจะต้องมีความเหมาะสม เช่น หากคลื่น 2600 MHz มีผู้สนใจน้อย กสทช.ก็อาจเปิดประมูล 1 ใบอนุญาต และประมูลเพียง 5 MHz ก็ได้
"คลื่นเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ดังนั้นราคาคลื่นจะต้องสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง จึงต้องมี กสทช.ทำหน้าที่ควบคุมซัพพลายของคลื่นในแต่ละช่วงเวลาให้เหมาะสม เราก็ไม่มีทางขายของถูกๆ แน่ และก็มีวิธีการมากมายที่จะทำให้มีการแข่งขันกันดุเดือด ทำให้คนไทยได้เฮเหมือนกับคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz เพราะเงินเหล่านี้จะถูกส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนเอกชนไม่ต้องกลัวว่าเขาจะอยู่ไม่ได้ อย่างการประมูลคลื่นคราวนี้ที่ชนะประมูลไปในราคาที่สูง เอกชนอาจจะยังไม่มีกำไรใน 1-2 ปีแรก แต่ในระยะยาวเขามีกำไรแน่" ก่อกิจ ทิ้งท้าย
ข้อมูลแหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558 หน้า B12
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต